1 พ.ค. เวลา 14:44 • ข่าวรอบโลก

ไฟฟ้าดับในคาบสมุทรไอบีเรีย 28 เมษายน 2025 อยู่อันดับที่เท่าไหร่ ในประวัติศาสตร์โลก

ไฟฟ้าเริ่มดับในช่วงกลางวันของวันที่ 28 เมษายน 2025 ทั้งคาบสมุทรไอบีเรีย ไฟฟ้าดับ ประชาชนกว่า 55 ล้านคนได้รับผลกระทบ
สเปน
ปอร์ตุเกส
อันดอร่า
และบางส่วนของฝรั่งเศส
1️⃣ ความโกลาหล เกิดขึ้นทันที ทุกอย่างที่ใช้ไฟฟ้าชะงักงัน
การจราจรทั้งบนบก อากาศ ใต้ดิน
การสื่อสาร อินเตอร์เน็ต
ระบบธนาคาร ระบบออนไลน์
สาธารณูปโภคที่ใช้ไฟฟ้า
โรงแรม โรงพยาบาล ฯลฯ
2️⃣ ผ่านมา 3 วันแล้ว สาเหตุการเกิด (อยู่ระหว่างการสอบสวน แสวงหาความจริง)แต่สิ่งที่ทยอยๆออกมาตามสื่อต่างๆ ทีเป็นข้อสันนิษฐานประมวลได้ดังนี้
▪️มีการโจมตีทางไซเบอร์ (แนวคิดนี้ตีตกไปแล้ว)
▪️การก่อวินาศกรรม (ไม่พบว่ามี)
▪️ระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงมีปัญหา (อยู่ระหว่างการตรวจสอบ)
▪️ปัญหาด้านวิศวกรรม จากการมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจำนวนมาก (แสงอาทิตย์- ลม) ความไม่เสถียรของโรงไฟฟ้า 2 ประเภทนี้
ที่สเปน ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจำนวนมากถึง 15,000 เมกะวัตต์ (ร้อยละ 60) หายไปในช่วงเวลาเพียงอึดใจเดียว 5 วินาที
3️⃣ โรงไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และลม ของ 2 ประเทศนี้มากแค่ไหน ?
▪️สเปน ร้อยละ 50 (ลม 23 แสงแดด 17) และพลังน้ำอีกร้อยละ 13 และในอนาคตในปี 2030 จะเพิ่มสัดส่วนเป็นร้อยละ 81
▪️ปอร์ตุเกส ร้อยละ 37 (ลม 27 แสงแดด 10) ทั้งนี้หากคิดพลังงานหมุนเวียนทุกประเภทมากถึงร้อยละ 71 และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 85 ในปี 2030 และในจำนวนนั้นเป็นแสงอาทิตย์มากถึง 20,400 เมกะวัตต์
ทั้งสองประเทศนี้ มีระบบส่งไฟฟ้าเชื่อมถึงกัน มีการแลกเปลี่ยนไฟฟ้าระหว่างกันไม่น้อยกว่า 25 ปี และมีการเชื่อมต่อกับระบบส่งไฟฟ้ากับยุโรปผ่านฝรั่งเศส (ปี 2007)
4️⃣ ขยายความปัญหาด้านวิศวกรรม
การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และลม เริ่มจากการเป็นแรงดันกระแสตรง ก่อนจะแปลงเป็นแรงดันกระแสสลับผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Inverter ซึ่งไม่มีความเฉื่อยทางกล ทำให้ระบบไฟฟ้าขาดความเฉื่อย (Lack of inertia)
1
จุดนี้คือจุดที่ต้องโฟกัส ซึ่งแตกต่างจากโรงไฟฟ้าแบบอื่นๆ และนี้อาจเป็นสาเหตุ ?!
1
การผลิตไฟฟ้าจากทั้งแสงอาทิตย์และลม เป็นจำนวนมากๆ จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่มาชดเชยการเกิดขึ้นของ Lack of inertia นี้ซึ่งต้องมีการลงทุนเพิ่ม (เติมเงินลงไป)
1
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดถึงสาเหตุที่เกิดว่าอาจจะเกิดจาก สภาพอากาศทำให้เกิดการเแกว่งตัวอย่างผิดปกติต่อระบบสายส่ง (Induced atmospheric vibration) แนวคิดนี้จากผู้ให้บริการด้านไฟฟ้าของปอร์ตุเกส ?! (มองเป็นเหตุสุดวิสัย ได้หรือไม่ ?!)
อย่างไรก็ดี ปัญหาด้านวิศวกรรมอื่นๆ ก็ต้องตรวจสอบ แสวงหาข้อเท็จจริงด้วย ไม่ว่าจะเป็นด้านการบำรุงรักษาตามขั้นตอนของอุปกรณ์ต่างๆในระบบผลิตไฟฟ้า และระบบส่ง (แบบนี้จะไม่เป็นเหตุสุดวิสัย ?!)
🚩เกร็ดเสริม
โรงไฟฟ้าที่เกาะอยู่กับระบบ จะทยอยๆหลุดปลดออกจากระบบ หากพบว่าความถี่ของระบบไม่เสถียรภาพ หลุดแบบโดมิโน หากพบว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าไม่สัมพันธ์กับระบบผลิต
1
5️⃣ ผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านประชากร มากแค่ไหน?
▪️ ในระดับยุโรป
หากเทียบในระดับยุโรป มีผู้ได้รับผลกระทบใกล้เคียงกับเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่อิตาลี - สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ 28 กันยายน 2003 ประชากร 56 ล้านคนได้รับผลกระทบ
ในยุโรปมีไฟฟ้าดับใหญ่หลังจากเหตุการณ์ที่อิตาลีอีก 2 ครั้ง คือที่เยอรมนี - ยุโรปตะวันตก ปี 2006 และที่อังกฤษในปี 2019
▪️ในระดับโลก
เป็นอันดับที่ 15 จากผลกระทบ 56 ล้านคน ในขณะที่ 14 อันดับก่อนหน้า เรียงได้ดังนี้ครับ
อันดับที่ 1 - 7 เกิดขึ้นที่เอเซียใต้ โดยอันดับที่ 1 (620 ล้านคน ปี 2012)และ อันดับที่ 3 (230 ล้านคน ปี 2001)เกิดขึ้นที่อินเดีย
ที่เหลือเกิดขึ้นที่ปากีสถาน 3 ครั้ง และบังคลาเทศ 2 ครั้ง
อันดับที่ 8 และ 9 เกิดขึ้นที่อินโดนีเซีย
อันดับที่ 10 และ 12 เกิดขึ้นที่บราซิล (อันดับที่ 11 เกิดที่ตุรกี)
อันดับที่ 13 เกิดขึ้น อิตาลี - สวิตเซอร์แลนด์
อันดับที่ 14 เกิดขึ้น แคนาดา - สหรัฐอเมริกา (56 ล้านคน)
🚩ประเด็นสำคัญก็คือ อันดับไม่สำคัญเท่ากับการเกิดเหตุการณ์นี้ในยุโรป ประเทศที่มีความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ~ ด้านวิศวกรรม
และต้องไม่ลืมว่า 2 ประเทศนี้ ใข้พลังงานหมุนเวียน (แสงแดด ลม) เป็นสัดส่วนที่มาก เพื่อลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล (ปอร์ตุเกส ยุติการใช้ถ่านหินมาผลิตไฟฟ้าหลายปีแล้ว)
6️⃣ ประเทศไทยเราหล่ะ .. ไฟฟ้าดับใหญ่ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ไฟดับทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ เวลา 18.32 น โดยจ่ายไฟคืนได้ในเวลา 23.00 น
สาเหตุในครั้งนั้น เกิดจากฟ้าผ่าในระบบส่งที่จ่ายไฟยังภาคใต้ และระบบที่เหลืออยู่ไม่เพียงพอที่จะจ่ายกระแสไฟฟ้า
🔳🔳จบโพสต์
เคสนี้เป็น Lessons Learned ให้กับ Electricity Utility ทั่วโลก และเข้าใจว่าวิศวกรไฟฟ้าทั่วโลก รอฟังผลการสอบสวนเรื่องนี้ในตอนจบที่เป็นทางการ (จากหน่วยงานรัฐ) เรายังมีเวลาที่จะรอฟังผล และไม่ควรด่วนสรุปจากข้อสันนิษฐานต่างๆ เพราะคำตอบที่ได้ ย่อมมีผลกระทบกับหน่วยงานที่เป็นสาเหตุ !!
ภายใต้การดำเนินการความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) โรงไฟฟ้าทั้งแสงแดด และลม เป็นองค์ประกอบสำคัญในการที่จะติดตั้ง เพื่อบรรลุของแผน .. ประเทศไทยเราก็เช่นกัน
ดังนั้นหากปัญหาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าต่างๆ ที่จะมีจากโรงไฟฟ้าทั้ง 2 ชนิด จำเป็นที่จะต้องคำนึงและนำไปสู่การเตรียมพร้อม
..
ปัญหาด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
ต้องแก้ไขด้วยหลักวิศวกรรมไฟฟ้า
หลักวิศวกรรม คือ วิทยาศาสตร์ พิสูจน์ได้
ดูหมือนว่า ต้องไปเปิดตำรา
เรื่อง Power System Stability อีกครั้ง ..
🔳🔳
เรียนรู้ .. ไปพร้อมๆกัน
เรียบเรียง
1 พฤษภาคม 2025
เครดิตภาพ pixabay
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา