13 ม.ค. 2021 เวลา 23:00 • สุขภาพ
มะเร็งปากมดลูก
1
มะเร็งปากมดลูกคืออะไร?
1
มะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุจากอะไรบ้าง?
สัญญาณเตือนมะเร็งปากมดลูก!!!
มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก คือ ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณมดลูก ช่องคลอด และช่องปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุจากอะไรบ้าง?
- การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย (อายุต่ำกว่า 17-18 ปี) เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่มีความไวต่อสารก่อมะเร็งสูง โดยเฉพาะ... เชื้อ HPV (Human Papilloma Virus )
1
- การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย เพราะทำให้โอกาสเสี่ยงติดเชื้อ HPV จากฝ่ายชายเพิ่มสูงขึ้น
1
- การมีบุตรหลายคน หรือมากกว่า 3 คนขึ้นไป โดยมีรายงานพบว่า...
การมีบุตรมากทำให้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกเพิ่มสูงขึ้น 2-3 เท่า
- การไม่รักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอด หรือปล่อยให้มีแผลอักเสบที่ปากมดลูกโดยไม่รักษา
- รับประทานยาคุมติดต่อกันเป็นเวลานาน (มากกว่า 5 ปี ความเสี่ยงยิ่งเพิ่มขึ้น)
พฤติกรรมอื่น ๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานผักผลไม้น้อยเกินไป
1
สัญญาณเตือนมะเร็งปากมดลูก!
- มีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างไม่ทราบสาเหตุ เช่น ขณะ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ หลังตรวจภายในยังคงมีเลือดออกจากช่องคลอด หลังหมดประจำเดือนแล้ว หรือประจำเดือนมากะปริดกะปรอยผิดปกติ
- มีตกขาวอย่างเห็นได้ชัด และอาจมีเลือดปน
- มีอาการเจ็บ ขณะมีเพศสัมพันธ์
- มีสารคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอดมากผิดปกติ หรืออาจปนเลือด
- ปัสสาวะบ่อย หรืออาจปวดบวม ปัสสาวะไม่ออก
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- เบื่ออาหาร ซูบผอม น้ำหนักลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
- ปวดท้องน้อย
โรคมะเร็งปากมดลูกแบ่งระยะได้ดังนี้...
ระยะที่ 0 : เซลล์มะเร็งยังอยู่บริเวณผิวส่วนบนของปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกในระยะ 0 เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า มะเร็งในจุดกำเนิด
ระยะที่ 1 : เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูก และเริ่มมีการลุกลาม
ระยะที่ 2 : เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าไปในช่องคลอด แต่ยังไม่ถึง 1/3 ของช่องคลอด หรืออาจลุกลามเข้าไปที่เนื้อเยื่อข้างปากมดลูก แต่ยังไม่ถึงผนังของเชิงกราน
ระยะที่ 3 : เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าไปถึง 1/3 ส่วนล่างของช่องคลอด หรือลุกลามไปถึงกระดูกเชิงกราน หรือไปกดทับท่อไต ทำให้เกิดการอุดตันของระบบปัสสาวะ
ระยะที่ 4 : เซลล์มะเร็งลามออกจากส่วนอวัยวะเพศ หรือผ่านกระดูกเชิงกรานลามเข้าไปในลำไส้ตรง และกระเพาะปัสสาวะโดยตรง หรือแม้กระทั่งลามไปบริเวณอื่น ๆ ที่ไกลออกไป
วิธีรักษา และป้องกัน โรคมะเร็งปากมดลูก
การผ่าตัดรักษา :
ในการรักษาโดยการผ่าตัดนั้น! จะใช้ในการรักษามะเร็งระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ขั้นต้น คือช่วงที่เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นบริเวณปากมดลูกและช่องคลอด
การใช้รังสีรักษา :
เป็นการรักษาสำหรับมะเร็งระยะที่ 2 ขึ้นไป หรือในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดรักษาหรือให้ยาเคมีบำบัดได้
การให้ยาเคมีบำบัด :
เป็นการรักษาสำหรับมะเร็งระยะลุกลาม โดยอาจใช้การให้ยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว หรือรักษาร่วมกับวิธีอื่น เช่น การใช้รังสี
การรักษาโรคนี้ขึ้นกับระยะของโรคดังที่กล่าวมาแล้ว....
หากเป็นระยะก่อนเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งปากมดลูกระยะต้น :
แพทย์อาจใช้การผ่าตัด ซึ่งผลการรักษาดีมากโอกาสหายสูงมาก
1
หากเป็นมะเร็งระยะกลาง :
การรักษาส่วนใหญ่ใช้การฉายรังสีรักษาร่วมกับให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งผลการรักษาดีพอสมควร
หากเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย :
การรักษาส่วนใหญ่ทำได้เพียงแค่ประคับประคองอาการ บำบัดอาการเจ็บปวดของผู้ป่วย ผลการรักษาไม่ดี
ผลข้างเคียงจากการรักษา
ขึ้นอยู่กับว่าได้รับการรักษาแบบใด
โดยทั่วไปหากรักษาด้วยการผ่าตัด ผู้ป่วยมักจะมีภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียง ในขณะผ่าตัด เช่น เสียเลือดมาก หรือหลังผ่าตัดใหม่ๆ เช่น แผลติดเชื้อ เป็นต้น
แต่หากเป็นการรักษาด้วยวิธีฉายรังสีรักษาส่วนใหญ่มีผลข้างเคียงมักจะเกิดในช่วงหลังรักษา 2-3 ปีขึ้นไป อาการที่อาจเกิดขึ้น เช่น ปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเลือด อย่างไรก็ตามก่อนทำการรักษาแพทย์จะแจ้งผลข้างเคียงของการรักษาให้ทราบก่อน
ส่วนการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด โดยทั่วไปจะเกิดผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย เม็ดเลือดขาวต่ำติดเชื้อโรคง่ายขึ้น อาจมีผมร่วงในการใช้ยาบางชนิด
ป้องกัน
สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วยการรับการตรวจภายในพร้อมตรวจแป๊ปสเมียร์ เพื่อตรวจหารอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง ทำให้ป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
1
#สาระจี๊ดจี๊ด
มะเร็งปากมดลูกมักจะเกิดในหญิงอายุประมาณ 50 ปี อีกทั้งผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจำนวนมากจะเป็นผู้หญิงที่แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย ตั้งครรภ์เร็ว คลอดบุตรหลายครั้ง และผู้ที่ติดเชื้อไวรัส HPV แต่ช่วงไม่กี่ปีมานี้ โรคมะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มที่จะเกิดกับหญิงที่อายุยังน้อยอีกด้วย
#สาระจี๊ดจี๊ด
ในปัจจุบันเริ่มมีการผลิตวัคซีนสำหรับป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ในขณะนี้ยังไม่สามารถป้องกันโรคได้ทั้งหมด
#สาระจี๊ดจี๊ด
มะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยพบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านม ประเทศไทยมีประชากรสตรีที่เสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก 26-27 ล้านคน มีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละประมาณ 10,000 ราย เสียชีวิตประมาณ 5,500 ราย
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา