Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าของสาว(เหลือ)น้อย
•
ติดตาม
4 ก.พ. เวลา 04:57 • ประวัติศาสตร์
ตอนที่ 5 ชื่อคือปราสาทบนเมฆา แรกสถิตชลาลัย แล้วหนีภัยไปอยู่พสุธาในมหานคร พระที่นั่งวิมานเมฆ
พระที่นั่งวิมานเมฆ
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยตามเสด็จไปประพาสชายฝั่งตะวันออก ท่านทรงได้ประทับเรือกลไฟพระที่นั่งไปถึงชลบุรี, ระยอง และพำนักที่เกาะสีชัง โดยได้ประทับค้างคืนบนเรือพระที่นั่ง แต่มิได้เคยเสด็จไปประทับอีกเลยจวบจนสิ้นรัชสมัยของรัชกาลที่ 4
ครั้นเสด็จกลับจากประพาสยุโรป รัชกาลที่ 5 ทรงรำลึกถึงเกาะสีชัง อันมีทัศนียภาพงดงาม ลมทะเลพัดเย็นสบาย จึงได้สร้างพระราชวังขึ้นที่นี่ ขณะนั้นพระพันปีหลวง พระมเหสีได้ประสูติสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก พระราชโอรส
ดังนั้น พระราชวังที่สร้างขึ้น รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระราชทานชื่อว่า "จุฑาธุชราชฐาน" พระที่นั่งที่ประทับนั้นชื่อว่า "มันธาตุรัตนโรจน์"
พระราชวังจุฑาธุชราชฐาน
พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ซึ่งต่อมาถูกย้ายมาสร้างต่อที่พระนคร พระราชทานชื่อใหม่ว่า พระที่นั่งวิมานเมฆ
สะพานอัษฎางค์
ขณะที่ดำเนินการก่อสร้างอยู่นั้น ทางกรุงเทพได้เกิดวิกฤตการณ์ รศ.112 ไทยเกิดข้อพิพาทกับฝรั่งเศสทางชายแดนอีสาน มีการรบกันทหารไทยทำทหารฝรั่เศสบาดเจ็บและล้มตายไปหลายนาย ฝรั่งเศสส่งเรือปืน 3 ลำมาปิดปากอ่าวไทย ยิงกันที่ป้อมพระจุลฯ ทำให้เรือรบฝรั่งเศสเสียหาย
ทางฝรั่งเศสต้องการให้ไทยชดใช้เป็นจำนวนเงิน 3 ล้านบาท กำหนดชำระภายใน 48 ชั่วโมง มิฉะนั้นกองทัพเรือจะปิดอ่าวไทย ซึ่งอาจทำให้ไทยตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
ในครั้งนั้น เสนาบดีพระคลังมหาสมบัติถวายรายงานจำนวนเงินในพระคลังให้ทรงทราบ แต่ก็ไม่เพียงพอกับจำนวนที่พวกฝรั่งเศสเรียกร้อง
แต่แล้วปาฎิหาริย์ก็เกิดขึ้น มีพระบรมวงศ์ชั้นูผู้ใหญ่ทูลเตือนให้ทราบถึงเงินพระคลังข้างที่จากสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเก็บสะสมไว้จำนวนหนึ่งใน
"ถุงแดง " 💰
เงินพระคลังข้างที่ คือ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินรายได้แผ่นดินส่วนหนึ่งที่แบ่งถวายพระมหากษัตรืย์เพื่อใช้จ่ายส่วนพระองค์
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ท่านทรงมีเงินเก็บไว้บางส่วนจากการค้าขายกับเรือสำเภาจีน เก็บไว้ในถุงแดง ท่านได้รับสั่งไว้ก่อนสวรรคตว่า เงินจำนวนนี้เอาไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง
รัชกาลที่ 5 ท่านจึงได้ทรงนำเงินพระคลังข้างที่นี้มาใช้ โดยนำไปสมทบกับเงินในท้องพระคลังหลวงที่มีอยู่ เพื่อนำไปเป็นค่าปรับตามที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอ ทำให้เจ้านายชั้นบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนข้าราชการจึงช่วยกันถวายเงิน ทอง เครื่องประดับ และของมีค่า
นอกจากเงินแล้ว เรายังต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง คือ ลาวทั้งหมด ให้กับฝรั่งเศสด้วย
เงินถุงแดง ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เหตุการณ์ รศ.112 รัชกาลที่ 5 ทรงโทมนัสมาก ทรงประชวรอยู่นานหลายเดิอน ท่านทรงเห็นว่า พระที่นั่งจุฑาธุชราชฐานที่เกาะสีชังคงไม่เหมาะจะเป็นที่ประทีบแล้ว เพราะอยู่ไกลจากเมืองหลวง ยามคับขันจะไม่สะดวกต่อการเดินทาง ท่านจึงระงับการก่อสร้างเสีย
เมื่อเสด็จกลับจากประพาสยุโรป ในปี พ.ศ.2440 จึงทรงใช้ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ ซื้อที่นาบริเวณทุ่งสามเสน และโปรดให้สร้างพระราชวังสวนดุสิตขึ้น
ท่านทรงเห็นว่า พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ที่ทรงสร้างค้างไว้ยังอยู่ในสภาพดีอยู่ จึงทรงสั่งให้รื้อมาสร้างในพระราชวังสวนดุสิต โดยพระราชทานชื่อใหม่ว่า "พระที่นั่งวิมานเมฆ" รูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารเป็นแบบอังกฤษ Victorian Style แต่ใช้วัสดุไทย คือ ไม้สักทอง...นับว่าเป็นพระที่นั่งไม้สักทองหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ภาพถ่าย และภาพวาดจำลองพระที่นั่งวิมานเมฆ ถ่ายจากปฏิทิน
พระที่นั่งวิมานเมฆ มีห้องทั้งหมดประมาณ 70 ห้อง แบ่งเป็น 5 กลุ่มสี ได้แก่ สีฟ้า ชมพู เขียว พีช และเหลือง
ห้องโทนสีต่างๆใน พระที่นั่งวิมานเมฆ
จุดเช็คอินสุดคลาสสิกของพระที่นั่งวิมานเมฆ
ในช่วงปลายรัชสมัยทรงโปรดให้สร้างพระที่นั่งอัมพรสถาน โดยให้ช่างชาวอิตาลีเป็นผู้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง อาคารเป็นแบบ 3 ชั้นก่ออิฐถือปูน สร้างแล้วเสร็จในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านได้ย้ายไปประทับอยู่ 3 ปีและเสด็จสวรรคตที่นั่นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453
พระที่นั่งอัมพรสถาน
ศาลาริมน้ำ พระที่นั่งวิมานเมฆ
พระที่นั่งวิมานเมฆ ยามค่ำคืน
ภาพวาดสีน้ำ พระที่นั่งวิมานเมฆ
🌹 ดังวิมานลอยมาจากฟ้าสรวง
ใช่ภาพลวงดวงตาก็หาไม่
วิมานเมฆเอกศิลป์อยู่ถิ่นไทย
ดุจอยู่ในเมืองสวรรค์ชั้นฟ้าเอย 🌻
Reference :
https://www.baanjomyut.com
>vimanmek_mansion
https://www.silpa-mag.com
ปล.อย่าลืมติดตามซีรีย์ เรื่องเล่าจากปฏิทิน วังแห่งสยาม ตอนต่อไปนะคะ 😘 😍 🥰
ประวัติศาสตร์
ท่องเที่ยว
1 บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เรื่องเล่าจากปฏิทิน วังแห่งสยาม
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย