14 เม.ย. 2021 เวลา 02:09 • สุขภาพ
รู้จักกับ “Food Addiction” มาเช็คกัน!!! คุณกำลังมี “ภาวะติดอาหาร” อยู่หรือไม่?
ติดกันงอมแงมเลยทีเดียว
ในปัจจุบันหลายคนมีแนวโน้มในการกินอาหารที่มีแคลอรี่สูง และรสหวานมากขึ้น จนเกิดเป็นพฤติกรรม ”ติด” ได้ และเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดภาวะอ้วนหรือน้ําหนักเกินได้นั่นเอง
ภาวะติดอาหาร (Food Addiction) เป็นเรื่องที่มีการกล่าวถึงในต่างประเทศในช่วงประมาณสิบปีที่ผ่านมา
โดยภาวะติดอาหารนั้นหมายถึง พฤติกรรมที่สัมพันธ์กับอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ทําให้เกิดการกินมากเกินความจําเป็น และไม่สามารถควบคุมการกินอาหารชนิดนั้น ๆ ได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลอรี่สูง และมีการศึกษาพบว่าผู้ที่มีภาวะติดอาหารสัมพันธ์กับการมีน้ําหนักเกิน และโรคซึมเศร้า นอกจากนี้การมีภาวะติดอาหาร ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิต การทํางาน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้างอีกด้วย
1
ชาไข่มุกนี่ก็กินกันจัง!!! อิอิ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะติดอาหาร
ในปี พ.ศ. 2547 Pelchat ML. และคณะ ได้ทําการศึกษาการตอบสนองของสมองในกลุ่มที่มีภาวะอยากอาหารรุนแรง พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมอง ส่วน hippocampus, insula และ caudate ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกันกับผู้ที่ติดสารเสพติด และจากการทดสอบหลายครั้ง ได้พบว่ามีปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะติดอาหารดังนี้
1
1. ปัจจัยส่วนบุคคล (personal factors)
พบว่าภาวะนี้เกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยอาหารส่วนใหญ่ที่ทำให้ติดนั้นมักจะเป็นของหวาน จากการศึกษาของ Wang GJ. และคณะ พบว่าการทํางานของระบบสมองในผู้หญิงนั้นมีความแตกต่างกับผู้ชายในด้านการยับยั้งความอยากอาหาร ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ผู้หญิงมีภาวะติดอาหาร และน้ําหนักเกินมาตรฐานที่มากกว่าผู้ชาย
1
ภาวะนี้ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายนะ
ความนับถือตนเองต่ำ (low self-esteem) นั้นก็สัมพันธ์กับภาวะติดอาหาร โดยพบว่าในคนที่มีภาวะติดอาหาร มีความนับถือตนเองค่อนข้างต่ำ อาจเนื่องมาจากคนที่มีภาวะติดอาหารมักสัมพันธ์กับการมีน้ำหนักเกิน ทําให้ขาดความมั่นใจในตนเอง และคนที่มีความนับถือตนเองต่ำมักมีแนวโน้มที่จะติดสิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย
1
จอง!!!
ระดับการศึกษา (education level) ก็มีผลต่อภาวะติดอาหารเช่นกัน โดยพบว่าความชุกของภาวะติดอาหารจะลดลงในกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูง และคนที่มีระดับการศึกษาสูงมีแนวโน้ม ในการเลือกบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าคนที่มีระดับการศึกษาต่ำ
1
นอกจากนี้ยังพบว่าภาวะติดอาหารสัมพันธ์กับการนอนที่ไม่ได้คุณภาพอีกด้วยเช่นกัน
2. ปัจจัยด้านสังคม และวัฒนธรรม (socio-cultural factors)
ปัจจัยในครอบครัว เช่น พฤติกรรมการกินของพ่อแม่ และความกดดันภายในครอบครัวสัมพันธ์กับภาวะติดอาหารในเด็ก
1
ก็เล่นกินกันตั้งแต่เล็กแต่น้อย
นอกจากนี้ยังพบว่าความเครียดมีผลต่อการบริโภคอาหารที่ทําให้เกิดความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้หญิง
ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Kim O. และคณะ ที่พบว่าการทํางานกะทําให้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการกิน อาทิ ระยะเวลาความถี่ในการกิน และชนิดของอาหาร พบว่าในคนที่ทํางานกะมีการบริโภคอาหาร ประเภทไขมัน และคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น และคนที่ทำงานกะกลางคืนมีแนวโน้มที่มีน้ําหนักเกินหรือมีภาวะอ้วน ลงพุงสูง
1
สอดคล้องกับการศึกษาของ Greer SM. และคณะ ที่ได้ทําการศึกษาผลของการอดนอนกับ ความอยากอาหาร พบว่าการอดนอนทําให้ความอยากอาหารโดยเฉพาะอาหารที่มีแคลอรี่สูงเพิ่มมากขึ้น มีการศึกษาพบว่าการอดนอน และการปรับของนาฬิกาชีวิตที่ผิดปกติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการติดสารบางชนิดด้วยเช่นกัน
1
3. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (environmental factors)
ยืดเชียว ไม่บอกก็รู้ว่าอร่อยแน่
อาหารในปัจจุบันเน้นที่มีรสชาติอร่อย (palatable food) มีแคลอรี่สูง ซึ่งพบว่าการกินอาหารที่มีทั้งไขมัน และน้ำตาลสูงมีผลต่อโดปามีน (dopamine) ทําให้เกิดความพึงพอใจ นอกจากนี้การบริโภคอาหารที่มีรสอร่อยปริมาณมาก และบ่อยครั้งอาจมีผลต่อการปรับตัวของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับความเครียด และระบบรางวัลของสมอง (brain reward and stress pathways) ทําให้มีอาการซึมเศร้าหรือกระวนกระวายเมื่อไม่ได้บริโภคอาหารนั้น ๆ ได้ ซึ่งนําไปสู่ภาวะติดอาหาร
1
อาหย่อย!!!
นอกจากนี้พฤติกรรมของเพื่อนร่วมงาน และลักษณะงานก็มีผลต่อการกินเช่นกัน
กินไป-ทำงานไป ไม่เหลือ!!!
ภาวะติดอาหารมักจะเกิดกับอาหารประเภทใด?
ฟาสฟู้ดหนึ่งในผู้ต้องหาใหญ่
อันที่จริงไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทไหนก็ทำให้เรามีภาวะติดอาหารได้ แต่ส่วนใหญ่เรามักจะเสพติดอาหารที่มีน้ำตาลสูง อย่างขนมหวาน อาทิ ช็อกโกแลต คุกกี้ เบเกอรี่ ฯลฯ รวมทั้งอาหารที่มีความเค็ม และไขมันสูง อย่าง หมูปิ้ง ไก่ทอด มันฝรั่งทอด ขนมขบเคี้ยว ซอสปรุงรสต่าง ๆ ฯลฯ เพราะเมื่อเรากินเข้าไปแล้วจะทำให้สมองหลั่งสารที่ทำให้เรามีความสุขออกมา จนเกิดการเสพติดอย่างที่กล่าวไปแล้วนั่นเอง
1
ภาวะติดอาหารอาการเป็นอย่างไร?
1. เลือกซื้ออาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
1
ข้าวเหนียว-หมูปิ้ง กินมันอยู่นั่นล่ะ!!!
2. กินอาหารชนิดนั้นในปริมาณมากกว่าที่วางแผนไว้ หรือกินได้เรื่อย ๆ ไม่อยากหยุดกิน
1
3. มีความรู้สึกอยากกินอาหารชนิดนั้น ๆ มากกว่าอาหารชนิดอื่น
4. กินอาหารชนิดนั้นแม้ว่าจะไม่หิวเลยก็ตาม
1
5. แม้จะรู้สึกว่าอิ่มแล้วแต่ก็ยังไม่อยากที่จะหยุดกินอาหารชนิดนั้น
1
กินมันเข้าไป!!!
6. จะไม่หยุดกินอาหารชนิดนั้นจนกว่าจะอิ่มถึงที่สุดแล้วจริง ๆ
1
7. เมื่อไม่ได้กินอาหารชนิดนั้นจะทำให้จิตใจไม่เป็นสุข เกิดความหงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย หรือมีอาการทางร่างกาย อาทิ ปวดหัว มือสั่น ใจสั่น หน้ามืด เป็นต้น
8. ขาดสมาธิเมื่อไม่ได้กินอาหารชนิดนั้น ๆ
1
9. มีข้ออ้างหรือเหตุผลในการกินอาหารชนิดนั้น ๆ อยู่เสมอ
1
ก็มันอร่อยอะ
10. รู้สึกผิดหลังกินเสร็จแล้ว แต่ไม่นานก็มีพฤติกรรมกินแบบเดิม ๆ อยู่เรื่อยไป
2
ผลกระทบของภาวะติดอาหาร
ภาวะติดอาหารทําให้มีความต้องการบริโภคอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างมาก เช่น อาหารที่มีไขมัน และคาร์โบไฮเดรตสูง ซึ่งมีผลต่อสุขภาพในระยะยาว ผู้ที่มีภาวะติดอาหารมีความสัมพันธ์กับการมีน้ําหนักเกิน และยังทําให้ผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือน้ําหนักเกินที่สามารถลดน้ําหนักลงได้กลับมามีน้ําหนักเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ผู้ที่มีภาวะนี้ในบางครั้งก็พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นปัญหาทําให้สามารถงดอาหารชนิดนั้นได้ในระยะเวลาสั้น ๆ แต่เป็นการเพิ่มความต้องการ และกลับมาบริโภคมากขึ้นอีก ทั้งภาวะติดอาหารยังมีผลต่ออารมณ์ และความพึงพอใจเมื่อได้กิน และทําให้มีอาการซึมเศร้าหรือกระวนกระวายเมื่อไม่ได้กินอาหารชนิดนั้น ๆ
1
ได้พบว่ากลุ่มผู้หญิงที่มีภาวะติดอาหาร มีโรคซึมเศร้ามากกว่ากลุ่มท่ีไม่มีภาวะติดอาหาร นอกจากน้ีผู้ที่มีภาวะติดอาหารอาจมีปัญหาในการทํากิจกรรมกับ ครอบครัว เพื่อน หรือมีผลต่อการทํางาน เนื่องจากความต้องการในการบริโภคอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างรุนแรง ทําให้มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ และงานที่ทําอยู่ได้
1
กินเยอะไปเดี๋ยวก็เศร้าหรอก!!!
แนวทางการแก้ไขภาวะติดอาหาร
1. วางแผนการกินในแต่ละวัน และพยายามกินให้ได้ตามแผนที่วางไว้
1
2. ลดปริมาณการกินอาหารที่มีภาวะติดให้น้อยลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนกว่าจะเป็นปกติ
1
3. พยายามเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์มากกว่าอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น หากติดการดื่มน้ำหวาน อาจเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเป็นผลไม้รสหวานแทน และกินผลไม้ที่ไม่หวานร่วมด้วย
1
เปลี่ยนไปกินอาหารที่มีประโยชน์ทดแทน
4. จดบันทึกพฤติกรรมการกินในแต่ละวัน แล้วลองเช็กความถี่ในการกินอาหารชนิดเดิม ๆ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม
1
5. ถามตัวเองก่อนที่จะกินอาหารที่มีภาวะติดว่า ต้องการจริง ๆ หรือไม่ และต้องการปริมาณเท่าใดถึงจะพอ การถามตัวเองก่อนจะช่วยลดปริมาณความอยากอาหารลงได้
1
ยับยั้งชั่งใจบ้าง
6. พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการซื้อหาหรือมีอาหารที่มีภาวะติดอยู่
1
พาตัวเองมาอยู่ในดงเบเกอรี่ก็เรียบร้อย!!!
7. ใช้การพูดสร้างแรงบันดาลใจ การตั้งกลุ่มเพื่อพูดคุย และการบําบัดแนวคิดกับพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) ร่วมกับคนอื่น ๆ
1
8. พบแพทย์ เพื่อปรึกษาหาสาเหตุ และทำการรักษา ในกรณีที่อาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ หรือมีแนวโน้มที่แย่ลง
ภาวะติดอาหารแม้จะฟังดูไม่น่ากลัวเหมือนการติดยาเสพติด แต่ก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นกัน ดังนั้น หากเราสามารถที่จะลดภาวะติดอาหารโดยเฉพาะอาหารที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายได้แล้ว ก็จะทำให้เรามีความสุขกับการกินอาหารได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น และทำให้สุขภาพดีตามมานั่นเอง
1
เข้มแข็งไว้เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ยืนยันว่าบทความของผมไม่ใช่คำตอบ หรือบทสรุปที่ดีที่สุด ทุกท่านควรใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการรับข้อมูลด้วยนะครับ
1
ขอบคุณทุกการตอบรับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตาม ไลค์ คอมเมนท์ หรือว่าแชร์ ทุกกำลังใจสำคัญสำหรับผมเสมอ
ขอบคุณครับ
แล้วพบกันใหม่ในโพสต์หน้า
สวัสดีครับ
ขอบคุณที่มา
โฆษณา