7 ก.พ. เวลา 00:48 • ประวัติศาสตร์

ตอนที่ 6 ตึกฝาแฝดพี่-น้อง ที่พระตะบอง-ปราจีนบุรี เจ้าพระยาผู้ภักดีต่อจักรีวงศ์และแผ่นดิน

วันนี้แม่เหน่งขอพาท่านผู้อ่านทะลุปฏิทิน ผ่านกาลเวลากว่าร้อยปี เดินทางข้ามมายังประเทศเพื่อนบ้าน จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา ที่นี่มี "ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร" ที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนถอดแบบมาจาก "ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร" ที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย ที่มาที่ไปเพราะมีผู้สร้างท่านเดียวกัน
ภาพถ่ายและภาพวาด ตึกอภัยภูเบศร พระตะบอง กัมพูชา
เมื่อครั้งเมืองพระตะบองยังคงเป็นของสยามประเทศ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ท่านได้ถือกำเนิดในวันที่ 29 กรกฎาคม 2404 ที่เมืองพระตะบองแห่งนี้ ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 ท่านเป็นบุตรคนโตของท่านผู้หญิงทิม และเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย) ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง โดยต้นตระกูลท่านได้ปกครองเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ
ปราสาทพนมบานอน เมืองพระตะบอง
ปราสาทนครวัด เสียมราฐ
เมืองศรีโสภณ
พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรสยาม ตั้งปี พ.ศ.2337 ในรัชกาลที่1ถึงรัชกาลที่ 5
เมื่อเข้าสู่ยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ในปี พ.ศ.2450 ทำให้สยามต้องสูญเสียทั้ง 3 เมือง ให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งตอนนั้นเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (ชุ่ม) ตำแหน่งในขณะนั้น ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลบูรพาและปกครองเมืองพระตะบอง ได้ทูลเกล้าให้ความเห็นว่า "ควรยอมเสียดินแดนส่วนน้อย เพื่อแลกกับเอกราชส่วนใหญ่"
ท่านชุ่มยอมยกดินแดนภายใค้การปกครอง ให้แก่ประเทศฝรั่งเศศ เพื่อแลกกับการรักษาเมืองจันทบุรี และตราดเอาไว้ เพราะทั้ง 2 เมือง เป็นเมืองยุทธศาสตร์ติดทะเลข้าศึกจะยกพลเข้าสู่พระนครได้ง่าย
แต่ถึงกระนั้นฝรั่งเศสก็ยังยึดเมืองจันทบุรีไว้ชั่วคราวถึง 11 ปี เพื่อต่อรองเอาดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งไม่ถือว่าสยามกลายเป็นรัฐกึ่งอาณานิคม (Semi-colony) แต่อย่างใด
เพราะการเป็นรัฐกึ่งอาณานิคม คือ การที่ศูนย์กลางอำนาจของรัฐอธิปไตย (Sovereign state)หนึ่ง ถูกครอบงำโดยเจ้าอาณานิคมหนึ่งในด้านเศรษฐกิจ, การเมือง, การทหาร, วัฒนธรรม/อุดมการณ์, เทคโนโลยี หรือประชากร
อย่างไรก็ตามจันทบุรีก็มีร่องรอยของสถาปัตยกรรมฝรั่งเศส หลงเหลือให้ดู อาทิเช่น
ที่ว่าการมณฑลจังหวัด อาคารฝรั่งลูกผสม ทรงปั้นหยา
ค่ายทหารฝรั่งเศส
แต่ที่เลื่องชื่อที่สุด คือ โบสถ์วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล ตั้งอยู่ ต.จันทนิมิต อ.เมืองจันทบุรี โบสถ์คริสนิกายโรมันคาธอลิก สร้างตามลักษณะของศิลปะแบบโกธิค ที่จำลองแบบมาจากโบสถ์นอตเตอร์ดัมในประเทศฝรั่งเศส
โบสถ์วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล จ.จันทบุรี
ย้อนกลับมาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตึกอภัยภูเบศรค่ะ 555 แม่เหน่งก็เม้าท์มอยไปเรื่อยเลยค่ะ ใครที่หลงใหลในประวัติศาสตร์จะรู้ว่า เหมือนกับหลงอยู่ในป่าท้อสิบลี้อ่ะค่ะ หาทางออกยากมาก
1
แม้จะยึดครองพระตะบองมาได้ ฝรั่งเศสก็ยังต้องการให้ท่านชุ่มรับราชการเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองจันท์ต่อไป ด้วยเล็งเห็นว่าด้วยบารมีของท่านที่สายสกุลของท่านนั้นปกครองพระตะบองมานับร้อยปี น่าจะเป็นประโยชน์ต่อฝรั่งเศส
แต่ด้วยความจงรักภักดีของท่านชุ่มที่มีต่อแผ่นดินสยาม และมีต่อราชวงศ์จักรี ท่านไม่ยอมไปเป็นข้าแผ่นดินอื่น ท่านยอมทิ้งเมืองพระตะบองอันเป็นบ้านเกิด ทิ้งบ้านยุโรปหลังใหญ่หรูทิ้งทรัพย์สินจำนวนมาก ยอมสละตำแหน่ง อำนาจยศถาบรรดาศักดิ์ พร้อมครอบครัวเดินทางด้วยเท้าทั้งที่เป็นฤดูฝน
การเดินทางเต็มไปด้วยความยากลำบาก เพื่อกลับสู่แผ่นดินแม่สยามประเทศ จากเจ้าเมืองผู้มากบารมี ณ พระตะบอง กลับมาเป็นเพียงข้าราชการธรรมดา ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ จ.ปราจีนบุรี
แฝดพี่ ตึกอภัยภูเบศร พระตะบอง กัมพูชา
จากนั้นในปี พ.ศ.2450 เจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (ชุ่ม) ได้รับการโปรดเกล้าฯจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เลื่อนบรรดาศีกดิ์เป็น เจ้าพระยาอภัยภูเบศร มีศักดินา 10,000 ไร่ และพระราชทานยศเป็นมหาอำมาตย์โท รับราชการในกระทรวงมหาดไทย
ต่อมาในปี พ.ศ.2451 ท่านเจ้าพระยาฯได้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้สร้างตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรในปี พ.ศ.2452 ด้วยต้องการให้พระพุทธเจ้าหลวง มีสถานที่ประทับแรม อย่างสมพระเกียรติหากพระองค์เสด็จปราจีนบุรีอีกครั้ง
แฝดน้อง ตึกอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี ประเทศไทย
ภายหลังมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ตึก ได้มีการค้นพบภาพจิตรกรรมฝาผนังลายกุหลาบ จากปูนฉาบที่กระเทาะออก บริเวณคอสอง (พื้นที่รอยต่อระหว่างผนังกับเพดาน)
จิตรกรรมฝาผนังลายกุหลาบ
ภาพจิตรกรรมฝาผนังลายกุหลาบนี้ แสดงถึงความตั้งใจจริงของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่สร้างตึกนี้ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างแท้จริง ด้วยต่างเป็นที่ทราบกันดีว่า ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงโปรดกุหลาบสีชมพู ซึ่งต่อมาภายหลัง ได้นามว่า กุหลาบจุฬาลงกรณ์ อนุสรณ์ความรักของพระปิยมหาราชกับเจ้าดารารัศมี พระชายา
กุหลาบจุฬาลงกรณ์ อนุสรณ์แห่งรักของเจ้าดารารัศมีที่มีต่อพระพุทธเจ้าหลวง
ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อนุสรณ์แห่งภักดี ด้วยชีพพลีต่อราชันย์และแผ่นดิน
🌹 🕌 🌹 🕌 🌹 🕌 🌹 🕌 🌹 🕌
โฆษณา