Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Ourgreenfish
•
ติดตาม
7 ชั่วโมงที่แล้ว • การตลาด
เหตุใด Pitch Deck ส่วนใหญ่จึงล้มเหลว!
ลองจินตนาการว่าคุณกำลังนั่งตรงข้ามกับนักลงทุน มือเหงื่อซึมเล็กน้อย แต่มั่นใจ เพราะคุณเตรียมตัวมาอย่างดี สไลด์ Pitch Deck ของคุณดูดี มีทั้งภาพสวย ตัวเลขเติบโต และเนื้อหาครบถ้วน แต่หลังจากคุณเปิดไปแค่สไลด์ที่สาม นักลงทุนก็ถามว่า “ขอโทษนะครับ… แล้วบริษัทของคุณทำอะไรกันแน่?”
ถ้าคุณเคยเจอสถานการณ์แบบนี้ คุณไม่ได้เจอคนเดียว เพราะนี่คือเหตุการณ์สุดคลาสสิกที่เกิดขึ้นบ่อยจนน่าตกใจ
เข้าใจพื้นฐาน จุดประสงค์ของ Pitch Deck ไม่ใช่ “เล่าเรื่อง” แต่ต้อง “ชัดเจน”
Jesse Heikkilä นักลงทุนจาก Failup Ventures ผู้เคยเห็น Pitch Deck มานับพัน บอกว่า ความผิดพลาดที่พบบ่อยที่สุด คือ ไม่สามารถสื่อให้เข้าใจได้ว่าบริษัททำอะไร โดยเฉพาะในสามสไลด์แรก ซึ่งควรตอบคำถามสำคัญสามข้อ
ปัญหาคืออะไร?
คุณแก้ปัญหานั้นอย่างไร?
ทำไมต้อง “ตอนนี้”?
คุณอาจมีไอเดียดีเยี่ยม แต่ถ้าสื่อสารสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ โอกาสที่นักลงทุนจะสนใจก็ลดลงทันที
ความผิดพลาดที่พบบ่อยใน Pitch Deck (และวิธีแก้)
1. เป้าหมายที่ซับซ้อนเกินไป (TAM/SAM/SOM)
นักลงทุนไม่ต้องการเห็นกราฟทรงกลมที่เต็มไปด้วยตัวย่อเข้าใจยาก แต่ต้องการเห็นว่า
มีลูกค้ากลุ่มไหนที่ “พร้อมซื้อ” สินค้าของคุณแล้ว?
คุณตั้งราคาอย่างไร?
ตลาดที่คุณเข้าถึงได้จริงในระยะสั้นมีมูลค่าเท่าไร?
เช่น
ลูกค้าเป้าหมาย : 20,000 ธุรกิจเล็ก
ราคาต่อปี : 1,000 บาท
SOM (ตลาดที่คุณเข้าถึงได้) : 20 ล้านบาท
ใช้วิธีคิดแบบตรงไปตรงมา แบบเดียวกับที่ Airbnb เคยทำ
TAM : 2 พันล้านทริปทั่วโลก
SAM : 560 ล้านทริปจากกลุ่มนักเดินทาง
SOM : 84 ล้านทริปที่ Airbnb เข้าถึงได้จริง
2. ไม่อธิบายสินค้าให้เข้าใจง่าย
Slide แรกของคุณควรมีข้อความเพียงประโยคเดียวที่อธิบายว่า “เราทำอะไร” แบบเข้าใจง่าย เช่น “จองห้องกับคนท้องถิ่น แทนการเข้าพักโรงแรม” — Airbnb
ถ้าคนที่ไม่ใช่สายเทคนิคอ่าน Slide แรกของคุณแล้วอธิบายสิ่งที่คุณทำไม่ได้ แสดงว่าคุณต้องกลับไปเขียนใหม่
3. เน้น “เล่าเรื่อง” มากเกินจนขาดเนื้อหา
การเล่าเรื่อง (Storytelling) ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย แต่ไม่ควรกลบเนื้อหาสำคัญ
Heikkilä บอกว่า “เล่าเรื่องเป็นเรื่องรอง สิ่งสำคัญคือต้องอธิบายให้เข้าใจว่า แก้ปัญหาอะไร และทำได้อย่างไร” Pitch Deck ควรเหมือน Investment Memo ที่มีโครงสร้างชัดเจน
ปัญหา
วิธีแก้
ตลาด
โมเดลรายได้
ความคืบหน้า
ทีม
ตัวเลขการเงิน
สิ่งที่นักลงทุนมองหาใน Pitch Deck จริงๆ
1. ทีมที่เหมาะสม
คนที่เข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า เช่น “ถ้าเป็น HealthTech เราจะสนใจทีมที่เคยเป็นหมอหรือทำงานสายสุขภาพมาก่อน” โชว์ให้เห็นว่า “คุณคือคนที่ใช่” เช่น
เคยแก้ปัญหานี้มาก่อน
มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรม
มีผลงานการสร้างธุรกิจในอดีต
2. มี Traction มากกว่าแค่ Vision
ต่อให้นำเสนอไม่เก่ง แต่ถ้ามี ตัวเลข ที่พิสูจน์ว่า “ลูกค้าชอบ” นักลงทุนจะสนใจทันที เช่น
รายได้ประจำ (MRR) 50,000 บาท เติบโต 15% ต่อเดือน
ลูกค้าใช้งาน 10,000 ราย
อัตราการกลับมาใช้ 30%
มีลูกค้าจ่ายเงินหรือพรีออเดอร์จริง
หากยังไม่มี Traction ให้แสดง “หลักฐานความต้องการของลูกค้า” เช่น รายชื่อรอลงทะเบียน หรือผลโฆษณาทดลอง
3. เรียบง่าย และเข้าใจใน 10 วินาที
สไลด์แต่ละหน้าควรมี “ประเด็นเดียว” ใช้ข้อความน้อย และมีภาพแทนคำพูด เช่น
กราฟการเติบโต
แผนภูมิกลุ่มลูกค้า
Roadmap แบบ Timeline
อย่าลืมว่า นักลงทุนดู Pitch Deck นับร้อยในแต่ละเดือน ถ้าเข้าใจไม่ได้ใน 10 วินาที ก็อาจถูกปิดไปทันที
เทคนิคพัฒนา Pitch Deck ให้ปัง
1. ทดสอบด้วย “Parent Test”
เปิด Slide แรกให้คนที่ไม่อยู่ในอุตสาหกรรมของคุณดู แล้วให้เขาอธิบายว่า “คุณทำอะไร” ถ้าเขาพูดผิด คุณต้องแก้ใหม่
2. ใช้ Data Visualizations แทนข้อความ
แสดงตัวเลขสำคัญผ่านภาพ เช่น
กราฟแสดงผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น
แผนภูมิกลุ่มเป้าหมาย
แผนระยะเวลาแบบเส้น
3. ใส่ใจ “สามสไลด์แรก”
หากคุณจะแก้เพียงจุดเดียว ให้เริ่มจากสามสไลด์แรก เพราะนักลงทุนจะตัดสินใจว่าจะดูต่อหรือไม่จากตรงนี้
ปัญหา : ให้เขารู้ทันทีว่าปัญหานั้น “ร้ายแรงและน่าแก้”
ทางแก้ : ให้เขาเชื่อว่าคุณมีทางออกที่ใช่
ตลาด : ให้เขาเห็นว่านี่ไม่ใช่แค่ไอเดียเล็กๆ แต่เป็นโอกาสใหญ่
ทำไม Pitch Deck ส่วนใหญ่จึงล้มเหลว?
ไม่ใช่เพราะไอเดียไม่ดี ไม่ใช่เพราะนักลงทุนใจร้าย แต่เพราะไม่สามารถอธิบายไอเดียดีๆ เหล่านั้นให้ “เข้าใจง่าย” ได้อย่างรวดเร็ว
อ้างอิง : HubSpot. (2025). Why Most Pitch Decks Fail — and How to Make Yours Stand Out. Retrieved from
https://www.hubspot.com/startups/fundraising/why-most-pitch-decks-fail
อ่านบทความเพิ่มเติม :
อ่านเพิ่มเติม
blog.ourgreenfish.com
Storytelling ในการขาย ใช้เรื่องราวเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและปิดการขาย
การสร้างความแตกต่างและดึงดูดความสนใจของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ และหนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลังในการทำเช่นนั้นคือ “Storytelling” หรือการเล่าเรื่อง
ธุรกิจ
เศรษฐกิจ
การตลาด
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย