2 พ.ค. เวลา 22:00 • ไลฟ์สไตล์
ขออนุญาตเปรียบเทียบให้เห็นภาพ
ถ้าเป็นการล้ม แบบที่ต้วเราลงไปนอนแผ่แอ้งแม้ง การจะยันตัวลุกขึ้นมาต้องใช้กำลังแขนขาพยุงกายทรงตัว หรือหาที่จับเพื่อฉุดตัวเองให้ลุกขึ้น
นอกจากกำลังแขนขา ยังต้องใช้ "พื้นที่รอบข้าง" ลองนึกถึงกรณีเหยียบกันตายที่เกาหลีเมื่อไม่นานมานี้ คนล้มแล้วลุกไม่ได้เพราะพื้นที่รอบข้างมันแน่นไปหมด ไม่มีสเปซให้ส่งตัวเองให้ลุกขึ้น พื้นที่รอบข้าง จึงสำคัญไม่แพ้กำลังแขนขาของตัวเอง
คนเราหกล้มแล้วลุกได้เองโดยอัตโนมัติ เพราะตอนเด็กๆทุกคนก็หกล้มกันบ่อยๆค่ะ สิ่งนี้เรียกว่าการเรียนรู้และการฝึกฝน จนกลายเป็นสิ่งที่เราทำได้เองโดยอัตโนมัติ
เปรียบเทียบกับความล้มเหลวในการทำอะไรบางอย่าง การลุกขึ้นก็ใช้หลักการเดียวกันค่ะ
  • กำลังกายแขนขา – หมายถึงตัวเราเอง
  • หาที่จับเพื่อฉุดตัวเองให้ลุกขึ้น – หมายถึงการนึกถึงเป้าหมาย การมีความหวัง ตระหนักในความรับผิดชอบต่อชีวิตตนเอง
  • รู้วิธีลุก – หมายถึงประสบการณ์
  • พื้นที่รอบข้าง – หมายถึงสิ่งสนับสนุนภายนอก
สังเกตไหมว่า..
ล้มตรงไหนบ่อยๆพื้นตรงนั้นจะแน่น
แต่ถ้าล้มแล้วไม่ยอมลุก
ปล่อยให้ตัวเองจมอยู่ตรงนั้นนานเกินไป
เราจะลืมวิธีลุกในที่สุด
1
แรงบันดาลใจ เพียงเดี่ยวๆอาจไม่เสถียร อาจช่วยได้แค่ตอนสปาร์ค ช่วยให้ฮึดได้บ้าง แต่ก็มักแผ่วปลาย
จึงต้องอาศัยหลักคิด-วิธีคิด-เหตุผลและอีกหลายๆอย่าง มาประกอบเพื่อเป็นฐานที่มั่นคง เพราะชีวิตคนเราไม่ได้ตั้งอยู่บนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถดำเนินไปด้วยแรงส่งอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงประเภทเดียว
โฆษณา