29 ก.ค. 2020 เวลา 03:22 • หุ้น & เศรษฐกิจ
EP 25 4ซีอีโอบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่สหรัฐฯ เผชิญข้อกล่าวหาผูกขาดธุรกิจ
สัปดาห์ที่แล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 20 ก.ค.แล้วเราได้เห็นการพุ่งขึ้นของมูลค่าตามราคาตลาดหรือ Market Cap ของหุ้นเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ อย่าง Amazon, Tesla, Microsoft, Apple, Alphabet, Facebook, และ Netflix ทำให้มีมูลค่ารวมกันเพิ่มขึ้นมาถึง 291 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากราคาหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก และปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งนี้ทำให้เจ้าของกิจการขยับอันดับการเป็นมหาเศรษฐีระดับโลกขึ้นมาเพียงแค่วันเดียว ไม่ว่าจะเป็น Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon และอดีตภรรยาของเขา, Elon Musk เจ้าของ Tesla, Steve Ballmer อดีตผู้บริหาร Microsoft และ Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้ง Facebook
การปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะที่บริษัทอื่นๆพยายามดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่กลับโตสวนทาง
แต่วันนี้ สิ่งบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่กำลังเผชิญคือ บรรดาซีอีโอของหุ้นเทคโนโลยี กำลังจะต้องไปให้การต่อหน้าสภาคอนเกรส แน่นอนงานนี้ Tesla ไม่เกี่ยวค่ะ เราจะมาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะเหตุใดบริษัทเหล่านี้จะต้องมาชี้แจงการดำเนินธุรกิจตามกฎหมายต่อต้านการผูกขาด หรือ Antitrust Law
หากย้อนไปเมื่อ 22ปีที่แล้วในปี พ.ศ. 2541 Bill Gates ต้องมาให้การต่อหน้าสภาคอนเกรสจากข้อกล่าวหาที่ว่าเอาเปรียบในด้านการแข่งขัน ซึ่งเขาก็ให้การว่า Microsoft ได้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่น่าทึ่งในราคาที่ผู้บริโภคสามารถซื้อได้ อีกทั้งยังเพิ่มการสร้างงาน สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจมากกกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ และยังทำให้สหรัฐฯเป็นประเทศผู้นำด้านนวัตกรรม กรณีดังกล่าว คือจุดเปลี่ยนสำคัญของเศรษฐกิจยุคดิจิทัล หรือ Digital Economy และเป็นที่กล่าวขานมาอีกหลายปี
และล่าสุดสภาคอนเกรสเตรียมที่จะจัดการกับหุ้นเทคยักษ์ใหญ่ในยุคปัจจุบัน ซึ่งประกอบไปด้วย Amazon, Apple, Facebook, Alphabet ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของGoogle โดยเทคโนโลยียักษ์ใหญ่สี่บริษัทนี้มีมูล่ารวมกัน 5 ล้านล้านดอลลาร์หรัฐ ส่วน Microsoft เองซึ่งยังเป็นแม่แรงหลักในอุตสาหกรรม ได้หลีกเลี่ยงการสอบสวนในกรณีกฎหมายต่อต้านการผูกขาด ซึ่งมุ่งเน้นที่ธรกิจที่บริษัทไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง อย่างเช่นการโฆษณาดิจิทัล หรือ Digital Advertising
ซีอีโอของทั้งสี่บริษัท ซึ่งสองในสี่นั้นคือบุคคลที่รวยที่สุดในโลก จะต้องมาให้การต่อคณะกรรมาธิการด้านการยุติธรรมแห่งสภาผู้แทนราษฎร (House Judiciary Committee) เพื่อตอบข้อกล่าวหาของแต่ละบริษัทที่ว่าบริษัททั้งสี่เป็นผู้นำตลาดมากเกินไป หรือส่งผลกระทบต่อการแข่งขัน ซึ่งบริษัทเหล่านี้ไม่ได้ให้บริการอย่างเดียว แต่เป็นเจ้าของสาธารณูปโภคด้านอินเทอร์เน็ต และใช้สถานะดังกล่าวแบบเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
1
ยกตัวอย่างข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อAmazon ที่ว่ามีการโปรโมทสินค้าของตนเองมากกว่าสินค้าของรายอื่นๆใน Marketplace ของ Amazon
หรือ Apple ที่เรียกเก็บเงิน30% จากแอพลิเคชั่นที่ใช้ App Store ของ Apple และข้อร้องเรียนจากผู้ทำแอพลิเคชั่นคือ แล้วพวกเขาจะไปขายแอพลิเคชั่นที่ไหนในเมื่อทั้งApple และ Google ซึ่งเป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการทั้ง IOS และAndriodตามลำดับ ครอบคลุมผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลก ซึ่งถือเป็นการควบคุมตลาด และเป็นผู้ที่กำหนดการเก็บค่าบริการนั้นๆ
ยิ่งไปกว่านั้น Google เองยังเป็นเจ้าของเครื่องมือค้นหา หรือ. Search Engine ที่ใช้มากที่สุดในโลก ถูกกล่าวหาว่าปิดบังการค้นหาของคู่แข่ง ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าไม่ควรมีบริษัทใดที่จะมีอำนาจในการควบคุมในส่วนที่สำคัญบนอินเทอร์เน็ต
ส่วน Facebook ถูกกล่าวหาว่าครอบงำการโฆษณาดิจิทัล ซึ่งทำให้มีข้อสงสัยว่ากำลังกำจัดสื่อเล็กๆด้วยการดึงรายได้ค่าโฆษณา และซื้อสตาร์ทอัพเล็กๆเพื่อมาหนุนบริการของตนเองในด้านผลการค้นหา
โดยกลยุทธ์ที่ทั้งสี่บริษัทถูกกล่าวหานั้นคือ. การลอกเลียนแบบความคิดของบริษัทอื่น การเข้าซื้อบริษัทที่เป็นภัยคุกคามบริษัทตนเอง และกำจัดบริษัทคู่แข่ง ซึ่งในแง่ของกฎหมายต่อต้านการผูกขาดที่ผ่านมา มุ่งเป้าไปที่ราคาผู้บริโภค โดยที่ผู้บริโภคต้องจ่ายราคาสูงขึ้นจากการที่ไม่มีการแข่งขัน ทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ
แต่กรณีของบริษัทเทคโนโลยี ข้อพิสูจน์ตามกฎหมายดังกล่าวยังเป็นที่ถกเถียง
ยกตัวอย่าง Facebook, Instagram, และ Whatsapp เป็นบริการที่ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดไ หรือ Amazon ก็มักจะให้มีราคาที่ต่ำลงเพื่อเอาชนะการแข่งขัน อีกอย่าง Googleก็ไม่ได้คิดค่าบริการSearch Engine ด้วย Youtube ซึ่งเป็นของ Google ก็ฟรี และแอพลิเคชั่นที่ดาวน์โหลดจาก iPhone ส่วนใหญ่ก็ฟรี
แต่นักวิจารณ์มองว่า บริษัทมเหล่านี้ทำร้ายผู้บริโภคในเรื่องการกำจัดบริษัทเล็กๆ และกดดันธุรกิจอื่นๆ ซึ่งข้อหานี้กำลังทำลายเศรษฐกิจ
ท้ายที่สุดหลักฐานที่ทั้งสี่บริษัทนำขึ้นมาโต้แย้งจะเป็นตัวกำหนดอนาคตของความสัมพันธ์ของบริษัทเหล่านี้กับรัฐบาลและผู้บริโภค และคาดว่าเรื่องคงไม่จบง่ายๆ
ติดตาม Youtubeได้ที่ https://youtu.be/HKV-Fl74Q7s
ที่มา:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา