Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
P O R D E E
•
ติดตาม
21 ม.ค. 2019 เวลา 08:09 • ธุรกิจ
Bill Gates (Ep12) : กลยุทธ์ที่เยี่ยมยอดในการนำไมโครซอฟต์เข้าตลาดหลักทรัพย์
ในตอนนี้เราจะมาดูกันว่า บิล เกตส์ เด็กเนิร์ดแว่นหนาวางกลยุทธ์ในการนำไมโครซอฟต์เข้าตลาดหลักทรัพย์อย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ...
จากตอนแรกๆ เราได้เห็นแล้วว่า เกตส์มีวิธีคิดที่ชาญฉลาดและจัดตั้งไมโครซอฟต์โดยไม่จำเป็นต้องหานักลงทุนมาสนับสนุน เขาและอัลเลนเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่มีอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินใจทุกอย่างในไมโครซอฟต์ การจะนำไมโครซอฟต์เข้าตลาดจึงเป็นวิธีการที่เขาหลีกเลี่ยงมาตลอด
เกตส์รู้ดีว่า ถ้าไมโครซอฟต์ก้าวสู่การเป็นบริษัทมหาชน เขาและเพื่อนๆ ที่ร่วมกันตั้งไมโครซอฟต์มาด้วยกัน จะไม่ได้ทำงานกันอย่างอิสระเหมือนที่เคยเป็น
ยิ่งมีเหตุการณ์ตัวอย่างในกรณีของ สตีฟ จ็อบส์ ที่ต้องลาออกจากการเป็นประธานบริษัทของ Apple บริษัทที่เขาตั้งมาเองกับมือ...ยิ่งทำให้เกตส์เพิ่มความระวังมากขึ้น
อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ว่าเกตส์เป็นคนที่ทุ่มเทอย่างหนักในการทำงานเรียกได้ว่าแทบจะกินนอนอยู่ที่สำนักงานเลยทีเดียว เมื่อประธานบริษัททำงานหนักขนาดนี้ พนักงานก็คงไม่ต่างกันเท่าไหร่...
เกตส์ใช้วิธีดึงดูดพนักงานด้วยการแบ่งหุ้นให้ เพื่อจะได้รู้สึกว่ามีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของบริษัท และทำให้พนักงานทุ่มเทอย่างเต็มที่ในการทำงาน นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันการซื้อตัวพนักงานจากบริษัทอื่นอีกด้วย…
1
เจ๋งไหมล่ะวิธีการคิดของบิล เกตส์ ก็อย่างที่เคยบอกไว้นั่นแหละ เขามีความเป็นนักธุรกิจมากกว่าโปรแกรมเมอร์เสียอีก
ด้วยวิธีการของเกตส์ หุ้นของไมโครซอฟต์จึงถูกถือโดยพนักงานของบริษัท และผู้ที่ถือหุ้นใหญ่ก็ยังเป็นเขาและอัลเลนเพื่อนคู่หูที่ร่วมกันตั้งไมโครซอฟต์มาด้วยกัน เมื่อพนักงานบริษัทมีมากขึ้น ผู้ถือหุ้นในไมโครซอฟต์จึงมากขึ้นตามไปด้วย
ตามกฎหมายเมื่อบริษัทมีผู้ถือหุ้นเกิน 500 คน ต้องแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งผลของมันจะทำให้ไมโครซอฟต์มีสภาพใกล้เคียงกับการเป็นบริษัทมหาชน...เกตส์จึงต้องรีบจัดการให้ทุกอย่างเรียบร้อยก่อนที่วันนั้นจะมาถึง
ในปี 1985 เป็นปีที่ดูเหมือนจะยุ่งยากซับซ้อนสำหรับเกตส์อย่างมาก มีงานใหญ่ 3 งานที่เขาต้องทำคือ
1.การนำ Excel ลงสู้ศึกในสนามเครื่องแมคอินทอช
2. การเร่งนำระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 1.0 ออกสู่ตลาด
3. การร่วมมือกับไอบีเอ็มพัฒนาระบบปฏิบัติการ OS/2 ขึ้นมาใหม่
เกตส์ต้องทำให้ทั้งสามอย่างสำเร็จลงด้วยดี ก่อนที่จะนำหุ้นของไมโครซอฟต์เข้าตลาด และที่สำคัญอีกอย่างคือ เกตส์คิดว่าเมื่อใดก็ตามที่ไมโครซอฟต์เข้าตลาด พนักงานจำนวนหนึ่งอาจขายหุ้นแล้วลาออก...ซึ่งจะทำให้ไมโครซอฟต์มีปัญหาด้านพนักงานตามมา...
แน่นอนเกตส์ต้องคิดถึงข้อนี้ เพราะเขารู้อยู่เต็มอกว่าพนักงานที่นี่ทำงานหนักมากจริงๆ ....
จินตนาการหน้าตาของพนักงานในไมโครซอฟต์ ก็จะประมาณนี้
ช่วงปลายปี 1985 ปีที่เกตส์มีอายุครบ 30 ปี เขาเตรียมทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว Excel ได้รับการตอบรับอย่างดีจากสื่อมวลชนและผู้ใช้งาน
วินโดวส์กำลังจะเสร็จสมบูรณ์ใกล้เวลานำออกสู่ตลาด และเขาเพิ่งเซ็นสัญญาความร่วมมือกับไอบีเอ็ม
สำหรับปัญหาด้านพนักงานที่ถือหุ้นไมโครซอฟต์อยู่ หลังจากพูดคุยทำความเข้าใจกันเรียบร้อย พนักงานตกลงไม่ขายหุ้นเกิน 10% ของที่ตัวเองถือ ตอนนี้เกตส์พร้อมแล้วที่จะนำไมโครซอฟต์ก้าวสู่การเป็นบริษัทมหาชน
คนที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเกตส์นำไมโครซอฟต์เข้าตลาดหลักทรัพย์คือ แฟรงค์ ก็อดเด็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงินของไมโครซอฟต์
ก็อดเด็ตต์เลือกบริษัทที่ปรึกษาด้านการเงิน 3 บริษัทเข้ามาแสดงแผนงาน คือ โกลด์แมน แซคส์, มอร์แกนสแตนเลย์ และ สมิธ บาร์นีย์ และบริษัทที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเป็นพิเศษอีก 3 บริษัท
ก็อดเด็ตต์ถามคำถามต่างๆ เช่น พวกเขาจะกระจายหุ้นของไมโครซอฟต์อย่างไร กระจายไปให้ใคร และทำไมต้องกระจายไปให้คนเหล่านั้น คำถามสุดท้ายคือ มีเหตุผลอย่างไรที่อยากทำงานร่วมกับไมโครซอฟต์
คำถามดูเหมือนจะพื้นๆ ง่ายๆ แต่ในที่สุด ก็อดเด็ตต์ก็เลือกบริษัทที่คิดว่าน่าจะทำงานร่วมกับไมโครซอฟต์ได้ดีอย่างโกลด์แมนแซคส์
หลังจากแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบ พวกเขาต้องทำหนังสือชี้ชวนซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และต้องอาศัยศิลปะในการนำเสนอเป็นอย่างมาก
มันต้องอธิบายให้คนทั่วไปเห็นถึงการเติบโตของบริษัท แต่ต้องไม่เปิดเผยให้คู่แข่งเห็นแผนการณ์ในอนาคตของไมโครซอฟต์ และต้องไม่ผูกมัดตัวเองมากเกินไป…
เพราะถ้าเกิดข้อผิดพลาด ผู้ถือหุ้นอาจนำหนังสือชี้ชวนนี้มาเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องไมโครซอฟต์ได้ แต่ในขณะเดียวกันมันต้องเป็นข้อเท็จจริงของบริษัท
หนังสือชี้ชวนใช้เวลา 3 สัปดาห์ในการจัดทำ... อย่าลืมว่าเกตส์เคยมีดีกรีเป็นอดีตนักศึกษาด้านกฏหมายจากมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าอย่างฮาร์วาร์ด แถมพ่อของเขาก็เป็นนักกฏหมายที่มีชื่อเสียงของเมืองซีแอตเติล จึงไม่ต้องห่วงว่าจะมีข้อผิดพลาด...ทีมทนายตรวจทุกตัวอักษรในหนังสือ ไม่เว้นแม้แต่จุดไข่ปลาหรือเครื่องหมายต่างๆ
และเพื่อให้การขายหุ้นประสบความสำเร็จ เกตส์ต้องไปพบนักลงทุนประเภทสถาบันในวอลล์สตรีท คนของโกลด์แมน แซคส์ จัดการเรื่องนี้ให้เขาเป็นอย่างดี…
อยากรู้ไหมว่าวาณิชธนกิจชื่อดังอย่างโกลด์แมนแซคส์ ที่ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1869 โดยนักธุรกิจการเงินเชื้อสายยิว ที่อพยพมาจากเยอรมัน จัดการอย่างไรถึงทำให้บริษัทหน้าใหม่ ที่ประธานบริษัทเพิ่งจะมีอายุเพียง 30 ประสบความสำเร็จในการเข้าตลาด...
แต่บอกได้เลยงานนี้ บริษัทเชื้อสายยิวที่ใครๆ ว่าเคี่ยวเรื่องเงิน...แพ้ทางเด็กหนุ่มแว่นหนาหน้าตาซื่อๆ อย่างบิล เกตส์ แบบไม่เป็นท่าเลยละ...เอาไว้ตอนหน้าจะมาเล่าให้ฟังนะ
ฝากติดตาม เรื่องเล่าสนุกๆ ที่แฝงด้วยสาระและแง่คิดแบบ พอดี-พอดี และกดไลค์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ😄😄😄
หรือถ้ามีอะไรอยากแนะนำเพิ่มเติม comment ไว้ได้เลยค่ะ ♥️♥️♥
28 บันทึก
129
19
14
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บิล เกตส์
28
129
19
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย