13 ก.ย. 2020 เวลา 08:41 • ประวัติศาสตร์
การล่มสลายของอาณาจักรอียิปต์โบราณที่เฟื่องฟูมาตลอด3000ปี
ในยุคสมัยสุดท้ายในราชวงศ์ปโตเลมี( ทอเลมี) และฟาโรห์หญิง
องค์สุดท้ายที่โลกจะไม่มีวันลืม พระนางคลีโอพัตราที่ 7
cr:sites.google.com
305 ปีก่อน คริสตกาล
(ราชวงศ์สุดท้ายของอียิปต์ในยุคที่โรมันเรืองอำนาจ)
 
ประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ปโตเลมี เริ่มขึ้นเมื่อนายพลคนสนิทของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้สถาปนาตัวเองเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ หรือฟาโรห์ปโตเลมีที่1 เป็นต้นกำเนิดขของวัฒนธรรมอียิปต์โบราณที่มีศิลปะของชาวกรีกเข้าไปผสมผสานร่วม เริ่มจากวิหารเอ็ดฟู วิหารเดนเดลาและวิหาร คอม ออมโป และตั้งเมืองหลวงอเล็กซานเดียร์เป็นเมืองหลวงเมืองสุดท้ายของประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ
cr: trip be me.com มหาวิหารเอ็ดฟูศิลปะร่วมสมัยอียิปต์กรีก
80 ปี ก่อนคริสตกาล
ฟาโรห์ปโตเลมีที่12 โอเลเตส ขึ้นครองราชย์แต่เพราะการที่พระองค์เป็นลูกที่เกิดจากพระสนม การขึ้นครองราชย์ที่ไม่ราบรื่น มาพร้อมการที่ต้องระมัดระวังตัวและบัลลังก์ที่ขาดความมั่นคง ในที่สุดพระองค์ได้ถูกลูกสาวที่ชื่อพระนางเบเรนีเซที่ 4 และแม่ทัพอาร์เชล คนสนิทรวมหัวกับบรรดาผู้ที่ต้องการยึดบัลลังก์ขับไล่ให้พระองค์ต้องออกจากอียิปต์
1
และปโตเลมีที่12 ได้ไปขอความช่วยเหลือจากสภาซีเนตแห่งโรม ด้วยการจ่ายค่าจ้าง10,000 เทลแลนด์เพื่อนำกองทัพมาช่วยรบ ทำให้องค์ฟาโรห์ ต้องไปขอยืมจากคหบดี ราบีเรียส ชาวโรมผู้มั่งคั่งมาพร้อมสัญญา (ซึ่งสุดท้ายเพราะการตอบแทนค่าจ้างด้วยการ ให้ทำหน้าที่ดูแลท้องพระคลังของอียิปต์ การขูดรีดทำให้ประชาชนไม่พอใจกลายเป็นจุดจบของพระองค์)
ปโตเลมีที่12 ได้นำกองทัพกลับมายึดคืนอียิปต์ได้ กำจัดศัตรูและ
ฆ่าบุตรสาวทิ้ง ก่อนที่จะขึ้นปกครองอียิปต์ร่วมกับบุตรสาว คือพระนาง
คลีโอพัตราที่7 ตามกฏมนเฑียรบาล ต้องมีพระญาติฝ่ายมารดาเห็นชอบจึงจะมีสิทธิขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์ได้อย่างถูกต้อง และภายหลังได้ตั้งให้บุตรชายอายุ 9 ชันษา และลูกสาวคือ คลีโอพัตราที่7 อายุ18 ชันษาขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์
cr:pearlvacationtion.co รูปแบบการปกครองร่วมกันตามประเพณี
ปโตเลมีที่13 ,14 คือ อนุชาของพระนางคลีโอพัตราที่ได้ขึ้นครองราชย์ร่วมกัน (อภิเษก)โดยในรัชสมัยของปโตเลมีที่13 มีกลุ่มนักบวชของราชสำนักซึ่งพยายามชักจูงให้ฟาโรห์เป็นพวกตน ขันทีโปธีนุส พยายามกำจัดพระนางคลีโอพัตรา เพราะพระนางเฉลียดฉลาดและรู้ทันพวกเขา และยุยงให้ฟาโรห์เกลียดชัง จนในที่สุดพระนางได้ถูกขับไล่ให้ออกมาจากพระราชวังพร้อมพระนางอาร์สิโนเอ พระขนิษฐา
1
48 ปีก่อนคริสตกาล
ปโตเลมีที่ 13 ได้ลอบลงมือสังหาร ปอมเปอุส มักนุส ซึ่งเป็นทั้งลูกเขยและสหายของจูเลียส ซีซาร์ ซึ่งเขามาแอบหลบหนีซีซ่าร์มาอยู่ในเมือง
อเล็กซานเดียร์ จะด้วยได้รับข่าวที่ไม่ถูกต้องหรือเพราะความหัวอ่อนของฟาโรห์ปโตเลมีที่ 13 เมื่อซีซ่าร์เดินทางมาถึงเมืองแห่งนี้และทราบว่าปอมเปอุสได้เสียชีวิตแล้ว จุดจบของพระองค์ปโตเลมีที่ 13 คือการถูกจับประหารชีวิต
ฟาโรห์ปโตเลมีที่14 ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์ด้วยการอภิเษกกับ พระนางคลีโอพัตรา โดยความเห็นชอบของ จูเลียส ซีซ่าร์ ผู้ตัดสินโดยยกบัลลังค์คืนให้กับคลีโอพัตราที่7หลังจากการกำจัด ฟาโรห์ปโตเลมีที่13
และภายหลังองค์ฟาโรห์ปโตเลมีที่14 ได้ถูกลอบปลงพระชนน์และผู้ที่ต้องสงสัยว่าวางยาคือ ...พระนางคลีโอพัตราที่7
เพื่อช่วยให้อียิปต์ปลอดภัยภายใต้การปกครองของพระองค์ การอยู่รอดของอียิปต์ เมื่อโรมคือผู้มีอำนาจปกครองอย่างแท้จริง การขยายอำนาจ ที่แผ่ไปทั่วดินแดนแห่งทะเลทราย อิสตรีที่ไร้ทางต่อสู้และขาดกำลังทางทหารที่เข้มแข็ง อำนาจการปกครองผ่านพระสวามีที่เป็นพระอนุชาที่อ่อนเยาว์ ทางเลือกเพื่การอยู่รอดของประชาชน และอาณาจักร
1
cr: รูปสลักจากหินอ่อนของพระนางคลีโอพัตราที่7เก็บในพิพิธภัณฑ์ในเยอรมันนี
เส้นทางที่จำเป็นต้องเดินโดยปราศจากอาวุธสงคราม และพลังอำนาจที่จะควบคุม นอกจากสิ่งที่สวรรค์ได้กำหนดให้มา ความเป็นอิสตรีที่งดงามและสติปัญญาที่มาพร้อมในรูปร่างอ้อนแอ้น ความยิ่งใหญ่ที่บุรุษยากจะปฏิเสธ เมื่อเป็นความต้องการของพระองค์
พระนางคลีโอพัตราที่ 7 สาวงามในวัย20ต้นๆ ที่ยังไม่มีบุตร แม้จะผ่านการอภิเษกสมรสตามประเพณีที่ถูกกำหนดกับน้องชายร่วมสายโลหิต ถึง2ครั้ง และโชคชะตากำหนดให้มาพบเจอกับแม่ทัพที่ยิ่งใหญ่วัยใกล้ 50 ปี
cr: ภาพวาดจาก ปีเตอร์พอล รูเบนส์ ค.ศ.1577-1640 sites Google.com
จูเลียส ซีซ่าร์(Julius Caesar)
reference
โฆษณา