5 พ.ค. เวลา 05:52 • การตลาด
กลับกันค่ะ ผู้ซื้อมักต้องการจ่ายผ่านแอพพลิเคชั่น ในขณะที่ฝั่งผู้ขายกลับชอบเงินสดมากกว่า คุณลองไปสำรวจร้านค้าในตจว.ดูก็ได้ บางร้านตั้งป้ายกันเลยทีเดียวว่า "ร้านนี้ไม่รับชำระผ่านแอพ" ไม่กลัวลูกค้าหายด้วย เพราะหลายร้านขายดีเป็นปกติ เหตุผลนั้นมีอยู่ 2 ประการ คือ
1. ร้านค้าหลายร้านโดนภาษีย้อนหลัง เพราะกฎหมายบังคับให้ทุกธนาคารต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร เมื่อลูกค้าฝากเงินหรือรับเงินด้วยการโอน 3,000 ครั้งต่อปีต่อหนึ่งธนาคาร และรวมทุกบัญชีใน 1 ธนาคาร 400 ครั้งต่อปี และมียอดเงินรับรวม 2,000,000 บาทต่อปี ทำให้พ่อค้าแม่ค้าบอกต่อๆกัน จนหนาวไปตามๆกัน
2. ข่าวการสร้างหลักฐานสลิปโอนเงินปลอมของบรรดามิจฉาชีพ ที่ทำให้เกิดความตระหนกและวิตกกังวลในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ที่ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นกว่าเดิม
การโอนเงินผ่านแอพพลิเคชั่นนั้น ให้ความสะดวกในเรื่องที่ฝั่งผู้ซื้อไม่ต้องพกเงินสด และฝั่งผู้ขายก็สามารถนำเงินสดเข้าบัญชีได้ทันที ไม่ต้องกลัวลูกจ้างหรือคนในครอบครัวแอบบยักยอกเงินสดไปแต่อย่างใด
แต่ฝั่งผู้ที่ได้ประโยชสูงสุด คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก ธนาคาเจ้าของแอพพลิเคชั่น ลดปริมาณการจ้างงาน ลดปริมาณการทุจริตยักยอกเงินสด ธนาคารเพียงสร้างบ้านใหม่ให้ ลูกค้าโอนเองจากบัญชีตัวเอง รับผิดชอบเอง เจ็บเอง ส่วนผู้รับโอน ก็รับผิดชอบเอง เจ็บเองพอกัน ที่สุดมิจฉาชีพกับเจ้าของบัญชี ก็เล่นเอาเถิดเจ้าล่อกันเอง.....ในขณะที่ "ธนาคารลอยตัว"
28 ม.ค. ที่ผ่านมา รัฐมนตรีบ้านเรา
เพิ่งจะออกร่างพรบ. ให้ธนาคารต้องร่วมรับผิดชอบ
กรณีลูกค้าถูกมิจฉาชีพดูดเงินออกจากบัญชี
แต่มีประเด็นคือ หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นความผิดธนาคาร
คำถามคือ จะพิสูจน์ได้วันไหน?
โฆษณา