Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มองโลกผ่าน CRITICAL THINKING
•
ติดตาม
11 ก.ค. เวลา 05:29 • ประวัติศาสตร์
วิกฤตการณ์ รศ.112
กว่า 130 ปีที่แล้ว ในยุคล่าอาณานิคม
3 ชาติมหาอำนาจ : เนเธอร์แลนด์
อังกฤษ และ ฝรั่งเศส
เข้าครอบครองพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
>> เนเธอร์แลนด์ (Dutch)
เข้ายึดครองพื้นที่หมู่เกาะต่างๆ ของประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน
ในนามของ Dutch East Indies
ที่มา
https://pure.knaw.nl/ws/files/488440/16390.pdf
>> อังกฤษ (The Great Britain)
ทำให้เกิด
“…การสูญเสียเอกราชและการสิ้นสุดของราชวงศ์คองบองของพม่านั้นไม่ได้เป็นเรื่องของความแตกแยกและความฟอนเฟะของราชสำนักพม่าแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะผลจากการที่อังกฤษนั้นมีการวางแผนอย่างมีขั้นตอน โดยค่อยๆเริ่มรุกล้ำแทรกแซงพม่าทีละน้อย
ที่มาของภาพ https://lek-prapai.org/home/view.php?id=747
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดินแดน สิทธิทางการค้า และการทูต รวมถึงการใช้กลอุบายต่างๆที่ทำให้เกิดการหาเหตุพิพาทกับพม่า แล้วจึงใช้แสนยานุภาพทางกองทัพที่เหนือกว่าบีบให้พม่าทำตามในสิ่งที่ต้องการ ดั่งที่เห็นจากการก่อสงครามกับราชสำนักพม่า ๓ ครั้ง จนกระทั่งสามารถยึดเอาพม่ามาเป็นส่วนหนึ่งในจักรวรรดิอาณานิคมของตนเองได้ในที่สุด…”
1
ที่มาของ “…ข้อความ…” และภาพ
https://lek-prapai.org/home/view.php?id=747
>> หมาป่าฝรั่งเศส
อ้างอิงชื่อตามหนังสือ "หมาป่าฝรั่งเศส กับ ลูกแกะสยาม"
แต่งโดย Patrick Tuck
แปลโดย พันเอก กฤษฎา สุทธานินทร์
เรียบเรียงโดย พลอากาศตรีหญิง ประพิมพร เฉลิมอากาศ
ที่มาของภาพ https://www.blockdit.com/posts/5f040500850e100cac6223a2
สยาม จึงตกอยู่ท่ามกลางวงล้อม
อังกฤษ ทางฝั่งตะวันตก
และ
ฝรั่งเศส ทางฝั่งตะวันออก
ที่มา https://www.reddit.com/r/Thailand/comments/3ei1zm/a_historical_map_of_siams_thailands_territorial/#lightbox
หมาป่าฝรั่งเศส ไม่หยุดยั้งที่จะหาเรื่องกับ ลูกแกะสยาม
ตัวอย่างเช่น
กรณี พระยอดเมืองขวาง
ก่อน รศ.112 ชาวฮ่อ(ธงดำ) อพยพจากจีนเข้ามาอยู่ในลาว
สร้างความเดือดร้อนให้ราษฎรในพื้นที่เป็นเวลานานหลายปี
ทำให้ฝรั่งเศสซึ่งยึดครองประเทศญวน (เวียดนามในปัจจุบัน)
อาสาเข้ามาช่วยสยามทำการปราบชาวฮ่อ
แต่เมื่อปราบได้แล้ว ทหารฝรั่งเศสไม่ยอมถอนกำลังกลับญวน
และอ้างสิทธิเหนือดินแดนลาวในส่วนที่ญวนเคยปกครอง
จนเกิดการต่อสู้กันกับทหารของสยาม
โดยมีผู้นำฝ่ายสยามคือ พระยอดเมืองขวาง
1
ที่มาข้อมูล
https://www.blockdit.com/posts/621a76c88a595e8d46f8666e
กรณีบางเบียน (Affaire de Bang-Bien)
“… กรณีบางเบียนเป็นชนวนแห่งความขัดแย้งที่นำไปสู่การใช้อาวุธในที่สุด กล่าวคือเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2434 คูร์นิโยง (Cournillon) สมาชิกคณะผู้จัดทำแผนที่ปักปันเขตแดนได้แต่งตั้งให้บางเบียน ผู้อพยพชาวลาวเป็นเจ้าหน้าที่ปกครองฝรั่งเศสที่ทุ่งเชียงคำ (Thoung Xieng Kham ทุ่งไหหินในประเทศลาวปัจจุบัน)
ทำให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ (Prince Dewavongs) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ทรงโต้ตอบทันทีด้วยการส่งจดหมายถึงโลร์โซง (Lorgeon) ซึ่งรักษาการแทนกงสุลใหญ่ฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ
อเล็กซองเดรอะ ริโบต์ (Alexendre Ribot) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสในขณะนั้น จึงให้เรียกตัวบางเบียนกลับจากทุ่งเชียงคำ เช่นเดียวกับผู้แทนฝรั่งเศสที่แหลมเสม็ด (Pointe Samit) ภายใต้เงื่อนไขว่าไทยจะไม่ส่งผู้แทนเข้าไปปกครองดินแดนดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้เพื่อรักษาสัมพันธภาพอันดีของทั้งสองประเทศเอาไว้ แต่ผู้แทนฝรั่งเศสไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จึงทำให้เกิดการปะทะกันขึ้นที่ทุ่งเชียงคำ เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2434 ฝ่ายไทยสามารถควบคุมตัวบางเบียนไว้ได้ และตั้งข้อหาว่าบางเบียนเป็นกบฏต่อประเทศ โลร์โซงพยายามที่จะเข้าแทรกแซงเช่นกันแต่ไม่เป็นผล เพราะรัฐบาลไทยยืนกรานว่าบางเบียนเป็นคนไทยคนหนึ่ง (เกิดในดินแดนที่ไทยถือว่าอยู่ในพระราชอาณาเขต) ที่ต้องอพยพไปอยู่เวียดนามภายหลังจากที่ได้กระทำผิดราชการ
วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2435 นายโอกุสต์ ปาวี เดินทางถึงราชอาณาจักรไทยเพื่อรับตำแหน่งราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ ทันทีที่เดินทางถึงราชอาณาจักรไทยเขาเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวบางเบียน แต่ฝ่ายไทยยังคงยืนยันในหลักการและเหตุผลของตนเอง …”
จนกลายเป็น วิกฤตการณ์ รศ.112 (พ.ศ.2436)
“… เมื่อฝรั่งเศสได้ครอบครองดินแดนสิบสองจูไทยแล้ว โดยที่ยังไม่มีการเจรจาปักปันเขตแดนกับไทยการเจรจานี้ได้ยุติลง เมื่อฝรั่งเศสมีนโยบายจะขยายอาณาเขตของตนออกไปจนถึงฝั่งแม่น้ำโขง โดยจะยึดดินแดนทั้งหมดบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ตั้งแต่ภาคเหนือของลาวจนถึงชายแดนเขมร
เมื่อฝรั่งเศสยึดดินแดนสิบสองจูไทยได้นั้น ก็เริ่มสำรวจดินแดนลาวอีกครั้ง และสร้างอิทธิพลในหมู่ชาวลาวด้วยการผูกมิตรและหาเหตุมาขัดแย้งกับไทยอยู่เสมอ ฝ่ายไทยเห็นว่าฝรั่งเศสต้องการยึดดินแดนเพิ่มจึงเตรียมรับมือ เช่นปรับปรุงการปกครองหัวเมืองฝ่ายตะวันออกให้เข้มแข็งรัดกุมขึ้น โดยเฉพาะเมืองจำปาศักดิ์ หนองคาย และหลวงพระบาง การเกณฑ์ทหารและเตรียมการป้องกันชายแดน
ฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสว่าไทยเตรียมจะทำสงคราม และแต่งตั้งนายโอกุสต์ ปาวี เป็นราชทูตประจำกรุงเทพฯ ซึ่งสร้างความวิตกให้กับฝ่ายไทย เพราะนายปาวีรู้จักดินแดนเขมรและลาวในทุกๆด้าน และเป็นนักจักรวรรดินิยม เมื่อนายโอกุสต์ ปาวีเข้ามารับตำแหน่งก็เริ่มการเจรจาปัญหาเก่าๆกับกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งเรื่องการปักปันเขตแดนสิบสองจูไทย โดยจะนำแผนที่มาแสดงเขตแดนของตน
1
แต่ต่อมานายโอกุสต์ ปาวี ก็หาเหตุไม่ยอมเจรจาด้วยอ้างว่าทหารไทยบุกรุกดินแดนส่วนนั้นของฝรั่งเศสทำให้การเจรจาล้มเลิกไป ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2436นายโอกุสต์ ปาวี ได้ประกาศว่าฝรั่งเศสถือว่าดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงทั้งหมดเคยเป็นเมืองที่ส่งบรรณาการให้แก่ญวนมาก่อนจึงไม่เป็นส่วนหนึ่งของไทย พอถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้อ้างสิทธิครอบครองดินแดนลาวพร้อมกับส่งกองทัพเข้าไป
กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการจึงเสนอให้ตั้งอนุญาโตตุลาการตัดสินปัญหาต่างๆ ที่ไทยกับฝรั่งเศสเจรจาตกลงกันไม่ได้ ฝรั่งเศสไม่รับข้อเสนอนั้น และใช้นโยบายเรือปืนเพื่อบีบบังคับไทยโดยส่งเรือรบ เลอ ลูแตง (Le Lutin) เข้ามาจอดหน้าสถานทูตฝรั่งเศสซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรอคำตอบจากรัฐบาลไทย
ท่าทีคุกคามของฝรั่งเศสทำให้ไทยเร่งจัดการป้องกันกรุงเทพฯ และปากน้ำให้รัดกุมยิ่งขึ้น และทำการป้องกันรักษาพระราชอาณาเขตหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออก โดยส่งทหารไปประจำที่เกาะกง แหลมงอบ และสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้าที่แหลมฟ้าผ่า และขอความช่วยเหลือจากอังกฤษแต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ เพราะอังกฤษไม่ต้องการเข้าไปแทรกแซงระหว่างฝรั่งเศสกับไทย
วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 รัฐบาลฝรั่งเศสได้แจ้งแก่ฝ่ายไทยว่า ผู้การโบรี (Bory) จะนำเรือปืนแองกงสตอง (Inconstant) และเรือโกแมต (Comete) เข้ามายังกรุงเทพฯ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ทรงคัดค้านว่าละเมิดสนธิสัญญาฉบับ พ.ศ. 2399
ในวันที่ 11 กรกฎาคม เรือทั้งสองลำจึงมุ่งหน้ามากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย จึงได้เกิดการต่อสู้บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้าและป้อมผีเสื้อสมุทร ต่างฝ่ายได้รับความเสียหาย โดยฝรั่งเศสสามารถฝ่ากระสุนเข้ามาจอดที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสได้และยื่นคำขาดต่อไทยดังนี้
1. ไทยต้องเพิกถอนสิทธิเหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆตั้งแต่ภาคเหนือของลาวไปจนถึงพรมแดนเขมร
2. ให้ไทยรื้อถอนด่านทั้งหมดบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้เสร็จภายใน 1 เดือน
3. ให้ไทยจัดการปัญหาทุ่งเชียงคำ เมืองคำพวน และความเสียหายที่เรือรบฝรั่งเศสและชาวฝรั่งเศสได้รับจากการปะทะกัน
4. ให้ไทยลงโทษเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยที่รับผิดชอบในการยิงปืนที่ปากน้ำ
5. ให้ไทยชดใช้ค่าเสียหายให้ชาวฝรั่งเศสเป็นเงิน 2 ล้านฟรังก์
ฝ่ายไทยจึงยอมรับทุกข้อยกเว้นข้อ 1 ทำให้ฝรั่งเศสไม่พอใจจึงถอนคณะทูตออกจากประเทศไทย และเรือรบได้ไปยังเกาะสีชังและปฏิบัติการปิดอ่าวไทย จึงเป็นเหตุให้ไทยรับเงื่อนไขคำขาดโดยไม่ต่อรองใดๆ เพื่อให้ฝรั่งเศสยุติการปิดอ่าว แต่รัฐบาลฝรั่งเศสกลับยื่นเงื่อนไขเพิ่มเติมที่รุนแรงขึ้น คือ เรียกร้องจะเข้ายึดครองแม่น้ำและท่าเรือจังหวัดจันทบุรี และไทยต้องไม่มีกำลังทหารอยู่ที่พระตะบอง เสียมราฐ และบริเวณรัศมี 25 กิโลเมตรบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง
ฝ่ายไทยจึงยอมรับเงื่อนไขที่เพิ่มเติมมาแต่โดยดี หลังจากนั้นฝรั่งเศสได้ส่งผู้แทนรัฐบาลมาเจรจาขอทำสนธิสัญญาเพื่อยุติกรณีพิพาท ร.ศ. 112 ในร่างสัญญาดังกล่าวไทยมีข้อเสียเปรียบหลายประการโดยเฉพาะเมืองจันทบุรี มีสาระสำคัญดังนี้
1. รัฐบาลไทยสละสิทธิทั้งหมดในดินแดนบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆในแม่น้ำนั้น
2. ห้ามรัฐบาลไทยส่งเรือรบเข้าไปในทะเลสาบ ในแม่น้ำโขง และลำน้ำที่แยกมา
3. ห้ามรัฐบาลไทยสร้างด่านหรือค่ายทหารในเมืองพระตะบอง และเสียมราฐ
4. ฝรั่งเศสสงวนสิทธิจะตั้งกงสุล ณ ที่ใดก็ได้ โดยเฉพาะที่น่านและโคราช
โดยฝรั่งเศสจะยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกันจนกว่าไทยจะปฏิบัติตามสัญญาจนครบ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนครั้งที่สำคัญของไทยคือ ราชอาณาจักรลาวเกือบทั้งหมด รวมทั้งสิบสองจูไทยต้องตกอยู่ใต้ปกครองของฝรั่งเศส รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 143,800 ตารางกิโลเมตร พลเมืองประมาณ 600,000 คน …”
ที่มาของ “… ข้อความ …”
https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B8%A3.%E0%B8%A8._112
เรียนรู้เพิ่มเติม
wiki.kpi.ac.th
วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112
ทั้งนี้ วันที่ฝรั่งเศสนำเรือปืนบุกฝ่า
แนวปราการปากน้ำเจ้าพระยา
เข้ามาจอดหน้าสถานทูตฝรั่งเศส
และหันปากกระบอกปืนไปยัง
พระบรมมหาราชวัง
ที่ถูกต้อง คือ
วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2436 (รศ.112)
** ขอบคุณข้อมูลจาก
ผู้บังคับการป้อมพระจุลจอมเกล้า
ฐานทัพเรือกรุงเทพฯ
ที่ช่วยแก้ไขให้ข้อมูลถูกต้อง ครับ **
และเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์
ในครั้งนั้น กองทัพเรือ จัดให้มี
“ปราการพระจุล จารึกคุณมหาราช ร.ศ.112 เดอะมิวสิคัล”
สุดยอดงานแสดงละครเวที แสง สี เสียง
สุดยิ่งใหญ่
ริมป้อมประวัติศาสตร์ พร้อมซุ้มไฟ
สุดตระการตา
และอิ่มอร่อยกับซุ้มร้านอาหารกว่า 30 ร้าน!
พิเศษสุด “ชมการแสดงฟรี”
ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า ตำบลแหลมฟ้า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
ระหว่างวันที่ 13 – 16 กรกฎาคม 2568
ร่วมย้อนรำลึก “วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒”
ผ่านการแสดงมิวสิคเคิลแสง สี เสียง
สุดยิ่งใหญ่ โดยทีมนักแสดง และนักร้อง
ชื่อดัง ที่จะมาถ่ายทอดเรื่องราวแห่ง
ศรัทธา ความรัก และการเสียสละ
ด้วยพลังเสียง และอารมณ์
สะกดคนดูทุกวินาที
.
แล้วพบกันที่ “ปราการพระจุล” ประสบการณ์แห่งแสงสีเสียงที่คุณ
ต้องมาเห็นด้วยตาตัวเอง!
สำรองที่นั่ง หรือสอบถามเพิ่มเติม >>
https://lin.ee/jl82Goi
ติดต่อเรา
line.me
LINE Add Friend
# พวกเราดูรู้ เจ็บแล้วต้องจำ
ข่าวรอบโลก
ข่าว
ประวัติศาสตร์
บันทึก
7
2
3
7
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย