8 เม.ย. 2021 เวลา 13:21 • ธุรกิจ
ทำไมเราไม่ควรหนีภาษี (เพราะหนียังไง ก็ไม่พ้น)
ปัจจุบันกรมสรรพากรได้มีการนำเทคโนโลยี เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล ที่เรียกว่าระบบ Data Analitics มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์สำหรับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
และกรมสรรพากรยังมีการเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงานขององค์กรให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การปรับเปลี่ยนรูปแบบจากกระดาษมาเป็นดิจิทัล แต่เป็นการเปลี่ยนกระบวนการทำงานทั้งหมด รวมถึงการทำงานของบุคลากรของกรมสรรพากรให้ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
💥 เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญเจ้าหน้าที่สรรพากรมีอำนาจสามารถเรียกตรวจสอบเราได้ หากเข้าเกณฑ์ที่ภาครัฐฯ กำหนด
นอกจากนี้เหตุผลง่ายๆ ที่เราไม่ควรหนีภาษี ก็คือ ค่าปรับภาษี ที่เกิดจากความจงใจ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความไม่รู้จริงๆ หรือจากเหตุผลใดก็ตาม แต่เราไม่สามารถปฏิเสธความผิดจากความไม่รู้ได้ เพราะนี่คือกฎหมาย
1
หากเมื่อไรที่หวยมาตกที่เรา เราจะรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ ขึ้นมาทันที เพราะอย่างที่เรารู้ดีจากผู้ประกอบการที่เคยโดนมาแล้ว ว่ามันมีความน่าเกรงกลัวขนาดไหน
 
และหากได้ยินคำว่าค่าปรับภาษี ทุกคนคงจะต้องคิดในใจว่า ต้องอ่วมแน่ๆ เพราะค่าปรับโหดสุดๆ แล้วที่ว่าค่าปรับโหดนั้น เขามีอัตราที่ต้องจ่ายเท่าไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ
ในการเรียกเก็บค่าปรับภาษีนั้น จะมีอัตราการจ่ายไม่เท่ากัน ซึ่งจะแบ่งตามประเภทภาษีที่ต้องจ่าย ดังนี้
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
⛳ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50, ภงด.51)
หากยื่นแบบเกินกำหนดเวลา ล่าช้า หรือไม่ได้ยื่นงบการเงิน จะมีค่าปรับ เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับ ดังนี้
1. ค่าปรับอาญา
- ยื่นแบบเกินกำหนด ไม่เกิน 2,000 บาท (ปกติต้องยื่นภงด.50 ภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบบัญชี)
- ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 1,000 บาท
- ยื่นแบบเกิน 7 วัน 2,000 บาท
- ไม่ยื่นงบการเงิน 2,000 บาท
หมายเหตุ : หากยื่นแบบเกินกำหนดมากกว่า 7 วัน จะมีค่าปรับยื่นแบบเกินกำหนด 2,000 บาท และค่าปรับไม่ยื่นงบอีก 2,000 บาท เท่ากับว่า กรณีนี้ท่านจะต้องเสียค่าปรับอาญาทั้งสิ้น 4,000 บาท
2. เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) ของภาษีที่ต้องชำระ
3. อายุความเปรียบเทียบปรับอาญา 1 ปี
**กรณียื่นแบบ ภงด.50 จะต้องยื่นพร้อมงบการเงิน แนบประกอบการยื่นแบบดังกล่าว
⛳ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)
1
หากยื่นแบบเกินกำหนดเวลา จะมีค่าปรับ เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับ ดังนี้
1. ค่าปรับอาญา (จะต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
- ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับแบบ 300 บาท
- ยื่นแบบเกิน 7 วัน ค่าปรับแบบ 500 บาท
2. เงินเพิ่ม จะมีเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
- ไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนด
- เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) ไม่รวมเบี้ยปรับ
- อธิบดีอนุมัติให้ขยายเวลา ให้ลดเหลือ 0.75% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
- เริ่มนับเมื่อพ้นเวลายื่นแบบฯ ถึงวันชำระ
- เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษี
- หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม
3. ค่าเบี้ยปรับ มีเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
- ประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียน เบี้ยปรับ 2 เท่า หรือเงิน 1 พันบาทต่อเดือน แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
- มิได้ยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลา เบี้ยปรับ 2 เท่า
- ยื่นแบบฯ ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่จะต้องเสียคลาดเคลื่อนไป เบี้ยปรับ 1 เท่า
- ยื่นแบบฯ ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้ภาษีขายหรือภาษีซื้อคลาดเคลื่อนไป เบี้ยปรับ 1 เท่า
1
- กรณีผู้เสียภาษีได้ยื่นแบบฯ โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนเป็นหนังสือ ตามกรณีที่กล่าวมาข้างต้น ให้ลดเบี้ยปรับลง ตามอัตราดังนี้
- มิได้จัดทำใบกำกับภาษี และส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เบี้ยปรับ 2 เท่า
- ออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิ์ออก เบี้ยปรับ 2 เท่า
- นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ เบี้ยปรับ 2 เท่า
- มิได้เก็บสำเนาใบกำกับภาษีขาย เบี้ยปรับ 2% ของภาษีตามใบกำกับ
- มิได้เก็บใบกำกับภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษี เบี้ยปรับ 2% ของภาษีที่นำมาเครดิต
- มิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เบี้ยปรับ 2 เท่า
💥 หมายเหตุ : ขอเพิ่มเติมในส่วนของใบกำกับภาษีปลอม
👉 กรณีของผู้ออกใบกำกับภาษีปลอม มีโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี (1 ใบกำกับภาษีปลอม = 1 กระทง)
👉 กรณีของผู้นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ มีโทษทั้งทางอาญาและทางแพ่ง โดยทางอาญามีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท และโทษทางแพ่ง ต้องเสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของเงินภาษี และเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5% ต่อเดือน
1
ตัวอย่าง การคิดเงินเพิ่มเบี้ยปรับ กรณีเคยยื่นแบบไว้แล้ว แต่ยื่นเพิ่มเติมภายในกำหนดเวลา
กรณีเคยยื่นแบบไว้แล้ว แต่ยื่นเพิ่มเติมภายในกำหนดเวลาไม่เกิน 15 วัน
⛳ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1, 2, 3, 53, 54)
หากยื่นแบบเกินกำหนดเวลา จะมีค่าปรับ และเงินเพิ่ม ดังนี้
1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
– ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 100 บาท
– ยื่นแบบเกิน 7 วัน 200 บาท
2. เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระ
⛳ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.90, 91, 94)
หากยื่นแบบเกินกำหนดเวลา จะมีค่าปรับ และเงินเพิ่ม ดังนี้
1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
– ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 100 บาท
– ยื่นแบบเกิน 7 วัน 200 บาท
2. เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระ
จะสังเกตได้ว่า ค่าปรับเกี่ยวกับภาษีที่หนักที่สุด ก็คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะเป็นภาษีทางอ้อมที่เรียกเก็บจากประชาชนทุกคนที่ซื้อสินค้าหรือบริการ และภาษีประเภทนี้ ไม่ได้เรียกเก็บโดยตรงจากผู้ประกอบการ เพียงแต่ผู้ประกอบการเป็นตัวกลางนำส่งภาษีให้สรรพากรเท่านั้น
1
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นภาษีประเภทไหนก็แล้วแต่ เราควรทำความเข้าใจถึงหลักการและวิธีการชำระภาษีให้ถูกต้องเสียแต่แรก ยังดีกว่าที่จะต้องมาโดนภาษีจากการถูกสรรพากรประเมิน และต้องโดนค่าปรับ เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับอีกจำนวนมาก ยิ่งในยุคปัจจุบันสรรพากรมีระบบทางเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการระบบภาษีได้ดียิ่งขึ้นไปอีก ยังไงก็หนียากแล้วค่ะ
💦.....ดังนั้น ต่อให้เราจะหลีกเลี่ยง หลบหลีก หรือพยายามหนีมันอย่างไร สุดท้ายระบบจะช่วยจัดการให้มันเข้าที่เข้าทางในเร็ววันข้างหน้านี้ค่ะ จึงเป็นคำขึ้นต้นบทความว่า ทำไมเราไม่ควรหนีภาษี (เพราะหนียังไง ก็ไม่พ้น) นั่นเองค่ะ
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
สามารถเยี่ยมชมเราผ่านช่องทางอื่นตามลิ้งข้างล่างนี้ค่ะ :
ขอบคุณกำลังใจและการติดตามนะคะ ทุกการอ่าน ไลค์ แชร์ หรือคอมเม้นท์มีความหมายเสมอค่ะ ❤❤🙏🙏❤❤

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา