4 มิ.ย. 2020 เวลา 12:17 • ปรัชญา
จิตนิยม (Idealism) Part2
ทฤษฎี “แบบ” (Form)
เรื่องที่เพลโต(Plato) สนใจคือความสัมพันธ์ระหว่าง
สิ่งที่เที่ยงแท้และไม่เปลี่ยนแปลง กับสิ่งที่เลื่อนไหล
ซึ่งที่จริงความสนใจนี้ก็คล้ายกับนักปรัชญายุคก่อนโสเครตีสอาจารย์ของเขา
ในยุคนั้นนักปรัชญากลุ่มโซฟิสต์(Sophist) และโซเครติส(Socrates) เอง
ได้เปลี่ยนแนวหันเหความสนใจจากคำถามของปรัชญาธรรมชาติ
ไปสู่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม
เพลโต (Plato)
แต่ในทางหนึ่ง โซเครตีสและกลุ่มโซฟิสต์เองก็ยังคาใจกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เที่ยงแท้และไม่เปลี่ยนแปลงและ “สิ่งที่เลื่อนไหล”
พวกโซฟิสต์(Sophist) มีแนวคิดว่า ความถูก ผิด ดีชั่ว มีเกณฑ์ตัดสินต่างกันไปตามแต่นครรัฐ จากรุ่นสู่รุ่น ศีลธรรมเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ เป็นสิ่งเลื่อนไหล ซึ่งเป็นความคิดที่โสเครตีสรับไม่ได้ เขาเชื่อว่ามันจะต้องมีเกณฑ์สากลที่เที่ยงแท้และสมบูรณ์ ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด การใช้สามัญสำนึกทำให้เราเข้าถึงความเป็นสัจจะเหล่านี้ที่ไม่เปลี่ยน
โซเครติส(Socrates)อาจารย์ของเพลโต
เหตุผลของมนุษย์จึงเป็นสิ่งเที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เลื่อนไหล
ตามทัศนะของโสเครตีส(Socrates)
แต่ เพลโต เขาสนใจทั้งสองประเด็น ทั้งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและไม่เปลี่ยแปลงในธรรมชาติ และสิ่งที่มั่นคงและเลื่อนไหลในเรื่องของศีลธรรมและสังคม
สำหรับเพลโต มองปัญหานี้เป็นเรื่องเดียวและเหมือนกัน
และพยายามหา “ความจริง” ที่เที่ยงแท้และไม่เปลี่ยนแปลง
นักปรัชญาสมัยนั้นพยายามดึงคนให้มาสนใจว่า อะไรคือ ความจริงที่เที่ยงแท้ ความงามที่เที่ยงแท้ และความดี ที่เที่ยงแท้เป็นรากฐานเค้าโครงทางปรัชญาของเพลโต ซึ่งถือว่าเป็นความคิดที่ไม่ธรรมดาและมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งฝังรากต่อปรัชญายุคหลังของยุโรปทั้งหมด โดยเฉพาะยุคกลางที่ ศาสนจักรนำหลักการของเพลโตไปต่อยอดพัฒนา...
เพลโตเชื่อว่าทุกสิ่งที่จับต้องได้ในธรรมชาตินั้น “เลื่อนไหล” จึงไม่มี “สสาร”ใดไม่เสื่อมสลาย ทุกอย่างอยู่ใน“โลกของวัตถุ” เกิดจากวัตถุที่จะเสื่อมไปตามกาลเวลา แต่ทุกอย่างถูกจำลองมาจาก “แม่พิมพ์” หรือ “แบบ”
ที่อยู่เหนือกาลเวลา เที่ยงแท้ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ใช่สสารพื้นฐาน
สรรพสิ่งทั้งหลายถอดแบบมา
แบบแผนนี้มีธรรมชาติที่เป็นจิตวิญญาณ และเป็นนามธรรม
เครดิตภาพ: https://www.youtube.com
ทฤษฎี “แบบ” (Form)
เพลโตมองว่าเนื้อแท้ของจักรวาลนั้นมี ๒ประเภท คือ
๑. สิ่งทั้งหลายที่เป็นวัตถุจับต้องได้ มองเห็นได้
เราเรียกรวมกันว่ามีลักษณะทางกายภาพ
๒). สิ่งที่เป็น อสสาร คือไม่ใช่วัตถุ จับต้องไม่ได้
เขาเรียกสิ่งนี้ว่า “แบบ” (Form)
4
นายแดง นายเขียว นายดำ เป็น “สิ่ง”สามสิ่งที่อยู่บนโลก
ร่างกายคนทั้งสามนี้เป็น “วัตถุ”หรือ “สสาร”
๓) สิ่งที่มีอยู่บนโลก เช่นสามคนนั้นมีลักษณะบางอย่างเหมือนกัน
คือเป็น “คน” เหมือนกัน นายเขียว นายแดง นายดำ อาจมีลักษณะต่างกัน
เช่นสูง ต่ำ ดำเตี้ย ขาว หัวเถิก ผมดก หล่อ ขี้เหร่ ผอมกระหร่อง กล้ามปู
อะไรต่อมิอะไร แต่ทั้งสามคนนั้นมีอะไรเหมือนกันคือ “ความเป็นคน”
เพลโตเรียก “ความเป็นคน” หรือ “คน” นี่เองว่า “แบบ” แบบคือลักษณะกลางที่สิ่งหลายสิ่งร่วมกัน นาย เขียว นายแดง นายดำ แม้จะแตกต่างกันหลายๆด้าน แต่ก็อยู่ในแบบที่จำลองออกมาแบบเดียวกัน
เราอบคุกกี้ ๕๐ ชิ้นให้เหมือนกันได้ยังไงถ้าไม่มีแม่พิมพ์
บางชิ้นอาจจะบิ่น ปูดบ้าง เบี้ยวบ้าง สมบูรณ์ สวยงามตามแบบบ้าง
บางชิ้นอาจจะแปะแยมหรือโรยหน้า พิเศษกว่าชิ้นอื่น
แต่เมื่อคิดอย่ารอบคอบจะมองรู้ว่า ขนมคุกกี้นั้นออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน ถ้าพิจารณาดูให้ดี จะชัดว่าแม่พิมพ์นั้นจะต้องสมบูรณ์แบบที่สุด
และงดงามกว่าขนมที่ถอดแบบจากมัน...
“เบื้องหลัง”ที่เราเห็นอยู่รอบตัวมีจำกัด ม้าทุกตัว หมูทุกตัว หรือมนุษย์ทุกคน จะมี “แบบของม้า” “แบบของหมู” “แบบของมนุษย์” เช่นเดียวกับแม่พิมพ์คุกกี้ ที่เป็นรูป คน รูปสัตว์ต่างๆ เพราะคนทำขนมที่มีฝีมือก็จะมีแม่พิมพ์มากกว่าหนึ่งอัน
เพลโตเชื่อว่า จะต้องมีความจริงที่อยู่เบื้องหลัง “โลกของวัตถุ” เขาเรียกความจริงนี้ว่า “โลกของแบบ” ความจริงที่ว่าโลกของแบบนั้น ประกอบด้วย “รูปแบบ” ที่เที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลง อยู่ด้วยตัวมันเอง
เครดิตภาพ: https://reformedforum.org
น่าจะใกล้ศัพท์ทางพุทธศาสนากับคำว่า อสังขตธรรม ซึ่งอยู่เบื้องหลังปรากฎการธรรมชาติต่างๆที่เราเห็น แนวคิดสุดติ่งนี้เราเรียกว่า ทฤษฎีแบบของเพลโตนั่นเอง
ด้วยแนวคิดของเพลโตได้ถูกต่อยอดให้กับอริสโตเติล(Aristotle) ลูกศิษย์ผู้ปราดเปรื่อง ของเขา แม้มีจะมีความเห็นต่างหลายประการในทฤษฎี"แบบ" ของเพลโต แต่ความคิดนี้เป็นโครงสร้างที่มีอิทธิพล และอัพเกรดต่อมาของปรัชญาตะวันตกยุคกลาง
อริสโตเติล (Aristotle)
กับแนวคิดเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า (The Existence of God) จากท่านนักบุญโทมัส อไควนัส (St. Thoman Aquinas) ที่นำการใช้ปรัชญาของอริสโตเติลมาสนับสนุนความเชื่อของทางศาสนาคริสต์ อย่างเป็นเหตุเป็นผล
นักบุญโทมัส อไควนัส (St. Thoman Aquinas)
ในทางพุทธสาสนาเองแม้จะไม่ได้มีกล่าวไว้ตรงๆในคัมภีร์หรือยืนยันแน่นอนทางวิชาการ แต่ข้อสังเกตุบางประการที่เรียกว่ากฎธรรมชาติ ในชื่อของธรรมนิยาม จากนิยาม๕
อนึ่งและมีแนวโน้มสอดคล้องกับหลักธรรมเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท และ อิทัปปัจจยตา กับคอนเซ็ปต์ที่ว่า เพราะมีสิ่งนั้นมี จึงมีสิ่งนี้ เพราะทำนี่ ไอ้นี่จึงเกิด
กฎในจักรวาลไม่ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม พุทธปรัชญามีความเชื่อว่า ไม่มีอะไรบังเอิญแน่นอน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ โดยปราศจากที่มาและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งอื่น สรพพสิ่งล้วนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอิงอาศัยกันและกันระหว่างความเป็นสาเหตุและอีกสิ่งหนึ่งเป็นผล ดังที่ปรากฎในคัมภีร์พุทธศาสนา
ทฤษฎี จิตนิยม ของเพลโต (Plato) ยังไม่จบเท่านี้ เด่วจะยาวไป...
ติดตามต่อใน Part3 ก็แล้วกันนะครับ เรื่อยๆใจเย็นๆ
ฝากทิ้งท้ายด้วยวลีเก๋ๆของเพลโต
"อย่าท้อใจ! ใครก็ตามที่ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าช้าแค่ไหน”
- เพลโต(Plato)-
แหล่งอ้างอิง
1. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาฯ.
2. ศ.ดร.วิทย์ วิศทเวทย์, ปรัชญาทั่วไป: มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต
3. ศ.ดร.สมัคร บุราวาส, ประวัติและปวงปรัชญาเมธี.
4. ศ.ดร.จำนง ทองประเสริฐ, ปรัชญาประยุกต์: ชุดตะวันตก
5. โยสไตน์ กอร์เดอร์, โลกของโซฟี.
6. วศิน อินทสระ, พุทธปรัชญาเถรวาท.
-วิรุฬหก-

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา