4 มิ.ย. 2020 เวลา 14:57 • ประวัติศาสตร์
“暹” สยามในบันทึกจีน
Siamese in the Historical Chinese records
1
ราวพุทธศักราช 1700 ได้เกิดศูนย์กลางอำนาจที่รวมตัวกันขึ้นด้วยเงื่อนไขทางเศษฐกิจ สังคมและการเมือง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่ม “ละโว้” ในแทบลุ่มน้ำลพบุรี - ป่าสัก ซึ่งภายหลังได้ย้ายศูนย์กลางอำนาจมาอยู่ที่ “อโยธยาศรีรามเทพนคร” โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยาปัจจุบัน และอีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่ม “สุพรรณภูมิ” หรือมีชื่อเรียกในเอกสารจีนโบราณว่า “暹”เสียม ซึ่งก็หมายถึง “สยาม” นั้นเอง โดยสยามนี้มีศูนย์กลางอำนาจอยู่ในแทบลุ่มน้ำท่าจีน – แม่กลอง
ราชทูตสยาม ชายและหญิงคู่หนึ่งที่มาเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงจีน เมื่อ พ.ศ. 2305 และ ข้อความภาษาจีนและภาษาแมนจู
ดังข้อความภาษาจีนและภาษาแมนจู ที่ปรากฎบนภาพเขียน “คนไทย” โดยภาพวาด เป็นภาพราชทูตสยาม ชายและหญิงคู่หนึ่งที่มาเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงจีน เมื่อ พ.ศ. 2305 โดยเซียะสุย จิตรกรประจำราชสำนักจีนในรัชกาลพระเจ้าเฉียนหลง แห่งราชวงศ์หมิงเป็นผู้วาด ซึ่งก็อยู่ราวสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ในสมัยอยุธยาตอนปลายซึ่งแปลได้ใจความว่า
“สยาม ตั้งอยู่บนบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแจ้นเฉินในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง เรียกประเทสนี้ว่า “ซื่อถูกวั๋ว” ซึ่งแปลว่าประเทศที่มีดินสีแดง ต่อมาชื่อซื่อถูกวั๋วได้แบ่งออกเป็น 2 รัฐ รัฐหนึ่งชื่อว่า หลัวฮู่ อีกรัฐหนึ่งชื่อว่า ฉ้วน (เสียน หรือ เสียมในภาษาแต้จิ๋ว) ต่อมารัฐฉ้วนถูกรัฐหลัวฮู่เข้าตีและรวมกันได้ พระเจ้าหงอู่แห่งราชวงศ์หมิงจึงเรียกประเทศใหม่ว่า “ฉ้วนหลัว” ซึ่งได้ส่งเครื่องบรรณาการมาถวายพระเจ้ากรุงจีน รัฐทั้งสองอ่อนน้อมเชื่อฟังจีนมาก..”
แผนที่แสดงที่ตั้งเมืองสำคัญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-19
ต่อมากลุ่มละโว้ได้สร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับกลุ่มสุพรรณภูมิ จึงได้รวมตัวกันแล้วพัฒนามาเป็น “กรุงศรีอยุธยา” โดยย้ายศูนย์กลางการปกครองมาอยู่ที่บริเวณเกาะเมืองอยุธยาปัจจุบัน ศูนย์กลางอำนาจนี้มีบทบาทในการรวมรัฐน้อยใหญ่ทั่วดินแดน “ขวานทอง”ในเวลาต่อมา
เราจะเห็นได้ว่า สยามของเรานั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยไม่มีรากฐานหรือความเป็นมาที่แน่ชัด หากแต่ดินแดนสยามของเรานี้ ล้วนเป็นที่รู้จักในบรรดาต่างชาติมาช้านาน สยามคือสุวรรณภูมิทองคำที่สาดส่องความเจริญมั่งมี และความรุ่มรวยของอารยธรรม แพร่ขยายออกไปขจรไกลหามีผู้ใดที่จะไม่รู้จักสยามไม่ ดังนั้นแล้วพวกเราทุกคนชาวสยามจงภูมิใจกับเชื้อชาติ และศึกษาความเป็นมาของตัวเราให้ท่องแท้ เพื่อให้เราไม่หลงลืมในกำพืดที่เคยเป็นมา
Le Siam
“สยาม ที่คุณต้องรู้”
เขียนและเรียบเรียงโดย : Le Siam
อ้างอิง
- ณัฎภัทร จันทวิช.2545 “ผ้าและการแต่งกายในสมัยโบราณจากจิตกรรมฝาผนังบนพระที่นั่งพุทธไธสวรรย์, กรมศิลปากร”, น.56
- วัณสาสน์ นุ่นสุข, “สยามประเทศ” 2550,น.19
- “คู่มือการเรียนรู้สยามประเทศ มิวเซียมสยามสำหรับคุณครู” น.16-17

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา