25 มิ.ย. 2020 เวลา 06:27 • ปรัชญา
ปรัชญา "ประจักษ์นิยม" & "เหตุผลนิยม"
ปรัชญาที่ดูเหมือนคล้ายและไปด้วยกันได้เป็นแนวคิดสองสายที่ทีอิทธิพลกับโลกตั้งแต่อดีตกาลมาถึงปัจุบัน
Rationalism และ Empiricism
ปรัชญา"เหตุผลนิยม" เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า "Rationalism"
ส่วนพวกที่ยืนอยู่ตรงกันข้าม คือแนวคิดแบบ "ประจักษ์นิยม" คำฝรั่งเรียก "Empiricism"
แนวคิดทางทั้งสองนี้ เป็นที่มาของศาสตร์ ที่สำคัญคือ "คณิตศาสตร์" กับ"วิทยาศาสตร์"
คณิตศาตร์นั้นจะรวมเอา ตรรกศาสตร์ซึ่งในวงการปรัชญาถือว่าเป็นศาสตร์เดียวกัน เข้าไปด้วย
แนวคิดแบบ Empiricism เริ่มต้นด้วยการบอกว่า เครื่องมือในการแสวงหาความรู้ คือ อายตนะห้าประการ มีตา หู จมูกฯ...เป็นต้น
2
"เมื่อธรรมชาติให้เรามาแค่นี้ เราควรพอใจมั้ย"
ถ้าไม่พอใจในสิ่งที่เขาให้มา แล้วเราจะไปฟ้องใคร?
นักปรัชญาชื่อ จอห์น ล็อก (John Locke) บอกว่า สีกลิ่นรสเป็นต้น เป็นคุณสมบัติของสิ่งต่างๆที่ปรากฎแก่การรับรู้ของเรา
จอห์น ล็อก (John Locke)
สมมุติว่าคนสามคน เห็นพระเดินบิณฑบาตมา ในวันที่มีอากาศปลอดโปร่ง แสงแดดส่องอำไพ ให้คนสามคนดูว่า จีวรพระสีอะไร
1
ทุกคนจะตอบตรงกันว่า "สีส้ม" ดูเหมือนว่าทุกคนจะตอบสีเดียวกัน (เว้นไว้แต่จะห่มสีอื่นเช่น สีแดง สีกลัก ,ราชนิยมฯลฯ)
ล็อกบอกว่า เราไม่มีทางรู้เลย เพราะตาของคนสามคนนั้นเป็นตาตนละคู่ แม้จะเชื่อว่าธรรมชาติน่าจะให้คุณภาพดวงตาแก่ทุกคนมาเหมือนกัน แต่นั่นก็เป็นความเชื่อ...
คุณภาพดวงตาของชายสามคนนี้ อาจเหมือนหรือไม่เหมือนกัน สีจีวรพระ ที่เห็นผ่านลูกตาพวกเขา ก็ไม่แน่ว่าจะเป็นสีเดียวกัน
เครดิตภาพ: https://www.naewna.com
ตาของแมวก็อย่างหนึ่ง แมลงวันก็อย่างหนึ่ง ของหนูก็อย่างหนึ่ง ของกบก็อีกอย่าง แปลว่าสัตว์เหล่านี้มองเห็นสีจีวรพระไม่เหมือนกัน
จึงไม่แปลกใจ ว่าควายกลางทุ่งนา ไม่รู้มีปัญหาอะไร เห็นพระเดินลัดทุ่งบิณฑบาต มันจึงมักไล่ขวิด ใครเคยบวชอยู่บ้านนอกจะเข้าใจเรื่องนี้ดี
เพราะสีส้มที่เห็นไม่ได้มีปัญหาอะไรกับตามนุษย์ แต่ควายมันคงรู้สึกว่า"แ_'_ง สีบาดตากูฉิบหาย" มันจึงไล่ขวิดไงครับ
1
เครดิตภาพ: http://www.freeboard4you.com
ปรัชญาประจักษ์นิยม(Empiricism) บอกว่า เรื่องเสียง กลิ่น รส สัมผัสอ่อนแข็งก็ทำนองเดียวกัน ปรากฎแค่ทางอายตนะเท่านั้น อย่าคิดเกินไปกว่านั้นเพราะเราไม่มีทางรู้อะไรเลย
ให้สัตว์10 สายพันธ์มามอง ก็จะเห็นคนละอย่าง ดอกกุหลาบสีแดง มองตอนเช้าก็สีหนึ่ง มองค่ำก็อีกสี ตามสภาพแสง เอาไปดูบนดวงจันทร์หรือดาวอังคารที่ชั้นบรรยากาศไม่เหมือนกันกับเรา แสงอาทิตย์จึงเป็นคนละสีกับที่เราเห็นบนโลก
นักปรัชญาที่เพียรพยายาม หาจริงที่ว่า ต้อง"รู้ชัด" "รู้จริง"แบบเถียงไม่ได้เลย" จึงไม่ชอบการรู้เท่าที่ธรรมชาติอนุญาตอย่างมีเงื่อนไขกำกับ
พวกกรีกเป็นพวกชอบคิด เห็นว่าความรู้ที่มาจากการใช้อายตนะก็งั้นๆ ไม่ยั่งยืน เป็นเพียง"ข้อเท็จจริง" ยังไม่ถึงขั้น"สัจจะธรรม"
คนอย่าง โสเครตีส (Socrates) เพลโต(Plato) อริสโตเติล(Aristotle) เหล่านี้เป็นคนฉลาดมากมาย แต่ไม่ให้ความสนใจสร้างระบบปรัชญาโดยใช้ประสาทสัมผัส จะมีบ้างสำหรับอริสโตเติล ที่คนยกย่องพี่แกว่าเป็นบิดาของวิทยาศาสตร์ตะวันตก
แต่ก็ไม่มากเท่ากับกาลิเลโอ (Galileo Galilei) ผู้ที่ชัดเจนเรื่องการใช้อายตนะหรือประสาทสัมผัสในการหาความรู้
1
กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)
ความรู้ในระดับสัจธรรมที่ว่านี้ ต้องใช้อย่างอื่นที่ไม่ใช่ประสาทสัมผัสในตัวคน
พวกกรีกเชื่อว่า นอกจากอายตนะทั้งห้า ธรรมชาตินังได้บรรจุเครื่องวิเศษแผนกหนึ่งเคียงคู่อายตนะให้เราได้ใช้สอย นั่นคือ "เหตุผล" หรือ"ปัญญา"
1
ความรู้ที่ถูกเสนอโดยอายตนะ จะมีสถานะเป็น"วิทยาศาสตร์"
ยกตัวอย่างเช่น "น้ำ" เขียนสูตรได้ว่า "H₂O " (เอช ทู โอ) เขาเชื่อของเขาว่า หลายล้านปีก่อน น้ำก็มีสภาพโครงสร้างเคมีอย่านี้ อีกล้านปีก็จะเป็นเช่นนี้ ไม่ใช่เฉพาะโลกเรา ที่ไหนๆก็จะแบบนี้
เดวิด ฮูม(David Hume) นักปรัชญาประจักษ์นิยมอีกคน บอกว่าใจเย็นพวก!
ใครจะยืนยันได้อย่างสิ้นวิมุติกังขาว่า "พรุ่งนี้เราจะเห็นพระอาทิตย์อยู่ทางทิศเดิม"
ไม่มีใครยืนยันได้หรอกครับ เราเพียงแต่เชื่อว่า พรุ่งนี้น่าจะเป็นอย่างที่เคยเป็นเท่านั้นแหละ แล้วจะรับประกันได้ยังไงว่า พรุ่งนี้ น้ำจะยังเป็น H₂O ดังเดิม
เดวิด ฮูม(David Hume)
ของต่ำๆใช้ตาดูหูฟังก็ได้ แต่ของสูงๆหรือลึกซึ้ง ต้องใช้ความคิด
ความรู้ใดที่ยังอิงอยู่กับความเชื่อ หรือความคาดหวัง ความรู้จึงต้องมีสถานะสูงกว่านั้น คือไม่มีทางไม่มีช่องสงสัยให้ได้
อาร์คีมีดิส (Archimedes) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ผู้ประกาศตนเองสามารถเข้าถึงความรู้ที่เป็นระดับสัจธรรม คือสูงกว่าความรู้อันได้มาจากอายตนะ ซึ่งในกรีกสมัยนั้นเขาเรียกว่า "คณิตศาสตร์"บ้าง "ตรรกศาสตร์"บ้าง
อาร์คีมีดิส (Archimedes)
คนกรีก(ยุคนั้น)เขาก็กินข้าว แล้วก็ไม่ได้ขี้ออกมาเป็นทองอะไรหรอกครับ เพียงแต่เชาเป็นคนช่างคิด ช่างสังเกตุ นำเข้าวิชาวัดพื้นที่ของคนอียิปต์ก่อนหน้านั้นมาใช้ในดินแดนกรีก เพื่อมาคำนวน ก่อสร้างพื้นที่ เรียกกันในสมัยนั้นว่า วิชา"เรขาคณิต"
ดูอย่างปีรามิด ที่เห็นนั่น ถ้าการคำนวนทางวิชาการไม่แน่น สร้างไม่ได้หรอกครับ
1
ในเมื่อศาสตร์การวัดพื้นที่และคำนวน ตกมาถึงชาวกรีกที่กำลังคิดหา ความรู้ที่เป็น"สัจจะธรรม"
มันน่าทึ่งมั้ยล่ะ สามเหลี่ยมทุกรูปที่เราสร้างขึ้น วัดมุมภายในรวมกันได้ 180 องศาเสมอ วงกลมและรูปทรงเรขาคณิตอื่นๆก็แฝงความเที่ยงแท้ในตัวเองอย่างน่าประหลาดใจ
1
เครดิตภาพ: https://vpchothuegoldenking.com/
คำนวนก่อน สร้างทีหลัง คำนวนถูกก็สร้างถูกไปด้วย
สถานะสิ่งที่คำนวนนั้นจึงมีสภาพเป็น"ของจริง"ในโลกกายภาพ คิดไปคิดมาจึงเกิด "ซาโตริ" (ศัพท์ทางพุทธนิกายเซน)หรือ "อ๋อ"กรูร้แล้ว...
เพราะมันมีความจริงอีกระดับเกินกว่าอายตนะของเราที่จะมองเห็น จำคนชื่อ ยุคลิด (Euclid)กันได้มั้ยครับเขาเป็นนักคณิตศาสตร์กรีกอีกท่านหนึ่ง ผมเชื่อว่าหลายคนต้องจำได้
1
เรขาคณิตของ "ยุคลิด" เป็นวิธีพิสูจน์ด้วย"ปัญญา" หรือ"เหตุผล"ล้วนๆว่า พฤติกรรมของ รูปทรงเรขาคณิตคงเส้นคงวาเสมอ ในแบบที่กฎเกณฑ์ในโลกนามธรรมบังคับ
ยุคลิด (Euclid) บิดาแห่งวงการเรขาคณิต
นี่คือความรู้แบบที่รู้แล้วสิ้นสงสัย หลักคณิตศาสตร์บอกเราว่า 1+1=2หรือ 2+2=4นั้น มันจริงมาเมื่อหมื่นปีมาแล้ว เวลานี้ก็ยังจริงอยู่อย่างนั้น ส่วนใครจะพิสดารบอกว่า1+1=11 2+2=22 อันนี้ไม่เถียงด้วย
นี่คือความรู้ที่แท้จริงในทัศนะของนักปรัชญากรีก เป็นสัจธรรมที่เถียงไม่ได้ อยู่เบื่องหลังโลกของกายภาพ หรืออาจนำเสนอในแนวคิดจิตนิยมของเพลโต(Plato) ที่ผมเคยเขียนโพสต์ไว้ในBlockditแล้ว 4part คงพอจะเสริมประเด็นนี้ได้บ้างสักนิด... เดี๋ยวแปะลิ้งค์ให้ท้ายบทความครับ
ปราชญ์ที่เห็นธรรมแล้ว จะเข้าใจโลก ว่าความรู้แบบอายตนะเป็นความรู้ เช่นปวดหัวต้องกินยาชนิดนั้นชนิดนี้ถึงจะหาย แต่ไม่แน่ว่า อีกร้อยปีข้างหน้าอาจจะใช้ไม่ได้ผล
1
เช่นสมัยหนึ่งวิทยาศาสตร์บอกว่า น้ำมันหมูไม่ดี เราก็แห่กันกินน้ำมันพืช ตอนนี้ผลวิจัยใหม่บอกดีซะงั้น เราก็กลับมาใช้น้ำมันหมูประกอบอาหาร ดื่มกาแฟไม่ดีนะ ทำลายสุขภาพ ปัจจุบันร้านกาแฟเต็มบ้านเต็มเมือง บอกสรรพคุณนู่นี่นั่น โปรโมทกินกันจน ตาแข็ง ยายเดือดร้อน...
1
กินไข่เยอะไม่ดี คอลเรสเตอรอลสูง วันนี้เชียร์ วันละเจ็ดฟองไปเลยเฮียถ้าไหว!! อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อนะครับ กินกันเอาพอดีๆ เวลาผ่านไปอีก พูดอีกที แ_'_งเปลี่ยนอีกก็ไม่แน่...
1
ความรู้แบบคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์นี้นอยู่ยงคงกระพัน เพราะเป็นธรรมขั้นสูง
นักปรัชญาที่เชื่อในอำนาจของปัญญา เราเรียกว่า เหตุผลนิยม (Rationalism) ส่วนที่ศรัทธาในการพิสูจน์ทางอายตนะ เราเรียกว่าประจักษ์นิยม (Empiricism) ดังที่พรรนามานั่นเอง
1
คณิตศาสตร์นั้นเป็นผลผลิตโดยตรงมาจากปรัชญาแนว "เหตุผลนิยม" ในขณะที่วิทยาศาสตร์เป็นผลผลิตของปรัชญาสาย "ประจักษ์นิยม" การมีอยู่ของศาสตร์ทั้งสองแขนงนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเป็นเสาหลักแห่งความก้าวหน้าทางอารยะธรรมมนุษย์ และในทางปรัชญาจะดูเหมือนตั้งคำถามว่า สามารถแยกออกจากกันได้หรือไม่
1
อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant)
ซึ่งแนวโน้มส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นศาสตร์คนละแนว มีจุดเด่นจุดด้อยคนละอย่าง แต่นักปรัชญาอย่าง อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) เสนอความคิดว่า สองศาสตร์นี้รวมกันได้สบายอยู่แล้ว ซึ่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)แย้งเรื่องนี้หัวชนฝา เรื่องนี้มีรายละเอียดพอสมควร ซึ่งผมก็ไม่ประสงค์จะอธิบายรายละเอียดมากกว่านี้เนื่องจากไม่มีจุดประสงค์วิเคราะห์ปรัชญา"ประจักษ์นิยม" และ"เหตุผลนิยม"อย่างละเอียดละออ เอามารีวิวกันให้ พอเป็นกระษัยก็พอ เอาไว้เขียนบทความในblockditได้สักระยะ จะรวบรวมสกัดเนื้อหาเป็นรูปเล่มหรือเป็นPaperให้ดาวน์โหลดกัน
1
วิทยาศาสตร์ให้คำตอบในทางอายตนะ คือประสาทสัมผัส และในบางแง่ใช้สมมุติฐาน ที่เป็นเหตุผล ที่เราให้เครดิตว่าเป็น"ทฤษฎี" โดยให้ความสนใจ ว่า"ทำไม"
ส่วนวิทยาศาสตร์ที่เป็น"กฎ" สนใจว่า"อย่างไร"
เมื่อมีคนตั้งสมมุติฐานและพิสูจน์แนวคิดหักล้างของเดิมได้ ก็อาจจะไม่ได้รับการยอมรับทันทีเหมือนอย่างสมัยที่ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton)เป็นขาใหญ่ของวงการวิทยาศาสตร์ แนวคิดและทฤษฎีของ ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)ยังไม่เฉิดฉายเท่าไหร่ เพราะติดอยู่หลักการเดิม กลายเป็นว่าเจ้าทิฎฐิที่เหนียวแน่นบางทีอาจจะไม่ใช่ชาวบ้านธรรมดาแบบเรา แต่กลับเป็นคนในวงการวิชาการซะเอง
ทั้งนี้วิทยาศาสตร์ก็เป็น ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงได้เสมอ.. มีสถานะไม่ต่างจากอภิปรัชญาและคำสอนทางศาสนา
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)
บางทีในแง่หนึ่ง คำสอนในศาสนาสานะจะนิ่งกว่าและบุคลากรศาสนาควรต้องอธิบายเชิงเหตุผล ไม่ใช่ความเชื่อ แต่เป็นความรู้ ที่ปฏิเสธได้ยากเหมือนคณิตศาสาตร์ เช่น 1+1=2, 2+2=4 อย่างที่คนทั้งโลกเข้าใจตรงกัน เพราะถ้าคำสอนในศาสนานั้นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา คงจะไม่เข้าท่า หมดความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง.
1
ในแง่หนึ่ง ถ้าแนวคิดที่บอกว่าตายแล้วสูญ ก็สะท้อนอะไรบางอย่าง ถ้าหากคนหนึ่งทำบุญ ทำดี ตั้งใจทำงาน ดูแลครอบครัวทั้งชีวิตมีแต่สร้างประโยชน์ให้ตนเองและสังคม ส่วนอีกคนทำตรงกันข้ามทั้งหมด ผิดศีล ฉ้อโกง ทำร้ายเพื่อนมนุษย์ แต่ท้ายที่สุดทั้งสองคนนี้ มีจุดจบที่เหมือนกันคือ ว่างปล่าว ทุกอย่างจบมืดสนิท เป็นขันธ์5เท่ากัน แนวคิดระบบนี้ยุติธรรมหรือไม่?
1
ปรากฎการที่ชวนให้ตั้งคำถาม กับคำว่า นี่เป็นสิ่ง"อจินไตย" หรือ"จะเชื่อตอนเป็น หรือจะไปเห็นตอนตาย" ที่มักจะถูกตัดบทบ่อยๆเวลาสนทนาธรรมกับพระสงฆ์ ถ้าไม่ปฏิบัติกรรมฐานวิปัสสนาตามแนวทางสำนักนั้นเซตไว้ให้ อาจจะเป็นวิธีพูดที่ดูคลุมเครือสำหรับชาวบ้านร้านตลาดตาดำๆทั่วไป
แต่เราสามารถใช้เหตุผล ให้รู้แจ้งทางปัญญาได้โดยวิธีคิดทางปรัชญา...
1
แหล่งอ้างอิง
1. ศ.ดร. สมภาร พรมทา, แก่นเดิมของพุทธปรัชญา, พุทธปรัชญากับญาณวิทยา.
2. ศ.ดร. จำนง ทองประเสริฐ, ปรัชญาประยุกต์.
3. ศ.ดร. กีรติ บุญเจือ, แก่นปรัชญาปัจจุบัน.
4. ศ.ดร. วิทย์ วิศทเวทย์, ปรัชญาทั่วไป : มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต.
-วิรุฬหก-

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา