17 มิ.ย. 2020 เวลา 16:07 • ปรัชญา
จิตนิยม (Idealism) Part4
เบื้องหลังของทุกสิ่งที่มีอยู่รอบตัวนั้น เพลโต(Pato) เรียกสิ่งเหล่านี้ว่า"แบบ" ข้อสรุปของเขาก็คือมันต้องมีความจริงอยู่เบื้องหลัง "โลกของวัตถุ" ซึ่งเพลโต เขาเรียกความจริงนี้ว่า"โลกของแบบ"
1
จิตนิยม (Idealism) เพลโต(Pato) Part4
ซึ่งได้ปูเรื่องมาค่อนข้างละเอียด 3 Partแล้ว หากใครเพิ่งเข้ามาอ่านจะงงๆ ว่าเอ๊ะ อะไรยังไง ผมจะแปะลิ้งค์ไว้ให้ท้ายบทความละกัน
สำหรับเพลโตเขาเชื่อว่าความจริง แบ่งเป็นสองส่วน
ส่วนแรกคือโลกแห่งประสาทสัมผัส ซึ่งเราสามารถรู้ได้คร่าวๆ หรือไม่สมบูรณ์ ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า และในโลกของประสาทสัมผัส "ทุกสิ่งนั้นเลื่อนไหล" และ"ไม่มีอะไรเที่ยงแท้"
1
พูดง่ายๆว่าสิ่งตาดูหูฟัง จมูกดม กายสัมผัสนั้นเป็นสิ่งมายา
ไม่มีอะไรในโลกแห่งประสาทสัมผัสดำรงอยู่ มีเพียงสิ่งที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป...
1
อีกส่วนก็คือ "โลกของแบบ" ซึ่งเราสามารถเข้าถึงได้ด้วยการใช้"เหตุผล" โลกของแบบไม่สามารถเข้าถึงได้โดยใช้ประสาทสัมผัส
2
และ"แบบ" คือสิ่งที่เที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าพูดแบบพุทธ ก็คงจะบอกว่า เป็น "อสังฆตธรรม" อะไรทำนองนั้น
1
สำหรับเพลโต เขาคิดว่า มนุษย์เราเป็นสัตว์ที่มี "ทวิลักษณะ" คือเรามีร่างกายที่"เลื่อนไหล" ผูกติดกับโลกแห่งประสาทสัมผัสอย่างแยกไม่ออก มีชะตากรรมเช่นเดียวกับวัตถุทุกสิ่งบนโลก
1
ประสาทสัมผัสทั้งหมดที่มีในร่างกายนั้นเชื่อถือไม่ได้ ลองสังเกตุดูสิว่า หมา กับคนอยู่บนโลกเดียวกัน แต่บางอย่างรับรู้ไม่เหมือนกัน..
1
แต่เรามีวิญญาณอมตะ และวิญญาณนี้เองที่เป็นอาณาจักรของ"เหตุผล" ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สามารถเข้าถึงโลกของแบบได้ ถ้าพูดแบบฮินดู ก็จะเป็น"อาตมัน"และ"ปรมาตมัน"ก็คงพอได้มั้ง
1
เครดิตภาพ: https://iskconthailand.com
ในศาสนาคริสต์สิ่งนี้คือพระเจ้า ซึ่งจับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น แต่มีสภาพความเป็นจริงมากกว่า หรือว่าเท่ากัน
จิตนิยมบางสำนักอย่างเช่นของเฮเกล(Georg Wilhelm Friedrich Hegel) ถือว่าเนื้อแท้ของโลกคือสิ่งที่มีลักษณะเป็น"จิต"
วัตถุหรือสสารนั้นมีมาในภายหลัง เป็นเพียงการตัวออกของ"จิต"
ย็อช วิลเฮลม ฟริดริช เฮเกล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel)
ในปรัชญาของเพลโต นอกจากสสารแล้ว
อสสาร นั่นก็คือ"แบบ"
เป็นระบบความจริงอีกระบบนอกไปจากโลกของสสาร มิใช่เป็นเพียงมโนภาพ แต่มีความเป็นจริงในตัวมันเอง และเป็นความจริงที่อยู่เบื้องหลังโลกแห่งวัตถุ ดังที่กล่าวมานั่นเอง
1
จิตนิยม(Idealism) ถือว่าเนื้อแท้ของโลกในส่วนที่เป็นอสสาร มีส่วนที่มีลักษณะคล้าย"จิต"มีความเป็นนิรันดร์ ไม่เปลี่ยนแปลง แต่มันก็เป็นตัวอธิบายความเปลี่ยนแปลงโลกของวัตถุไปด้วยในตัว
แม้ว่าโลกวัตถุจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ไม่มีผลกับการดำรงสภาพของมัน ซึ่งพระเจ้าในศาสนาตระกูลยูดาย เช่น ศาสนาคริสต์และ "แบบ"ของเพลโต ก็มีลักษณะที่ว่านี้
1
จิตนิยมโดยทั่วไปถือว่า หน่วยความเป็นจริงที่เป็นอสสารหรือจิตนี้ เป็นหลักสำคัญ ที่ทำให็โลกของวัตถุโลกของสสารนี้มีระเบียบกฎเกณฑ์
1
ถ้าปราศจากส่วนที่เป็นนามธรรมหรือ อสสาร จะเรียกยังไงก็แล้วแต่ ความเป็นไปของโลกก็จะวุ่นวายสับสน...
1
เพราะงั้นในศาสนาคริสต์จึงถือว่า "พระเจ้า"คือต้นตอของความเป็นจริงที่มีในโลกนี้
เครดิตภาพ: http://www.romyenchurch.org
ในปรัชญาของเพลโต ถือว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกของวัตถุเป็นไปตามผัง หรือแบบแผน ซึ่งตายตัวที่มีอยู่ในโลกของแบบ
1
นิทานเรื่อง "ถ้ำ" "The Cave"
เพลโตใช้นิทานมาอธิบายแนวคิดนี้
ให้ลองนึกภาพคนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในถ้ำดูนะครับ
 
ในถ้ำนั้นพวกเขาหันหลังให้ปากถ้ำ ถูกมัดมือและเท้า และถูกทำให้หันไปในถ้ำได้ทางเดียว
ขณะเดียวกันด้านหลังของพวกเขาก็เป็นกำแพงสูง โดยที่หลังกำแพง มีการชูภาพต่างๆขึ้นเหนือกำแพง จะโดยบังเอิญหรือจงใจก็ตาม
ทำให้เกิดเงาที่สะท้อนจากกองไฟในถ้ำฉายไปที่ผนังถ้ำ ดังนั้นสิ่งเดียวที่มนุษย์ถ้ามองเห็นก็คือ เงาที่โลดเต้นเหล่านี้
เครดิตภาพ: https://web.facebook.com
การที่พวกเขานั่งอยู่ในท่านี้มาตั้งแต่เกิด พวกเขาก็เลยคิดว่าเงาเหล่านี้คือความจริง
1
สมมุติต่อไปอีกว่ามีมนุษย์ถ้าคนหนึ่ง สามารถปลดปล่อยตัวเองจากพันธนาการได้ สิ่งแรกที่เขาถามตัวเองคือ เงาที่ปรากฎบนผนังถ้ำนั้นมาจากไหน เมื่อหันกลับมาเห็นภาพต่างๆที่ชูเหนือกำแพง แรกสุดตาก็คงจะตาพร่าเพราะแสงสว่างจากดวงอาทิตย์
เคลิบเคลิ้มกับความชัดเจนของภาพ ซึ่งเขาเคยเห็นเพียงแค่เงา
2
เครดิตภาพ : https://storylog.co
ถ้าเขาปีนกำแพงออกไปสู่โลกภายนอกได้เขายิ่งประหลาดใจ หลังจากขยี้ตาตัวเองก็คงจะทึ่งกับความงามของทุกอย่าง
เพราะเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นสี เห็นรูปทรงต่างๆอย่างชัดเจน ได้เห็นสัตว์ต่างๆจริงๆ ดอกไม้จริงๆที่ทำให้เงาในถ้ำเป็นแค่ภาพสะท้อนอันพร่ามัว
และก็อาจจะถามตัวเองว่าสัตว์และดอกไม้เหล่านี้มาจากไหน...
เมื่อเเขาห็นดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ก็ตระหนักว่าไอ้ดวงกลมๆมีไฟลุกให้แสงสว่างนี้เองที่ให้ชีวิตแก่ดอกไม้และฝูงสัตว์
เหมือนไฟทำให้เกิดเงา...
มนุษย์ถ้ำผู้นี้มีความสุข หนีเข้าไปอยู่ในชนบทและดื่มด่ำกับเสรีภาพที่เขาค้นพบ แต่เขาคิดถึงคนที่ยังอยู่ในถ้ำ จึงย้อนกลับไป
1
ทันทีที่ไปถึงเขาก็พยายามโน้มน้าวให้มนุษย์ถ้ำคนอื่นเชื่อว่าเงาผนังถ้ำ จริงๆแล้วเป็นแค่
1
ภาพสะท้อนของ"สิ่งที่เป็นจริง"
1
แต่คนเหล่านั้นไม่เชื่อและบอกว่าเขาเพี้ยน และบอกเขาว่า
ภาพที่เห็นบนผนังถ้ำนั่นคือของจริงเว้ย!
1
เอ็งน่ะเพี้ยนแล้ว!!...
ท้ายที่สุดเขาก็โดนมนุษย์ถ้ำเหล่านั้นฆ่าตายซะงั้น...
1
เครดิตภาพ: https://www.the-tls.co.uk
สิ่งที่เพลโตพยายามจะบอกในนิทานเรื่องถ้ำก็คือ เส้นทางที่นักปรัชญาเดินทางจากเงาที่เลือนรางสู่"แบบ"ที่แท้จริง ซึ่งอยู่เบื้องหลังปรากฎการณ์ธรรมชาติทั้งปวง
1
ทำให้ผมนึกถึงหนังเรือง The Matrix เห็นว่าจะมีภาค๔ ด้วยนะ แหมมๆ
ภาพยนต์เรื่องThe Matrix ภาค๔ เครดิตภาพ:https://www.joblo.com
ประเด็นนี้เพลโตอาจจะคิดถึงครูของเขาคือ "โสเครตีส"(Socrates) ถูกมนุษย์ถ้ำ โดยเปรียบกับชาวเอเธนส์ ซึ่งรวมหัวกันกล่าวโทษและใช้กฎหมายตัดสินประหาร โดยให้ดื่มยาพิษ
1
ถือว่าเป็นการฆ่าโสเครตีสเพราะเขาไปท้าทายความเชื่อเดิม ทำให้อำนาจผู้มีบรรดาศักดิ์สั่นคลอน ซ้ำยังพยายามชี้ทางประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ มุ่งสู่ญาณทัสนะที่แท้จริง
1
ถ้าตีความมาแนวนี้นิทานเรื่องถ้ำนี่ก็สะท้อนความกล้าหาญและความรับผิดชอบในฐานะครูของโสเครตีส(Socrates)
1
โสเครตีส(Socrates)
ประเด็นของเพลโต คือความสัมพันธ์ระหว่างความมืดของถ้ำกับโลกข้างบน เหมือนความสัมพันธ์ระหว่างโลกวัตถุกับโลกของแบบ ไม่ได้หมายความว่าโลกธรรมชาติหรือโลกของวัตถุน่ากลัว
แต่ว่ามันน่าหวาดหวั่นเมื่อเทียบกับความชัดเจนของแบบ
1
สิ่งที่เราเห็น สัมผัสรับรู้ด้วยอายตนะ ความหมายมันเป็นเพียงแค่ภาพเงาสะท้อนเท่านั้นเอง....
2
เครดิตภาพ: https://www.amarinbabyandkids.com
ในมุมมองแนวคิดของจิตนิยมอีกอันคือ "อสสาร"หรือ "แบบ" จิตนิยมยังถือต่อไปว่า คุณค่า(Value) ทั้งที่วัดชั่งได้ และที่เป็นคุณค่าของ ความดีความงาม ความยุติธรรม คุณธรรมทั้งหลาย ที่มีอยู่ในโลกวัตถุ นั้นมีฐานรองรับมาจากโลกของแบบด้วย
1
คุณค่าเหล่านี้คนในโลกวัตถุอาจจะเห็นต่างกัน แต่ในโลกของแบบ เป็นคุณค่าที่มีจริงและตายตัว ซึ่งในส่วนนี้สอดคล้องกับแนวคิดทางจริยศาสตร์สัมบูรณ์นิยม(Absolutism)ของ อิมมานูเอิล ค้านท์ (Immanuel Kant) และพระพุทธศาสนาเถรวาท(ดั้งเดิม)
1
อิมมานูเอิล ค้านท์ (Immanuel Kant)
ในปรัชญาของเพลโต ความดี ความงาม ความยุติธรรมฯลฯ ต่างก็เป็นแบบซึ่งมีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเอง เป็นแม่บทที่ทำให้โลกมนุษย์ โลกแห่งวัตถุมีค่าต่างๆเหล่านี้
1
โครงสร้างของจักรวาลนอกจากจะมีสสารหรือวัตถุแล้ว ความดี ความงามก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างนี้ด้วย
1
ค่าของสิ่งเหล่านี้มีอยู่มาแต่เดิม มิใช่สิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นหรือตั้งขึ้นมา
1
แต่มนุษย์เพียงแค่อาจค้นพบค่าเหล่านี้นี่เอง คล้ายใน ปฏิจจสมุปปันนธรรมหรือ ธรรมนิยามสูตร ของพุทธสาสนา ที่ว่า ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง, ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา.
1
เครดิตภาพ: https://ภาพวิว.com
แปลและตีความโดยสรุป ก็คือ ตถาคต(พระพุทธเจ้า)จะมีหรือไม่มี จะเกิดหรือไม่เกิดมาก็ตาม กฏของธรธรรมชาติที่ควบคุมสรรพสิ่งนี้ ก็มีของมันอยู่ก่อนแล้ว นั่นเอง...
2
แหล่งอ้างอิง
1. พระไตรปิฎกภาษาบาลี-ไทย. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
2. ศ.ดร.วิทย์ วิศทเวทย์, ปรัชญาทั่วไป: มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต
3. ศ.ดร.สมัคร บุราวาส, ประวัติและปวงปรัชญาเมธี.
4. ศ.ดร.จำนง ทองประเสริฐ, ปรัชญาประยุกต์: ชุดตะวันตก
5. โยสไตน์ กอร์เดอร์, โลกของโซฟี.
6. วศิน อินทสระ, พุทธปรัชญาเถรวาท.
7. ศปท, คู่มื่อปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฎฐาน๕สาย.
-วิรุฬหก-

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา