24 มี.ค. 2020 เวลา 13:42 • สุขภาพ
ภัยในน้ำตาลเทียม (ตอนที่4)
1
บทความตอนที่แล้ว
ตอนที่1 ภูมิคุ้มกันดีขึ้น หากคุณทำแค่สิ่งนี้
ตอนที่2 เรากำลังกินยาพิษ หรือยาอายุวัฒนะ
ตอนที่3 สัญญาณที่บอกว่าคุณติดหวานเกินไปแล้ว
ภาพนี้จำลองมาจากขนมหวานที่ทานได้
ปกติ น้ำตาลแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มน้ำตาลที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (Nutritive sweetener)
4
ให้พลังงานพอๆกับน้ำตาลซูโครส 1 กรัม จะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่
เช่น น้ำตาลฟรุตโตส น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลแลคโตส น้ำตาลจากเกสรดอกไม้ น้ำผึ้ง
กับน้ำตาลแอลกอฮอล์ sugar alcohols ได้แก่ ซอร์บิทอล แมนนิทอล ไซลิทอล อิริไทออล ซึ่ง 1กรัมให้พลังงานน้อยกว่า 4 กิโลแคลอรี่
2. กลุ่มน้ำตาล ที่ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร
(Nonnutritive sweetener)
เช่น แอสปาแทม (Aspartame),  ซูคราโลส (Sucralose), นีโอแทม, แอดแวนแตม, แซ็กคาริน (Saccharin) หรือขัณฑสกร, เอซีซัลเฟมเค (Acesulfame K), สตีวิโอไซด์ (Stevioside) หรือหญ้าหวาน , หล่อฮังก๊วย (Luo han guo)เป็นต้น
หลักๆในตลาดที่นิยมใช้กันอยู่ คือ
1. แอสพาแทม (Aspartame)
2. ซูคราโลส (Sucralose)
3. อะซีซัลเฟม-โพแทสเซียม (Acesulfame K)
4. หญ้าหวาน (Stevioside)
วันนี้เราจะมาขยายอันตรายของน้ำตาลเทียมแต่ละประเภทกันค่ะ
ตอนที่ 1 แอสพาแทม (Aspartame)
แอสปาร์แตมมีความหวานกว่าน้ำตาลซูโครส (น้ำตาลทราย) ประมาณ 200-600 เท่า
ในปัจจุบันผลิตออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในยี่ห้อสินค้าต่าง ๆ, เช่น "NutraSweet", "Pal Sweet", "Equal", และ "Canderel
" แอสปาร์แตมเป็นส่วนประกอบในอาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่มกว่า 5000 ชนิด ที่วางขายทั่วโลก
โดยทั่วไปเราจะใช้แอสปาร์แตมผสมเครื่องดื่ม หรือทำอาหารให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
1. สารประกอบในแอสปาร์แตมสามารถเปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็ง
1
แอสปาร์แตมเป็นสารให้ความหวานที่เกิดขึ้นจากการรวมสารเคมี 3 ชนิดเข้าด้วยกัน
นั่นคือกรดแอสปาร์ติก (Aspartic Acid) ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) และเมธานอล (Methanol)
แม้ว่าสารทั้งสามจะสามารถกำจัดออกจากร่างกายได้ตามปกติ แต่หากรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจจะก่ออันตรายต่อร่างกาย
โดยเฉพาะเมธานอล ที่สามารถแตกตัวให้กลายเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)
และกรดฟอร์มิก (Formic Acid) ได้
2
ซึ่งเมธานอลที่อยู่ในแอสปาร์แตมมีความแตกต่างกับเมธานอลที่พบในอาหารตามธรรมชาติทั่วๆ ไปเช่นในผักและผลไม้
1
เนื่องจากการผลิตเมธานอลไม่ได้มีการเติมเอธานอล (Ethanol) ลงไปเพื่อป้องกันความเป็นพิษของเมธานอล
ดังนั้นหากได้รับในปริมาณที่มากเกินจนร่างกายไม่สามารถกำจัดออกได้หมด
อาจจะไปทำลายเนื้อเยื้อที่มีชีวิตและทำให้ DNA ในเซลล์ได้รับความเสียหาย จนอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆ ได้
1
2. แอสปาร์แตมก่อให้เกิดโรคอ้วนและความผิดปกติเกี่ยวกับระบบเผาผลาญ
ก่อนหน้านี้น้ำตาลเทียมเคยถูกมองว่าเป็นทางเลือกที่ดีและปลอดภัยในการบริโภคแทนน้ำตาล
1
เมื่อเวลาผ่านไป ผู้บริโภคเริ่มรับรู้ว่าหากรับประทานน้ำตาลเทียมในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดเบาหวานได้
อย่างไรก็ตาม รายงานทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นได้ทำการศึกษาและพบว่า แอสปาร์แตมทำให้น้ำหนักตัวของผู้รับประทานเพิ่มสูงขึ้นโดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับปริมาณที่รับประทานเข้าไปแต่อย่างใด
2
เมื่อเปรียบเทียบแอสปาร์แตมกับน้ำตาลซูโครสซึ่งเป็นสารให้ความหวานที่ได้จากธรรมชาติ
พบว่าแอสปาร์แตมมีผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า
และจากผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารด้านชีววิทยาและการแพทย์ของมหาวิทยาลัยเยล รายงานว่า
แอสปาร์แตมทำให้ระดับการผลิตฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ ส่งผลให้อยากอาหารและต้องการน้ำตาลในปริมาณมากขึ้นกว่าเดิม
1
3. ได้รับอนุญาตให้ใช้แม้จะมีรายงานเกี่ยวกับอันตราย
1
แอสปาร์แตมเป็นสารเคมีที่ถูกค้นพบโดยบังเอิญระหว่างการพัฒนายาเพื่อรักษาแผลเปื่อยของบริษัท G.D. Searle & Company
(ต่อมาถูกซื้อกิจการโดยบริษัท Monsanto ในปี 1985)
เมื่อค้นพบว่าสารดังกล่าวให้รสชาติหวานที่ใช้ทดแทนน้ำตาลได้ บริษัทจึงเข้ายื่นขอรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ทันที
นักวิทยาศาสตร์ที่ FDA ทำการตรวจสอบสารเคมีดังกล่าวกับสัตว์ทดลองและพบว่า
เมื่อให้ลิงบริโภคเข้าไปทำให้เกิดอาการชักอย่างรุนแรงและเสียชีวิต
1
การทดลองดังกล่าวจึงถูกระงับโดย FDA ขณะที่บริษัท G.D. Searle & Company ใช้วิธีการรอจนกว่าคณะกรรมการ FDA ชุดใหม่ที่แต่งตั้งโดย โรนัลด์ เรแกน จะเข้าทำงาน
และส่งแอสปาร์แตมเข้ากระบวนการอนุมัติอีกครั้ง
ด้วยกระบวนการในการคอรัปชั่นและเล่ห์เหลี่ยมของบริษัทเหล่านี้
1
ทำให้แอสปาร์แตมกลายเป็นสารเคมีที่แม้จะไม่ได้รับการยืนยันว่าปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็สามารถใช้ผสมในอาหารได้อย่างถูกกฎหมายกว่า 9,000 ชนิด
1
4. วัตถุดิบได้จากของเสียที่เกิดจากแบคทีเรีย E.coli ตัดต่อพันธุกรรม
1
ในการผลิตแอสปาร์แตม องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้เลยคือฟีนิลอะลานีน
1
ฟีนิลอะลานีนที่ใช้ในการผลิตแท้จริงแล้วมาจากของเสียที่เกิดจากการขับถ่ายของแบคทีเรีย
1
E.coli ที่ถูกตัดต่อพันธุกรรมด้วยยีนชนิดพิเศษซึ่งทำให้ตัวมันสร้างเอนไซม์ในปริมาณสูงกว่าปกติ
เพื่อให้ได้ฟีนิลอะลานีนมาใช้ผลิตต่อไป
การเปิดเผยที่มาของฟีนิลอะลานีน เกิดจากการรับรองสิทธิบัตรแอสปาร์แตมที่ได้รับการรับรองในสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 1999
ซึ่งได้รับการเผยแพร่ในหลายสื่อเมื่อปลายปี 2013 ที่ผ่านมา
1
5. สามารถผ่านเข้าสู่เซลล์สมองและก่อให้เกิดอันตรายได้
เนื่องจากแอสปาร์แตมประกอบด้วยสารเคมี 3 ชนิดในปริมาณแตกต่างกัน
โดยมีกรดแอสปาร์ติก (Aspartic Acid) มากที่สุดคือร้อยละ 40 ซึ่งกรดชนิดนี้เป็นกรดอะมิโนที่สามารถเดินทางผ่านตัวกรองที่กั้นระหว่างเลือดและสมอง (Blood-Brain Barrier)
หากได้รับกรดแอสปาร์ติกเข้าสู่เซลล์สมองในปริมาณมากๆ จากการบริโภคน้ำตาลเทียม
จะส่งผลให้เซลล์สมองได้รับความเสียหายจากปริมาณแคลเซียมที่สูงเกินไป
และอาจทำให้เซลล์ประสาทเสียหายจนเกิดความผิดปกติกับสมองได้
ในกรณีร้ายแรงที่สุด การได้รับสารชนิดนี้ในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคทางระบบประสาทอย่างลมบ้าหมูหรืออัลไซเมอร์
1
ยังรวมไปถึงโรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis: MS – โรคที่เกิดจากปลอกไมอีลินรอบเซลล์ประสาทได้รับความเสียหาย
ทำให้การเดินทางของกระแสประสาทไม่ดีเท่าเดิม)
2
ภาวะสมองเสื่อม
และความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่อาจทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติอีกด้วย
1
6. ท้องอืด ท้องเฟ้อ
แอสปาร์เทมเป็นน้ำตาลเทียม ที่ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
จึงทำให้มันไปกองรวมกันอยู่ในลำไส้ใหญ่ และจะมีแบคทีเรียที่สามารถย่อยแอสปาร์เทมได้
1
แต่จะผลิตก๊าซออกมาด้วย จึงทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อและถ่ายได้มากกว่าปกติ
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว บางทีน้ำตาลเทียมอาจจะไม่ใช่ทางออกก็ได้นะคะ
ทางที่ดี เราลดทั้งน้ำตาลจริง และน้ำตาลเทียมกันเถิดค่ะ
พบกับ ตอนที่ 2 อันตรายจากน้ำตาลเทียม ตอน ซูคราโลส ในบทความถัดไปค่ะ
อย่าลืมกดไลท์กดแชร์ ให้กับ ชะแลความก่อ ..ชะลอวัยใช่เลย..เคล็ดลับง่ายๆของคนวัยใสค่า (แว๊บดูสักนิด...หากคุณไม่อยากแก่)
สามารถติดตาม เพจ..ชะแลความก่อ..ได้ตามช่องทางนี้ค่ะ
📍youtube
📍ติดตามในFacebook
📍ติดตามใน Blockdit
📍ติดตามในLine@
#แอสพาแทม #แอสปาแตม #aspartame #น้ำตาลเทียม #อันตราย #โทษ #ภัย #สารแทนความหวาน
ที่มา
ภาพ: Sweet Kill โฆษณาสุดครีเอทจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รณรงค์ชุดนี้เป็นการเปรียบเทียบถึงผลกระทบที่ได้รับจากการบริโภคของหวานสุดโปรดเข้าไป
ผลงานสร้างสรรค์จากเจ้าเก่าอย่าง "OGILVY & MATHER Bangkok"
แถมยังโดดเด่นจนได้รับรางวัล Bronze Lion Campaign จากงาน Cannes Lions 2015 อีกด้วย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา