10 มี.ค. เวลา 02:09 • ข่าวรอบโลก

จาก Tesla และ Twitter สู่ระบบราชการ วิธีรีดไขมันแบบฉบับ Elon Musk ประหยัดหรือบรรลัย?

ตั้งแต่ Donald Trump เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงขั้นโหดในระบบราชการอเมริกาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เมื่อ Elon Musk ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้นำในการปฏิรูประบบราชการผ่านหน่วยงานชื่อ DOGE (Department of Government Efficiency)
1
“นี่คือเครื่องเลื่อยโซ่สำหรับระบบราชการ” คำนี้เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นที่ Musk จะเข้ามาเขย่าโครงสร้างการบริหารงานภาครัฐทั้งระบบ
1
ในเดือนแรก Musk ทำงานอย่างบ้าคลั่ง นำประสบการณ์บริหารจากภาคเอกชนมาใช้กับหน่วยงานรัฐ หน่วยงาน DOGE ตอนนี้แทรกซึมเข้าไปทุกที่ในรัฐบาลกลาง แพร่กระจายราวกับเหลือบไรที่คืบคลานเข้าไปทุกซอกทุกมุม สร้างความหวาดวิตกให้ข้าราชการจำนวนมาก
1
ใครที่เคยติดตาม Elon Musk ในบริษัทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Tesla, SpaceX หรือล่าสุดคือ X (Twitter) คงพอเดาได้ว่ายุทธวิธีจัดหนักของเขาจะเป็นแบบไหน ซึ่ง Musk เองมีวิธีบริหารที่เน้นความเร็ว ตัดสินใจแบบใครว่าอะไรไม่ได้ และลดขนาดองค์กรแบบถึงรากถึงโคนเพื่อตัดต้นทุนทันที
1
เดือนแรกภายใต้ DOGE มีการปลดเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายสิบคน เล็งเป้าพนักงานทดลองงานกว่า 200,000 คน และยกเลิกสัญญาเช่าสำนักงานเกือบ 100 แห่ง คล้ายกับที่เขาทำที่ Twitter เมื่อเข้าควบคุมได้ไม่นาน ไล่ผู้บริหารระดับสูงออก ปลดพนักงานประมาณสามในสี่ ยกเลิกสัญญาเช่าสำนักงานแบบไม่ต้องคิดเยอะ
1
ที่น่าสนใจคือข้าราชการสองล้านคนได้รับข้อเสนอชดเชยการลาออกคล้ายกับที่ Twitter เป๊ะ แสดงว่า Musk กำลังใช้คู่มือเดียวกับที่ใช้ในธุรกิจเอกชนกับภาครัฐ
1
“มันเป็นเรื่องหนึ่งที่ Musk ทำลาย Twitter หลังซื้อมัน แต่เป็นอีกเรื่องที่แตกต่างแบบสุดขั้วคือการทำแบบนี้กับรัฐบาล” นักวิเคราะห์หลายคนกังวลว่าวิธีการแบบเอกชนอาจไม่เหมาะกับหน่วยงานภาครัฐที่มีความซับซ้อนกว่ามาก
2
ปรัชญาการปฏิรูปของ Musk สร้างขึ้นรอบแนวคิด “Move Fast and Break Things” คล้ายกับแนวคิดของ Mark Zuckerberg ในยุคแรกของ Facebook
1
“เรากำลังเคลื่อนไหวเร็วมาก ทุกคนอาจทำผิดพลาด แต่เราจะแก้ไขข้อผิดพลาดเร็วเช่นกัน” นี่คือแนวทางที่ Musk ยึดถือ เขาเชื่อว่ารอความสมบูรณ์แบบทำให้เปลี่ยนแปลงช้าเกินไป ยอมรับความผิดพลาดบางอย่างเป็นราคาที่คุ้มสำหรับการเปลี่ยนแปลงแบบถึงรากถึงโคน
1
แต่นักวิจารณ์มองว่าความเร็วที่ Musk ทำมันไม่เหมาะกับรัฐบาล เพราะผลกระทบของความผิดพลาดในภาครัฐอาจมีคนต้องเจ็บปวดจำนวนมาก
1
“หลายสิ่งในธุรกิจ เมื่อลองทำอะไรใหม่แล้วผิดพลาด นักลงทุนจะเจ็บ คนเสียเงิน แต่ไม่กระทบชีวิตใคร แต่ถ้าทำให้ประกันสังคมเสียหาย สวัสดิการทหารผ่านศึกเสียหาย หน่วยงานสุขภาพเสียหาย คุณมีการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย” ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารภาครัฐกล่าว
1
อีกกลยุทธ์ที่ Musk ใช้คือนำลูกทีมที่ไว้ใจได้มาช่วยตัดงบประมาณที่ DOGE ประกอบด้วยอดีตพนักงาน SpaceX และ Tesla บัณฑิตจบใหม่ และเพื่อนร่วมงานที่ซื่อสัตย์ต่อเขาซึ่งนำโดย Steve Davis อดีตผู้บริหาร The Boring Company ที่เคยช่วยตัดงบที่ Twitter มาแล้ว
2
“มันเกี่ยวกับการหาคนเก่ง ส่งพวกเขาไป บังคับอย่างหนักให้ได้สิ่งที่เขาต้องการ พวกเขาเข้าใจความคิดของเขา(Musk) ได้รับความไว้วางใจ และแสดงให้เห็นว่าทำงานให้สำเร็จได้ Musk ไม่ค่อยไว้ใจใครมากนัก” นักวิเคราะห์เล่าถึงวิธีการสร้างทีมของ Musk
1
อย่างไรก็ตาม Elaine Kamarck ที่ปรึกษาอาวุโสของประธานาธิบดี Bill Clinton สงสัยว่าวิธีนี้จะใช้ได้กับรัฐบาลสหรัฐฯ หรือไม่
“ในอดีตวิธีที่เราทำคือนำข้าราชการที่คุ้นเคยกับการดำเนินงานของรัฐบาลมา แต่สิ่งที่พวกเขากำลังทำคือเข้าไปในหน่วยงานและไปที่ฐานข้อมูลโดยตรง คนดูฐานข้อมูลแทบไม่รู้บริบทใดๆ พวกเขาเป็นเด็กอายุ 25 ปี บางคนอายุแค่ 19 ปี” Kamarck วิจารณ์การขาดประสบการณ์ของทีม Musk
1
Musk อ้างรายงานจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือ GAO ที่ประมาณการณ์ว่ารัฐบาลกลางสูญเสียเงิน 233-521 พันล้านดอลลาร์ต่อปีจากการทุจริตและความไร้ประสิทธิภาพ
DOGE มองหาการตัดงบหน่วยงานเช่น US Agency for International Development (USAID) ซึ่งช่วยเหลือต่างประเทศ และ Consumer Financial Protection Bureau (CFPB) ที่คุ้มครองผู้บริโภคด้านการเงิน
3
ที่น่าสนใจคือ Musk มุ่งตัดตำแหน่งที่เขาไม่เห็นว่าเป็นหัวใจของภารกิจ ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่เขาใช้ที่ Tesla
“เราเห็นสิ่งนี้ที่ Tesla เมื่อมีปัญหาการเงิน เขาตัดฝ่ายขาย ตัด HR ตัดคนในฝ่ายการตลาด และทำให้มั่นใจว่ามีทรัพยากรสำหรับโรงงาน คนผลิตรถยนต์ วิศวกรที่ประกอบรถ เพราะในใจของเขา ทั้งหมดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์” ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมยานยนต์กล่าว
3
หลังซื้อ Twitter ในปี 2022 Musk ปลดพนักงานอย่างโหดเหี้ยม ลดจำนวนจาก 7,500 คนเหลือไม่ถึง 2,000 คนในเวลาไม่กี่เดือน การลดขนาดรวมถึงผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัททั้งหมด ทำให้ Musk มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการตัดสินใจ
ทีมงานด้านความปลอดภัย (Trust and Safety) ของ Twitter ถูกเล็งเป้าเป็นพิเศษ รวมถึงทีม Twitter curation และทีมการกุศลอื่นๆ การตัดทีมเหล่านี้ทำให้นโยบายแพลตฟอร์มเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง
1
ภายใต้การบริหารของ Musk, Twitter ละทิ้งข้อจำกัดเกี่ยวกับเนื้อหา เช่น ข้อมูลผิดเกี่ยวกับ COVID-19 และคืนบัญชีที่ถูกแบนโดยผู้บริหารก่อนหน้า สะท้อนปรัชญาของ Musk ที่เน้นเสรีภาพในการแสดงออกเหนือการควบคุมเนื้อหา
1
ข้อวิพากษ์วิจารณ์หลักคือความแตกต่างระหว่างบริษัทเอกชนและหน่วยงานรัฐบาล ในขณะที่บริษัทเอกชนมีเป้าหมายหลักคือสร้างกำไรและตอบสนองผู้ถือหุ้น หน่วยงานรัฐมีพันธกิจที่กว้างและซับซ้อนกว่ามาก รับผิดชอบต่อประชาชนทั้งประเทศ
1
“ความแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดระหว่างสิ่งที่เราทำและสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้คือ เราให้ความสำคัญกับการทำให้รัฐบาลทำงานได้ดีขึ้นและประหยัดต้นทุนไปพร้อมกัน แต่ตอนนี้พวกเขาแค่ทำให้ประหยัดต้นทุน” Kamarck กล่าว
1
การมุ่งเน้นเพียงการลดต้นทุนโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนอาจสร้างปัญหาระยะยาว เพราะหากการให้บริการล้มเหลว รัฐบาลต้องจ้างคนกลับมาแก้ไข ซึ่งอาจมีต้นทุนสูงกว่าเดิม
1
“รัฐบาลอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากตอนนี้ เพราะเมื่อเราเริ่มเห็นความล้มเหลว ซึ่งเราจะเห็นเพราะพวกเขาได้ตัดในลักษณะที่ทำไปทั่วทั้งกระดาน พวกเขาต้องจ้างคนกลับมา ใครจะรู้ว่าคนจะอยากกลับมาหรือไม่?” นักวิเคราะห์ด้านการบริหารรัฐกิจแสดงความกังวล
1
การตัดงบประมาณและปลดพนักงานรัฐบาลอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดคำถามทางกฎหมายและจุดประกายการฟ้องร้องให้เกิดขึ้น ในสหรัฐฯ ข้าราชการมีการคุ้มครองทางกฎหมายที่แตกต่างจากพนักงานในภาคเอกชน โดยเฉพาะข้าราชการที่ได้รับการบรรจุถาวร ซึ่งไม่สามารถถูกไล่ออกได้ง่ายๆ
1
“นี่เป็นความท้าทายที่เราเห็นครั้งแล้วครั้งเล่า ผู้นำธุรกิจเข้าสู่รัฐบาล มันไม่ได้ง่ายเหมือนแค่พูดว่า ทำ X, Y หรือ Z กันเถอะ ระบบราชการมันแตกต่าง มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากกว่า” ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายปกครองกล่าว
1
แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมาย แต่แนวทางของ Musk ก็ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะผู้ที่เชื่อว่ารัฐบาลกลางมีขนาดใหญ่เกินไป มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และขาดประสิทธิภาพ
1
ผู้สนับสนุนมองว่าการเข้ามาของ Musk เป็นวิธีการใหม่ที่จะช่วยปลดล็อกความไร้ประสิทธิภาพที่ฝังรากลึกในระบบราชการที่มีมายาวนาน วิธีการแบบเอกชนอาจช่วยลดความล่าช้าในการตัดสินใจและการดำเนินการ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในหน่วยงานรัฐบาล
“ประชาชนลงคะแนนเสียงให้การปฏิรูปรัฐบาลครั้งใหญ่ ไม่ควรมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนั้น” ผู้สนับสนุนการปฏิรูปกล่าว พวกเขาเชื่อว่าผลการเลือกตั้งแสดงถึงความต้องการของประชาชนที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการอย่างถอนรากถอนโคน
2
แม้จะมีการสนับสนุนจากบางส่วน แต่ความท้าทายในการบรรลุเป้าหมายระยะยาวยังมีอยู่สูง ตัวเลขการประหยัด 55 พันล้านดอลลาร์ที่ DOGE อ้างยังห่างไกลจากเป้าหมาย 2 ล้านล้านดอลลาร์ที่ Musk ระบุไว้มากโข
“ตอนนี้ เขากำลังดึงคันโยกที่ทำให้เขาแสดงความสำเร็จบางอย่าง แต่มันจะเป็นงานหนัก ในท้ายที่สุด มันเกี่ยวกับการสร้างวิสัยทัศน์เพื่อให้มีคนมากพอที่จะสนับสนุนเขาเมื่อเขาก้าวไปสู่สิ่งนั้น หลายคนบอกว่ามันเป็นไปไม่ได้ แต่แม้ว่าเขาจะเข้าใกล้มัน มันก็จะเป็นสิ่งที่น่าทึ่งอย่างยิ่ง” นักวิเคราะห์คนหนึ่งให้ความเห็น
ความท้าทายใหญ่ที่สุดอาจไม่ใช่การระบุการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น แต่เป็นการเอาชนะแรงต้านทานทางการเมือง กฎหมาย และวัฒนธรรมที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง
การปฏิรูประบบราชการในยุค Trump ภายใต้การนำของ Elon Musk เป็นการทดลองสุดโหดในการนำแนวทางการบริหารแบบภาคเอกชนมาใช้กับหน่วยงานรัฐบาล
แนวทางนี้มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง ความสำเร็จจะไม่วัดจากการประหยัดงบประมาณเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงความสามารถในการรักษาและปรับปรุงการให้บริการสาธารณะที่จำเป็นด้วย
1
การแสวงหาสมดุลระหว่างประสิทธิภาพทางการเงินกับประสิทธิผลในการบรรลุพันธกิจสาธารณะเป็นความท้าทายที่แม้แต่ประเทศที่มีประวัติศาสตร์การบริหารจัดการภาครัฐที่ยาวนานและประสบความสำเร็จก็ยังต้องฝ่าฟันต่อสู้
ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร การปฏิรูปครั้งนี้จะเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับการบริหารภาครัฐทั่วโลก ว่าการนำแนวคิดจากภาคธุรกิจมาใช้กับภาครัฐจะสามารถทำให้เกิดประสิทธิภาพที่แท้จริงได้หรือไม่ หรือแค่เข้าถ้ำเสือเพื่อเอาเนื้อมาเป็นเหยื่อแล้วกลับออกมามือเปล่าเพียงเท่านั้น
1
◤━━━━━━━━━━━━━━━◥
หากคุณชอบคอนเทนต์นี้อย่าลืม 'กดไลก์'
หากคอนเทนต์นี้โดนใจอย่าลืม 'กดแชร์'
คิดเห็นอย่างไรคอมเม้นต์กันได้เลยครับผม
◣━━━━━━━━━━━━━━━◢
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA ด.ดล Blog
คลิกเลย --> https://lin.ee/aMEkyNA
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================
โฆษณา