Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เบื่อเมือง
•
ติดตาม
15 มิ.ย. เวลา 23:31 • ประวัติศาสตร์
ตามหาสาวัตถี EP. 22 - “เชตวันมหาวิหาร” ที่เคยเห็น (ตอนที่ ๒) :
ในปีพ.ศ. ๒๑๖๖ แคว้นมคธมีเมืองหลวงชื่อ “กรุงศรีอยุธยา” และข้าพเจ้าได้ไปเห็น “เชตวันมหาวิหาร”
[ #คำเตือน เนื้อหาในซีรีส์นี้ จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณในการอ่านมากเป็นพิเศษ ท่านที่ไม่สามารถวางองค์ความรู้เรื่องดินแดนเกิดของพระพุทธศาสนาอยู่ที่ “อินเดีย” เอาไว้ข้าง ๆ ตัวก่อนอ่านได้ แอดมินอยากให้ข้ามเพจนี้ไปนะครับ เพื่อที่เวลาอันมีค่าของท่านจะได้ไม่ต้องมาสูญเปล่าไปโดยไม่ได้ประโยชน์อันใด]
………………………………………………
📖 天竺国ハ、甚大国而、東西南北中央ト五郡ニ分テ、其一郡ノ内ニモ亦数部有テ、大国相分テ、一国二国又ハ十ヶ国二十ヶ国ニ分テ国王タル者多シ。暹羅国ハ其内ノ大国也。中華ノ西南、交趾(コウチ)国、占城(チヤンパ)国、柬埔寨(カンボチヤ)ヲ経テ行所也。日本ヲ去ル海上二千余里(但三十六丁ヲ以テツモリタル詞也)南天竺ノ東南ニ有ルノ国也東ハ柬埔寨国ニ隣リ、西ハ弁喝喇(ベンカラ)海ト云フ大入海ノ隔テ、向ハ孟留(モウル)国ニテ是モ南天竺ノ内ナリ
“ชมพูทวีป” (Tenjiku-koku 天竺国ハ) เป็นอาณาจักรที่มีขนาดใหญ่มาก แบ่งออกเป็น ๕ ภาคส่วน ได้แก่ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง (มัชฉิมประเทศ) โดยแต่ละภาคจะแบ่งออกเป็นหลายส่วน ชมพูทวีปยังแบ่งออกเป็นเมืองต่าง ๆ อีกมาก โดยมีกษัตริย์มากมายหลายพระองค์
“สยาม” เป็นราชอาณาจักรหนึ่งใน “ชมพูทวีป” ที่มีขนาดใหญ่มาก
เราสามารถเดินทางไปถึงที่นั่นได้โดย (เดินเรือ) ผ่านทางทะเลภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ผ่านเมืองโคจิ จามปา และกัมพูชา (สยาม) ห่างจากประเทศญี่ปุ่นไปทางทะเลมากกว่า ๒,๐๐๐ ลี้ (๗,๘๕๕ กิโลเมตร หรือ ๔๙๐ โยชน์)
อาณาจักรนี้ตั้งอยู่ทาง “ตะวันออกเฉียงใต้” ของชมพูทวีปทางใต้ ด้านทิศตะวันออกติดกับกัมพูชาซึ่งอยู่ถัดมา
ทางทิศตะวันตกคั่นด้วยทะเลขนาดใหญ่ที่เรียกว่าทะเลเบงกาลา (อ่าวเบงกอล) ที่จะข้าม (ฝั่ง)ไปได้จากเมือง เหมิงหลิว (มะริด - แอดมิน) ซึ่งอยู่ในชมพูทวีปทางใต้เช่นกัน
(จาก เรื่องราวเส้นทางอาชีพและความทรงจำของ ยามาดะ นางามาซะ ในสยาม)
………………………………. 📖
“ยามาดะ นางามาซะ” หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ “ออกญาเสนาภิมุข” เป็น “ซามูไร” ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาแสวงโชคในสยามในรัชสมัยของ “พระเจ้าทรงธรรม” ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๑๕๕ มีความดีความชอบจนได้รับตำแหน่งถึง “ออกญาเสนาภิมุข” บังคับบัญชากองทหารอาสาญี่ปุ่นในสยาม และยังเป็นพ่อค้าคนกลางกับชาวต่างชาติอีกด้วย
ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๑๗๓ ในรัชสมัยของ “พระเจ้าปราสาททอง” ขณะยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองปัตตานี “นางามาซะ” ได้ถูกอาวุธจนได้รับบาดเจ็บสาหัส และถูกลอบวางยาพิษซ้ำขณะรักษาตัวจึงเสียชีวิตในปีนั้น
เรื่องราวโดยพิสดาร (คือ อย่างละเอียด) ของ “ออกญาเสนาภิมุข” มีกล่าวไว้แล้วจำนวนมากในโลกโซเชียล แอดมินจะขอไม่กล่าวถึง แต่ที่อยากเน้นคือ “ข้อความ” ในประวัติของท่านที่ปรากฏอย่างเป็นทางการใน “หลักฐาน” ของชาวญี่ปุ่น (คือ ไม่ได้ “มโน”) ตาม “ประวัติ” ของท่านข้างต้นที่ระบุว่า
ท่านได้อาศัยอยู่ใน “สยาม” อันเป็น “ราชอาณาจักร” ที่มีขนาดใหญ่แห่งหนึ่งใน “ชมพูทวีป”
…
“ชมพูทวีป” หรือที่คน “ญี่ปุ่น” ในสมัยโบราณเรียกว่า “เท็นจิกุ” ( 天竺 ตัวอักษรเดียวกับที่จีนใช้เรียกชมพูทวีป - แอดมิน) หมายถึงแผ่นดินอันเป็นถิ่นกำเนิดของพระพุทธเจ้าและพุทธศาสนา และไม่ได้หมายถึง “อินเดีย”
เพราะในความรับรู้ของชาว “ญี่ปุ่น” สมัยนั้น “เท็นจิกุ” หมายถึงดินแดนที่เรียกกันว่า “เอเซียตะวันออกเฉียงใต้” ในปัจจุบันครับ
…
ใน “ประวัติศาสตร์” ของญี่ปุ่นตั้งแต่แรกเริ่มรับพระพุทธศาสนาเข้ามา ภิกษุชาวญี่ปุ่นรวมถึงประชาชนทั่วไปไม่เคยเดินทางไป “แสวงบุญ” นอกเกาะญี่ปุ่นที่ไกลเกินกว่าดินแดนประเทศ “จีน” หรือ “เกาหลี” เลย
“ชมพูทวีป” จึงเป็นเพียงดินแดนใน “อุดมคติ” ของชาวญี่ปุ่นที่นับถือพุทธศาสนา โดยได้รับรู้เรื่องราวส่วนใหญ่ผ่าน “พระไตรปิฎก” และ “บันทึก” ของภิกษุชาวจีนที่เคยไปจาริกแสวงบุญที่ “ชมพูทวีป” มาแล้ว เช่น หลวงจีน “ฟาเหียน” และ หลวงจีน “เสวียนจั้ง” (พระถังซัมจั๋ง) เท่านั้น
จนกระทั่งการ “เดินเรือ” และ “การค้าขาย” ทางทะเลของญี่ปุ่นเริ่มขยายตัวมากขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น) จึงเริ่มเป็นบันทึกหลักฐานว่ามีพ่อค้าและนักเดินทางแสวงบุญชาวญี่ปุ่นจำนวนมากได้เดินทางไปจนถึงดินแดนที่เรียกกันว่า “ชมพูทวีป”
…
เท็นจิกุ โทคุเบ 天竺徳兵衛
ในปีพ.ศ.๒๑๗๐ บริษัทการค้าแห่งหนึ่งในเมืองเกียวโต ได้ว่าจ้างบุตรชายพ่อค้าเกลือแห่งเมืองทากาซาโกะ ชื่อ “โทคุเบ 徳兵衛” ให้เดินทางไปกับเรือสำเภาการค้าที่ได้รับอนุญาติอย่างเป็นทางการ (เรือที่มีตรารับรอง 朱印船) เพื่อไปค้าขายที่ “สยาม”
เมื่อกลับมายังญี่ปุ่นซึ่งต่อมาได้มีนโยบายปิดประเทศ ทำให้ “โทคุเบ” และชาวญี่ปุ่นอื่น ๆ ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้อีก “โทคุเบ” จึงได้เขียน "เรื่องเล่าการข้ามทะเลไปชมพูทวีป" เกี่ยวกับการผจญภัยของเขาออกมาเผยแพร่แทน
เรื่องเล่าของ “โทคุเบ” นั้นสำคัญตรงที่ เป็นเรื่องราวของชาวญี่ปุ่น “คนแรก” ที่เชื่อได้ว่า ได้เดินทางไปถึง “แคว้นมคธ” ในชมพูทวีปที่แท้จริงได้
ทำให้เกิดเป็นตัวละครชื่อ “เท็นจิกุ โทคุเบ” ผู้ออกเดินทางผจญภัยไปในดินแดนชมพูทวีป จนกลายเป็นตำนานที่ถูกนำไปแสดงทั้ง “ละครเวที (คาบูกิ)” และ “ละครหุ่น” หลากหลายเวอร์ชัน และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น
…
แน่นอนว่าหากเราค้นหาเรื่องราวของ “เท็นจิกุ โทคุเบ” ใน “ตำราฝรั่ง” เราก็จะพบแค่ข้อมูลว่า “โทคุเบ” เป็นนักผจญภัยชาวญี่ปุ่นในอดีตที่ได้เดินทางไปถึง “แคว้นมคธ” ในประเทศ “อินเดีย” โดยไม่กล่าว “รายละเอียด” ของการเดินทางที่มากไปกว่า ๒ บรรทัดนี้
แต่ถ้าเราศึกษาเรื่องราวของ “เท็นจิกุ โทคุเบ” ใน “ตำราญี่ปุ่น” เราก็จะพบว่ามันเป็น “หนังคนละม้วน” ครับ
ซึ่งแอดมินได้ไปค้นหามาให้แล้วดังนี้
……………………
📖 (จากบทบรรยายในโรงละคร “คาบูกิ” แห่งหนึ่งในปีพ.ศ. ๒๒๕๐)
ในช่วงก่อนปีพ.ศ. ๒๑๘๑ (ก่อนปิดประเทศ) ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากได้เดินทางไปยัง “เท็นจิกุ” (ชมพูทวีป) และได้บันทึกเรื่องราวการเดินทางนั้นไว้ด้วย
“โทคุเบ” จากเมืองทากาซาโกะเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้เดินทางไป “เท็นจิกุ” เขาแล่นเรือออกจาก “นางาซากิ” ในปีพ.ศ.๒๑๖๙ จนไปถึง “แคว้นมคธ” ได้ในปีถัดมา
เรือแล่นออกจาก “นางาซากิ” ลงไปทางทะเลทิศใต้ ไปถึง “ไต้หวัน” ต่อไปทางตะวันตกถึง “กวางตุ้ง” แล่นเรือต่อไปทางตะวันตกเฉียงใต้ถึง “โคจิ (ฮานอย)” ต่อไปทางใต้ถึง “จามปา”
จากนั้นเลียบชายฝั่งไปทางใต้ของ “กัมโพช” แล้วข้ามทะเลลงไปทางภาคใต้ของ “สยาม” แล้วแล่นเรือ (เลียบชายฝั่ง) ขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนถึง “ปากน้ำเจ้าพระยา”
ระยะทางจาก “นางาซากิ” ถึงปากน้ำ “เจ้าพระยา” นั้นไกลถึง ๓,๗๐๐ ลี้
เมื่อไปถึง “อยุธยา” เขาจึงได้แสดงหนังสือแต่งตั้งจากราชสำนักญี่ปุ่นที่นั่น
………………........................... 📖
(หมายเหตุ มีหลักฐานว่าในช่วง “อยุธยาตอนกลาง” ราชสำนักญี่ปุ่นได้ออกหนังสือแต่งตั้งให้เรือที่ไปทำการค้าขายนอกประเทศมากถึง ๓๕๐ ฉบับ ในจำนวนนี้มี ๕๖ ฉบับ ที่ออกให้ไปค้าขายที่เมืองท่าสำคัญของ “แคว้นมคธ” (คือ “อยุธยา”) ที่มีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่มากถึง ๑๕๐๐ คน)
………………........................
เนื้อหาใน “เท็นจิกุ โทคุเบ” ยังมีต่อไปอีกว่า
……..
📖 “โทคุเบ” ได้เดินทางท่องเที่ยวทั่วไปใน “ชมพูทวีป” บนดินแดนของ “สยาม” โดยจากเมืองหลวงคือ “กรุงศรีอยุธยา” เขาได้เดินทาง (ด้วยเรือ) ไปที่ “บางกอก” เป็นระยะทาง ๒๗ ลี้ (ลี้ญี่ปุ่น) หรือประมาณ ๑๐๘ กม.จากนั้นเดินทางต่อไปยัง “สาวัตถี” ที่ห่างออกไปอีก ๒๐ ลี้ (ประมาณ ๘๐ กม.) จนไปถึง “วัดเชตวัน”
และยังคงได้เห็น (ซาก) บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐีอยู่ที่ (ใกล้) “วัดเชตวัน” ในเมืองนี้
ถัดขึ้นไปจากเมือง “สาวัตถี” อีก ๗ ลี้ มีวิหาร ๓ หลัง ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปใน ๓ ลักษณะ คือ “ยืน” “นั่ง” และ “นอน” (พระนอนน่าจะเป็น “วัดพระรูป” และพระนั่งน่าจะ “วัดป่าเลไลย์” จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วน “วัดพระยืน” ไม่แน่ใจครับ - แอดมิน)
ประชาชนที่มาแสวงบุญได้ปิด “ทองคำเปลว” บนพระพุทธรูปเหล่านี้ต่อ ๆ กันมาเนิ่นนานนับเป็นพัน ๆ ปี จนราวกับว่าพระพุทธรูปเหล่านี้สร้างขึ้นด้วย “ทองคำ” แท้เลยทีเดียว
จากเมืองหลวงของแคว้นมคธ (อยุธยา) ขึ้นไปทางแม่น้ำใช้เวลา ๔๐ วันก็ถึงเขา “คิชฌกูฏ”
…………………................. 📖
จากข้อความทั้งหมดนี้จะเห็นว่า เรื่องราวของ “เท็นจิกุ โทคุเบ” นั้นเกิดขึ้นใน “บ้านเรา” นี่เอง
แต่กลับเป็นเรื่องราวที่ “ตำราฝรั่ง” ไม่ยอมกล่าวถึง
…
ภาพแผนผัง “เชตวันมหาวิหาร 祇園精舎 Gion Shōja”
ในช่วงประมาณปีพ.ศ. ๒๑๖๖ - ๒๑๗๙ “โชกุน” ลำดับที่ ๓ ของตระกูลโทกูงาวะ คือ “โทกูงาวะ อิเอมิตสึ” ได้ขอให้ล่ามภาษาฮอลันดา “ชิมาโนะ เคนเรียว” จากเมืองนางาซากิ เดินทางไป “รวบรวม” ข้อมูลต่าง ๆ จาก “แคว้นมคธ” (คือ ดินแดนในเขตปกครองของ “อยุธยา”) ในมัชฌิมประเทศของชมพูทวีป
เมื่อกลับมาถึงญี่ปุ่นเขาได้นำภาพวาดแผนผัง “เชตวันมหาวิหาร” พร้อมด้วย “บันทึก” การเดินทางมอบให้แก่โชกุน อิเอมิตสึ
“บันทึก” และ “แผนผัง” ต้นฉบับจริงนั้นได้สูญหายไปแล้ว (หรือยังหาไม่พบ) คงเหลือแต่สำเนาแผนผัง “เชตวันมหาวิหาร” ยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่ดังแสดงในภาพประกอบของ Ep นี้ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ “โทกูงาวะ มิวเซียม” (Tokugawa Museum)
แผนผังนี้มีขนาดกว้าง ๗๕ ซม. ยาว ๖๙ ซม. เขียนลายเส้นด้วยหมึก “สีดำ” ตกแต่งรายละเอียดด้วย “สีฟ้า”และ “สีเหลือง”
แน่นอนว่าแผนผัง “เชตวันมหาวิหาร” ของชิมาโนะ เคนเรียว “ไม่มี” ส่วนละม้ายคล้ายคลึงกันเลยกับซากโบราณสถานที่เมือง “สาเหท-มาเหท” ของ “อินเดีย” ที่เซอร์อเล็กซานเดอร์ “คันนิงแฮม” กล่าวอ้างว่านั่นคือ “วัดเชตวัน” แห่งเมืองสาวัตถี
แต่กลับไปใกล้เคียงกับ “แผนผัง” ของ “เชตวันมหาวิหาร” ในเมืองสาวัตถีของหลวงจีน “เต้าชวน” ที่แอดมินได้นำเสนอไปแล้วใน Ep ที่ผ่านมามากกว่าอย่างชัดเจน
ที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ แผนผัง “เชตวันมหาวิหาร” ของ “ชิมาโนะ เคนเรียว” ที่ได้จาก “แคว้นมคธ” อันมีเมืองหลวงชื่อ “กรุงศรีอยุธยา” นี้ แท้จริงแล้วก็คือแผนผังของ “ปราสาทนครวัด” ในประเทศกัมพูชาปัจจุบันนั่นเอง (พ.ศ. ๒๑๖๖ - ๒๑๗๙ กัมพูชายังขึ้นอยู่กับอยุธยา และชาวญี่ปุ่นรับรู้กันว่าอยู่ใน “แคว้นมคธ”)
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอีกว่า ณ ช่วงเวลานั้นได้มี “ชาวญี่ปุ่น” จำนวนมากได้เดินทางมา “แสวงบุญ” ที่ “ปราสาทนครวัด” ที่ทุกคนเรียกว่า “เชตวันมหาวิหาร” (และไม่ได้เรียกว่า “อังกอร์” หรือ “อังกอร์วัด”)
โดยมีหลักฐานการค้นพบ “จารึก” ภาษาญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก (ไม่น้อยกว่า ๑๔ จารึก) ปรากฏอยู่ที่ตัว “ปราสาทนครวัด” ซึ่งยังคงอยู่จนทุกวันนี้
…
ปัญหาก็คือ “นักวิชาการตะวันตก” ไม่มีคำอธิบายที่ดีไปกว่าชาวญี่ปุ่นสมัยโบราณ (ทั้งประเทศ) ไม่ “ประสีประสา” โลก จึงหลงเข้าใจว่า “ราชอาณาจักรสยาม” นั้นคือ “แคว้นมคธ” และ “อินเดีย” ซึ่งเป็นชมพูทวีปที่แท้จริง (ของฝรั่ง) อยู่ไกลเกินกว่าที่จะไปถึง ชาวญี่ปุ่นจึงอุปโลกเอา “สยาม” เป็นชมพูทวีปแทน (โดยราชสำนัก “สยาม” ก็รับสมอ้าง?)
ส่วน “นักวิชาการญี่ปุ่น” เอง (เมื่อมีความรู้เรื่อง “อินเดีย” ของฝรั่งเข้ามาวุ่นวาย) ก็ยัง “แบ่งรับ-แบ่งสู้” ว่ายังคงต้อง “ศึกษา” กันต่อไปอีกว่า ทำไมชาวญี่ปุ่น “สมัยนั้น” จึงเข้าใจเช่นนั้น
…
นี่จึงเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อมี “จิกซอว์” ประหลาด คือ “อินเดีย” เข้ามาคั่นขวางเอาไว้ ก็จะทำให้เอกสารหลักฐาน รวมถึงตำนานต่าง ๆ ของ “ชาวพุทธ” ที่เกี่ยวกับ “ชมพูทวีป” (ของจริง) ทั้งหมดที่มีอยู่ทั่วโลกจึง “เชื่อมต่อ” กันไม่ติด
แอดมินจึงย้ำอยู่เสมอว่างานที่ “ผิดพลาด” ของนักวิชาการตะวันตกในอดีตโดยเฉพาะของ “คันนิงแฮม” สร้างความ “เสียหาย” ใหญ่หลวงให้แก่ประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนา และของชาติบ้านเมืองต่าง ๆ ใน “ชมพูทวีป” ได้มากเพียงใด
…
กลับมาที่แผนผัง “เชตวันมหาวิหาร” ของ “ชิมาโนะ เคนเรียว” ที่ “ปราสาทนครวัด” ที่เป็นแผนผังเดียวกับ “เชตวันมหาวิหาร” ที่เมืองสาวัตถีจากเอกสารจีน
ที่สามารถใช้เป็น “หลักฐาน” สำคัญที่จะสามารถใช้เชื่อมโยงถึงเหตุการณ์และประวัติศาสตร์ของบ้านเราได้ชัดเจนขึ้น
โดยเมื่อพิจารณาจากภาพถ่าย LiDAR ของ “ปราสาทนครวัด” (ดูภาพประกอบ) จะเห็นว่านอกจากตัว “โครงสร้างหลัก” ที่ทำด้วยหินแล้ว บริเวณพื้นที่ว่างรอบวัดเมื่อสังเกตจากภาพถ่าย LiDAR จะพบว่ามีเนินดิน (ของอาคารหรือกุฏิ - แอดมิน) จำนวนมากกระจายอยู่เต็มพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน และปรากฏการวางแนวถนนเชื่อมต่อกันอย่างชัดเจน
ซึ่งตรงกับแผนผังของ “เชตวันมหาวิหาร” ที่เมือง “สาวัตถี” จาก “เอกสารจีน” ทุกประการ
ทั้งหมดนี้จึงแสดงให้เห็นว่า “ปราสาทนครวัด” นั้นน่าจะสร้างขึ้นโดยใช้ “แผนผัง” ของ “เชตวันมหาวิหาร” เดิมของเมืองสาวัตถี (อู่ทอง) เป็นต้นแบบ
ดังนั้นเมื่อแรกสร้าง “ปราสาทนครวัด” จึงตั้งใจสร้างให้เป็นวัดใน “พุทธศาสนา” และมีชื่อเดิม (ที่จงใจตั้ง) ว่า “เชตวันมหาวิหาร”
นี่ต่างหากที่เป็นเหตุผลที่แท้จริงที่นักเดินทางแสวงบุญ “ชาวญี่ปุ่น” ที่หลั่งไหลกันเข้ามาเยือน “ปราสาทนครวัด” และเรียกสถานที่นี้ว่า “เชตวันมหาวิหาร” ทั้งหมด
…
เรื่องต่อมา
เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ทางพุทธศาสนาในบ้านเราของชาว “ญี่ปุ่น” สมัยอยุธยา บอกอะไรแก่เราได้บ้าง
หากอยากรู้ สิ่งแรกที่ต้องทำนั้นก็ให้เอาจิ๊กซอว์ “ประหลาด” คือ “อินเดีย” ออกไปก่อน จากนั้นจึงเอา “ชมพูทวีป” ของจริง คือ ดินแดน พม่า มอญ ไทย ลาว และกัมพูชาเข้ามาพิจารณาแทน
แล้วจึงค่อยเอาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หลักฐานทางโบราณคดี และตำนานต่าง ๆ เข้ามาเชื่อมโยงกันใหม่
ก็จะได้ภาพที่ชัดเจนขึ้นว่า “ภาคกลาง” บ้านเรานั้น แท้ที่จริงแล้วก็คือ “แคว้นมคธ” ที่มีเปลี่ยนผ่าน และผลัดกันเข้ามาครอบครองโดย “รัฐ” ที่มีความเข้มแข็งที่สุด ณ เวลานั้น ๆ ใน “ชมพูทวีป” อยู่ตลอดเวลา
โดยสามารถ “แยกแยะ” ได้จาก “ตัวอักษร” ที่ชนชาติที่ครอบครอง “แคว้นมคธ” ในขณะนั้น ๆ ใช้อยู่เป็นหลัก ดังนี้
…
(โปรดใช้วิจารณญาณประกอบ)
เริ่มจากสมัยพุทธกาล “ชาวมคธ” เคลื่อนตัวจาก “ราชคฤห์” (เชียงใหม่) เข้ามาครอบครองภาคกลางที่ “ปาตลีบุตร (ละโว้)” จนได้เป็นใหญ่ใน “ชมพูทวีป” ทั้งหมด (ใช้ตัว “อักษร” อะไร แอดยังสืบไปไม่ถึงครับ)
ประมาณพ.ศ. ๘๐๐ - ๑๐๐๐ รัฐนอกศาสนาพุทธจากทะเลทางใต้ พยายามเคลื่อนตัวเข้ามาครอบครอง “ปาตลีบุตร” จึงเกิดมหาสงครามอยู่หลายปี ในที่สุด “พระเจ้าศิริธรรมราช” ที่นับถือพุทธศาสนาจากภาคใต้ขึ้นมาปกครอง “แคว้นมคธ” (ใช้อักษร “ปัลลวะ”)
ประมาณพ.ศ. ๑๐๐๐ แคว้นโกศลเคลื่อนย้ายเมือง “สาวัตถี” จาก “อู่ทอง” ไปตั้งเมือง “พิไชยเชียงใหม่” ที่ “อยุชฌบุรี” (ลำพูน) (ใช้อักษร “มอญโบราณ”)
พ.ศ. ๑๑๘๑ “พระเจ้าอนุรุทธ” เชื้อสาย “พระเจ้ากิตติศิริธรรมราช” ขึ้นครอง “ปาตาลีบุตร” ปราบชมพูทวีป เปลี่ยน “มหาศักราช” เป็น “จุลศักราช”
พ.ศ. ๑๒๐๒ พระนาง “จามเทวี” ถูกส่งจาก “ปาตาลีบุตร” (“ละโว้”) ขึ้นไปครองเมือง “พิไชยเชียงใหม่” เปลี่ยนชื่อเป็น “นครหริภุญไชย”
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ภาคกลางบ้านเรายังใช้อักษร “ปัลลวะ” และนักวิชาการนิยมเรียกช่วงเวลานี้กันว่า “ทวารวดี” (ซึ่งไม่มีอยู่จริง)
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ลงมา เมื่ออาณาจักรทาง “ภาคอีสาน” และกัมพูชาตอนบน (คันธาระ-กัมโพชะ) ที่ใช้ตัวอักษร “ขอม” เข้มแข็งขึ้นจนสามารถเข้าครอบครอง “ละโว้” ซึ่งก็คือ “แคว้นมคธ” ได้สำเร็จ
ทำให้ตัวอักษร “ขอม” ได้เคลื่อนย้ายเข้ามาใช้ที่ภาคกลางด้วย และถูกเรียกว่าอักษร “มคธ” (คือ อักษร “บาลี”) จนสืบเนื่องมาถึงสมัยอยุธยา (จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ยังเรียก “ตัวขอม” ว่า Alphbet Bali )
จนกระทั่งเมื่อมีการเคลื่อนย้ายลงไปสร้าง “อาณาจักรพระนคร” จึงได้สร้าง “เชตวันมหาวิหาร” ขึ้นมาเป็นหลักคู่เมืองพร้อมกันด้วย
สมัยต่อมาเมื่อเกิดปฎิวัติใน “อาณาจักรพระนคร” และอาณาจักรได้ “ล่มสลาย” ลง ทำให้เกิด “กรุงศรีอยุธยา” ขึ้นแทนที่ และได้ครอบครองพื้นที่ที่เรียกว่า “แคว้นมคธ” รวมถึงพื้นที่ของ “อาณาจักรพระนคร” ทั้งหมดด้วย
โดยในระยะแรกยังคงใช้อักษร “ขอม” อยู่
ต่อมากลุ่มคนที่ใช้ตัว “อักษรไทย” ได้เปลี่ยนเข้ามามีอำนาจใน “กรุงศรีอยุธยา” จึงได้เริ่มใช้ตัวอักษรไทยใน “แคว้นมคธ” และใช้สืบเนื่องต่อมาจนถึงทุกวันนี้
และนี่ก็คือ “เหตุผล” ที่ชาวญี่ปุ่นอย่างน้อยในสมัย “อยุธยา” เรียกดินแดนที่สยามครอบครองว่า “แคว้นมคธ” ที่มีเมืองหลวงชื่อ “กรุงศรีอยุธยา” และตั้งอยู่ในดินแดน “ชมพูทวีป” นั่นเอง
…
ที่ผ่านมา “นักวิชาการ” ทั้งชาว “ตะวันตก” และชาว “ญี่ปุ่น” ต่างก็พยายามค้นหาเหตุผลกันว่า ทำไมชาวญี่ปุ่นในช่วงยุคสมัยนั้น ถึงเข้าใจผิดกัน (ทั้งประเทศ) ว่าดินแดนใน “สยาม” และ “กัมพูชา” นั้นคือ “แคว้นมคธ” ใน “ชมพูทวีป” และมีเมืองหลวงชื่อ “กรุงศรีอยุธยา”
แถมยังมี “เรื่องเล่า” ของนักเดินทางชาวญี่ปุ่นอย่าง “เป็นตุ-เป็นตะ” ว่า ได้ท่องเที่ยวไปจนถึงเมือง “สาวัตถี” และได้ไป “เขาคิชกูฏ” ที่เมือง “ราชคฤห์”
และทั้งหมดนี้อยู่ในราชอาณาจักร “สยาม”
แอดมินขอช่วยคิดให้ว่า เรื่องนี้ต่อให้พยายามค้นหากันเท่าไหร่ ก็คงจะไม่ได้ “คำตอบ” ครับ
เพราะคนญี่ปุ่นในยุคนั้นเขาเข้าใจ “ถูกต้อง” แล้วว่า “สยาม” อยู่ใน “ชมพูทวีป” และพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในบ้านเรานี่เอง
…
แต่ชาวอังกฤษที่เข้ามาศึกษาเรื่องนี้ (แบบมีวาระซ่อนเร้น) เมื่อไม่ถึง ๒๐๐ ปีอย่าง “เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม” และนักวิชาการในปัจจุบันทั้งหลายที่ “ยึดมั่น” ในตำราของท่านต่างหากที่ “เข้าใจผิด”
ดังนั้นหากไม่ทิ้ง “อินเดีย” ที่เข้าใจกันผิด ๆ ว่า คือ “ถิ่นกำเนิด” ของพุทธศาสนาออกไปเสียก่อน โอกาสที่นักวิชาการเหล่านี้จะได้เห็น “ชมพูทวีป” ที่แท้จริงคงเป็นไปไม่ได้แน่นอน
และชาวพม่า มอญ ไทย ลาว และกัมพูชา ซึ่งเป็นชนชาว “ชมพูทวีป” ที่แท้จริง ก็คงเป็นไปได้แค่ “คนป่าเถื่อน” ที่ไม่มี “อารยธรรม” อันยาวนานหลายพันปีเหมือนชาวโลกเขาไปตลอดกาล
เพราะนักวิชาการบ้านเราต่างก็ยึดถือเอา “ตำราฝรั่ง” เป็นใหญ่
แม้ว่า “หลักฐาน” เกี่ยวกับ “ชมพูทวีป” ของจริงจากข้อมูลของทางนักเดินทางทั้ง “ชาวจีน” และ “ชาวญี่ปุ่น” ในอดีตเริ่มปรากฏออกมาให้เห็นมากขึ้นทุกวัน แต่ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับการที่เราจะ “เปิดใจ” เข้าไปค้นหา “ความจริง” ออกมาจากหลักฐานเหล่านี้ด้วยตนเองหรือไม่
หรือจะเลือก “ยึดมั่น” กับ “ตำราฝรั่ง” ต่อไป ก็คงต้องเลือกพิจารณากันเองครับ
…
🙏ขอบพระคุณแฟนเพจทุกท่าน ที่ติดตามอ่านกันมาโดยตลอด
🚌🚐🚲✈️มาเที่ยวชมพูทวีปบนแผ่นดินไทยกันดีกว่า ❤️ เที่ยวไม่ต้องแย่งใคร … ได้อานิสงส์เท่ากันครับ 🙏🙏🙏
…
https://www.facebook.com/share/p/1C6vymQidH/
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ตามหาสาวัตถี
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย