6 พ.ค. 2021 เวลา 03:18 • สุขภาพ
ตรรกะวิบัติกับวัคซีน ตอนที่ 3: Strawman Argument
2
วันนี้เรามาต่อกันที่ "ตรรกะวิบัติ" แบบที่ 3 นั่นก็คือสิ่งที่เรียกว่า Strawman Argument หรือที่มีคนพยายามนิยามศัพท์นี้เป็นภาษาไทยว่า "การทับถมจุดอ่อน"
2
Strawman Argument คือ การบิดเบือนประเด็นข้อถกเถียงหนึ่งให้เป็นอีกประเด็นหนึ่งอย่างนิ่มๆ ซึ่งคนฟังอย่างผิวเผินอาจจะถูกชักจูงให้คิดไปได้ว่าเหมือนประเด็นเดิม ภาษาอังกฤษจึงใช้คำว่า "หุ่นฟาง" (Strawman) เพราะมันเหมือนกับการสร้างหุ่นฟางขึ้นมาให้เป็นที่น่าสนใจของคนฟัง เสร็จแล้วก็ใช้วาทศิลป์ของตัวเองในการทำลายหุ่นไล่กานั้น ทำให้ผู้ฟังเกิดความคล้อยตาม และคิดว่าผู้โต้แย้งสามารถโต้แย้งประเด็นที่กำลังถกเถียงได้ ทั้งๆ ที่ประเด็นที่เพิ่งถูกผู้โต้แย้งหักล้างนั้นกลับเป็นเรื่องอื่น ตัวอย่างที่ดีในเรื่องของการถกเถียงกันเรื่องวัคซีน มีมากมายเลยนะครับ ตัวอย่างเช่น
2
นาย A: เราไม่ควรฉีดวัคซีนเลยนะ
นาย B: ทำไมล่ะ
นาย A: อ้าว ก็หมอ C เนี่ยเค้าออกมาเชียร์วัคซีนปาวๆ แต่ไม่ได้เป็นหมอหัวใจ ยังงี้ไม่รู้เรื่องผลข้างเคียงหรอก
การตรวจสอบ: หมอ C พูดอะไรไม่ได้มีผลเกี่ยวกับคุณสมบัติของวัคซีนเลย การตัดสินใจการฉีดวัคซีน ควรที่จะไปดูข้อดี ข้อเสียของวัคซีนจริงๆ มากกว่า
นาย A: ผมไม่ฉีดหรอกนะวัคซีน วัคซีนผลิตโดยบริษัทยาหน้าเลือด เอาแต่ให้คนฉีดวัคซีนจะได้เงินเยอะๆ ฉีดไปเดี๋ยวมันก็เลี้ยงไข้ ให้ฉีดไปเรื่อยๆ
การตรวจสอบ: การฉีดวัคซีนเป็นไปเพื่อลดอัตราการติดเชื้อ ไม่ว่าผู้ผลิตจะเป็นใคร ไม่ได้ทำให้เราควรฉีด หรือไม่ควรฉีด
1
วิธีการถกเถียงหรือหาเหตุผลสนับสนุนในรูปแบบนี้ มักจะได้รับความนิยมในการใช้ และมักจะได้ผล โดยเฉพาะในหมู่ผู้ฟังที่ไม่ได้คิดอะไรมาก และไม่ได้ตั้งใจฟังการถกเถียงสักเท่าไหร่ จะเผลอคล้อยตามเหตุผลโดยง่าย
หากไม่ต้องการตกเป็นเหยื่อของการถกเถียงในลักษณะนี้ เราจะต้องคอยสังเกตประเด็นให้ดี และอย่าเผลอหลงประเด็นตามผู้พูดครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา