3 มิ.ย. 2020 เวลา 21:30 • สุขภาพ
💥🔥ผดร้อน
🔥💥ลักษณะของผดร้อน
มี 4 ชนิด ขึ้นกับระดับความลึกของการอุดตัน
Miliaria crytallina มีการอุดตันของท่อระบายเหงื่อในระดับตื้นที่สุด จากนั้นมีการแตกออกของท่อระบายเหงื่อ ทำให้ผื่นเกิดเป็นตุ่มน้ำใสขนาดเล็กๆ แตกง่ายเมื่อสัมผัสหรืออาบน้ำ ไม่คัน
Miliaria rubra พบได้บ่อยที่สุดและเรารู้จักกันดีในนามว่า “ผดร้อน” มีการอุดตันของท่อระบายเหงื่อในระดับกลางของหนังกำพร้า ผื่นเป็นตุ่มแดง คัน บางครั้งอาจแสบร้อนได้ มักขึ้นที่ลำตัวส่วนบนทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
Miliaria pustulosa เป็นผลจาก “ผดร้อน” ที่เป็นมากและนานจนเกินไปจนเกิดเป็นตุ่มหนอง และบางครั้งเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียที่ได้มาจากการเกา
Miliaria profunda ผดชนิดนี้ส่วนหนึ่งเกิดมาจาก “ผดร้อน” ที่เป็นเรื้อรัง เป็นแล้วเป็นอีกอยู่เรื่อยๆ จนนำไปสู่การอุดตันของท่อระบายเหงื่อในระดับลึกที่สุด ลักษณะผื่นเป็นตุ่มนูนสีขาวขนาด 1-3 มิลลิเมตร พบได้ที่ลำตัวและขาส่วนบน ผื่นชนิดนี้พบได้น้อย
💢🚩ควรดูแลผิวหนังให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ทาหลังอาบน้ำทันที อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยเลือกสารให้ความชุ่มชื้นผิวหนังชนิดที่อ่อนโยน ไม่มีน้ำหอม เหมาะสมกับผิวผู้ป่วย
💢🚩ทายาลดอาการอักเสบ
3.1 ยาทาสเตียรอยด์ ใช้ทาเฉพาะตำแหน่งที่มีผื่นแดงอักเสบ เมื่ออาการทุเลาแล้วควรหยุด และควรอยู่ ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น
3.2 ยาทากลุ่ม Topical Calcineurin Inhibitor (TCI) ได้แก่ tacrolimus และ pimecrolimus ออกฤทธิ์ ต้านการอักเสบคล้ายยาทากลุ่มสเตียรอยด์ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
ในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเป็นตุ่มหนอง หรือน้ำเหลืองซึม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้การดูแล แนะนำการทำความสะอาดแผล อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาหรือกินร่วมด้วย
💢🚩ยาต้านฮีสตามีนชนิดที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน จะช่วยลดอาการคัน เพราะการเกาจะทำให้ผื่นเป็นมากขึ้นหรือเกิดแผลถลอก และอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาได้
📙โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและการดูแลรักษา
📙โรคที่มากับอากาศร้อน ผื่นแดงหน้าร้อน ผดผื่นแสบร้อน วิธีดูแลรักษาผิวหนัง
💥🔥โรคจากอากาศร้อน แบ่งตามความรุนแรงได้ 5 ระดับ
อ่านเพิ่มเติม
📙โรคลมแดดในผู้สูงอายุ
UPDATED 2020.06.11
💥💥
บทความอื่น
👽ผิวหนังอักเสบ(Dermatitis)
ATOPIC DERMATITIS
ECZEMA
ผิวหนังแค่แพ้หรือติดเชื้อดูแลรักษาอย่างไร
โฆษณา