25 ม.ค. 2020 เวลา 09:21 • สุขภาพ
วันนี้นึกมุกเก่าได้ล่ะ...โรงพยาบาล Zhongnan ของมหาวิทยาลัยหวู่ฮั่น ได้เปิดทำการรักษาผู้ป่วย coronavirus ด้วยเครื่อง ECMO เครื่องดังกล่าวเคยถูกนำไปใช้กับดาราหลายๆคน เช่น น้ำตาล เดอะสตาร์, ปอ-ทฤษฎี สหวงษ์ ไม่เว้นแม้แต่ดาร์กเวเดอร์ ที่ยังต้องพึ่งระบบช่วยค้ำจุนชีวิตเครื่องนี้!!!
1
สถานการณ์ระบาดนี้ โรงพยาบาล Zhongnan ของมหาวิทยาลัยหวู่ฮั่น จึงได้เปิดทำการรักษาผู้ป่วย coronavirus นี้ ด้วยเครื่อง ECMO
ปอ-ทฤษฎี
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยหวู่ฮั่น Zhongnan ได้ทำการรักษาผู้ป่วย coronavirus ชนิดใหม่ Caseแรกในจังหวัด เซี่ยเจี้ยน ผู้เชี่ยวชาญของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาทางการแพทย์ของเมืองหวู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยและผู้อำนวยการศูนย์ ECMO ฉุกเฉินและวิกฤต ทางมหาวิทยาลัยกล่าวว่าขอบเขตของการใช้ ECMO ค่อนข้างน้อยและ ในปัจจุบันใช้เฉพาะกับ โรคที่ยังไม่มียาต้านไวรัสที่เฉพาะเจาะจง
และสำหรับ ไวรัส coronavirus และการรักษาส่วนใหญ่จะมีอาการตามข้อกำหนดทางการแพทย์...
ในวันเดียวกัน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาล Tongji ร่วมกับมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Huazhong ออก "คู่มือฉบับย่อสำหรับการวินิจฉัยและรักษาโรค หลังจากการวิเคราะห์ลำดับไวรัส กลุ่มผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลทงจี้ สันนิษฐานว่าโฮสต์ตามธรรมชาติของโรค coronavirus อาจเป็นค้างคาว...
กุ เกี่ยวไรเนี๊ย...
จากรายงานคู่มือฉบับย่อของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลทงจิ ได้รายงานโดยย่อว่า...
-coronavirus ไวต่อความร้อน ที่อุณหภูมิ 56 ° C เป็นเวลา 30 นาที
-ทำลายได้ด้วย อีเธอร์เอธานอล 75% เมื่อแอลกอฮอร์แห้งสนิท..
-ยาฆ่าเชื้อที่ประกอบด้วยคลอรีน peracetic acid และคลอโรฟอร์มสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-แต่ Chlorhexidine ไม่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อไวรัส
peracetic acid
กลับมาที่ การรักษาผู้ป่วย coronavirus รูปแบบใหม่ด้วย ECMO
ECMO (extracorporeal life support) คืออะไร ?
ECMO คือ เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด ใช้ในการค้ำจุนชีวิตสำหรับผู้ที่ป่วยหนัก
ดังที่เคยนำเสนอไปแล้ว เครื่องดังกล่าวเคยนำไปใช้กับดาราหลายๆคน เช่น น้ำตาล เดอะสตาร์, ปอ-ทฤษฎี สหวงษ์ ไม่เว้นแม้แต่ดาร์กเวเดอร์ ยังต้องพึ่งระบบช่วยค้ำจุนชีวิตเครื่องนี้
ดาร์กเวเดอร์
แต่ ECMO หรือ extracorporeal life support ก็ได้รับการพัฒนามาอย่างมากในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้
แรกเริ่มเดิมทีการรักษาดังกล่าวใช้เพื่อช่วยเด็กทารก แต่จำนวนของผู้ใหญ่ที่ได้รับการใช้ ECMO ก็กำลังเพิ่มขึ้น และศูนย์ ECMO ก็กำลังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก
อ้างอิงจากองค์กรช่วยชีวิตด้วย ECMO (Extracorporeal Life Support Organization -ELSO) สำหรับ ECMO อยู่ โดยตั้งแต่ปี 1990 มีการใช้ECMO เพื่อช่วยเหลือคน 58,842 คนทั่วโลกและเพิ่มขึ้นในทุกๆปี
ถึงแม้ว่ากว่าครึ่งของผู้ป่วยเหล่านั้นจะเป็นเด็กทารกที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ แต่ก็มี 10,426 รายที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีทั้งปัญหาของระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต หรือที่จำเป็นต้องฟื้นคืนการทำงานของปอด
ECMO (หรืออีกชื่อหนึ่งคือ extracorporeal life support หรือ ECLS) เป็นวิธีหนึ่งในการช่วยชีวิตระยะสั้นในผู้ที่มีความเจ็บป่วยร้ายแรง (เช่น การทำงานของปอดหรือหัวใจล้มเหลว) ECMO จะเติมออกซิเจนในเลือดและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา และยังช่วยเรื่องระบบไหลเวียนเลือด (ความดันโลหิต) ได้อีกด้วย
ECMO เป็นเครื่องปอดและหัวใจเทียม (cardiopulmonary bypass)ชนิดไม่เต็มรูปแบบและใช้นอกห้องผ่าตัด ส่วนเครื่องปอดและหัวใจเทียมชนิดเต็มรูปแบบ (heart-lung machines) จะใช้ระหว่างการผ่าตัดเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
ECMO ใช้เพื่อลดภาระงานของปอดและหัวใจเป็นเวลาหลายวัน ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วจะช่วยส่งเสริมการรักษาตัวและใช้ในผู้ป่วยที่หากได้รับการรักษาฉุกเฉินแล้วจะมีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มขึ้น...
น้ำตาล เดอะสตาร์
ย้อนกลับไปในปี 1944 ทีมนักวิจัยพบว่าเลือดที่ผ่านแผ่นเนื้อเยื่อที่ยอมให้สารผ่านได้เพียงบางส่วน (semi-permeable membrane) จะได้รับออกซิเจน การสังเกตดังกล่าวกลายเป็นพื้นฐานของเครื่องปอดและหัวใจเทียม
semi-permeable membrane
โดยในช่วงแรก เครื่องปอดและหัวใจเทียมต้องใช้แผ่นผลิตออกซิเจน ซึ่งจะทำให้เลือดสัมผัสกับอากาศโดยตรง
ผลข้างเคียงของเครื่องปอดและหัวใจรุ่นแรกนี้คือ เกิดการแตกของเม็ดเลือด (hemolysis)
hemolysis
ในปี 1956 การพัฒนาแผ่นเนื้อเยื่อผลิตออกซิเจน (membrane oxygenator) ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และเป็นพื้นฐานของการใช้ ECMO ที่ยาวนานมากขึ้น
ส่วนประกอบของเครื่อง ECMO โดยทั่วไปมีดังนี้...
-heat exchanger เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
-membrane oxygenator แผ่นเยื่อผลิตออกซิเจน
-roller or centrifugal pump ปั๊ม
-circuit tubing
-catheters สายสวนที่จำเพาะ
ผู้ที่ใช้ ECMO มักเป็นผู้ที่ป่วยหนักมาก และไม่ใช่ทุกคนที่รอดมาได้
1
ในปี 2013 ทาง ELSO รายงานว่ามีเพียง 72% ของผู้ที่ใช้ ECMO ที่รอดชีวิต โดยสถิติดังกล่าวส่วนใหญ่ขึ้นกับเด็กทารกที่มีการบาดเจ็บของปอดในระดับจำกัด (สังเกตว่าเด็กทารกมีปอดที่ยังใหม่ และมักใช้ ECMO ได้โดยที่ไม่มีโรคร่วม หรือมีความเสียหายของปอดอย่างที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่)
ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่า 72% ของผู้ที่ใช้ ECMO จะรอดชีวิต แต่ก็มีเพียง 60% เท่านั้นที่มีชีวิตรอดจนได้กลับบ้านหรือได้รับการส่งตัวไปรักษาต่อ และเช่นเดียวกัน สถิตินี้ก็มาจากทารกเป็นหลัก
หากดูโดยเจาะจงแล้ว มีเพียง 56% ของผู้ใหญ่ที่มีปัญหาของระบบทางเดินหายใจที่อยู่รอดจนได้กลับบ้านหรือส่งตัวไปรักษาต่อ
การใช้ ECMO กำลังมีบทบาทมากขึ้นในการรักษาผู้ใหญ่ ถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานรองรับการใช้ทั่วไปเพียงเล็กน้อย (หมายความว่าเรายังต้องการการศึกษาทดลองขนาดใหญ่เพื่อที่จะสร้างแนวทางการรักษาที่เป็นสากล)
รายงานผู้ป่วย (case report) การศึกษาชนิดจากผลไปหาเหตุ (retrospective study) และอื่นๆกำลังเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เห็นว่า ECMO อาจมีประโยชน์ในภาวะที่หลากหลาย และถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อห้ามที่ชัดเจนสำหรับการใช้งาน
แต่ก็มีข้อห้ามในบางกรณี ซึ่งมีความเห็นที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ เช่น กรณีที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ (การกดภูมิคุ้มกัน) ความเสี่ยงในการมีเลือดออกรุนแรง (ความบกพร่องของการแข็งตัวเลือดอย่างมาก) อายุมาก และการมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
กรณีต่อไปนี้ที่จะใช้ ECMO ในผู้ใหญ่ ได้แก่...
-หัวใจหยุดเต้นจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
-ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดแดงในปอด
-ภาวะหัวใจล้มเหลว
-ระบบการหายใจล้มเหลวจาก ARDS หรือไวรัส H1N1
2
และอีกสองอย่างที่เกี่ยวกับข้อมูลของ ECMO สำหรับผู้ใหญ่...
กล่าวคือ ข้อแรก ECMO ไม่เหมือนกับเครื่องช่วยหายใจ โดยจะใช้หลีกเลี่ยงการทำอันตรายต่อปอด (barotrauma) หรือปอดแฟบ (atelectasis)
อีกข้อ การศึกษาแบบ meta analysis (การศึกษาแบบวิเคราะห์) แสดงให้เห็นว่า ECMO อาจไม่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่รับการปลูกถ่ายหัวใจ ผู้ที่มีภาวะติดเชื้อไวรัสของกล้ามเนื้อหัวใจ (viral cardiomyopathy) และผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามปกติ
Conclusion...
ECMO อาจเป็นการรักษาที่คุณไม่มีโอกาสได้สัมผัสในชีวิตของคุณหรือคนที่คุณรัก ซึ่งนั่นนับเป็นเรื่องดี...
เพราะ ECMO เป็นการรักษาสำหรับผู้ที่ป่วยหนัก
อย่างไรก็ตาม ECMO แสดงให้เห็นถึงความหวังในการช่วยผู้คนอีกมากมาย
ถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่สามารถสร้างระบบการค้ำจุนร่างกายได้ 2 เท่าเหมือนชุดของดาร์ธเวเดอร์ก็ตาม แต่เราก็กำลังมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้นเกี่ยวกับการช่วยค้ำจุนชีวิตในระยะสั้น...
จำตอนที่ลุคถอดหน้ากากของดาร์ธเวเดอร์ได้หรือเปล่าครับ?
พอมาถึงตอนนี้ในมหากาพย์ไตรภาค ผมเองก็รู้สึกเห็นใจดาร์ธเวเดอร์ขึ้นมาเหมือนกัน… และ..
ผมแอบมีทฤษฎีง่ายๆในการฆ่าดาร์ธ เวเดอร์ แม้ว่าจะทรงพลัง เหี้ยมโหด ดูลึกลับแค่ไหนก็ตาม แต่เชื่อเถอะว่า วิธิสังหารจอมเผด็จการแห่งอวกาศรายนี้นั้นง่ายนิดส์เดียว…นั่นก็คือ
“ปิด หรือทำลายสวิทช์บนแผงหน้าอกของเขาซะ!!” แฮ่ร์..
ทำไมต้องทำอะไรแบบนั้น? เพราะแผงวงจรต่างๆที่อยู่บนหน้าอกของดาร์ธ เวเดอร์ คือเครื่องพยุงชีพ พูดกันเข้าใจง่ายๆเลยคือ มันเป็นส่วนควบคุม “ปอด” ของเวเดอร์
หลังจากดวลกับโอบีวันที่ดาวมุสตาฟาร์ ร่างกายของอนาคิน สกายวอลค์เกอร์ ถูกไฟเผาไหม่แทบทั้งร่าง ลามไปถึงปอดอีกด้วย ทำให้เวเดอร์ไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง ถ้าทำลายแผงวงจรนั่น เวเดอร์จะขาดอากาศหายใจตาย...555
ในทางทฤษฎี ที่ผมแอบเขียนลอยๆมันก็พอได้แหละ แต่ในจักรวาลกลับไม่มีใครคิดถึงจุดนี้ และไม่มีใครลองทำด้วย...
ท้ายสุด..กินร้อน ช้องกลาง ล้างมือ ไม่อยู่ในที่ชุมชน เป็นการป้องกันที่ดีที่สุดครับ...
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้...
Reference
โฆษณา