8 เม.ย. เวลา 12:00 • การศึกษา

Crime Fiction นิยายอาชญากรรมทำอย่างไร✨👮🏻‍♂️

ในบรรดาหมวดหมู่นิยายอันหลากหลายบนชั้นหนังสือทุกวันนี้ นิยายอาชญากรรม หรือ Crime Fiction ถือว่าเป็นประเภทนิยายที่อ่านเท่าไหร่ก็ไม่รู้สึกเบื่อ ด้วยเนื้อเรื่องอันซับซ้อน มีปริศนาชวนคิด มาพร้อมกับการหักมุมสร้างความประหลาดใจ มันคือนิยายที่เดินเรื่องให้ “คนติดตาม” หาทางเป็น “ผู้รู้” ให้ทันก่อนที่นิยายนั้นจะเฉลยความจริง จนทำให้หลาย ๆ เรื่องกลายเป็นตำนานไปตลอดกาล อย่างเรื่อง Sherlock Holmes หรือ The Da Vinci Code
แล้วนิยายเหล่านี้ทำอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาเล่าเรื่องราวของนิยายอาชญากรรมกันค่ะ
 
เมื่อเราพูดถึงคำว่า ‘อาชญากรรม’ เราก็มักจะนึกถึงนิยายที่เดินเรื่องด้วยนักสืบ ตำรวจ คนร้าย ฆาตกร และคดีต่าง ๆ ที่ต้องใช้การสืบสวนในการไขปริศนา ซึ่งแท้จริงแล้ว นิยายอาชญากรรมมีหลากหลายแนวมากกว่านั้น
แบบแรกที่เราคุ้นเคยก็คือ “นิยายแนวสืบสวนสอบสวน”
ซึ่งตัวเอกมักจะเป็นนักสืบเอกชนหรือตำรวจสายสืบของรัฐ ที่มักจะเน้นไปทางการไขคดีฆาตกรรมต่าง ๆ ไปพร้อมกับการไล่ล่าหาความจริง นวนิยายแนวสืบสวนนั้นเกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จนเกิดนักเขียนชื่อดังเป็นตำนานมาจนทุกวันนี้อย่างเซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์ (Arthur Conan Doyle) และอกาธา คริสตี (Agatha Christie) นิยายแนวนี้ยังคงเป็นที่นิยมและวางแผงขายต่อเนื่อง
ในเอเชียเองก็มีเรื่องคินดะอิจิยอดนักสืบ และการ์ตูนชื่อดังอย่างยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ซึ่งวิธีการเล่าของแต่ละเรื่องยังบ่งบอกถึงเทคโนโลยีการสืบสวนในแต่ละยุค มีการใช้ตรรกะและหลักฐานตามหาคนร้าย โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีจุดร่วมที่เหมือนกัน นั่นคือ “การตามหาว่า ใครคือคนทำ” หรือที่เรียกว่า “Whodunit” นั่นเอง
นิยายแนวอาญชากรรมต่อมาก็คือ “Impossible Crime” หรืออาชญากรรมที่เป็นไปไม่ได้
เช่น การขโมยของในห้องปิดตาย การก่ออาชญากรรมที่เหลือเชื่อ อะไรก็ตามที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสงสัยว่า เขาทำได้อย่างไร จะเน้นไปที่วิธีการของคนร้ายที่ต้อนให้ตัวละครต่าง ๆ จนมุมโดยปราศจากเบาะแสในตอนแรก ซึ่งการเขียนแนวนี้ ผู้เขียนมักจะทำให้คนอ่านต้องตามตัวละครที่พยายามหาทางออกไปด้วยกัน
อีกแบบที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ “นิยายนิติวิทยาศาสตร์”
ซึ่งจะเป็นการดำเนินเรื่องด้วยการสืบสวนตามหลักข้อมูลหลักฐานโดยใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาพิสูจน์ ตั้งแต่การชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการตายที่แท้จริง การตรวจเลือด การหาร่องรอยต่าง ๆ ในที่เกิดเหตุ และเพื่อให้เกิดความสมจริงและส่งต่อความรู้ทางเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำในแต่ละยุคให้ผู้อ่าน ผู้เขียนจำเป็นจะต้องหาข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อช่วยให้สามารถซ่อนหลักฐาน รวมถึงค่อยๆ เปิดเผยกับคนอ่านให้อย่างเป็นขั้นตอน
อีกหนึ่งในนิยายอาชญากรรมที่ได้รับความนิยมก็คือ “นิยายสืบสวนระทึกขวัญ”
นิยายแนวนี้จะเน้นเหตุการณ์ระทึกหรือใช้จิตวิทยาเข้ามากระตุ้นให้เรื่องราวน่าตื่นเต้น เกิดการหักมุม หักหลัง มีการบรรยายถึงการเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่าง ๆ ไปพร้อมกับการไขปริศนา ตัวเอกอาจไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ นักสืบ หรือผู้ที่อยู่ในสายงานสอบสวน จะเป็นคนธรรมดาที่ช่างสังเกตก็ได้ หรือคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตามแต่ที่ผู้เขียนจะผูกเรื่องเข้ามา
นอกจานี้ยังมีนิยายอาชญากรรมที่ไม่จำเป็นต้องมีตัวละครเอกเป็นตำรวจหรือนักสืบอีกหลายแบบ
เช่น นิยายที่ใช้ศาลเป็นฉากหลัก มีการสืบสวนกันในชั้นศาล ตัวเอกอยู่ในบทบาทของทนายหรืออัยการที่สามารถเล่าถึงเรื่องราวอาชญกรรมนั้น ๆ ผ่านมุมมองหลักฐานที่โต้แย้งกันในศาล มีการช่วยเหลือลูกความที่บริสุทธิ์ หรือช่วยเหลือเหยื่อในคดีให้ได้รับความเป็นธรรม หรือนิยายอาชญากรรมที่ตัวละครเป็นสายลับขององค์กร หรือสายลับระดับหน่วยข่าวกรองของประเทศก็เป็นได้
และนี่ก็คือ “นิยายอาชญากรรม” ซึ่งได้รับความนิยมอยู่เสมอ สำหรับนิยายที่มีความซับซ้อนและจำเป็นต้องเรียงร้อยข้อมูลให้ถูกต้อง การสร้างจึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องทำโครงสร้างทั้งหมดของเรื่องให้แข็งแรงก่อนลงมือเขียนจริง เพราะการด้นสดอาจทำให้เราพลาดปิดช่องโหว่ใด ๆ หรือใส่หลักฐานไม่เพียงพอ รวมถึงเขียนออกมาได้ไม่คม
และเพื่อเช็กความถูกต้องของหลักฐานต่าง ๆ ที่เราได้วางไว้ พี่พราวขอแนะนำ Tools ของเว็บไซต์ storybowl.co ซึ่งจะช่วยให้นิยายอาชญากรรมของคุณมีพลอตที่สมบูรณ์แบบก่อนลงมือเขียนจริงได้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็น
Premise, Genre และ Theme อันเป็นหัวใจที่จะนำทางไปสู่เหตุและผลตั้งแต่ต้นจนถึงตอนท้าย
การวาง Lock Story Line และ Log Line ที่ชัดเจนว่าเรื่องนี้ตัวเอกต้องการอะไร อุปสรรคคืออะไร ผลสุดท้ายแล้วเรื่องราวจะเฉลยออกมาอย่างไร
จากนั้นจึงเขียน Plot ทั้งหมดโดยละเอียด ก่อนจะนำไปขึ้นทรีตเมนต์นิยาย ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยลดปัญหาในเวลาเขียนจริงได้ดีที่สุด
และนี่คือการเขียน Crime Fiction นิยายอาชญากรรมที่ทำให้คนอ่านสงสัยและสนุกไปกับเราได้มากที่สุด ลองไปทำดูนะคะ
โฆษณา