4 พ.ค. 2021 เวลา 03:50 • สุขภาพ
ตรรกะวิบัติกับการฉีดวัคซีน ตอนที่ 2: การโจมตีที่ตัวบุคคล (Ad Hominem Attack)
3
วันนี้เรามาต่อกันที่ตรรกะวิบัติรูปแบบที่ 2 ที่ผมได้มีโอกาสได้ยินด้วยตัวเอง และมีผู้ใช้บ่อย โดยเฉพาะเวลาที่คุยถึงเรื่องของการเลือกวัคซีน
เวลาที่คนแสดงความคิดเห็นในเรื่องของวัคซีน คนเรามักจะเผลอใช้การโจมตีที่ตัวบุคคล ซึ่งเป็นการใช้ตรรกะที่ไม่ถูกต้อง เพราะเหตุ และผล จริงๆ แล้วไม่ได้มีความสัมพันธ์โดยตรงแต่อย่างใด และเป็นอีกหนึ่งใน "ตรรกะวิบัติ" ที่ไม่ควรเชื่อถือ
5
การโจมตีที่ตัวบุคคลมีหลายรูปแบบในการโจมตี หากจะให้ยกรูปแบบลักษณะการโจมตีพร้อมตัวอย่าง คงพอยกได้ตามนี้
Circumstantial เป็นการโจมตีความน่าเชื่อถือของตัวผู้พูด เพราะผู้พูดมีคุณสมบัติ เช่น งานที่ทำ หน่วยงานที่สังกัด ระดับรายได้ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
2
- หมอคนนี้ไม่น่าเชื่อถือ เพราะทำงานให้กับรัฐบาล หรือเป็นคนของรัฐบาล
- หมอทวีศิลป์ไม่น่าเชื่อถือ เพราะเป็นโฆษก ศบค. รัฐบาล ก็ต้องทำตามที่รัฐบาลสั่งอยู่แล้ว
Appeal to motive เป็นการโจมตีโดยการกล่าวตู่ว่า ผู้พูดมีแรงจูงใจ จึงพูดเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น
- หมอก็อยากจะได้เงินอยู่แล้ว ถึงพยายามชักจูงให้ประชาชนไปฉีดวัคซีน
Guilt by association เป็นการโจมตีโดนการกล่าวหาว่าผู้พูดเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีชื่อเสียงไม่ดี ตัวอย่างเช่น
1
- ผู้บริหารของบริษัทหนึ่งออกมาชักชวนไปให้คนฉีดวัคซีน และมีคนออกมาบอกว่า ไม่ควรไปฉีดวัคซีน และไม่ควรเชื่อผู้บริหารท่านนั้น เพราะบริษัทนั้นมีการใช้วัคซีนในสัตว์มาก และทำไปเพื่อผลกำไรของบริษัท
Poisoning the well เป็นการใช้วิธีที่พยายามลดความน่าเชื่อถือ
- วัคซีนนี้ผลิตในประเทศไทย อย่าฉีดเลย ผลิตออกมาไม่มีมาตรฐานแน่ๆ
1
Tu quoque เป็นการโจมตีในลักษณะที่ใช้คำอ้างว่า "คุณก็เหมือนกันแหล่ะ" เป็นหลักในการโจมตี เช่น
1
- บริษัทหนึ่งนำเข้าวัคซีนตัวหนึ่งมาในประเทศไทย แล้วมีคนถามว่า แล้วทั้งบ้านของครอบครัวของเจ้าของบริษัทฉีดวัคซีนของบริษัททั้งบ้านแล้วหรือยัง
2
ตรรกะวิบัติในลักษณะเหล่านี้ หากเราได้ยินได้ฟัง ไม่ควรนำข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบในการตัดสินใจเลยนะครับ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่ควรเชื่อทั้งสิ้น และควรจะใช้วิจารณญาณเยอะๆ ในการตัดสินใจครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา