7 ก.พ. 2020 เวลา 14:43 • ประวัติศาสตร์
พาย้อนอดีต EP1 : วิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญของโลก มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ?
2
5 วิกฤตทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดกับโลกในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา ! เราสรุปให้คุณอ่านแบบรายละเอียดครบถ้วน
ขอบคุณภาพจาก https://www.pinterest.com
1. The Great Depression วิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา (1929)
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ปี ค.ศ.1918 สหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยเเละเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก ธุรกิจต่างๆ เติบโตอย่างรวดเร็ว มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย ผู้คนอเมริกาก็มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
2
คนอเมริกันนับแสนอดอยาก และต้องเข้าคิวรอรับอาหารและของแจกฟรีจากหน่วยงานการกุศล
เป็นช่วงเวลาที่การซื้อขายสินค้าแบบใหม่ เริ่มได้รับความนิยม นั่นคือการซื้อเป็น "เครดิต" หรือซื้อ "เงินผ่อน" ซึ่งนโยบายของธนาคารกลางตอนนั้นสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจ ผู้คนจึงพากันไปกู้เงินและนำมาลงทุนในตลาดหุ้นจนหมดตัว เพราะหวังจะรวยทางลัด
ระหว่างนั้นก็เกิดภาวะเก็งกำไรขึ้น ส่งผลให้ราคาหุ้นของหลายบริษัทสูงเกินความเป็นจริงหลายเท่าตัว เป็นช่วงหลังจากเศรษฐกิจอเมริกาผ่านจุดสูงสุดและกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย
1
เมื่อถึงเดือนกันยายนในปี 1929 เริ่มมีข่าวลือว่าหลาย ๆ บริษัทมีการขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรง จนถึงวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1929 ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ “Black Tuesday” ตลาดหุ้น Wall Street เกิดการระดมเทขายอย่างหนั ซึ่งดาวโจนส์นั้นปรับลดลงถึง 30 % หุ้นทิ้งดิ่งจนถึงขีดสุด จนเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง
2
ความพินาศของตลาดหุ้นส่งผลให้คนขาดความเชื่อมั่นในธนาคาร มีคนจำนวนมากแห่กันไปถอนเงินออกจากธนาคารพร้อม ๆ กันจำนวนมหาศาล เหตุการณ์นี้ยิ่งทำให้ดัชนี Dow Jones ร่วงลงไปกว่า 70 %
Black Tuesday เป็นฝันร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทั้งตัวผู้ลงลงทุนเองที่ถูก "บังคับขาย" จนหมด และยังต้องหาเงินมาจ่ายดอกเบี้ยของ Broker อีก ด้านโบรคเกอร์เองก็เกิดหนี้สูญมากมายเพราะลูกค้าไม่สามารถชำระเงินได้
2
หุ้นที่ประชาชนถืออยู่ในมือกลายเป็นแค่กระดาษไปในพริบตา ธนาคารล้มละลายหลายสิบ หลายร้อยแห่ง เพราะประชาชนไม่สามารถคืนเงินกู้ได้ คนที่ฝากเงินไว้กับธนาคารที่ล้มละลายก็ต้องสูญเงินทั้งหมดไปในทันที เศรษฐกิจของอเมริกาในเวลานั้นอยู่ในภาวะเลวร้ายอย่างมาก ผู้คนต่างก็ตื่นตระหนก
1
สินค้าต่างๆ กลายเป็นสินค้าที่ขายไม่ออกเนื่องจากคนไม่มีเงิน คนที่มีเงินก็ไม่กล้าใช้เงิน โรงงานหลายแห่งต้องปิดกิจการ และทำให้ 1 ใน 4 ของคนในอเมริกาว่างงาน คนผิวสีกว่าครึ่งไม่สามารถหางานได้ เหล่าผู้คนต่างก็อดอยาก ไม่มีแม้แต่เงินจะซื้ออาหาร
สาเหตุหลักที่นำมาสู่ความหายนะทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี ค.ศ.1929 คือ การที่มูลค่าของธุรกิจถูกเพิ่มขึ้นจากการเก็งกำไร แทนที่จะเพิ่มจากความสามารถในการผลิตที่แท้จริง (Productivity)
1
2. Oil Crisis วิกฤตน้ำมัน (1970)
ในช่วงปี 1970-1980 อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นอุตสาหกรรมที่รุ่งเรืองที่สุด โดยกลุ่มประเทศที่มีอิทธิพลที่สุด ได้แก่ กลุ่มประเทศชาติมุสลิมที่ส่งออกน้ำมัน หรือ OPEC ซึ่งอยู่ในภูมิภาค "ตะวันออกกลาง" มีส่วนสำคัญในการกำหนดปริมาณการผลิต และราคาน้ำมันโลก ประชากรส่วนใหญ่ในตะวันออกกลางมีเชื้อสายอาหรับ และนับถือศาสนาอิสลาม
1
รายได้จากการขายน้ำมันของ OPEC ภายใต้อัตราดอกเบี้ยต่ำ จะถูกนำไปลงทุนในโปรเจคต์ที่มีผลตอบแทนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านสถาบันการเงินละตินอเมริกาที่ตอนนั้นให้ผลตอบแทนสูงมาก
หลังสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง การถือกำเนิดของประเทศ “อิสราเอล” ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาว "ยิว" สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มประเทศอาหรับ จนเกิดความขัดแย้งหลายต่อหลายครั้ง โดยอิสราเอล มีอเมริกาเป็นพันธมิตรที่สำคัญ
1
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ก็เกิดวิกฤตหนี้ในละตินอเมริกา ซึ่งประเทศ OPEC เป็นผู้ปล่อยกู้เงินโดยการนำเงินกำไรจากธุรกิจน้ำมันมาหมุนเวียน ทำให้เกิดการเบี้ยวหนี้กับกลุ่ม OPEC มากขึ้นเรื่อย ๆ
เกิดสงครามระหว่างอาหรับและอิสราเอล ทำให้การส่งออกน้ำมันจากชาติอาหรับหยุดชะงัก ความแตกตื่นครั้งนี้ทำให้ประชาชนพากันแห่ซื้อน้ำมันมากักตุนไว้อย่างบ้าคลั่ง
1
คนทั่วโลกแห่กักตุนน้ำมันกันอย่างบ้าคลั่ง
กลุ่มประเทศ OPEC รวมทั้งอียิปต์และซีเรีย ประกาศงดการส่งออกน้ำมันให้กับอเมริกาโดยสิ้นเชิง (Oil embargo) รวมถึงลดกำลังการผลิต และประกาศขึ้นราคาน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นถึง 4 เท่า จนเกิดภาวะเงินเฟ้อสูง
1
กลุ่ม OPEC ได้รับชัยชนะและได้แย่งชิงอำนาจการกำหนดราคาน้ำมันมาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ในอเมริกาและ EU เป็นการสลับขั้วอำนาจที่สำคัญมาก ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง
ในขณะนั้นกำลังการผลิตน้ำมันของอเมริกาถึงจุดสูงสุดไปแล้ว ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีก ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันทั่วโลก
น้ำมันขาดแคลนทั่วโลก
อุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพิงพลังงานในการผลิตอย่างมาก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก ก็เกิดวิกฤติอย่างหนัก เรื่องนี้นำมาสู่วิกฤติเศรษฐกิจในปี 1973 เมื่อตลาดหุ้นทั่วโลกต่างพากันปรับตัวลดลง ดัชนี Dow Jones ของอเมริกาลดลงกว่า 45%
4
ขอบคุณภาพจาก https://www.investors.com
3. The Lost Decades วิกฤตฟองสบู่แตกในสินทรัพย์ของญี่ปุ่น (1986)
ญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่มีระเบียบวินัยในการออมเงินที่สูงมาก นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด จึงทำให้ธนาคารและสถาบันทางการเงินของญี่ปุ่นมีเงินจำนวนมากอยู่ในระบบ ทำให้ญี่ปุ่นมีแนวคิดที่จะขยายการเติบโตทางธุรกิจด้วยการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ จากการปล่อยกู้ให้เอกชนและประชาชน
4
ช่วงพีคที่สุดของเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้นอยู่ในช่วงปี 1986–1991 ที่เรียกว่าเป็นยุคฟองสบู่ของชาวญี่ปุ่น ยุคนั้นประเทศญี่ปุ่นเติบโตอย่างมหาศาล ดัชนีหุ้น Nikkei พุ่งสูงขึ้นถึง 4 เท่าติดเพดานตลาดหลักทรัพย์ จนทำให้ญี่ปุ่นกลายมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจอันดับสองของโลก แต่ภายหลังจากนั้นประเทศญี่ปุ่นก็เเทบไม่เติบโตอีกเลยในอีกกว่า 20 ปีต่อมา
2
ช่วงกว่า 20 ปีที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นซบเซา
ช่วงกว่า 20 ปีที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นแทบหยุดนิ่ง เป็นที่มาของชื่อเรียกวิกฤตในครั้งนี้ "The lost Decades" ที่แปลเป็นไทยได้ว่า "หลายทศวรรษที่หายไป"
หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง อเมริกาได้เริ่มเข้ามาเเทรกเเซง เทคโนโลยีต่าง ๆ จากตะวันตก เริ่มไหลเข้ามาสู่ญี่ปุ่นมากขึ้น
1
คนญี่ปุ่นไม่ได้เป็นเพียงแค่ "ผู้บริโภค", การ Copy & Development (คล้าย ๆ กับจีนในปัจจุบัน) ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญของญี่ปุ่นในยุคนั้น โดยเฉพาะสินค้าประเภท "เทคโนโลยี" คนญี่ปุ่นสามารถพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดีกว่าเดิมได้ และมีราคาถูกกว่า ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นในตอนนั้นถือว่าอ่อนค่ามาก ทำให้ต้นทุนถูกกว่าประเทศอื่น
ถือเป็นยุคทองของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ บริษัทของญี่ปุ่นในยุคนั้นร่ำรวยมากถึงขนาดที่ว่า Mitsubishi ซื้อตึก Rockefeller Center ด้วยเงินจำนวน 846 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 220,000 ล้านเยน และยังมีการกว้านซื้อบริษัทใหญ่ๆ อีกหลายแห่งโดยบริษัทจากญี่ปุ่น
หายนะเริ่มขึ้น เมื่อสหรัฐฯ เดือดร้อนเพราะสินค้าญี่ปุ่นขายดีมากเกินไป จนมีหลายประเทศรู้สึกว่าญี่ปุ่นกำลังเอาเปรียบคู่ค้า จากผลของค่างเงินเยนที่อ่อนค่ามาก ในปี 1985 อเมริกาจึงได้จัดประชุมที่โรงแรม Plaza ในนครนิวยอร์ก (การประชุมนี้จึงมีชื่อว่า Plaza Accord)
1
โดยมีกลุ่ม G5 หรือประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในขณะนั้น ได้แก่ ฝรั่งเศส, เยอรมนี ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นและเยอรมนีเพิ่มค่าเงินของตัวเองเมื่อเทียบกับ US Dollar รัฐบาลทั้งห้าประเทศได้ลงนามข้อตกลงนี้ในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1985
2
เหตุการณ์นี้เป็นการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินครั้งแรกของโลก โดยอเมริกาบังคับให้ญี่ปุ่นต้องแข็งค่าเงินจาก 250 YEN/USD เป็น 150 YEN/USD ซึ่งหมายถึงแข็งค่าขึ้นกว่า 70% ภายในเวลาเพียง 10 เดือน
2
ค่าเงินญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นทุกปี จนกระทั่งอยู่ที่ระดับ 80 YEN/USD คือแข็งค่าขึ้นประมาณ 300 % !! ผลจากข้อตกลงพลาซ่าในครั้งนั้น ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเข้าสู่ช่วง “ฟองสบู่” ในช่วงปี 1986–1991
1
บริษัทภาคการผลิตหลายแห่งในญี่ปุ่นเริ่มขาดทุน โดยเฉพาะธุรกิจส่งออกขาดทุนยับเยิน ธนาคารญี่ปุ่นไม่อยากปล่อยกู้ให้กับธุรกิจส่งออกที่เคยเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจในยุคก่อน จึงหันมาปล่อยกู้กับธุรกิจเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจเก็งกำไรในตลาดหุ้น
1
ตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ต่างมีราคาสูงลิบลิ่วจากการเก็งกำไร โดยมูลค่าเพิ่มถึงเกือบ 4 เท่าในเวลาเพียงแค่ 5 ปี ดัชนี NIKKEI ของญี่ปุ่นทำจุดสูงสุดที่เกือบ 39,000 จุด จนตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีมูลค่าสูงที่สุดในโลก ซึ่งสาเหตุมาจากสภาวะเงินล้นประเทศ
แบงก์ชาติญี่ปุ่นตอนนั้นก็มีนโยบายแบบผ่อนคลาย ธนาคารก็ปล่อยกู้เพื่อไปเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นอย่างมหาศาล สภาพคล่องล้นเหลือนี้ ทำให้ฟองสบู่ยิ่งใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้น
3
สุดท้ายตลาดหุ้นพัง ญี่ปุ่นต้องสูญเสียความมั่งคั่งกว่า 2 ล้านล้านเหรียญ ตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงกว่า 50% ภาคอสังหาริมทรัพย์ อสังหาทำเลทองย่าน Ginza มีราคาเหลือเพียงแค่ 1% เมื่อเทียบกับช่วงพีค
2
และเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ซบเซาต่อเนื่องไปกว่า 20 ปี จนเป็นที่มาของ The Lost Decade แม้แต่ดัชนี NIKKEI ก็ยังกลับไปจุดเดิมไม่ได้จนถึงทุกวันนี้ (1991 เกือบ 40,000 จุด แต่ปัจจุบันอยู่เเค่ประมาณ 20,000 นิด ๆ)
1
4. Tom yum Goong crisis วิกฤตต้มยำกุ้ง (1997)
2
วิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงสุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย หายนะที่คนไทยอยากให้เป็นแค่ฝันร้าย เหตุการณ์ที่ทำให้ไทยต้องสูญเสียเอกราชทางเศรษฐกิจให้แก่ IMF อย่างสิ้นเชิงเพื่อแลกกับเงินกู้ 1.72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำไปสู่การ “ลอยตัว” ค่าเงินบาท
ขอบคุณภาพจาก https://www.thansettakij.com
เหตุการณ์เริ่มเมื่อ ค.ศ. 1997-1999 ประเทศในอาเซียนได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศ บวกกับนโยบายทางการเงินของไทยช่วงนั้นซึ่งส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ
เมื่อมีปัจจัยบวกจากภายในและภายนอก เศรษฐกิจประเทศไทยจึงเข้าสู่ระบบการเก็งกำไร ธุรกิจขนาดใหญ่และสถาบันการเงินแห่กู้เงินระยะสั้น ดอกเบี้ยต่ำจากต่างประเทศมาแสวงหาผลตอบแทน พูดง่าย ๆ คือ "กู้มาลงทุน” โดยหวังทำกำไรจากส่วนต่างของดอกเบี้ยระหว่างประเทศนั่นเอง
1
เกิดการเก็งกำไรราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน และหุ้น อย่างมหาศาลโดยเงินที่กู้มา จนมูลค่าสูงเกินความเป็นจริงไปหลายสิบเท่าตัว จนเกิดฟองสบู่ก้อนโตขึ้น
2
ตอนนั้นระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของไทยจะ “ตรึง” ค่าเงินบาทไว้ตายตัวที่ 25 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเสถียรภาพทางการเงิน เมื่อตรึงค่าเงินบาทไว้ ทั้งการนำเข้าและส่งออกก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (ใครก็อยากทำธุรกิจเวลาที่คิดว่าไม่มีความเสี่ยงทางการเงิน)
1
ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็เริ่มใช้นโยบายเสรีการเงินชื่อว่า BIBF (Bangkok International Banking Facilities) ที่ผ่อนคลายกฎหลายๆ อย่างเพื่อให้สถาบันการเงินกู้เงินจากต่างประเทศไปปล่อยกู้ต่อที่ประเทศอื่น ๆ ได้
ในความเป็นจริง กฎของการเงินระหว่างประเทศจะมีอยู่ 3 สิ่งที่ไม่สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันได้ (ซึ่งไทยตอนนั้นทำหมดทั้ง 3 อย่าง) คือ
1. อัตราเเลกเปลี่ยนคงที่
2. นโยบายการเงินแบบเสรี
3. การเคลื่อนย้ายเงินข้ามประเทศแบบเสรี
1
เนื่องจากยุคสมัยนั้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่างประเทศค่อนข้างต่ำ สวนทางกับดอกเบี้ยในประเทศที่สูงมาก(ระดับสองหลัก) สถาบันการเงินก็เลยคิดง่าย ๆ โดยการกู้เงินต่างประเทศมาปล่อยกู้ให้คนในประเทศ (แค่กินส่วนต่างดอกเบี้ยก็กำไรมหาศาลแล้ว)
อัตราแลกเปลี่ยนที่ตายตัว ทำให้วางแผนเรื่องการหมุนเงินง่ายมาก ไม่ต้องห่วงว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะผันผวน ในช่วงแรกเหตุการณ์ยังปกติดีอยู่
แต่พอมีเงินไหลเข้ามาในประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่รู้ว่าจะเอาเงินไปปล่อยกู้ให้กับใคร สถาบันการเงินจึงเริ่มปล่อยกู้แบบไม่เลือกหน้า และเริ่มให้เงินกับภาคเก็งกำไร แทนที่จะปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจจริงๆ (Real sector)
1
ส่วนภาคธุรกิจจริง ๆ บริษัทที่อยากกู้เงินมาทำธุรกิจ มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่อาจสู้ดอกเบี้ยแสนโหดในประเทศไหว บริษัทเหล่านี้จึงเลือกไปกู้เงินต่างประเทศเองซะเลย ! ตอนนี้คนส่วนมากในไทยต่างก็เป็นหนี้ต่างประเทศกันหมด
ต่อมาในช่วงปี 1996 เศรษฐกิจสหรัฐกลับฟื้นตัว รัฐบาลสหรัฐเริ่มขึ้นดอกเบี้ย เงินดอลลาร์จึงแข็งค่าขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทของไทยที่ผูกติดอยู่กับเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าตามไปด้วย จึงทำให้ไทยเริ่มขายของไม่ออก ในขณะที่ภาคธุรกิจต่าง ๆ ยังกู้เงินกันอย่างเมามัน แต่ไม่มีเงินมาจ่ายคืนหนี้เหล่านี้ ทำให้หายนะเริ่มคืบคลานเข้ามาช้า ๆ
2
เมื่อไทยค้าขายไม่ดีเหมือนเดิม เจ้าหนี้ก็เริ่มกลัว เงินบาทของไทยเริ่มเป็นที่น่าหวั่นเกรงในสายตาคนนอก จึงไม่มีใครที่อยากได้เงินบาทเท่าไหร่นัก
จนมาถึงตอนนี้ เหล่าผู้กู้ในไทยก็ได้ทำการ แลกเงินดอลลาร์กับธนาคารแห่งประเทศไทยจนเงินทุนสำรองประเทศร่อยหรอ
เมื่อเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว และยังมีเงินอยู่ในระบบมากเกิน ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและค่าเงินบาทลดลงอย่างหนัก ทำให้หนี้ที่กู้ยืมจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัว
กลุ่ม Hedge Fund ต่างชาติ ดูออกแล้วว่าเศรษฐกิจไทยนั้นเติบโตแบบ "ไร้ภูมิคุ้มกัน" จึงเริ่มเข้ามาโจมตีค่าเงินบาท เพื่อหวังทำกำไรมหาศาลเมื่อเงินบาทลอยตัว
จอร์จ โซรอส เห็นช่องทางทำกำไร จากการที่เงินบาทมีมูลค่าสูงกว่าความเป็นจริงมาก จึงได้โจมตีค่าเงินบาทด้วยการเปิดสถานะขายเงินบาท (ขายก่อนเเล้วค่อยซื้อคืน)
ธนาคารแห่งประเทศไทยทำการป้องกันค่าเงินบาทด้วยการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปซิ้อเงินบาทที่โซรอสขาย จนกระทั่งมูลค่าในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 1997 เพิ่มขึ้นเป็น 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 40% ของเงินทุนสำรอง
3
การโจมตีของโซรอส ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเดือนพฤษภาคม 1997 ประเทศไทยได้ขอความร่วมมือจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกงในการเข้าป้องกันค่าเงินบาทอีกมูลค่ากว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จนสุดท้ายไทยแพ้ราบคาบ
3
2 กรกฎาคม 2540 คือวันที่ไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท หลังจากธนาคารแห่งประทศไทย (ธปท.) พ่ายแพ้ต่อ นายจอร์จ โซรอส และพรรคพวก ที่เข้าโจมตีค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปี 2540 (ต่อสู้กันเป็นระยะเวลากว่า 6 เดือน)
ภายหลังจากการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง จาก 25 บาท/ดอลลาร์ ขยับขึ้นเป็น 56 บาท/ดอลลาร์ สถาบันการเงินและภาคธุรกิจต้องประสบกับปัญหาหนี้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
1
นำไปสู่การล้มละลายของสถาบันการเงิน 58 แห่ง ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งต้องปิดให้บริการ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ล้มละลายและฉุดให้เศรษฐกิจตกตํ่าอย่างรุนแรง รัฐบาลไทยจึงต้องขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
1
ผลจากความพ่ายแพ้อย่างหมดรูป ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปมากกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จนเงินทุนสำรองร่อยหรอเหลือเพียงแค่ 2,850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ภาพตึกร้างขนาดใหญ่ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ปิดตัวลงและเป็นหนี้อีกเท่าตัว ทั้ง ๆ ที่ยังสร้างไม่เสร็จ
ดัชนีตลาดหุ้นไทย ซึ่งทำจุดสูงสุดในปี 2537 ที่ระดับ 1,753.73 จุด ลดลงมาที่ระดับ 1,410.33 ในเดือนมกราคม 2540 และร่วงหล่นสู่ 457.97 จุดในเดือนมิถุนายนก่อนที่จะประกาศลอยตัวค่าเงิน และลงสู่จุดต่ำสุด 207 จุดในเดือนกันยายน 2541
1
ขอบคุณภาพจาก https://knowledge.bualuang.co.th
5. Hamburger Crisis วิกฤตซับไพรม์ (2000 - ปัจจุบัน)
"ครั้งหนึ่ง ระบบทุนนิยมเคยเกือบล่มสลายไปจากโลกนี้"
"ฟองสบู่แตกครั้งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ"
นี่คือคำนิยามของวิกฤตในครั้งนี้
ตามสามัญสำนึกของคนทั่วไปแล้ว "บ้าน" คือ "ทรัพย์สิน" ที่มีความปลอดภัยสูงเพราะเหตุผลหลายอย่าง เช่น บ้านเป็นที่อยู่อาศัย ตรงข้ามกับหุ้นที่เป็นแค่กระดาษใบเดียวหรือสัญญาในคอมพิวเตอร์ บ้านจึงกลายเป็นทางเลือกสามัญสำหรับใครก็ตามที่อยากลงทุนกับอะไรสักอย่างเป็นจำนวนเงินมากๆ
1
แต่แล้วก็เกิดวิกฤตครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ที่ "บ้าน" ทำให้ผู้คนสูญเสียความมั่งคั่งกว่า 10 ล้านล้านดอลลาร์ วิกฤตที่เกือบจะทำให้ระบบ "ทุนนิยม" หายไปจากโลกใบนี้ และนำไปสู่การล่มสลายของสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง "Lehman Brother"
1
ขอบคุณภาพจาก http://www.investerest.co/
สาเหตุทั้งหมดมาจาก อสังหาริมทรัพย์ การปล่อยกู้ และการเก็งกำไร และความโลภของชาวอเมริกันทุกระดับ ทั้งประชาชน นักลงทุน สถาบันการเงิน และบริษัทต่าง ๆ
ช่วงเวลานั้นเศรษฐกิจกำลังดีขึ้นเรื่อย ๆ มีการสร้างและซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก ตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมีขนาดใหญ่กว่า 60% ของเศรษฐกิจทั้งหมดของสหรัฐในตอนนั้น และมันกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ฝั่งรัฐบาลเองก็กำลังกระตุ้นเศรษฐกิจและสนับสนุนให้คนมีบ้าน และอัตราดอกเบี้ยของ FED (ธนาคารกลางสหรัฐ) ซึ่งถูกใช้อ้างอิงกับธนาคารทั่วประเทศอยู่ในระดับราว ๆ 2% ซึ่งถือว่าไม่สูงนัก
สถาบันการเงินต่าง ๆ จึงมีนโยบายปล่อยกู้มากขึ้นและผ่อนปรนขึ้น คนที่อยากเป็นเจ้าของบ้านก็สามารถกู้เงินมาซื้อบ้านได้ง่าย ๆ โดยแทบไม่ต้องใช้หลักประกันเลย ด้วยสินเชื่อ “Subprime Mortgages” หรือ “สินเชื่อที่ปล่อยให้กับลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ" และภายหลังจึงกลายเป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของวิกฤตการเงินครั้งนี้ “วิกฤตซับไพร์ม” แปลว่า วิกฤตสินเชื่อด้อยคุณภาพ
1
ลูกหนี้กลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นลูกหนี้ ที่ประวัติไม่ดี มีโอกาสเบี้ยวหนี้สูง
สัดส่วนของสินเชื่อชั้นล่างในตลาดอสังหาริมทรัพย์พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิมไม่ถึง 15% ในปี 2003 กลายเป็น 46% ในปี 2006 และตัวเลขสถิติของ อัตราหนี้สินครัวเรือนต่อรายได้ เพิ่มเป็น 130% แปลว่าคนอเมริกันมีหนี้เฉลี่ยมากกว่ารายได้เสียอีก
บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับกา่รปล่อยสินเชื้อคุณภาพต่ำก้เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงนั้น
ปัญหาเริ่มเด่นชัดขึ้นตั้งแต่ปี 2004 หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จุดนี้เองที่การซื้อบ้านเริ่มชะลอตัวลงรอบแรก ด้วยอัตราดอกเบี้ยจาก 2.25% ในปี 2004 มาอยู่ที่ 5.25% ในปี 2006 ทำให้คนเริ่มไม่อยากซื้อบ้าน และเมื่อคนไม่อยากซื้อบ้าน ราคาก็ร่วง
1
เมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงเกิดการยึดทรัพย์ไปทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งวิกฤตลุกลามใหญ่โต
ดอกเบี้ยนโยบายของ FED ในตอนนั้น
และแล้วในปี 2006 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็ถึงทางตัน ด้วยราคาบ้านที่สูงกว่าความจริงมานานแล้ว พร้อมกับที่ Supply ในตลาดอสังหาเพื่อการลงทุนเริ่มมีมาก ทำให้ต้องลดราคาลงแข่งกัน ประกอบกับเวลานั้นดอกเบี้ยของสหรัฐอยู่ในช่วงขาขึ้น (เนื่องจาก FED ต้องการลดความร้อนแรงของตลาดอสังหาฯ) และมีการปล่อยสินเชื่อคุณภาพต่ำมากเกินไป
1
ตั้งแต่แรกกลุ่มลูกหนี้ซับไพร์มได้เงินกู้มาซื้อบ้านแบบง่ายๆ แต่ก็แลกด้วยการจ่ายดอกเบี้ยแบบลอยตัว ถ้าอัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น พวกเขาก็จะแบกรับภาระดอกเบี้ยเพิ่ม วี่แววของหนี้เสียเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อพวกเขาต้องเลื่อนการจ่ายเงินออกไปเรื่อยๆ หลังจากที่ทรัพสินย์ของตนเองเริ่มขายไม่ออก
สุดท้ายแล้วการทิ้งภาระหนี้สินและสินทรัพย์อาจจะเป็นทางออกสุดท้ายที่ดีที่สุด เนื่องจากบางคนได้เงินกู้มาโดยไม่ต้องมีหลักประกัน พวกเขาจึงลอยตัวได้อย่างสบายใจ โดยถือคติว่า “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย"
1
ผลกระทบที่ธนาคารและสถาบันทางการเงินได้รับในเวลานั้นก็คือการขาดทุนอย่างย่อยยับ Lehman Brothers ไม่สามารถดำเนินกิจการได้อีกต่อไป เพราะมีภาระหนี้สินถึง 6.13 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
15 กันยายน ปี 2008 Lehman Brothers ประกาศล้มละลาย ราคาหุ้นดิ่งเหวทันที 93 % ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ตลาดหุ้นนิวยอร์ก ร่วงลงกว่า 350 จุด (เกือบ 50%) จากข่าวดังกล่าว นอกจากนี้ยังส่งแรงกระเพื่อมสะเทือนไปทั้งตลาดเงินทั่วโลก
ความพังพินาศครั้งนี้สร้างความปั่นป่วนไปทั่วอเมริกาและทั่วโลก การยึดบ้านเกิดขึ้นทั่วทุกพื้นที่ กองทุนที่ลงทุนต่าง ๆ ขาดทุนอย่างย่อยยับ ตัวเลขการจ้างงานลดลงน่าใจหาย ผู้บริหารระดับสูงหลายคนต้องถูกลดเงินเดือน
เงินทุนไหลออกไปยังที่ที่ปลอดภัย ส่งผลให้ราคาทองคำและน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงมากจากช่วงเวลาก่อนหน้าวิกฤต
บทสรุปสั้น ๆ
หากมีใครอ่านมาถึงตรงนี้ ก็คงพอจะเห็นความเชื่องโยงของวิกฤตทั้ง 5 ครั้งนี้ ว่ามีสาเหตุหลัก ๆ อยู่ไม่กี่อย่าง ที่นำมาสู่ความหายนะทางเศรษฐกิจทุกครั้งคือ
1. ความโลภ
2. การกู้ยืม
3. การเก็งกำไร
4. หนี้สิน
5. นโยบายที่ผิดพลาดของสถาบันการเงิน
6. การที่มูลค่าของธุรกิจถูกเพิ่มขึ้นจากการเก็งกำไรมากเกินไป แทนที่จะท้อนมูลค่าที่แท้จริง
3
การกดไลค์ของคุณ เป็นกำลังใจเราในการพัฒนาผลงานต่อไป
Money Maker
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา