15 เม.ย. เวลา 14:39 • ไลฟ์สไตล์

Howard Marks ผู้ไม่เคยทำนายพลาด

เขาเคยเตือนล่วงหน้า:
• ฟองสบู่ดอทคอมปี 2000
.
• วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008
.
• วิกฤติตลาดตอนโควิดปี 2021
.
และตอนนี้เขากำลังส่งสัญญาณเตือนครั้งใหม่:
.
“ภาษีการค้ากำลังเปลี่ยนทุกอย่าง”
.
1 - Globalization คือพลังเงียบที่อยู่เบื้องหลังภาวะเงินเฟ้อต่ำมานานกว่า 30 ปี
.
• แรงงานราคาถูกจากต่างประเทศ
.
• การเข้าถึง Supply Chain ทั่วโลกอย่างไร้ข้อจำกัด
.
• การจ้างผลิต (ฐานผลิตจากภายนอก) อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มอัตรากำไร
.
ทั้งหมดนี้ช่วยให้ราคาสินค้าผู้บริโภคต่ำ และผลกำไรของบริษัทสูง
.
แต่ยุคนั้นกำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว
.
2 - การแตกโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) จะทำให้เกิดเงินเฟ้อ
.
เมื่อคุณเลิกผลิตในประเทศที่มีต้นทุนต่ำ และเลือกกลับมาผลิตในประเทศที่มีต้นทุนสูง:
.
• ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น
.
• ห่วงโซ่อุปทานชะลอตัว
.
• ความผันผวนของราคาสูงขึ้น
.
Howard Marks มองว่านี่เป็น “โครงสร้างถาวร” ไม่ใช่แค่เรื่องชั่วคราว
.
3 - ภาษีการค้าเป็นเพียงอาการสะท้อนของรอยร้าวที่ลึกกว่านั้น
.
อย่ามองแค่ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีน
.
ลองมองไปรอบโลก:
.
• ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับยุโรป
.
• อินเดียขึ้นภาษีนำเข้า
.
• จีนตอบโต้การจำกัดเทคโนโลยีของชาติตะวันตก
.
นี่ไม่ใช่แค่ “สงครามการค้า”
.
แต่มันคือ “การหย่าร้างทางเศรษฐกิจระดับโลก”
.
และตลาดยังไม่ได้สะท้อนความเสี่ยงนี้ออกมาเลย
.
4 - ตำราการลงทุนแบบเก่าใช้ไม่ได้อีกต่อไป
.
ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา กลยุทธ์เดิมคือ:
.
• ลงทุนระยะยาวในบริษัทยักษ์ข้ามชาติ
.
• ลงทุนในตลาดเกิดใหม่
.
• เล่นสวนความผันผวน (Short volatility)
.
• ซื้อเมื่อราคาดิ่งลง (Buy the dip)
.
แต่ในโลกที่เต็มไปด้วยภาษีการค้าและเศรษฐกิจที่แตกแยก:
.
• อัตรากำไรถูกบีบ
.
• ห่วงโซ่อุปทานแตกร้าว
.
• เงินเฟ้อพุ่งแบบคาดเดาไม่ได้
.
• ความเสี่ยงด้านนโยบายเพิ่มสูง
.
นี่คือเกมคนละแบบโดยสิ้นเชิง
.
5 - สมมติฐานใหญ่ของ Marks: “พลังในการตั้งราคา” คือกุญแจสู่การอยู่รอด
.
ในโลกที่เศรษฐกิจแตกแยกและเงินเฟ้อสูง บริษัทที่จะอยู่รอดและเติบโตได้ คือบริษัทที่สามารถ:
.
• ควบคุมห่วงโซ่อุปทานของตัวเอง
.
• กำหนดราคาสินค้าได้เอง
.
• ดำเนินธุรกิจแบบเน้นภูมิภาค
.
• รับมือกับต้นทุนที่สูงขึ้นได้
.
สิ่งนี้จะเปลี่ยนมูลค่าของทั้งอุตสาหกรรมแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ
.
6 - กลุ่มที่น่าจะเป็นผู้ชนะในระบอบใหม่นี้:
.
• ผู้ผลิตภายในประเทศ
.
• อุตสาหกรรมกลาโหมและอวกาศ
.
• สินค้าโภคภัณฑ์และบริษัทเหมืองแร่
.
• โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค
.
• อุตสาหกรรมที่มีอำนาจในการตั้งราคา
.
ทรัพย์สินที่จับต้องได้และปลอดภัย (Safe-haven hard assets) จะกลับมามีความสำคัญอีกครั้ง
.
7 - แล้วใครคือผู้แพ้?
.
• ร้านค้าปลีกระดับโลกที่พึ่งพาการนำเข้า
.
• บริษัทที่มีหนี้สูง เสี่ยงต่อแรงกระแทกจากอัตราดอกเบี้ย
.
• บริษัทเทคโนโลยีที่มีอัตรากำไรเปราะบาง
.
• ตลาดเกิดใหม่ที่พึ่งพาการส่งออก
.
หุ้นยอดนิยมหลายตัวในวันนี้ กำลังเสียเปรียบเชิงโครงสร้างในสภาพแวดล้อมใหม่นี้
.
8 - ความเสี่ยงที่คาดเดายาก: การแทรกแซงของภาครัฐ
.
เมื่อเงินเฟ้อยังคงอยู่ และแรงกดดันทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น รัฐบาลอาจจะ:
.
• อุดหนุนบางอุตสาหกรรม
.
• กำหนดเพดานราคาสินค้า
.
• จำกัดการไหลเวียนของเงินทุน
.
แต่ว่าตลาดไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รับมือกับการแทรกแซงระดับนี้ ความผันผวนจะเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
.
9 - ตลาดยังไม่ได้สะท้อนสิ่งเหล่านี้เข้าไปเลย
.
โมเดลส่วนใหญ่ยังคงตั้งสมมติฐานว่าโลกจะกลับไปเป็นเหมือนก่อนปี 2020
.
แต่ Marks แย้งว่า นี่ไม่ใช่แค่เหตุการณ์ชั่วคราว
แต่มันคือการเปลี่ยนแปลงที่ยาวนานระดับทศวรรษ
.
นักลงทุนที่มองขาดจะเริ่มปรับพอร์ตก่อนที่ทุกอย่างจะชัดเจน
.
10 - สรุปชัด ๆ:
.
ข้อความของ Howard Marks ชัดเจนมาก:
.
“ถ้าคุณไม่ปรับตัวให้เข้ากับโลกใหม่ที่เต็มไปด้วยภาษี การแบ่งแยกทางเศรษฐกิจ และความผันผวนของเงินเฟ้อ — คุณจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”
.
ตลาดเปลี่ยน ผู้ชนะเปลี่ยน และตำราการลงทุนก็ต้องเปลี่ยนตาม
.
ประกิต สิริวัฒนเกตุ
กรรมการ บล.เมอร์ชั่นพาร์ทเนอร์ จำกัด(มหาชน)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา