31 ต.ค. 2019 เวลา 09:30 • ประวัติศาสตร์
เป็นผู้เเพ้ไม่มีสิทธิ์พูด กรณีศึกษา เเอพส่งอาหาร MAPLE
1
ขณะที่ธุรกิจ Food delivery ในประเทศไทยอย่าง Grab, Lineman, Food panda, เเละ Get มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะในปัจจุบันหลายคนเริ่มหันมาสั่งอาหารผ่านสมาร์ทโฟนกันมากยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องทนกับแดดร้อนๆของเมืองไทย ไม่ต้องเสียเวลาเดินลงไปต่อเเถวเเละเผชิญกับฝูงชนมหาศาล
ในอเมริกาเองก็มี Maple ซึ่ง Startup ที่ดำเนินธุรกิจ Food delivery อยู่เหมือนกัน
เเต่ความเเตกต่างของ Maple กับ Food delivery เจ้าอื่นคือ อาหารที่สั่งจาก Maple จะไม่ได้มาจากร้านอาหารทั่วไปเหมือนกับผู้ให้บริการเจ้าอื่นๆ แต่จะเน้นจำหน่ายเฉพาะอาหารคุณภาพสูงที่ผลิตจากวัตถุดิบชั้นดี ที่สามารถซื้อได้ในราคาประหยัดเเละถูกปรุงขึ้นโดนเชฟชื่อดังเท่านั้น
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเชฟที่ได้รับการยอมรับอยู่เเล้ว ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าอาหารที่ซื้อจาก Maple จะเป็นอาหารที่รสชาติดีเยี่ยมกว่าแอพเจ้าอื่นแน่ๆ
นอกจากนี้ Maple ยังใช้ลูกเล่นเพื่อสร้างความแตกต่างจาก Food delivery เจ้าอื่นๆ โดยการ “แถมคุกกี้”ให้ลูกค้าได้ทานฟรี ไปในทุกๆออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งซื้ออาหารจากแอพพลิเคชั่นของ Maple
และอย่าคิดว่านี่จะเป็นเพียงคุกกี้ธรรมดา ราคาถูกที่เน้นใช้เป็นของแถมเพื่อการตลาดเท่านั้น
เพราะเจ้าคุกกี้ที่ชื่อว่า Sugar shack นี้ถูกทำขึ้นมาโดยเชฟชื่อดังอย่าง Christina Tosi เชฟสาวชาวอเมริกันที่กวาดรางวัลมาแล้วมากมายในวงการอาหาร
1
ทำให้คุกกี้นี้กลายเป็นจุดเด่นหนึ่งของ Maple ในการบุกตลาด Food delivery ได้เป็นอย่างดี
การแถมคุกกี้นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ดีมากๆ เพราะการแข่งขันในธุรกิจ Food Delivery นั้นมีการแข่งขันสูงมากๆ โดยเฉพาะสำหรับเมืองอย่างนิวยอร์กที่เปรียบเสมือนกับเมืองหลวงของร้านอาหารด้วยแล้วยิ่งทำให้เกิดการแข่งขันที่ฟาดฟันกันดุเดือดมากๆ
Maple จึงใช้กลยุทธ์นี้เพื่อสร้างการจดจำให้กับลูกค้าเพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองได้รับอะไรมากกว่าการสั่งอาหารจากแอพธรรมดาๆ และดูเหมือนว่ามันจะเป็นกลยุทธ์ที่ไปได้ดีเลยทีเดียว
Maple เริ่มตันธุรกิจขึ้นในปี 2014 และตลอดช่วงเวลาของธุรกิจ บริษัทได้รับเงินระดมทุนรวมมากถึง 50 ล้านดอลลาร์
1
ช่วงแรกที่เปิดตัวนั้นมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก เพราะด้วยจุดเด่นและลูกเล่นต่างๆ ทำให้ธุรกิจของ Maple ดูเหมือนจะไปได้สวย
แต่แล้ว ในปี 2017 Maple กลับกลายเป็นสตาร์ทอัพที่เจ๊งในระยะเวลาแค่ไม่กี่ปีเเละต้องปิดตัวลงอย่างรวดเร็ว
เรียกได้ว่าลูกค้าบางคนยังไม่ทันได้ลองใช้บริการเลยด้วยซ้ำ เล่นเอาหลายคนต่างก็สงสัยกันว่าเกิดอะไรขึ้นกับ Startup รายนี้
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ Startup รายนี้ต้องจบชีวิตตัวเองลงอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาแค่ 3 - 4 ปีเท่านั้น
โดยก่อนหน้านี้มีสื่อในประเทศไทยนำเสนอสาเหตุที่ Maple ต้องปิดกิจการว่าเป็นเพราะ Startup รายนี้ถูกคู่แข่งอย่าง Deliveroo ซื้อตัวพนักงานไป จนทำให้บริษัทเกิดปัญหาในการดำเนินงาน
ซึ่งเอาจริงๆ นี่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงสักเท่าไหร่ เพราะทีมงานส่วนใหญ่ของ Maple นั้นย้ายไป Deliveroo หลังจากที่บริษัทได้ยุติกิจการไปแล้วไม่ใช่ช่วงที่บริษัทยังดำเนินกิจการอยู่
เเต่สาเหตุจริงๆ ของ Maple เกิดจากปัญหาแรกเลยคือ เรื่องของค่าใช้จ่ายในการจัดส่งอาหาร
ที่สูงมากๆ
อย่างที่เรารู้กันดีว่านิวยอร์กเป็นเมืองที่มีค่าแรงสูงมากและการจัดส่งอาหารก็ต้องอาศัยการจัดส่งแบบเร่งด่วนเพราะลูกค้าคาดหวังว่าจะได้ทานอาหารนั้นตอนร้อนๆ จึงทำให้ค่าบริการจัดส่งยิ่งแพงขึ้นตามไปด้วย
กลายเป็นว่าบริษัทต้องเเบกรับภาระตันทุนที่สูงมากจนต้องคิดค่าจัดส่งเพิ่มจากลูกค้า
แน่นอนว่าเมื่อลูกค้าต้องเจอกับค่าจัดส่งแพง ลูกค้าย่อมมีทางเลือกที่จะเปลี่ยนไปใช้บริการของ Food delivery เจ้าอื่นแทน รวมถึงร้านอาหารในนิวยอร์กก็มีให้เลือกมากมายในระยะไม่เกิน 100 เมตร ลูกค้าจึงไม่จำเป็นต้องใช้บริการของ Maple ก็ได้
1
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ Maple ต้องประสบปัญหาก็คือ การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของตัว Maple เอง ซึ่งเป็นอะไรที่ทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกช็อคมากๆ เพราะนั่นคือการยกเลิกการแจกคุกกี้ฟรี หนึ่งในจุดขายหลักของ Maple
แต่บริษัทได้ตัดสินใจยกเลิกการแจกฟรีคุกกี้ แถมยังเพิ่มราคาของอาหารให้สูงขึ้นด้วย ไม่ต้องเดาก็รู้เลยว่าบริษัทต้องกำลังเจอกับปัญหาด้านการเงินแน่ๆ
ในช่วง 1 ปี ก่อนที่จะปิดตัวลง ยอดขายของ Maple ล่วงตกลงไปกว่า 40% จนในที่สุด ปี 2017 บริษัทก็ตัดสินใจยุติการให้บริการ
นอกจากนี้การจัดเสิร์ฟอาหารจากเชฟชื่อดังที่มีการใช้วัตถุดิบคุณภาพสูง จึงมีราคาแพงเพราะต้องนำเข้ามาจากแหล่งวัตถุดิบที่มีชื่อเสียง
อย่างเช่นเนื้อวัวคุณภาพสูง น้ำมันมะกอกที่นำเข้าจากต่างประเทศ จึงทำให้ Maple ต้องแบกตันทุนค่าวัตถุดิบที่สูงมากในขณะที่จำหน่ายอาหารในราคาธรรมดาเท่านั้น
เพราะต้องการขายให้ได้จำนวนเยอะๆ ก็เลยใช้ราคามาเป็นตัวดึงดูด ซึ่งนั่นหมายความว่าอัตราส่วนกำไรของการขายอาหารแต่ละครั้งก็จะน้อยมากๆเช่นกัน
มีการประเมินว่ากำไรขั้นต้นของ Maple มีเพียงแค่ 2% เท่านั้นและเมื่อหักกับค่าใช้จ่ายแล้วจึงกลายเป็นขาดทุน
ในเมื่อทุกๆ ออเดอร์ที่บริษัทขายได้ บริษัทจะต้องขาดทุน แล้วธุรกิจจะไปรอดได้อย่างไร
นี่แสดงให้เห็นถึงโมเดลธุรกิจที่ไม่ยั่งยืน การจำหน่ายสินค้าคุณภาพดีจากเชฟซื่อดังในราคาถูก แถมยังแจกคุกกี้ฟรีด้วย อาจจะทำให้ธุรกิจได้รับความสนใจในตอนแรก
ถึงเเม้ว่าธุรกิจจะได้รับเงินระดมทุนจำนวนมากก็ตาม แต่ด้วยอัตราส่วนกำไรสำหรับธุรกิจอาหารถที่น้อยมากๆแบบนี้ ก็มีโอกาสที่จะเจ๊งสูงมาก
โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจอาหารแบบ Delivery ที่มีค่าจัดส่งค่อนข้างแพงด้วยแล้ว ยิ่งต้องเพิ่มอัตราส่วนกำไรให้สูงเข้าไว้ก่อน
เเละนี่ก็เป็นบทเรียนที่ดีของ Startup ที่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นอีกมุมหนึ่งที่ทำให้ผู้อ่านเห็นว่าการทำธุรกิจมันยากขนาดไหน
แน่นอนว่าการธุรกิจมันไม่ใช่เรื่องง่ายอยู่แล้ว แม้แต่บริษัทที่ได้รับเงินระดมทุนมากมายก็ยังเอาตัวไม่รอด จนเงินที่ได้จากการระดมทุนก็หายไปอย่างรวดเร็วในเวลาไม่ถึง 4 ปี
อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Maple ก็เป็นอีกกรณีศึกษาหนึ่งที่ช่วยคนที่กำลังทำธุรกิจสามารถเตรียมตัวรับมือกับวิกฤตที่อาจเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อยากรู้เรื่องอะไร อยากอ่านบทความเเบบไหน ส่งคำถามมาให้ "สมองไหล" ได้ง่ายๆ เพียง “กดลิ้ง” ข้างล่างนี้ได้เลย
Source :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา