10 มิ.ย. 2020 เวลา 11:12 • ปรัชญา
จิตนิยม (Idealism) Part3
ปรัชญาฝ่ายจิตนิยมนั้นมีหลายสำนักทั้งฝั่งตะวันตก และตะวันออก
เราได้กล่าวถึงแนวคิดทางปรัชญาของเพลโต (Plato) ในPartก่อนหน้ามาพอสังเขป เพราะถือว่าเพลโต เป็นตัวพ่อระดับตำนาน
เพลโต (Plato)
ซึ่งปรัชญาของเขาเป็นการแสดงตัวอย่างของจิตนิยม(Idealism)ได้ชัดเจน
ซึ่งถ้าหากพิจณณาหลักสำคัญๆ ของจิตนิยมโดยทั่วๆไป โดยใช้ปรัชญาของเพลโตอธิบาย
สำหรับเพลโต(Plato) จักรวาลมีเนื้อแท้อยู่๒อย่างคือ
โลกที่เป็นแบบกับโลกของวัตถุ หรือสสารนั้นเราพอเข้าใจกันได้
แต่ “แบบ”(Form) ของเพลโตเข้าใจได้ไม่ง่ายนัก
เราจะแจกแจงลักษณะบางประการอาจจะทำให้เข้าใจได้ชัดขึ้น
แบบเป็นอสสาร
แบบไม่ใช่วัตถุ ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น รู้จักไม่ได้ด้วยประสาทสัมผัส เราเห็นนายแดง นายดำ เราจับต้องเขาได้ ถ้าเขาตัวเหม็นเราอาจได้กลิ่นเขาได้ แต่ความเป็นคนไม่มีตัวตน
สิ่งต่างๆที่เป็นวัตถุสสารในโลกนั้นเป็นที่ปรากฎตัวของแบบ เมื่อตาเนื้อเห็นสิ่งเหล่านี้ ตาแห่งจิตหรือปัญญาก็เห็นแบบที่แท้ได้ ทั้งนี้เพราจิตมนุษย์มีความสัมพันธ์กับกายคือประสาทสัมผัสทั้ง๕ เป้นผู้พิจารณาข้อมูลที่กายรู้จัก เมื่อประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆภายนอก ก็ทำให้จิตหยั่งเห็นสิ่งสากลหรือแบบที่แฝงตัวอยู่ในสิ่งเฉพาะเหล่านั้น
เครดิตภาพ: http://oknation.nationtv.tv/
เรามีทองอยู่ในมือซ้าย ขมิ้นอยู่ในมือขวา เราอาจคิดว่าตาเรา “เห็น” สีเหลือง แต่ความจริงไม่ใช่ ตาของท่านเห็นสิ่งหนึ่งที่ปรากฎอยู่ในทองแท่งนี้ ซึ่งเป็นสีที่ต่างจากกับที่ปรากฎในขมิ้นชิ้นนั้น
แต่สีที่ปรากฎอยู่ในสิ่งทั้งสองสิ่งนี้มิใช่สีเหลืองจริงๆ เป็นเพียงสีที่ใกล้เคียงกับสีเหลือง สีเหลืองที่แท้อันเป็น “แบบ”นั้น ตาของเราเห็นไม่ได้ ตาเห็นได้ก็แต่สิ่งที่ใกล้กับสีเหลือง นั่นคือสิ่งที่จำลองมาจากแบบ
ตาเราเห็นรูปถ่าย ซึ่งเป็นตัวแทนของคนๆหนึ่ง เอาตั้งแต่เด็กจนแก่ หลายๆรูป จิตของเราอาจจะหยั่งเห็นลักษณะจริง ซึ่งเป็นลักษณะร่วมของคนๆนั้น
กายจึงเป็นเพียงสะพานให้จิตหยั่งถึงแบบเท่านั้น ไม่ได้รู้จัก "แบบ"เลย
ในทัศนะของเพลโต แม้ว่าประสาทสัมผัสจะมีส่วนช่วยให้จิตเข้าถึงแบบ แต่ประสาทสัมผัสก็มักมีส่วนบิดเบือน ความเป็นจริงของแบบ เพราะสิ่งเฉพาะแต่ละสิ่งที่จำลองลออกมาจากแบบนั้น เป็นตัวแทนของแบบที่ไม่สมบูรณ์ ดังที่ยกตัวอย่างเรื่อง ขนมที่ออกมาจากแม่พิมพ์ ที่มีตำหนิมากน้อยต่างกัน ในPartที่๒นั่นแหละ ไปตามอ่านเอานะครับ เด่วแปะลิ้งค์ให้ท้ายบทความ
เครดิตภาพ: https://th.aliexpress.com
ประสาทสัมผัสมนุษย์มักชักจูงจิตไปสู่สิ่งที่มันชอบมากกว่าจูงไปหาสิ่งที่เป็นจริง ดังนั้นถ้าหากอยากรู้จักแบบอันแท้จริงหรืออยากรู้จักความจริงอันบริสุทธิ์ มนุษย์ควรแยกจิตออกจากร่างกาย ไตร่ตองหาความจริงด้วยตัวมันเอง
ด้วยปัญญาไม่ใช่ร่างกาย ซึ่งเป็นพาหนะที่แท้จะนำพาจิตไปสู่สัจจธรรม
ช่างปูมาเข้าทาง ศาสนาเสียเหลือเกิน หากเป็นสายเทวนิยม ตระกูลยูดาย ก็จะนำไปอัพเกรดต่อศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าเพราะพระองค์คือสัจจภาวะ เป็นแบบที่เที่ยงแท้ เป็นดั่งแม่พิมพ์ต้นกำเนิดสรรพสิ่ง
หากเป็นศาสนาอเทวนิยม อย่างศาสนาพุทธ(ปัจุบัน)แต่ก็ชอบDIY เป็นเซเลบ เจ้าพิธีกรรมกันซะเอง ถ้าไม่อวยกันเองเกินไป ก็จะหาดูได้ตามสำนักปฏิบัติวิปัสสนาสายต่างๆ ในไทยเองก็ มี ๕-๖สาย
1
เครดิตภาพ: https://www.pinterest.com
ต่างก็มีสไตล์เฉพาะตัว ยุบพองบ้าง พุทโธบ้าง สัมมาอะระหังบ้างล่ะ พิจารณาอสุภะ เพ่งกสิน เดินจงกลม บางที่ก็แอดวานส์ เป็นแบบกรรมฐานแบบdynamic โบกมือโบกไปมาเป็นจังหวะเพื่อกำหนดสติอะไรทำนองนี้
แต่ที่ว่านั้นก็เพื่อให้เกิดปัญญาญาณ และเมื่อได้ที่ดีแล้ว ก็จะเข้าถึงสัจจภาวะ -สัจจธรรม แม้ศัพท์ทางศาสนา ก็อาจจะเรียกต่างกันไป เช่น พระเจ้า โมกษะ นิพาน นิรวาน อาตมัน เป็นต้น แต่ที่เพลโต หมายถึงอาจเรียกว่า "แบบ" นั่นเอง
2
แต่แนวทางของศาสนาบางศาสนาไม่ได้ต้องการเข้าถึงแบบ หากแต่ต้องการหลุดพ้นจาก"แบบ"(From) หรือไม่... อันนี้ผู้อ่านลองพิจารณาเอาเอง...
1
เครดิตภาพ: https://www.bloggang.com
กลับมาที่เพลโต ก่อนที่จะเซออกข้างทาง เขาเชื่อว่าทุกสิ่งในธรรมชาติรอบตัวที่เราเห็นและจับต้องได้ไม่ต่างจากฟองสบู่ เพราะทุกสิ่งในโลกของความรู้สึกล้วนไม่ยั่งยืนแน่นอน เราทุกคนต่างก็รู้ว่าไม่วันใดวันหนึ่ง มนุษย์ทุกคนและสัตว์ทุกตัวจะต้องตายและถูกย่อยสลาย แม้แต่แท่งหิน หรือเหล็กก้อนใหญ่ๆ ก็ยังมีวันเปลี่ยนแปลง และสึกกร่อนที่ละน้อย
1
ประเด็นของเขาคือ แม้เราไม่มีทางเข้าถึงความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เรามีได้แค่ความเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่บนโลกประสาทสัมผัสและสิ่งที่จับต้องได้ เราจะสามารถมีความรู้ที่แท้จริงได้เฉพาะในสิ่งที่เราสามารถเข้าใจได้ด้วย"เหตุผล"
ในทัศนะทางจิตนิยม(Idealism) ของเพลโต เราไม่าสามารถไว้ใจประสาทสัมผัสของเราได้เสมอไป ความสามารถในการมองเห็นของแต่ละคนนั้นก็ย่อมแตกต่างกัน เราเพียงสามารถ ได้ภาพคร่าวๆของสิ่งต่างๆจากโลกในอุดมคติที่รับรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส แต่เราสามารถเข้าถึงความรู้ที่แท้จริงของสิ่งต่างๆ ที่เราเข้าใจด้วย"เหตุผล"
เครดิตภาพ :http://amsterdamnews.com
"แบบ"ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์คิดขึ้น แต่มีอยู่เป็นนิจนิรันดร์ แบบมิใช่เป็นสิ่งที่มนุษย์จินตนาการขึ้น แต่มีความเป็นจริงของตัวมันเองเป้นอิสระจากความคิดมนุษย์
1
บ้านที่เราคิดฝันอยากจะได้จากจินตนาการ พอหยุดคิดมันก็หายไปด้วย มันไม่ได้มีความเป็นจริงอยู่ในโลกภายนอก มีอยู่เฉพาะในความคิด ถ้าไม่มีใครคิดขึ้นมามันก็ไม่มี
แต่"แบบ" (Form) ในปรัชญาของเพลโต มิได้อยู่เฉพาะในความคิด
การใช้ความคิดอาจช่วยให้เราเข้าถึงมันได้ แต่ถึงเราเข้าไม่ถึงมัน
คือค้นมันไม่พบมันก็มีคุณสมบัติในตัวของมัน
เครดิตภาพ: https://th.aliexpress.com
ความกลม อันเป็น"แบบ"นั้นมีอยู่ดั้งเดิมก่อนที่มนุษย์จะค้นพบล้อ หรือทำหน้าปัดนาฬิกา ความดีก็มีอยู่ก่อนที่ นายธราดลจะเสี่ยงชีวิตเข้าไปช่วยพระจากไฟไหม้กุฏิ หรือนายธันรบช่วยตำรวจจับผู้ร้าย แม้จะไม่มีมนุษย์คนใดกระทำการอันสมควรพอที่เราจะเรียกว่าความดี และแม้สังคมจะอยู่กันในลักษณะที่ว่าไม่มีใครคิดถึงความดีเลย แต่...
"ความดี ก็คือความดี" ไม่ได้สูญไปไหน
มันมีอยู่เป็นนิจนิรันดร์
พร้อมที่จะถูกมนุษย์ค้นพบตลอดเวลา
1
ในทำนองเดียวกัน แม้ไม่มีล้อ ไม่มีลูกบอล ไม่มีสิ่งใดๆที่มีลักษณะกลมๆบนโลก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความกลมจะสูญหายไปด้วย
ผลบวกของมุมในสามเหลี่ยมต้องเป็น ๑๘๐ องศาวันยังค่ำ เช่นเดียวกับม้าในโลกของ"แบบ" จะเดินสี่ขาตลอดเวลา แม้ว่าในโลกของประสาทสัมผัส ม้าทั้งหมดจะขาหักไปข้างหนึ่งก็ตาม
เครดิตภาพ: https://variety.thaiza.com
การคิดและไตร่ตรองโดยไม่อาศัยประสาทสัมผัส
จึงเป็นลักษณะสำคัญของปรัชญาเพลโตที่เป็นลักษณะสำคัญของจิตนิยมทั่วไป คือจิตหรือวิญญาณมนุษย์มีสมรรถนะอย่างหนึ่งก็คือ "ปัญญาหรือเหตุผล" ถ้าจิตยึดมั่นในสรรถนะนี้ มนุษย์จะได้ความจริงที่สมบูรณ์ คือหยั่งถึงโลกของแบบในปรัชญาเพลโตนั่นเอง
1
เครดิตภาพ : https://www.health4senior.com
เรื่องจิตนิยม ยังไม่จบนะครับ ลงเยอะไปจะงง ไปกันช้าๆไม่ต้องรีบ ติดตามต่อ Partที่4 ครับ สำหรับท่านที่เพิ่งมาอ่านPart3 เด่วผมแปะลิ้งค์ Part๒-๑ ให้ครับ
แหล่งอ้างอิง
1. พระไตรปิฎกภาษาบาลี-ไทย. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
2. ศ.ดร.วิทย์ วิศทเวทย์, ปรัชญาทั่วไป: มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต
3. ศ.ดร.สมัคร บุราวาส, ประวัติและปวงปรัชญาเมธี.
4. ศ.ดร.จำนง ทองประเสริฐ, ปรัชญาประยุกต์: ชุดตะวันตก
5. โยสไตน์ กอร์เดอร์, โลกของโซฟี.
6. วศิน อินทสระ, พุทธปรัชญาเถรวาท.
7. ศปท, คู่มื่อปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฎฐาน๕สาย.
-วิรุฬหก-

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา