8 เม.ย. เวลา 17:11 • การศึกษา

ช่วยเหลือเขา แล้วเขาไม่เป็นไปดั่งที่ใจเราคิด ตามหลักพุทธศาสนา

.
การที่เราช่วยเหลือใครสักคน ด้วยความหวังดี ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์
.
แต่ !!! สุดท้ายทุกอย่างไม่เป็นไปอย่างที่เราคิด
.
เปรียบเหมือนปลูกต้นไม้ แล้วโกรธที่มันไม่ออกดอก ตามที่เราอยากเห็น
.
เรารู้สึกเสียใจ รู้สึกเหมือนถูกทรยศ หักหลัง แม้แต่โกรธตัวเองว่า "ช่วยไปทำไม ?"
.
วันนี้ เราจะมาค้นหาคำตอบจากหลัก "พุทธศาสนา" กันครับ
.
ว่าทำไม ? ความยึดมั่นในผลของการช่วยเหลือ กลับทำให้เรามีความทุกข์
.
และ จะทำอย่างไร ? ถึงจะ "ให้" โดยไม่เป็นทุกข์
.
ในตอนนี้ มีคำตอบครับ
.
ในพุทธศาสนา การ "ให้ทาน" ที่บริสุทธิ์ นั้น
.
คือ การให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ครับ
.
ให้เพื่อละ ให้เพื่อใจเบา ให้เพื่อลดตระหนี่ ให้เพื่อเป็นการสะสมบุญกุศล
.
แต่บ่อยครั้งที่เราเผลอ "แอบหวัง" โดยอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์
.
เช่น หวังให้เขาตอบแทน หวังให้เขาเปลี่ยน หวังให้เขาคิดเหมือนเรา
.
หาก "การให้" ที่แอบแฝงด้วยการหวังบางสิ่งบางอย่าง นั่นไม่ใช่ "ทาน" อีกต่อไป ครับ
.
แต่กลายเป็น "ตัณหา" ความอยากควบคุมผลลัพธ์
.
ตัวอย่างเช่น
เราตั้งใจให้เงินลูกชายไปเรียนพิเศษ แอบหวังเพื่อให้ลูกเรียนดี
.
แต่เขากลับใช้เงินไปแอบเล่นเกม จนหมด
.
เมื่อเรารับรู้ "ความโกรธ" ก็เกิดขึ้นมาจากความคาดหวังว่า "ลูกจะใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ"
.
หลายคนเข้าใจผิด ครับว่า ถ้าทำดีต้องได้ดีเสมอ
.
คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ได้แน่นอนครับ ไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง เวลาใดเวลาหนึ่ง
.
หากแต่เป็นการทำ "กรรมดี" กับบุคคลที่ 3 คุณต้องรู้ก่อนนะครับว่า
.
เราเลือกทำกรรมดีได้ แต่เลือกจะรับผลของกรรมดี กับบุคคลที่ 3 นั้น
.
กระผมขอใช้คำว่า เราจะได้รับผลดี แน่นอนครับ แต่ผลกรรมดีนั้น อาจจะไม่ใช่ในสิ่งที่เราคาดหวัง
.
เหมือนปลูกมะม่วง แต่มะม่วงจะออกผลได้ดีหรือไม่
.
ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อย่างธรรมชาติ ดินฟ้าอากาศ
.
หน้าที่เราคือ "ปลูกมะม่วงให้ดี" ครับ
.
ส่วนผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร อย่าไปยึดมั่น ครับ
.
ยกตัวอย่าง
.
คุณช่วยน้องชายเลิกเหล้า โดยพาไปวัด และ หางานให้ทำ แต่เขากลับไปดื่มเหล้าอีก
.
นั้นหมายความว่า กรรมของคุณ คือ คุณทำเต็มที่แล้ว
.
ส่วนวิบากกรรมของเขา คือ เขายังมีกิเลสต้องแก้ไขด้วยตัวเอง อยู่ครับ
.
การที่เขาไม่เป็นไปตามที่หวัง ไม่ได้ทำให้ "ความดี" ของคุณเสียหาย นะครับ
.
- เปรียบเหมือน แสงเทียนที่ยังส่องสว่าง แม้จะไม่มีใครหันมามอง
.
- เปรียบเหมือน คุณให้ร่มกันฝน ตอนฝนตก
.
คุณไม่สามารถบังคับให้เขาเดินไปใน "ทิศทาง" ที่คุณต้องการได้
.
แต่คุณ ได้ทำหน้าที่ของคุณแล้ว ครับ
.
"ความทุกข์" ที่เกิดจากการช่วยเหลือแล้วไม่ดั่งใจ
.
มาจากการยึดติดว่า "ฉัน" เป็นผู้ให้ "ฉัน" ควรได้ดังใจที่ฉันคิดว่าดี
.
แต่แท้จริงแล้ว การช่วยเหลือที่ยิ่งใหญ่ คือ การให้ โดยไม่ต้องรู้สึกว่าเป็น "ผู้ให้" ครับ
.
- ให้เหมือน "ดอกไม้" ที่บานโดยไม่ต้องการคำชื่นชม
.
- ให้เหมือน "หยาดฝน" ที่ฝนตกใส่ทั้งคนดี และ คนชั่ว โดยไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง
.
- ดูแลเหมือน "แสงแดด" ที่แสงแดดส่องทั้งดอกไม้ และ กองขยะ โดยไม่เลือกปฏิเสธ
.
หากวันนี้ คุณรู้สึกเหนื่อยใจ เครียด ผิดหวัง ที่ช่วยใครแล้วไม่เป็นดั่งหวัง ที่ตั้งใจไว้
.
คุณไม่ได้ผิดอะไรนะครับ และ ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยครับ ความดีงามของคุณ ก็ยังคงอยู่ ในจิตใจของคุณ ครับ
.
ไม่ต้องผิดหวัง เสียใจนะครับ เพราะ ธรรมชาติ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ ครับ
.
ให้คุณลองถามตัวเองว่า เราให้เพื่อ "ลดความทุกข์ของเขา" หรือเพื่อ "เติมเต็มความคาดหวังของเรา"
.
การให้ที่แท้จริง คือ การให้เสรีภาพแก่เขา และ ให้ความสุขแก่ตัวเอง
.
โดยไม่ต้องรอผลตอบแทนใด ๆ ครับ
.
การช่วยเหลือที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่การเปลี่ยนคนอื่น ให้เป็นแบบที่เราต้องการ
.
แต่คือ การให้เขา โดยที่เราไม่ต้องเปลี่ยนใจเขา ครับ
.
พระพุทธเจ้าสอนว่า "ทาน" ที่บริสุทธิ์ คือ การให้โดยไม่คิดถึงผู้ให้ ไม่คิดถึงผู้รับ ไม่คิดถึงสิ่งที่ให้ (วิสุทธิมรรค)
.
ก่อนให้อะไรใคร ให้ถามตัวเอง ฉันให้เพราะอยากควบคุมเขา
.
หรือ เพราะอยากให้เขามีความสุขจริง ๆ
.
ตัวอย่างการให้ที่ถูกต้อง
.
- เวลาเราให้เงินลูก ควรบอกว่า เงินนี้เป็นของลูกแล้ว ลูกมีสิทธิ์เลือกใช้ แต่แม่แค่หวังว่า ลูกจะรับผิดชอบ
.
ปล่อยให้ลูกตัดสินใจเอง ครับ ให้เขาลองผิด ลองถูกด้วยตัวเอง
.
โดยมีคุณแม่ แอบมองอยู่ด้านหลัง แม้ลูกจะเอาเงินไปเล่นเกมก็ตาม ครับ
.
- ช่วยเพื่อนตกงาน โดยไม่พูดว่า ฉันช่วยเธอแล้ว เธอต้องได้งานนะ
.
ให้เปลี่ยนเป็น อาจจะแนะนำว่า ฉันช่วยเพราะเป็นเพื่อนกัน ผลลัพธ์อยู่ที่เธอนะ
.
- ช่วยเหลือคนไร้บ้าน ให้เงินเขา แล้วเขาต้องไม่นำเงินไปซื้อเหล้า
.
ให้เปลี่ยนเป็น ฉันให้เพราะเห็นเขาทุกข์ ส่วนเขาจะใช้อย่างไร เป็นกรรมของเขา
.
การสร้าง "กรรม" กับบุคคลอื่น เราเลือกทำ "กรรม" ได้ ครับ (การกระทำ)
.
แต่เลือกวิบากกรรม (ผลลัพธ์) จากคนอื่นไม่ได้ ครับ
.
สรุป ครับ
.
บางครั้งเราให้ความช่วยเหลือ โดยไม่รู้ตัวว่ามีเงื่อนไขแฝงอยู่
.
คือ คาดหวังการตอบแทน หรือ การเปลี่ยนแปลงของเขา
.
เราใส่ความหวังของตัวเองลงไปในผลลัพธ์ ครับ
.
โดยลืมว่าอีกฝ่าย มีสิทธิ์เลือกเส้นทางของเขา
.
เราใช้มาตรฐานของตัวเองวัดคนอื่น ทั้งที่แต่ละคนมีบริบทชีวิตแตกต่างกัน
.
วิธีเปลี่ยนมุมมอง นะครับ
.
เปลี่ยนจาก "การควบคุม" เป็น "การสนับสนุน"
.
เปรียบเหมือน การให้ร่มเมื่อฝนตก แต่ไม่บังคับว่าเขาต้องเดินไปทางไหน
.
บางครั้งคำว่า "ฉันช่วยเธอได้ไหม" อาจจะสำคัญกว่าคำว่า "ฉันจะช่วยเธอแบบนี้"
.
แยกความต้องการของเรา ออกจากความช่วยเหลือ นะครับ
.
ให้ช่วยเพราะอยากช่วยจริง ๆ ไม่ใช่ช่วย เพราะอยากเห็นผลลัพธ์
.
แม่น้ำที่ให้น้ำ ดวงอาทิตย์ที่ให้แสงสว่าง โดยไม่รอคอยการขอบคุณ ฉันใด
.
เราก็ควร "ให้" โดยมี แม่น้ำ พระอาทิตย์ เป็นตัวอย่าง ฉันนั้น
.
การที่เขาไม่เดินตามทางที่เราคิด ไม่ได้หมายความว่า ความช่วยเหลือของคุณเสียเปล่า นะครับ
.
บางครั้งมันอาจเป็น "บทเรียน" ที่เขาต้องไปเรียนรู้ด้วยตัวเอง
.
ทำดีได้ดีแน่นอน ครับ "แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามแบบที่เราต้องการ"
.
ยิ่งคิดว่า "ฉันเป็นผู้ให้ ฉันต้องได้ดั่งใจ" ยิ่งเป็นทุกข์
.
เราแค่ทำหน้าที่ของเรา ฝึกปล่อยวางด้วยคำว่า "สละ"
.
สละความคาดหวัง สละความรู้สึกว่า "ฉันต้องถูกตอบแทน"
.
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ความทุกข์เกิดจากตัณหา" (ความอยากให้เป็นตามใจ)
.
เวลาเราช่วยใครแล้วคาดหวังว่า เขาต้องเปลี่ยน หรือ ตอบแทนแบบที่เราวางไว้
.
นั่นคือ "ตัณหา" ที่แฝงอยู่ในน้ำใจดี ๆ ของเรา ครับ
.
ควรให้อิสระเขา ไม่จับขังเขาในกรงแห่ง "ความคาดหวังของเรา"
.
เวลาให้ทานใคร ลองพูดในใจดูว่า "ขอบคุณที่ให้โอกาสฉันได้ให้ ได้สละ แด่เธอนะ"
.
เมื่อเห็นใครไม่เปลี่ยนแปลง ให้ลองยิ้มในใจ แล้วบอกกับตัวเองว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"
.
ให้แบบไม่จองจำ เหมือนนก ที่เราให้อาหาร มันมีสิทธิ์จะบินไปเมื่อไหร่ก็ได้ ครับ
.
สวัสดีครับ
.
#ธรรมะ , #ศาสนาพุทธ , #พุทธศาสนา , #ทาน , #การให้
โฆษณา