Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ดินสอ ธรรม
•
ติดตาม
9 ก.ค. เวลา 21:37 • ปรัชญา
"ทุกข์ต้องกำหนดรู้ สมุทัยต้องละ มรรคต้องเจริญ นิโรธทำให้แจ้ง" แต่ไม่เข้าใจว่าทุกข์กำหนดรู้อย่างไร?
ในวันอาสาฬหบูชา
เราควรย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์หลังจากตรัสรู้แล้ว
ต่อมา พระพุทธองค์ได้แสดงปฐมเทศนา ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทำให้ ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรมและขอบวชเป็นภิกษุ เกิดพระสงฆ์องค์แรก เป็นวันเกิดพระรัตนตรัยครบองค์คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
หลวงพ่อเทียน ท่านศึกษามาทุกรูปแบบเป็นฐานก่อน เอ! มันไม่บรรลุ ไม่พ้นโกรธ พ้นโลภ พ้นหลง คือว่ามันคงไม่ใช่ จึงย้อนคิดถึงตอนที่เจ้าชายสิตถัตถะ อดข้าวอดน้ำ แต่ก็ไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน ท่านจึงคิดว่า ทางไม่ใช่ทาง เพราะไม่ก่อให้เกิดบรรลุมรรคผลนิพพาน
คำของพระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า
"ทุกข์ต้องกำหนดรู้
สมุทัยต้องละ
มรรคต้องเจริญ
นิโรธทำให้แจ้ง"
หลวงพ่อเทียน นึกถึงคำสอนดังกล่าว ที่เคยได้ยินและพูดกันติดปากมานานแล้ว แต่ไม่เข้าใจว่าทุกข์กำหนดรู้อย่างไร?
"ก็พลิกมือขึ้นมาให้มันรู้ เคลื่อนไหวไปมาให้มันรู้" ทำได้
กรณี มันคิดปุ๊บขึ้นมา
ถ้าเราไม่มีญาณปัญญา หรือปัญญาของเรายังไม่แข็งแรง หรือปัญญายังไม่แหลมคม เราก็เข้าไปในความคิด มันก็รู้เรื่องนั้นเรื่องนี้
แต่พอเรามาเจริญสติโดยการสร้างจังหวะเคลื่อนไหวเพื่อให้มีสติ-ความรู้สึกตัวมากขึ้น ๆ เช่น พลิกมือขึ้น-รู้สึก เป็นต้น
พอมันคิดเรื่องอะไรขึ้นมา ก็ให้รู้มัน เห็นมัน
แล้ว ให้สติกลับมาอยู่ที่การเคลื่อนไหวของกายนี้เอง
อันนี้แหละ
ทุกข์ต้องกำหนดรู้ สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ต้องละ
ทำอย่างนี้มันละได้จริงๆ
มรรคต้องเจริญ ก็ทำบ่อยๆ ทำมากๆ
นิโรธทำให้แจ้ง เพราะทำถูกจุด ก็รู้แจ้งเห็นจริง
การฝึกรู้ตัว
เป็นการย้ายความคิด มาที่การรู้สึกตัว
เป็นการเปลี่ยนจากความคิดอกุศล
มาจับที่ความรู้สึกตัว
ธรรมชาติของจิตมันทำได้ทีละอย่าง
เมื่อจิตรู้สึกตัว(กาย) จิตจึงหยุดคิด(ปรุงแต่ง)
ธรรมชาติของจิตจิต เป็นอนัตตา
บังคับบัญชาไม่ได้ แต่ฝึกได้
หลวงพ่อชา พูดถึงการฝึกจิตว่าเหมือนการฝึกม้าป่า มาไว้ใช้งาน มีวิธีการ ซึ่งทำได้
การฝึกจิต ก็เพื่อให้จิต ควรแก่งาน ใช้ทำงาน ต่างๆ
หลวงพ่อเทียน
ฝึกจิตรู้กายที่กำลังเคลื่อนไหว เพื่อ นิโรธ ดับทุกข์ เพื่อไม่เป็นทุกข์ ไม่ใช่เพื่อควรแก่งานหาเงิน
จิตอกุศล
เมื่อคิดโกรธ พี่เบิร์ดจะหยิกมือตัวเอง ให้รู้สึกตัว เพื่อความคิดโกรธมันวางตัวมันเอง เพราะหมดเวลาคิด
เมื่อละความคิดจะทำอกุศลได้ ก็ไม่ทำ อกุศล
เมื่อระลึกถึงสิ่งที่เคยทำอกุศลเป็นทุกข์ ก็ต้องละให้ได้
การฝึกซ้อมสำคัญที่สุด
เหมือนการซ้อมมวย ถ้านักมวยอ่อนซ้อม
เมื่อขึ้นเวที เหลือตัวคนเดียว จะถูกคู่ชก เขาชกฝ่ายเดียว เราไม่ได้ชกเขาเลย
การฝึกซ้อมชกกระสอบทราย เพื่อหมัดหนัก ชกได้เร็ว
เรามารู้สึก ก็เพื่อ ควรแก่งาน นิโรธ หลุดพ้น
เมื่อจิตมันคิดไม่หยุดนะ
เราก็กำมือ กระพริบตา หายใจแรงๆ หรือทำท่ายกมืออย่างไรก็ได้ แล้ว จิตจะวางความคิด มาอยู่กับการเคลื่อนไหวตัวนี้
นี่แหละ
ทุกข์ต้องกำหนดรู้
สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ ต้องละ
ความคิดคือจิตส่งออกนอกกาย เป็นทุกข์ต้องกำหนดรู้ รู้สึกตัวที่การเคลื่อนไหว ให้สติไปเกาะอยู่ที่การเคลื่อนไหวของกาย แล้วความคิดมันจะวางตัวมันเอง *จิตกลับมาอยู่กับตัว จิตไม่ส่งออกนอก
ความคิดคือจิตส่งออกนอกกาย เป็นทุกข์ต้องกำหนดรู้
รู้สึกตัวที่การเคลื่อนไหว ให้สติไปเกาะอยู่ที่การเคลื่อนไหวของกาย แล้วความคิดมันจะวางตัวมันเอง
*จิตกลับมาอยู่กับตัว จิตไม่ส่งออกนอก
ความคิดคือจิตส่งออกนอกกาย เป็นทุกข์ต้องกำหนดรู้ รู้สึกตัวที่การเคลื่อนไหว ให้สติไปเกาะอยู่ที่การเคลื่อนไหวของกาย แล้วความคิดมันจะวางตัวมันเอง *จิตกลับมาอยู่กับตัว จิตไม่ส่งออกนอก
มรรคต้องเจริญ
ก็ทำบ่อยๆ ทำมากๆ โดยฝึกซ้อมการรู้สึก
นิโรธทำใหก็แจ้ง
เพราะทำถูกจุด ก็รู้แจ้งเห็นจริงว่า เมื่อรู้สึก แล้วความคิดมันจะวางตัวมันเอง จิตหลุดพ้นจากอกุศล
การฝึกสติเป็นจังหวะ
ปล่อยคิดมารู้ตัว ปล่อยคิดมารู้ตัว จนเคยชิน ทำให้ชำนาญการปล่อยความคิด ไม่ติดไปกับความคิด
โอวาทธรรมโดยองค์หลวงพ่อชา สุภัทโท
"การปฏิบัติจริงๆ ต้องปฏิบัติ..เมื่อประสบกับ 'อารมณ์' "
สนามฝึกฝนจิตใจที่แท้จริง อาจไม่ใช่แค่ในสถานที่ที่สงบเงียบ แต่คือทุกขณะที่ใจเราได้กระทบกับอารมณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นความพอใจ ไม่พอใจ ความโกรธ หรือความหลง
เมื่ออารมณ์ปรากฏขึ้น...เมื่อนั้นคือเวลาแห่งการปฏิบัติ คือโอกาสที่เราจะได้ใช้สติและปัญญาที่ได้อบรมมา เพื่อดูให้รู้ทัน และวางใจให้เป็นกลาง
หลวงพ่อชา ท่านเป็น พระสายปัญญา คือเทศสอนทั้งพระและโยม ทั้งไทยและเทศ ให้ได้ปัญญา
หลวงพ่อชา ท่านเป็น พระสายปัญญา คือเทศสอนทั้งพระและโยม ทั้งไทยและเทศ ให้ได้ปัญญา หลวงพ่อชา ท่านให้ คาถา ว่า "ไม่แน่" เพื่อแก้ปัญหาอารมณ์ทุกชนิด คือ ไม่ว่าจะคิดเรื่องอะไรขึ้นมา ก็ให้ชกกันก่อนเล ว่า "ไม่แน่" ต้องชกมันก่อนเลย
เช่น อารมณ์อกุศลบางอย่าง บางทีแค่วูบเดียว
ถ้าเราอดทนได้ มันก็หายไปได้เอง
อารมณ์ขุ่นมัวบางอย่าง เช่น แม่บ้าน หรือพ่อบ้านบ่น รำคาญใจ ก็ต้องพิจารณาเรื่องดี ๆ ที่เคยมีต่อกันอย่างมากมาย เพื่อกลบเรื่องขุ่นมัวเล็กน้อยที่เกิดขึ้น
หลวงพ่อชา ท่านให้ คาถา ว่า "ไม่แน่" เพื่อแก้ปัญหาอารมณ์ทุกชนิด คือ ไม่ว่าจะคิดเรื่องอะไรขึ้นมา ก็ให้ชกมันก่อนเล ว่า "ไม่แน่" ต้องชกมันก่อนเลย
ส่วน หลวงพ่อเทียน
ท่านก็เคยปฏิบัติสมาธิหลายอย่าง แต่แก้ปัญหาไม่ได้ แต่ทำวิธี"กำหนดรู้"ทำความรู้สึกกลับมาอยู่ที่ตัวกาย ทำให้ท่านแก้ปัญหาความทุกข์ได้ ประมาณว่า
ถ้าปฏิบัติฝึกสติ"กำหนดรู้"ให้ชำนาญ ก็คุ้มครองตัวเองได้ เหมือนเป็น"ปัจเจกพุทธะ"
หลวงพ่อเทียน ท่านก็เคยปฏิบัติสมาธิหลายอย่าง แต่แก้ปัญหาไม่ได้ แต่ทำวิธี"กำหนดรู้"ทำความรู้สึกกลับมาอยู่ที่ตัวกาย ทำให้ท่านแก้ปัญหาความทุกข์ได้ ประมาณว่า ถ้าปฏิบัติฝึกสติ"กำหนดรู้"ให้ชำนาญ ก็คุ้มครองตัวเองได้ เหมือนเป็น"ปัจเจกพุทธะ"
ส่วนพระสายปัญญา
จะช่วยให้ปัญญากับญาติโยม ได้มากกว่า และเหมาะกับสาธุชนที่มีภารกิจต้องทำ ต้องสัมพันธ์กับคนต่างๆ ต้องอาศัยมีปัญญาไว้คุ้มครองตัวเอง และอาจช่วยคนอื่นได้ด้วย
Cr.DeepSeek
**ปัจเจกพุทธะ** (อ่านว่า ปัด-เจก-กะ-พุด-ทะ) หรือ **พระปัจเจกพุทธเจ้า** เป็นคำในพุทธศาสนา หมายถึงผู้ตรัสรู้ด้วยตนเองแต่ไม่สอนผู้อื่น หรือผู้บรรลุธรรมเป็นเอกเทศ
### ลักษณะสำคัญของปัจเจกพุทธะ:
1. **ตรัสรู้ด้วยตนเอง** – บรรลุธรรมโดยไม่มีการสั่งสอนจากครู (ต่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สอนมหาชน)
2. **ไม่ตั้งพุทธศาสนา** – ไม่แสดงธรรมประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
3. **เกิดในยุคที่ไม่มีพระพุทธเจ้า** – มักปรากฏในสมัยที่ไม่มีพระพุทธศาสนา
### ความแตกต่างระหว่างพระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระพุทธเจ้า:
- **พระสัมมาสัมพุทธเจ้า** (เช่น พระพุทธเจ้าโคตมะ) ตรัสรู้และสอนธรรมเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
- **พระปัจเจกพุทธะ** ตรัสรู้แต่ไม่สอน สันโดษอยู่ในความหลุดพ้นส่วนตัว
- **พระอรหันต์** เป็นผู้หลุดพ้นโดยอาศัยคำสอนของพระพุทธเจ้า
### ในพระไตรปิฎก:
พระปัจเจกพุทธะถูกกล่าวถึงในคัมภีร์ขุททกนิกาย เช่น **พระไตรปิฎกฉบับบาลี** และคัมภีร์อรรถกถา บางครั้งเรียกว่า "สุกขวิปัสสก" (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ)
ปัจเจกพุทธะเป็นแบบอย่างของผู้แสวงหาธรรมด้วยตนเอง แต่ไม่เน้นการช่วยเหลือสังคม เหมาะสำหรับผู้ปรารถนาความหลุดพ้นส่วนตัวโดยไม่ต้องการเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ
พุทธศาสนา
บันทึก
6
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย