Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Story BOWL
•
ติดตาม
26 เม.ย. เวลา 12:00 • การศึกษา
รีไรต์นิยาย ทำอย่างไรเมื่อเขียนเรื่องจนจบ
“The End จบบริบูรณ์”
เชื่อว่าทุกคนต้องดีใจมากแน่ ๆ ที่ได้พิมพ์คำคำนี้ลงในบรรทัดสุดท้ายของหน้านิยายที่เราตั้งใจเขียนกันมานานใช่ไหมคะ แต่ถึงแม้เนื้อหาทั้งหมดในนิยายจะจบลงแล้ว ในความเป็นจริง นั่นคือการเริ่มต้นงานขั้นตอนถัดไปของนักเขียน และเป็นขั้นตอนที่จำเป็นมาก ๆ ก่อนจะนำผลงานออกสู่สายตานักอ่าน นั่นคือการ รีไรต์ (Rewrite) นั่นเอง
การรีไรต์ คือการที่เราอ่านนิยายทั้งหมดใหม่อีกครั้งหลังจากเขียนจบ เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและภาษาในการเล่าเรื่องนิยายของเราให้ดีที่สุด นี่จึงเป็นการอ่านแบบละเอียด โดยจะมีส่วนที่จำเป็นต้องรีไรต์ 5 ส่วน ดังนี้
แก้คำผิด
ขั้นตอนนี้หลายคนสามารถจ้างพิสูจน์อักษรช่วยได้ แต่ในการรีไรต์ดราฟแรกควรเช็กด้วยตัวเองให้ละเอียดเสียก่อน เพราะคำผิดนั้นอาจไม่ใช่มาจากการสะกดผิด แต่เป็นการใช้คำที่ไม่ถูกต้องตามบริบทของประโยค ใช้คำซ้ำ ๆ บ่อยเสียจนอ่านไม่ลื่นไหล บางครั้งการอ่านทวนอีกครั้งก็ทำให้เราคิดคำที่ดีกว่าเดิมออก ตรงนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรแก้ไขคำด้วยตัวเองเสียก่อนหนึ่งรอบ จากนั้นหากใครสะดวกจะส่งให้ทางพิสูจน์อักษรอีกครั้งก็สามารถทำได้เลยค่ะ
เช็กพลอตและตั้งคำถาม
เวลารีไรต์เราต้องคอยตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เราเขียนลงไป ด้วยความที่นิยายมีความยาวหลายหน้ามาก การเขียนจึงไม่ได้จบในวันเดียว หลายครั้งที่เราทิ้งเบาะแสในนิยายหรือทิ้งปมปัญหาไว้ เราจึงต้องเช็กว่าสิ่งเหล่านี้ได้รับการแก้ไขในฉากอื่นจนครบหรือไม่ อย่าปล่อยให้กลายเป็นแผลที่ทำให้เนื้อเรื่องของเราไม่สมบูรณ์แบบ
ลองกางทรีตเมนต์มาเช็กอีกสักครั้ง ตรวจสอบว่าเราได้เขียนทั้งหมดตามต้องการแล้วหรือไม่ หรือมีอะไรที่นอกเหนือเพิ่มเข้ามาก็ให้เราจดประเด็นไว้ คำถามที่เราทิ้งมาร์คเอาไว้ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีในตอนรีไรต์ค่ะ
ตรวจสอบข้อมูล
ด้วยความที่นิยายส่วนใหญ่นั้นมีพื้นฐานสร้างมาบนพื้นฐานโลกจริง ฉากที่มีอยู่จริง กรอบเวลาหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ทำให้เราต้องหาข้อมูลตั้งแต่เริ่มเขียนเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งว่าข้อมูลนั้นอ้างอิงมาถูกต้องมากแค่ไหน และต่อให้เป็นนิยายที่สร้างจากจินตนาการก็ยังต้องเช็กพื้นฐานการวางโครงสร้างให้ Setting ของนิยายเรื่องนั้นด้วยว่า
สอดคล้องตามที่เราตั้งเอาไว้ทั้งหมดหรือไม่ รวมถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือสังคมที่เราวางไว้ในนิยายก็ควรทำให้สอดคล้องกัน อย่าเผลอเอาเรื่องราวจากสังคมในชีวิตจริงของเราใส่ไปทั้งที่มันอาจไม่ตรงตามข้อมูลของนิยายเรื่องนั้น ๆ
เช็กคาแรกเตอร์
ส่วนสำคัญอีกอย่างคือ คาแรกเตอร์ตัวละครแต่ละตัว หลายคนเกิดปัญหา เขียนไปเขียนมาตัวละครเอียงมามีคาแรกเตอร์ใกล้เคียงกันไปหมด หรือไม่คาแรกเตอร์ก็แกว่งมาคล้ายตัวเราที่เป็นผู้เขียน การตัดสินใจในบางฉากจึงดูไม่สมเป็นคนคนนั้น รวมไปถึงคำพูดต่าง ๆ ในบทสนทนาที่ยังไม่แสดงคาแรกเตอร์ชัดเจน ในนิยายหลายเรื่อง คาแรกเตอร์เป็นสิ่งจูงใจให้นักอ่านติดตาม
ความชื่นชอบในตัวตนของตัวละครนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ต้องพึงระวังอย่าให้เราบังคับคาแรกเตอร์ตามสถานการณ์ที่สร้างจนเสียความเป็นตัวละคร เพราะฉะนั้นลองเช็กอีกครั้งเพื่อความแน่ใจดูนะคะ
อรรถรส
ในการเขียนนิยาย เรามีขั้นตอนเขียนพลอตและทรีตเมนต์ไว้แล้ว แน่นอนว่านิยายของเราถูกตั้ง Genre ไว้ตั้งแต่แรก การอ่านรีไรต์เราต้องเช็กว่านิยายของเราได้อรรถรส หรือ Mood & Tone ตามเป้าที่เราต้องการหรือไม่ เพราะแนวเรื่องคือกลุ่มเป้าหมาย หากเราเขียนได้ชัดเจนตามต้องการ เราก็สามารถตามหานักอ่านที่ชอบแนวนี้ได้ถูกจุด สามารถเลือก Genre ที่ตรงตามต้องการได้ในตอนลงนิยายออนไลน์ หรือวางแผงหน้าร้านหนังสือ
และนี่ก็เป็นส่วนต่าง ๆ ที่อยากให้ทุกคนตรวจทานระหว่างรีไรต์นิยายตัวเองนะคะ เพราะเมื่อนิยายของเราออกสู่สายตาคนอ่านแล้ว สิ่งที่จะตามมาก็คือการวิจารณ์ กระแสตอบรับที่มาจากแฟนนิยายของเรา ดังนั้นในฐานะนักเขียนจึงต้องเตรียมพร้อมทั้งเนื้อหาและเตรียมพร้อมตัวเองที่จะรับฟังเพื่อพัฒนางานของเราต่อไปค่ะ
นักเขียน
นิยาย
ภาพยนตร์
1 บันทึก
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย