8 ส.ค. 2020 เวลา 08:29 • ประวัติศาสตร์
เนื่องด้วยเพจ Le Siam กำลังจะเดินมาถึงครึ่งทางของ 2,000 ผู้ติดตามแล้ว ด้วยเหตุนี้เองเพื่อตอบแทนในความกรุณาให้ความสนใจเรื่องราวที่เกี่ยวกับสยามประเทศและความเป็นไทยของเราอย่างล้นหลาม ทางเพจจึงขอตอบแทนน้ำใจนั้นด้วยการเปิดตัวซีรีย์ใหม่อีกหนึ่งซีรีย์เจ้าค่ะ ซึ่งซีรีย์นั้นก็คือ
"ขอมไทย" อักษรโบราณภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ “ไทย”
เป็นที่ทราบกันดีนะเจ้าค่ะว่า “ขอม” นั้นเป็นชื่อทางวัฒนธรรม หาใช่ชื่อชนชาติไม่ ดังนั้นขอมในที่นี้จึงหมายถึงกลุ่มคนที่อยู่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา นับถือฮินดูหรือพุทธมหายาน ซึ่งอยู่ในแถบบริเวณทางตอนใต้ของแคว้นสุโขทัยเราเจ้าค่ะ ซึ่งสันนิฐานกันว่าคงจะเป็นพวก “ละโว้ (หรือ ลพบุรี)” นั้นเอง
2
ในดินแดนบริเวณแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้ ปรากฎใช้อักษรขอมโบราณกันอย่างแพร่หลายช้านาน รวมไปถึงชนชาติเขมรด้วย โดยใช้กันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 -18 แต่ในช่วงแรกนั้นเรามิได้เขียนขอมในแบบภาษาไทย
 
จนมาถึงยุคสุโขทัยเป็นปฐมด้วยเหตุที่เสียงของภาษาไทยเรานั้นไม่เหมือนกับภาษาของชนชาติเขมร จึงทำให้บรรพบุรุษของเราปรับปรุงอักขรวิธีของขอมโบราณให้สะดวกในการเขียนภาษาไทยมากขึ้น ได้มีการเพิ่มรูปเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์เข้าไปเพื่อให้สมมาตรกับการออกเสียงแบบภาษาไทยนั้นเองเจ้าค่ะ และด้วยเหตุนี้เองเราจึงเรียกอักษรขอมโบราณชนิดใหม่นี้ว่า “อักษรขอมไทย” นั้นเอง
เอกสารข้างต้นเป็นตัวอย่างอักษรขอมไทย และเลขไทย ที่ตีพิมพ์ในสารานุกรมของดิเดอโรต์และดาลองแบรท์ (ภาพต้นฉบับมาจากหนังสือ Du Royaume de Siam ของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ พิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1691) อักษรขอมไทยในหน้านี้จัดไว้ในหัวข้อ Alphabet Bali (อักขระบาลี) แสดงรูปอักษรและการแจกลูกตัวสะกดตามอักขรวิธีขอมไทย
อักษรขอมไทยในประเทศไทยได้ถูกยกเลิกแบบเรียนไปเมื่อ พ.ศ. 2427 เมื่อได้มีการเปิดการศึกษาในระบบโรงเรียนสำหรับประชาชนเจ้าค่ะ ดังนั้นเพื่อเป็นการสืบสานและฟื้นฟูอักษรขอมไทยของเรา ฉันจึงอยากเปิดซีรีย์ใหม่นี้ ให้พี่ท่านได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวของขอมไทย และศึกษาคำศัพท์ไปพร้อมๆกันกับฉันเจ้าค่ะ
Le Siam
“สยาม...ที่คุณต้องรู้”
อ้างอิง :
- ธวัช ปุณโณทก, “อักษรขอมที่ใช้ในภาษาไทย” , 2535 : 115
- “คู่มือการถอดความอักษรขอม”, สำนักหอสมุดแห่งชาติ, กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม : 2553
- สาธารณสมบัติ หนังสือ Du Royaume de Siam ของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์
โฆษณา