26 ต.ค. 2024 เวลา 05:45 • สุขภาพ

“ลูกเนียง”ช่วยคุมเบาหวาน แต่ไม่ควรกินดิบเสี่ยงไตวายเฉียบพลันได้!

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ “ลูกเนียง” สมุนไพรยอดนิยม รสมัน กลิ่นฉุน ช่วยควบเบาหวาน แต่ไม่ควรกินลูกเนียงดิบเสี่ยงไตวายเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต
ลูกเนียง หรือ เมล็ดเนียง (Look-Niang) เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ที่นิยมกันมากในพื้นที่ภาคใต้ โดยส่วนที่นำมารับประทานคือ เมล็ดข้างในเปลือกแข็ง ที่มีรสชาติมัน กลิ่นฉุน อร่อย กินได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่ สามารถนำมากินแนมคู่กับน้ำพริก ใส่แกง หรือ ต้มเป็นของหวานได้ มีสรรพคุณช่วยควบคุมเบาหวาน และขับปัสสาวะ
ลูกเนียง
ลูกเนียงนับเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหาร คือ มีโปรตีน 7.9 กรัมเปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรต 36.2 กรัมเปอร์เซ็นต์ ไขมัน 0.2 กรัมเปอร์เซ็นต์ วิตามินบี 1 บี 2 วิตามินซี กรดโฟลิค และแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก มีกรดอะมิโน 18 ชนิด และมีกรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกาย
กินลูกเนียงดิบเยอะเสี่ยงไตเฉียบพลัน
กลับกันก็มีพิษด้วย เพราะตัวลูกเนียงมีสารที่เรียกว่า กรดเจงโคลิค(djenkolic acid) ซึ่งเป็นกรมอะมิโนที่มีกรดกำมะถันสูงมาก สารพิษชนิดนี้จะทำลายระบบประสาทของไตให้เสื่อมลง หากรุนแรงอาจทำให้ไตล้มเหลวจนเสียชีวิตได้เลย
อาการเป็นพิษจากลูกเนียงพบได้น้อย แต่ในรายที่ป่วยพบว่ากินลูกเนียงดิบในปริมาณที่มาก แล้ว 2-14 ชั่วโมงต่อมา จะมีอาการทางไต ปวดบริเวณขาหนีบ ปัสสาวะมากและลำบาก มีสีเข้มเป็นสีน้ำนม และอาจเป็นเลือดได้ บางรายมีอาการปวดท้องเป็นพักๆ ร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาจเป็นเป็นนิ่วที่มีอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเองใน 3-4 วัน บางรายมีไข้ต่ำ และความดันสูงได้
วิธีกินลูกเนียงให้ปลอดภัย
- นำเมล็ดลูกเนียงเพาะในทราย ให้มีหน่อต้นอ่อนงอกออกมา
- นำเมล็ดไปต้มให้สุก หรือหั่นชิ้นบางๆ นำไปตากแดดก่อนรับประทานโดยตรง
หากมีอาการผิดปกติหลังกินควรรีบพบแพทย์และบอกประวัตการกินเพื่อรับการรักษาให้ทันเวลา ทั้งนี้ควรกินแต่พอดี เพราะจริงๆลูกเนียงก็มีประโยชน์หลายด้าน แต่ควรหลีกเลี่ยงการกินดิบ และเน้นกินอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่
ขอบคุณข้อมูลจาก : อาหารปลอดภัยกับ สสอป. และ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : https://www.pptvhd36.com/health/food/6022
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา