29 เม.ย. เวลา 06:48 • การศึกษา

เจ้าชายสิทธัตถะ ออกบวช ด้วยสาเหตุใด ? และ สิ่งใดที่เจ้าชาย "ตรัสรู้"

.
สวัสดีครับ กระผม คุณครูเอ็กซ์ตร้า
.
กราบสวัสดี ผู้เจริญในธรรม ในศีล สมาธิ ปัญญา ทุกท่าน ครับ
.
เจ้าชายสิทธัตถะ
ทรงละทิ้งราชสมบัติ ออกแสวงหา "หนทางแห่งการดับทุกข์"
เมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา (29 ปี) ครับ
.
ท่าน ทรงบำเพ็ญเพียร ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ที่ตำบลพุทธคยา
.
และ ตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่ออายุ 35 พรรษา (35 ปี) ครับ
.
โดยมีหลักคำสอนสำคัญของ พระองค์ท่าน คือ
.
- หลักธรรม "อริยสัจ 4"
.
- อริยมรรคมีองค์ 8
.
- กฏแห่งกรรม
.
- รวมถึง วิธีการหลุดพ้นจาก "วัฏสงสาร" ครับ
.
โดยเหตุผลที่ "เจ้าชายสิทธัตถะ" ทรงได้ตัดสินใจออกบวช
.
ไม่ได้เกิดจาก "ความบังเอิญ" นะครับ
.
แต่เป็นผลจาก การสะสม การสังเกต
และ ความตรึกตรองเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์
.
โดยมีปัจจัยเบื้องหลัง "ก่อนการออกบวช" ดังนี้ ครับ
.
1. การถูกปิดกั้นจากความจริง โดยพระบิดา
.
"พระเจ้าสุทโธทนะ"
ทรงหวังให้ "เจ้าชายสิทธัตถะ" เป็นกษัตริย์
.
"พระเจ้าสุทโธทนะ" จึงสั่งให้สร้างปราสาท 3 ฤดู (ร้อน หนาว ฝน)
.
ที่เต็มไปด้วยความสุขสำราญ ให้แด่ "เจ้าชายสิทธัตถะ"
.
และ ทรงห้ามไม่ให้ "เจ้าชาย" เห็นความทุกข์ของมนุษย์
เช่น ความแก่ ความเจ็บป่วย ความตาย
.
แต่การปกป้องนี้ กลับทำให้ "เจ้าชายสิทธัตถะ"
ขาดประสบการณ์ เกี่ยวกับชีวิตจริง
.
แม้ "เจ้าชาย" จะมีครัลทุกอย่าง ทั้งอำนาจ ทรัพย์สมบัติ ครอบครัว
.
แต่ "เจ้าชาย" กลับรู้สึกว่า
สิ่งเหล่านี้ ไม่ตอบโจทย์ ความหมายของชีวิต ครับ
.
เปรียบเทียบเหมือน การมีทุกอย่าง แต่ยังรู้สึก "ว่างเปล่า" ภายใน
.
2. การเริ่ม "คิดไตร่ตรอง" ก่อนการออกบวช เกิดอะไรขึ้นบ้าง ?
.
การพบ "เทวทูต 4" คือ สัญญาณเริ่มต้น "แห่งการตื่นรู้" ครับ
.
เหตุผลที่ "เจ้าชายสิทธัตถะ" ตัดสินใจออกบวช
.
คือ การมาเห็นของ "เทวทูต 4"
ที่ "เจ้าชาย" ได้ทรงพบ ขณะเสด็จประพาสนอกวัง
.
1. เห็นคนแก่ เห็นความเสื่อมสภาพของร่างกาย
ทำให้ "เจ้าชาย" รู้สึกว่า แม้แต่ "ตัวเอง" ก็ต้องแก่
.
2. เห็นคนเจ็บ เห็นความทุกข์ทรมาน จากโรคภัยไข้เจ็บ
ทำให้ "เจ้าชาย" รู้สึกว่า แม้แต่ "สุขภาพ" ก็ไม่จีรัง ยั่งยืน
.
3. เห็นคนตาย เห็นความไม่เที่ยงของชีวิต
ทำให้ "เจ้าชาย" รู้สึกว่า "ความตาย" เป็นของจริง
.
4. เห็นสมณะ (นักบวช) ผู้แสวงหาปัญญา ด้วยชีวิตที่เรียบง่าย
ทำให้ "เจ้าชาย" เริ่มมองเห็นทางออก ที่อาจเป็นไปได้
.
3. ในคืนวันที่ "เจ้าชาย" ตัดสินใจออกบวช
.
"เจ้าชาย" ทรงมอง "พระนางยโสธรา" ผู้กำลังบรรทม
.
และ "พระโอรส" วัยทารก (ราหุล) ด้วยความรัก
.
แต่ "เจ้าชาย" ก็ตระหนักว่า แม้แต่ "ความรัก" ก็เป็น "เครื่องพันธนาการ"
.
"เจ้าชาย" ทรงลุกขึ้น เสด็จออกจากพระราชวัง
พร้อมกับ "นายฉันนะ" (สารถีผู้บังคับม้า)
และ ม้าคู่บารมี ชื่อ "กัณฐกะ"
.
เมื่อถึงฝั่ง "แม่น้ำอโนมา"
"เจ้าชาย" ทรงใช้ดาบตัดมวยผม ส่งกลับพระราชวัง
หมายถึง "การปลดเปลื้องอัตตา"
.
พร้อมกับ ส่งเครื่องประดับทั้งหมด ส่งกลับพระราชวัง
หมายถึง "การสละกิเลส" แล้ว
.
นั้นก็หมายความว่า
"เจ้าชายสิทธัตถะ" ได้ละทิ้งความเป็น "เจ้าชาย" เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ครับ
.
4. การออกบวชครั้งนี้ ไม่เหมือน การออกบวช ของนักบวชทั่วไป
.
การออกบวชของ "เจ้าชายสิทธัตถะ"
แตกต่างจากการบวช "เพื่อหนีโลก" หรือ บวชตามประเพณี ครับ
.
เพราะเป้าหมาย ของ เจ้าชายสิทธัตถะ
คือ ค้นหา "สัจธรรม" เพื่อช่วยมนุษย์ทั้งปวง
.
ต่างจาก นักบวชทั่วไป ในสมัยนั้น
ที่บวชเพื่อบุญ หรือ หลีกเลี่ยงหน้าที่
.
โดยสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจาก "เจ้าชายสิทธัตถะ" ออกบวช นั้นก็คือ
.
- ช่วงแรก "เจ้าชาย" ทรงศึกษาธรรม กับ "อาจารย์" ชั้นนำในสมัยนั้น
เช่น อาจารย์อาฬารดาบส (อาจารย์คนแรกของเจ้าชาย)
.
อาจารย์อุทกดาบส (ผู้ถ่ายทอดการฝึกสมาธิขั้นสูงแก่เจ้าชาย)
.
แต่ "เจ้าชาย" พบว่า แนวทางของท่านเหล่านั้น
ยังไม่ใช่ทางพ้นจาก "ความทุกข์" โดยสมบูรณ์
.
- ต่อมา "เจ้าชาย" ทรงทดลองบำเพ็ญทุกรกิริยา (การทรมานร่างกาย)
แต่พบว่า การทรมาน "ตน" ไม่นำไปสู่ "ปัญญา"
.
- และในที่สุด "เจ้าชาย" ทรงเลือกทางสายกลาง ครับ
.
ทรงบำเพ็ญเพียร ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ที่ตำบลพุทธคยา
และ ได้ตรัสรู้เป็น "พระพุทธเจ้า"
.
สรุป ครับ
.
การออกบวชของ "เจ้าชายสิทธัตถะ"
- ไม่ใช่การหนีปัญหา แต่เป็นการ เดินเข้าสู่ปัญหา ด้วยปัญญา
.
- ไม่ใช่การปฏิเสธโลก แต่เป็นการ เข้าใจโลกอย่างถ่องแท้
.
- การออกบวช เท่ากับ การเกิดใหม่ ทางจิตวิญญาณ
.
การตรัสรู้ ของ "เจ้าชายสิทธัตถะ"
.
คือการ "นั่งสมาธิ" บำเพ็ญเพียร
ณ ที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลา 7 สัปดาห์ (49 วัน) ครับ
.
โดย "เจ้าชาย" ชนะความสงสัย และ ชนะกิเลสทั้งหมด
.
เมื่อ เช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ครับ
.
"เจ้าชายสิทธัตถะ" ได้ "ตรัสรู้" เป็น "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า"
.
เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ "ต้นศรีมหาโพธิ์"
.
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบล อุรุเวลาเสนานิคม
หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ครับ
.
ปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้เรียกว่า "พุทธคยา"
เป็นตำบลหนึ่ง ของเมืองคยา แห่งรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ครับ
.
โดย สรุปสิ่งที่ "เจ้าชายสิทธัตถะ" ตรัสรู้ คือ
.
1. อริยสัจ 4 : ความจริง 4 ประการ ของชีวิต
.
1. ทุกข์ : ชีวิตมี "ความทุกข์" โดยธรรมชาติ (เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย)
.
2. สมุทัย : สาเหตุของความทุกข์ คือ "ตัณหา" (ความอยากไม่รู้จบ)
.
3. นิโรธ : ความทุกข์ดับได้ เมื่อ "ดับตัณหา"
.
4. มรรค : ทางดับความทุกข์มี 8 ทาง (อริยมรรคมีองค์ 8)
.
2. หลักกรรม : กฎแห่งเหตุ และ ผล
.
ทุกการกระทำ กาย-วาจา-ใจ มีผลตามมา
.
"เราทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"
ไม่มีใครลิขิตชีวิตเราได้ ครับ นอกจากตัวเราเอง
.
3. อนิจจัง : ไม่มีอะไรเที่ยงแท้
.
ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงเสมอ ความสุข - ความทุกข์ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
.
"การยึดติด" คือ "ต้นเหตุ ของความทุกข์"
.
4. ทางสายกลาง คือ ทางพ้นทุกข์
.
ไม่ตึง การทรมานตัวเอง หรือ หย่อน ตามใจกิเลส มากเกินไป
.
ใช้ชีวิตด้วยปัญญา และ ความพอดี ดีที่สุด ครับ
.
5. อริยมรรคมีองค์ 8 แนวทางปฏิบัติสู่ "ความหลุดพ้น"
แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้ ครับ
.
1. ปัญญา : ความเห็นชอบ - คิดชอบ
.
2. ศีล : เจรจาชอบ - กระทำชอบ - เลี้ยงชีพชอบ
.
3. สมาธิ : เพียรชอบ - ระลึกชอบ - ตั้งใจชอบ
.
"พระพุทธเจ้า" ตรัสรู้ว่า
.
ความทุกข์เกิดจาก "ความอยาก"
.
แต่ "มนุษย์" ทุกคน สามารถ "หลุดพ้น" ได้ ครับ
.
ถ้าใช้ชีวิตด้วย ปัญญา ไม่ยึดติด และ เดินทางสายกลาง
.
หากข้อมูลมีข้อผิดพลาดประการใด
กระผมต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย นะครับ
.
และ กระผมก็ขอให้ท่านผู้รู้ ช่วยเสริมในสิ่งที่ขาด
เพื่อให้บทความในคลิปตอนนี้
เป็นข้อมูลให้บุคคลรุ่นหลังได้ศึกษา ต่อไป ครับ
.
สุดท้ายในตอนนี้ ครับ ขอให้ผู้เจริญในธรรม ทุกท่าน
.
จงเป็นผู้เจริญในศีล สมาธิ ปัญญา ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
.
จนนำไปสู่ความหลุดพ้น จากความทุกข์ทั้งปวง ทุกคน ทุกท่าน ด้วยเทอญ สาธุ 🙏🙏🙏
.
สวัสดีครับ
.
#ธรรมะ , #ศาสนาพุทธ , #พุทธศาสนา , #พระพุทธเจ้า , #เจ้าชายสิทธัตถะ
โฆษณา