5 มิ.ย. 2020 เวลา 14:39 • การเมือง
กองทหารอาสาญี่ปุ่นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
Japanese Military volunteer in the reign of King Narai the Great
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กองทัพอยุธยาถือได้ว่ามีความยิ่งใหญ่มากถึงขนาดกับเมื่อจัดกระบวนพยุหยาตราอย่างใหญ่นั้น มีจำนวนผู้ร่วมในขบวนมากถึง 10,000 คนเลยทีเดียว ซึ่งในจำนวนคนเหล่านั้นประกอบไปด้วยข้าราชการ และกองทหารอาสาจากหลากหลายเชื้อชาติมากมาย ไม่ว่าเป็น ขุนนางแขก ขุนนางญี่ปุ่น ขุนนางฝรั่งเศส กองทหารอาสาฝรั่งเศส ฯลฯ และที่ขาดเสียไม่ได้เลยก็คือ กองทหารอาสาชาวญี่ปุ่น
ภาพการแต่งกายของซามูไรชาวญี่ปุ่นในปี 1800s
ชาวญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทในราชสำนักสยามด้วยการรับราชการเป็นกองทหารอาสาตั้งแต่ พ.ศ. 2135 ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นต้นมา ซึ่งก็มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นนั้นต้องอพยพจากบ้านเกิดเมืองนอนมาตั้งรกรากที่เมืองหลวงของอาณาจักรสยามที่พระนครศรีอยุธยานี้ เช่น เพื่อทำการค้าบ้าง ลี้ภัยศาสนาบ้าง และที่สำคัญคือ เพื่อรับจ้างเป็นนักรบ เมื่อชาวญี่ปุ่นเข้ามาในสยามเยอะขึ้นพระมหากษัตริย์อยุธยาจึงทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ชาวญี่ปุ่นนั้นตั้งรกรากอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศใต้ของเกาะเมืองอยุธยา
จากภาพด้านบนเป็นภาพของทหารอาสาชาวญี่ปุ่น ที่แต่งกายแบบญี่ปุ่น และโกนผม ร่วมเดินในกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค “กระบวนเพชรพวง” เพื่อถวายผ้าพระกฐิน ในรัชการสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งวาดบนฝาผนังในพระอุโบสถวัดยม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาวาดเมื่อ พ.ศ. 2225 และได้รับการคัดลองลงสมุดไทยไว้เมื่อ พ.ศ. 2440 ปัจจุบันได้ชำรุดไปหมดแล้ว
อ้างอิง
- ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราฯ ในฐานะของวรรณคดีที่เกี่ยวกับกระบวนพยุหยาตรา, น. 43 – 44
- มรดกวัฒนธรรมไทยจากกรมศิลปากร ,”สมัยพระนครทวารวดี ศรีอยุธยา (พ.ศ.1890 – พ.ศ.2310)”, น.145
Siam (Ayudhya) X Japan
จะเห็นได้ว่าสยามของเรานั้นมีความยิ่งใหญ่ในหลายๆด้านมาตั้งแต่อดีต ซึ่งก็รวมถึงความยิ่งใหญ่ทางการทหารด้วย ผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติต่างมุ่งตรงสู่เมืองหลวงกรุงศรีอยุธยานี้ เพื่อรับจ้าง และทำการค้าขายกันอย่างมั่งคั่งและร่ำรวย ได้ยศฐาบรรดาศักดิ์มากมาย หากเราจะพูดว่าเราเป็นไทมาได้ทุกวันนี้ด้วยคนไทยด้วยกันเพียงอย่างเดียวคงจะไม่ถูกนัก หากแต่ความเป็นไท หรือ ความอิสระนี้ ต้องแลกมาด้วยความสามารถและหยาดเหงื่อของชนต่างชาติที่เข้ามารับราชการเป็นกองทหารอาสาเหล่านี้เช่นกัน
Thailand X Japan
133 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – ญี่ปุ่น
Le Siam
“สยาม ที่คุณต้องรู้”
เขียนและเรียบเรียงโดย : Le Siam

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา