20 ก.ย. 2020 เวลา 15:47 • ประวัติศาสตร์
พระนางคลีโอพัตราความงามที่เย้ายวล โปรยเสน่ห์ให้ลุ่มหลงเพื่อจุดประสงค์ใด อำนาจเหนือผู้ใด หรือเพื่อพิทักษ์แผ่นดินเกิดที่บรรพบุรุษครอบครองมากว่า300ปี ในช่วงการยึดครองดินแดนอย่างบ้าคลั่งเพื่อความยิ่งใหญ่ของโรม และชู้รักที่ชื่อ จูเลียส ซีซาร์
cr:sites.google.net
ปีพ.ศ. 478 ประสูติกาล
CLEOPATRA THER PHILOPATOR (คลีโอพัตรา ทีอา ฟิโลพาเตอร์) คือ พระนามเต็มของพระองค์ ประสูติที่เมืองอเล็กซานเดรีย
พระราชบิดาคือฟาโรห์ปโตเลมีที่12 (โอเลเตส) กับพระมารดาคือพระนางคลีโอพัตราที่5 ทรีฟาเอนา ซึ่งเป็นพี่สาวใหญ่ขององค์โอเลเตส มีพระอนุชา 2 พระองค์ ภคินี 2 พระองค์ พระขนิษฐา1พระองค์
cr:sites. google.net
เมื่อพระราชบิดาต้องหนีออกจากอียิปต์เพราะถูกลูกสาวคนโตทรยศหักหลักไปร่วมมือกับกลุ่มกบฏ ทำให้ฟาโรห์ต้องทิ้งเมือง และพาพระนางพร้อม พี่น้องหนีออกจากพระราชวัง เพื่อขอความช่วยเหลือจากสภาซีเนตของอาณาจักรโรม โดยตกลงค่าจ้างจำนวนมหาศาลเพื่อขอกำลังไปช่วยยึดแผ่นดินกลับคืนอีกครั้ง
ประสบการณ์ที่พระนางได้ติดตามเข้าโรมนั้น เป็นการจุดประกายความทะเยอทะยานที่จะแสวงหาความยิ่งใหญ่ หรือการเริ่มต้นของความรักและวาดฝันของสาวน้อยวัยแรกรุ่นด้วยพระชนน์เพียง17 ชันษา
หลังจากที่ฟาโรห์ปโตเลมีที่12ยึดเมืองกลับคืนจากลูกสาวและฆ่าคนทรยศ พระองค์ได้กลับมามีอำนาจอีกครั้งก่อนจะยก บังลังก์ให้กับพระ
โอรสคือปโตเลมีที่13และพระนางคลีโอพัตราที่7ครองต่อร่วมกัน
การปกครองร่วมกันผ่านการอภิเษกและความเป็นพี่น้องไม่ได้ทำให้การปกครองอียิปต์ได้อย่างราบรื่น เพราะฐานอำนาจของเหล่าผู้ใกล้ชิดองค์ฟาโรห์ต่างคิดกำจัดพระนางคลีโอพัตรา เพราะพระนางมีความเฉลียวฉลาดและน่ากลัวจากความใจกล้าไม่เกรงกลัวสิ่งใด ในที่สุดพระนางต้องถูกขับออกไปพร้อมพระขนิษฐา
และจุดเริ่มการบุกทำลายอียิปต์เพราะความแค้นที่ฟาโรห์ปโตเลมีที่13
ได้สั่งลอบสังหารบุคคลสำคัญ คือ ปอมเปอี ซึ่งเป็นทั้งบุตรเขยและสหายร่วมรบของซีซาร์ผู้ยิ่งใหญ่(ซีซาร์ถูกมองว่ามีจุดอ่อนที่ไม่กำจัดศัตรูให้สิ้นซาก และศัตรูมักกลับมาทำร้ายเขา แม้เขาจะโกรธปอมเปอีมากแต่ก็ไม่ต้องการฆ่า เมื่อเขาหนีมาอียิปต์แต่ถูกฟาโรห์กำจัดให้จะด้วยเหตุใดก็ตาม เขาโกรธและตามมาแก้แค้นทันที)
cr:site.google.com
การที่ซีซาร์ยกทัพปราบและให้พระนางกลับสู่อียิปต์อีกครั้ง กับการขึ้นเป็นใหญ่ภายใต้ปีกอำนาจแห่งโรมและซีซาร์
ฟาโรห์ปโตเลมีที่14 ได้ถูกยกให้ปกครองร่วมกับพระนางคลีโอพัตรา
แต่ทุกคนก็ทราบว่าอำนาจเด็ดขาดอยู่ที่ผู้ใด ผู้ปกครองที่แท้จริงในพระราชวังอียิปต์ คือพระนางคลีโอพัตราและชู้รัก จูเลียส ซีซาร์
พระนางคลีโอพัตราตั้งพระครรภ์กับ จูเลียส ซีซาร์ และพระราชโอรสถูกให้กำเนิด ซีซาร์ไม่เคยมีลูกชาย แต่ได้ตั้งหลานชายเป็นผู้สืบทอด และตั้งความฝันที่จะขึ้นปกครองโรม (แม้จะรักและลุ่มหลงพระนางคลีโอพัตรา แต่ไม่ใครทราบถึงสาเหตุแท้จริง ที่ซีซาร์ไม่ได้ยกสิทธิ์การเป็นทายาทปกครองอาณาจักรโรมให้ลูกชายที่เกิดกับพระนางคลีโอพัตรา)
cr:wikipedia. com
เมื่อ จูเลียส ซีซาร์ถูกลอบสังหาร และทายาทที่เขาตั้งไว้ขึ้นครองอาณาจักร และตั้งตัวเป็นจักรพรรดิองค์ที่1 ปกครองอาณาจักรโรม ( ที่เป็นผลงานสร้างของ 3 ผู้ยิ่งใหญ่ได้ร่วมมือกันขยายอิทธิพลแผ่ไพศาล ในสมัยของจูเลียส ซีซาร์ มาร์ค แอนโทนี และปอมเปอี ) หลังการตายของซีซาร์ ราชินีอียิปต์อย่างพระนางคลีโพัตราที่ 7 ได้รีบหนีกลับไปอียิปต์ทันที
พ.ศ.497-251 ฟาโรห์ปโตเลมีที่14 ซึ่งมีสิทธิ์ครอบครองบัลลังก์ร่วมกับพระนางคลีโอพัตรา ได้ถูกลอบวางยาพิษ สิ้นพระชนน์ไปและสิทธิ์ในการครองบัลลังก์ ก็ไม่พ้นพระราชโอรสของพระองค์กับซีซาร์
cr:sites .Google.net
ไม่มีการระบุเวลาที่แน่ชัดในการขึ้นครองราชย์ของปโตเลมี ที่15 ที่มีพระนามว่า ซีซาเรียนหรือซีซาร์น้อย และก่อนการล่มสลายของอียิปต์ในอีก3ปีต่อมา การปรากฏตัวของชู้รักที่น่าจะเป็นรักแท้ของพระนางหรือการมีเขา เพียงเพื่อให้อาณาจักรของพระองค์ไม่ตกเป็นเมืองรองของโรม
ติดตามต่อในบทสุดท้าย ก่อนสิ้นสุดอาณาจักรอียิปต์โบราณ
1
reference
โฆษณา