10 ก.ค. เวลา 03:00 • การตลาด

สรุปกฎใหม่ YouTube คลิปซ้ำ นำมาจากที่อื่น จะไม่สร้างรายได้ ให้ครีเอเตอร์แล้ว มีผล 15 กรกฎาคมนี้

- ช่วงหลังมานี้ YouTube มักจะมีครีเอเตอร์หลาย ๆ คนเซฟวิดีโอทั้งรูปแบบยาวและ Shorts จากแพลตฟอร์มอื่น โดยเฉพาะวิดีโอที่เป็นไวรัล มาลงบนแพลตฟอร์ม
สาเหตุก็เพราะวิดีโอเหล่านี้ สามารถดึงดูดยอดคนดูได้เป็นจำนวนมาก จนทำให้ครีเอเตอร์สามารถเข้าร่วมโปรแกรมการเป็นพาร์ตเนอร์ของ YouTube (YouTube Partner Program หรือเรียกย่อ ๆ ว่า YPP)
ซึ่งก็คือ โครงการที่จะช่วยแบ่งปันรายได้ให้กับครีเอเตอร์บน YouTube โดยจะได้มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ยอดผู้ชม และจำนวนโฆษณาที่คั่นระหว่างวิดีโอ
อย่างไรก็ตาม ครีเอเตอร์ที่นำคลิปจากที่อื่นมาลง อาจไม่เข้าเงื่อนไขในการสร้างรายได้อีกต่อไป
1
ล่าสุด YouTube เพิ่งประกาศปรับกฎการสร้างรายได้ใหม่ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป
แล้วกฎใหม่ของ YouTube ที่ว่านี้ มีอะไรบ้าง ?
1. กฎใหม่ของ YouTube ที่จะมีผลในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้
- วิดีโอที่เข้าข่ายในการสร้างรายได้ ต้องเป็นวิดีโอที่ “Original” และ “Authentic” หรือมีความเป็นต้นฉบับ และเป็นคลิปที่สร้างขึ้นด้วยตัวเองจริง ๆ เท่านั้น
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ต้องเป็นคลิปที่ครีเอเตอร์ถ่ายด้วยตนเอง ไม่สามารถดึงคลิปที่เป็นไวรัลจากช่องคนอื่น หรือจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ มาลงใหม่ หรือทำซ้ำได้
2
- หมวดหมู่โฆษณา “Bare Skin (เฉพาะรูปภาพ)” จะถูกลบออกจาก YouTube Studio ครีเอเตอร์ที่ใช้การตั้งค่าดังกล่าวอยู่ในปัจจุบันจะมีเวลาจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2568
โดยครีเอเตอร์สามารถใช้หมวดหมู่อื่น ๆ แทนได้ เช่น “Reference to Sex” เพื่อควบคุมโฆษณาในช่องได้ละเอียดยิ่งขึ้น
1
2. ใครที่จะได้รับผลกระทบกับกฎใหม่นี้ของ YouTube บ้าง ?
การออกกฎใหม่ในครั้งนี้ ถ้าเริ่มใช้งานจริง ก็เรียกได้ว่า อาจสร้างความตระหนกให้กับเหล่าครีเอเตอร์ได้ไม่น้อย โดยประเภทของครีเอเตอร์ที่น่ากังวล เช่น
- ครีเอเตอร์ที่ทำรีแอกชันจากคลิปวิดีโอต่าง ๆ
- สร้างหนังสั้นจาก AI
- ช่อง YouTube ที่ทำรวมคลิปฮิต
- ช่อง YouTube ที่นำเนื้อหาจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ มาลง โดยเปลี่ยนแค่ฟิลเตอร์ หรือเสียงประกอบ
3
แต่สำหรับครีเอเตอร์ที่สร้างคอนเทนต์เอง และผลิตคอนเทนต์คุณภาพสูงอยู่แล้ว การเพิ่มข้อกำหนดนี้มาใหม่ ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากังวล
แถมยังช่วยทำให้แพลตฟอร์ม YouTube มีคอนเทนต์คุณภาพมากขึ้นอีกด้วย
3. ประเภทของคอนเทนต์ที่ควรระวัง
- การตัดวิดีโอตัวยาว มาลงเป็น Shorts
จากกฎข้อนี้ หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วถ้าช่องของเรามีวิดีโอยาวอยู่แล้ว เราสามารถตัดช่วงสั้น ๆ มาลงเป็น Shorts จะถือว่าผิดหรือไม่ ?
2
คำตอบคือ “ไม่ผิด” ภายใต้เงื่อนไขคือ ต้องเลือกตัดเป็นช่วง ๆ และลงเพียงโพสต์เดียวเท่านั้น
1
แต่ถ้าเลือกมาเพียงหนึ่งท่อน และนำมาลงเป็น Shorts จำนวนมาก ก็อาจเสี่ยงที่จะโดนข้อกำหนดเรื่อง “คลิปวิดีโอที่คล้ายกัน” ได้
1
- คอนเทนต์ที่สร้างขึ้นด้วย AI
อีกหนึ่งข้อกังวลที่ครีเอเตอร์ควรใส่ใจ เนื่องจากในช่วงนี้ มีครีเอเตอร์หลายคนใช้ AI ในการสร้างวิดีโอแล้วนำมาลงบนแพลตฟอร์ม
ในกรณีนี้ ถ้าวิดีโอที่ออกมามีลักษณะคล้าย ๆ กัน
YouTube อาจมองว่าเป็นวิดีโอแบบ Mass-Produced ที่เข้าข่ายไม่สร้างรายได้ เพราะไม่มีความเป็น Original และ Authentic ได้
ดังนั้น หากครีเอเตอร์ใช้ AI ในการสร้างวิดีโอ ก็ควรตรวจสอบให้ดีว่า มีวิดีโอในลักษณะเดียวกันไปหรือยัง เพราะการสร้างวิดีโอด้วยชุดคำสั่งจาก AI มักจะให้ผลลัพธ์ของวิดีโอที่มีความคล้ายคลึงกัน
1
4. สรุปเงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการสร้างรายได้ผ่าน YouTube Partner Program
- ช่อง YouTube ต้องมีจำนวนผู้ติดตาม 1,000 คนขึ้นไป
- มีชั่วโมงการรับชมคลิปวิดีโอ ที่เป็นสาธารณะ 4,000 ชั่วโมงขึ้นไป ในรอบ 365 วัน
- หรือมียอดการรับชม Shorts สะสม 10 ล้านวิวขึ้นไป ในรอบ 90 วัน จึงจะสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ YouTube Partner Program ได้
จากกฎใหม่นี้ ก็น่าจะกระทบกับครีเอเตอร์บางคนไม่น้อย
เพราะการจะสร้างให้ช่อง YouTube มีผู้ติดตาม และมีชั่วโมงหรือยอดการรับชมตามที่กำหนด อาจไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไรนัก
5. คอนเทนต์ที่ผิดข้อกำหนดการลงคลิปวิดีโอบน YouTube
จากที่กล่าวไปข้างต้น เรื่องกฎใหม่ที่มีใจความหลัก ๆ คือ เรื่องของ “คลิปที่มีเนื้อหาซ้ำ” กับ “คลิปที่คล้ายกัน” จะไม่สามารถสร้างรายได้ แต่ยังสามารถลงคลิปวิดีโอได้อยู่
ทั้งนี้ คลิปวิดีโอที่ไม่สามารถลงบนแพลตฟอร์ม YouTube ได้ก็มีอีก 5 ประเภท ได้แก่
- เนื้อหาที่เป็นสแปม และการหลอกลวง สร้างความเข้าใจผิด ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอซ้ำ ๆ หรือคอมเมนต์ซ้ำ ๆ ก็จะถูกลบออก รวมถึงเนื้อหาที่มีเจตนาฉ้อโกงผู้ใช้งานรายอื่น
- เนื้อหาที่มีความละเอียดอ่อน เช่น เกี่ยวข้องกับเพศ การเปลือย และการทำร้ายตัวเอง
- เนื้อหาที่มีความรุนแรงหรืออันตราย มีคำพูดแสดงความเกลียดชัง พฤติกรรมล่าเหยื่อ ความรุนแรงในภาพ การโจมตี และเนื้อหาที่ส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นอันตราย รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงในคลิปวิดีโอด้วย
- เนื้อหาที่เกี่ยวกับสินค้าควบคุม เช่น ส่อถึงการขายสินค้าอย่าง อาวุธ แอลกอฮอล์ อวัยวะ เอกสารปลอม รวมถึงเว็บพนัน
- เนื้อหาที่ให้ข้อมูลที่ผิดพลาด สร้างความเข้าใจผิดหรือหลอกลวง มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง
รวมถึงข้อมูลเท็จบางประเภทที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในโลกแห่งความเป็นจริง เช่น การส่งเสริมยา หรือการรักษาที่เป็นอันตราย
6. โทษของการลงคลิปวิดีโอที่ผิดข้อกำหนด
- หากเป็นครั้งแรก อาจได้รับคำเตือนโดยไม่มีการลงโทษต่อช่องของครีเอเตอร์ แต่อาจมีการให้เข้ารับการอบรมนโยบาย
- หากละเมิดนโยบายเดียวกัน ภายในระยะเวลา 90 วัน คำเตือนจะไม่หมดอายุ และช่องของครีเอเตอร์อาจถูกตัดสินให้หยุดงาน
- หากได้รับประกาศเตือน 3 ครั้ง ภายในระยะเวลา 90 วัน ช่องของครีเอเตอร์จะถูกยกเลิก หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ “โดนปิดช่อง”
#YouTube
  • 1.
    ข้อมูลจากเว็บไซต์ Support Google
โฆษณา