29 ม.ค. 2020 เวลา 14:22 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Industry 4.0 ธุรกิจ Digital กำลังทำลายธุรกิจแบบเดิม ๆ - Chapter 2
ความแตกต่างระหว่างผู้ Disrupt และ ผู้ถูก Disrupt
ผู้ Disrupt
- สร้างความสัมพันธ์ลูกค้าเดิมที่มีกำไร
- สร้างหน่วยงานที่เน้นการมีโอกาสเติบโตกับกลุ่มลูกค้าใหม่
ผู้ถูก Disrupt
- ยึดติดกับลูกค้ากลุ่มเดิม
- ละเลย และปฎิเสธความต้องการของลูกค้าใหม่
ประเด็นที่ 2 Digital Technology กับการ Disruption
- ข้อมูลจาก Russell Reynolds Associates บริษัทที่ปรึกษาด้านภาวะผู้นำและการสรรหาผู้บริหารชั้นนำของโลก เปิดเผยผ่านรายงาน "Digital Pulse 2015" ระบุว่า ผลการสำรวจจากบรรดาผู้บริหาร เพื่อคาดการณ์ว่าธุรกิจใดจะถูก Disrupt โดยดิจิทัลบ้าง โดยผลการสำรวจเป็นดังรูปข้างล่าง
ขอบคุณภาพจาก Russell Reynolds Associates
กลุ่มธุรกิจประเภท Media ได้รับผลกระทบมากที่สุดเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ Telecom, Consumer Financial Services และ ธุรกิจประเภท Retail ตามลำดับ
Media
- จากผลการสำรวจทั่วโลก ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี อุตสาหกรรมมีเดียเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เช่น การปิดกิจการของสื่อแบบดั้งเดิม การปรับตัวของธุรกิจสื่อสารและบันเทิง โทรศัพท์และสื่อดิจิทัล Google, Facebook, Youtube และ Line เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเป็นสื่อหลักแทนสื่อดั้งเดิม
Telecom
- ตั้งแต่ยุค 2G เป็นต้นมา บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับโทรคมนาคมและการสื่อสาร เช่น True Dtac Ais จำเป็นต้องปรับตัว จากเดิมเคยมีรายได้หลักจากค่าบริการการคุยโทรศัพท์ (Voice) รายได้ในส่วนนี้ลดลงกว่า 50% ผู้ให้บริการเหล่านี้จึงต้องสร้าง Digital Platform ขึ้นมา เพื่อให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลีย่นแปลงไป มีการสื่อสารกันผ่านข้อความมากขึ้น โทรหากันน้อยลง ในเรื่องการคิดค่าบริการนั้นเปลี่ยนจากรูปแบบ Voice มาเป็นการคิดค่าบริการจาก Data แทนมากขึ้น
1
Consumer Financial Services
- ในหลายปีที่ผป่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในส่วนของรูปแบบการบริการ เช่น PromptPay ด้วยระบบ QR Code ตลอดจนถึงการประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัล
Retail
- ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่อุตสาหกรรมค้าปลีกได้รับผลกระทบจากดิจิทัล หลายธุรกิจต้องลดจำนวนสาขาลง หรืออาจถึงขั้นปิดกิจการไปเลยก็มี เนื่องจากตลาด E-Commerce เช่น Lazada, Shopee ได้เข้ามา Disrupt และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ขอบคุณภาพจาก Russell Reynolds Associates
เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง ธุรกิจก็ต้องเปลี่ยนแปลง !
Technology Curve - ความชันของเส้นหมายถึงความสามารถของเทคโนโลยีในยุคต่าง ๆ ที่มีอัตราการพัฒนารวดเร็วขึ้นกว่ายุคก่อน และมีผลต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์
การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ให้ไปถึงจุดสูงสุดมีแนวโน้มจะใช้เวลาน้อยลงเรื่อย ๆ + ไลฟ์สไตล์ของมนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้สะดวก สบายและรวดเร็วยิ่งขึ้นโดยเทคโนโลยี = ธุรกิจต้อง Transform
ประเด็นที่ 3 ธุรกิจในยุคปัจจุบันแข่งขันแพ้ชนะกันที่ Platform
Platform Business
- หมายถึง โมเดลทางธุรกิจที่สร้างคุณค่าจากการอำนวยความสะดวกให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มคนหรือผู้ใช้งานตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป โดยทั่วไป กลุ่มหนึ่งเป็นยผู้บริโภค และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ผลิตและผู้ให้บริการ (ให้คำนิยามโดย Geoffrey Parker, Marshall Van Alstyne และ Sangeet Choudary)
เจ้าของ Platform อาจไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ในสินค้าหรือบริการ แต่มีหน้าที่เป็นผู้จัดหา(Supplier)และอำนวยความสะดวก ในลักษณะดังนี้
1. วางโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เว็บไซต์ แอพพลิเคชัน ระบบชำระเงิน ระบบบริหารจัดการต่าง ๆ ให้แก่ผู้ใช้งานทั้งกลุ่มผู้บริโภคและผู้ผลิต
2. ออกแบบกฎเกณฑ์และบริหารจัดการทรัพยากรหรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน Platform ซึ่งเปรียบเสมือนตลาด(Market Place)
3. สร้างกลุ่มผู้ใช้งานให้เกิดขึ้น ขยายกลุ่มผู้ใช้งาน ขยายขอบเขตของตลาด (ซึ่งในที่นี้คือ Platform)
4. บริหารจัดการ จัดเก้บ และส่งต่อ "ข้อมูล" และ "คุณค่า" ที่เกิดจากการปฎิสัมพันธ์กันในตลาด
Platform Business vs การทำธุรกิจแบบดั้งเดิม (Pipeline)
- ธุรกิจแบบดั้งเดิม มีลักษณะเหมือนท่อ คือมีการส่งต่อและสร้างมูลค่าเพิ่มตั้งแต่ต้นขบวนการ เช่น การจัดหาวัตถุดิบ การประกอบ การผลิต ไปจนถึงปลายขบวนการ เช่น การจัดจำหน่าย ลักษณะการทำธุรกิจแบบนี้จำเป็นต้องใช้ทรัพย์สินหรือทรัพยากรในระดับหนึ่ง และมุ่งเน้นที่กระบวนการทางฝั่งอุปทาน (Supply) การผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของห่วงโซ่อุปทาน
- Platform Business มีลักษณะตรงกันข้าม คือ มุ่งเน้นกระบวนการภายนอกของห่วงโซ่อุปทาน การสร้างและควบคุมกระบวนการฝั่งอุปสงค์ (Demand) โดยการเป็นผู้จัดหาและอำนวยความสะดวกให้กลุ่มผู้บริโภคหลาย ๆ กลุ่ม และกลุ่มผู้ผลิตอีกหลาย ๆ กลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยน "คุณค่า" และ "บริการ" ซึ่งกันและกัน
ข้อสังเกตุ : เจ้าของ Platform ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์หรือบริการนั้น ๆ เพียงแต่เป็นเจ้าของเครือข่ายที่ทำให้เกิดข้อมูลขนาดใหญ่ มีการสร้างปฎิสัมพันธ์กันระว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค เรียกได้ว่าเป็นเจ้าของพื้นที่การตลาดนั้นเอง (Market Place Owner)
ทำไม Platform Bunsiness ถึงประสบผลสำเร็จมากกว่าธุรกิจแบบเดิม ?
1
ขอบคุณภาพจากหนังสือ Digital Transformation in action
เปรียบเทียบโมเดลทางธุรกิจ การแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มคนหรือผู้ใช้งานตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไปใน Platform Business อธิบายได้ดังนี้
- ถ้ามีคนใช้โทรศัพท์ 2 คน ปฎิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นคือ 1 ครั้ง
- ถ้ามีคนใช้โทรศัพท์ 5 คน ปฎิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นคือ 10 ครั้ง
- ถ้ามีคนใช้โทรศัพท์ 2 คน ปฎิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นคือ 66 ครั้ง
หมายความว่า เมื่อมีจำนวนผู้ใช้งานใน Platform เยอะขึ้น จำนวนการปฎิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นมีโอาสที่จะเพิ่มแบบทวีคูณ เรียกเราสถานการณ์นี้ว่า Network Effect ซึ่งแตกต่างจาก Pipeline ตรงที่ ปฎิสัมพันธ์สามารถเพิ่มขึ้นได้ในอัตราส่วน 1:1 เท่านั้น
1
ขอบคุณภาพจาก https://businesscollective.com
บทสรุป
1. ลักษณะของ Platform Business คือการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล ในการเชื่อมต่อคน องค์กร และทรัพยากรต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และทำให้เกิดปฎิสัมพันธ์กันแบบ "ทวีคูณ"
2. ธุรกิจแบบเดิมมอง "อินเตอร์เน็ต" เป็นเพียงช่องทางการจัดจำหน่าย แต่ Platform Business มองเห็นว่าอินเตอร์เน็ตจะเป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายข้อมูลและบริการให้เกิดปฎิสัมพันธ์กันอย่างมหาศาล
3. Platform Business สามารถนำศักยภาพของอินเตอร์เน็ตมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางธุรกิจและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งธุรกิจแบบเดิมทำไม่ได้
4. Platform Business มีข้อได้เปรียบจากการที่เข้าถึงทรัพยากรได้อย่างมาก ส่วนการขยายธุรกิจก็ทำได้รวดเร็วและง่ายดายกว่าธุรกิจแบบเดิมมาก
"Platform Business เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจและการตลาด ที่สร้างเครือข่ายขึ้นมา และใช้ประโยชน์จาก Network Effect สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งเป็นจุดอ่อนธุรกิจดั้งเดิม จนนำไปสู่การเป็นเจ้าตลาดแทนที่ธุรกิจเดิม"
โปรดติดตามตอนต่อไป
Reference : หนังสือ Digital Transform in action
โฆษณา