20 พ.ค. 2021 เวลา 05:58 • ไลฟ์สไตล์
🇹🇭 ผลของวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) และแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) ที่วิจัยในประชากรไทย (รวบรวมข้อมูลจากคุณหมอ)
2
🔕 [กรุณาอ่านให้จบและ Comment อย่างสุภาพ] อย่าเพิ่งเชื่อประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวคจากคำบอกเล่า หรือ Social Media และบทความนี้เองผมก็ได้รวบรวมข้อมูลมาจากคุณหมอ ท้ายบทความจะให้ link กลับไปที่ต้นฉบับอ้างอิง โดยเบื้องต้นของบทความนี้จะสรุปให้ฟังครับ
ย้ำครับ! Comment อย่างสุภาพชน
ประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) กับแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca)เป็นที่พูดถึงหลายแง่ หลายด้าน แต่ที่เราต้องฟังกันจริงๆ คือ ข้อมูลที่ทดสอบกับประชากรคนไทย ข้อมูลนี้ผมได้รับมาจากเพจ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี และ infographic นี้บอกว่าประสิทธิภาพของ​ Sinovac สร้างภูมิคุ้มกันได้ 99.49% จากการศึกษาในผู้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม จำนวน 197 คน
⚠ วิธีการวัดค่าประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันทำอย่างไร?
หลังจากฉีดวัคซีน ครบแต่ละเข็ม คุณหมอก็จะเก็บข้อมูลจากเลือด เพื่อวัดค่าภูมิต้านทานจากการกระตุ้นภูมิ (วิธีการวัดค่ามีหลายอย่าง เช่น นับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวแบบต่างๆ) แพทย์ที่อธิบายการศึกษาเรื่องนี้ได้ดีคือนักไวรัสวิทยา
🧑‍🔬 นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นใน FB fanpage วันที่ 8 พฤษภาคม 64 เอาไว้อย่างชัดเจน (เข้าไปดูได้จากลิ้งก์อ้างอิง 1 ครับ)
ที่คุณหมอย้ำคือ การฉีดวัคซีน คือการกระตุ้นภูมิ ไม่ได้บอกประสิทธิภาพป้องกันโรค แต่เป็นการบอกภูมิต้านทานที่ได้รับหลังฉีดวัคซีน
1
ตารางนี้เทียบหา "ภูมิคุ้มกัน" ระหว่าง "ผู้รับวัคซีน" กับ "ผู้ป่วยที่เคยป่วยโควิด"
✅ กราฟสีส้ม ผู้ที่หายจากโควิด 4-6 สัปดาห์ มี %Seropositive 92.4%
✅ กราฟสีเหลือง คือผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด Sinovac ครบ 2 เข็มในเดือนแรก มี %Seropositive 99.4%
✅ กราฟสีแดง คือผ้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca 1 เข็ม ในเดือนแรก มี %Seropositive 98.3%
🇹🇭 ทั้งหมดนี้ศึกษาในคนไทย ซึ่งเป็นการแสดงผลวัคซีนกับเลือดและร่างกายแบบคนไทย ดังนั้นข้อมูลนี้จึงน่าเชื่อถือกว่าคำพูดที่ไม่มีการอ้างอิง
ที่มา : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=303220334652839&id=108692177438990
ที่มา : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=303220334652839&id=108692177438990
อย่างไรก็ดี คำแนะนำก่อนฉีดวัคซีน ที่ควรรู้ก่อนไปฉีด ตามแบบคัดกรองมักจะถามถึง..
💉 โรคประจำตัว
💉 การเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลมาแล้วกี่วัน
💉 ประวัติแพ้ยา
💉 ประวัติแพ้วัคซีน
อีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจคือ ผู้หญิง ไปฉีดช่วงมีประจำเดือนได้หรือเปล่า?
ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha เขียนไว้ในเพจไว้ค่อนข้างละเอียด ลองเข้าไปอ่านดูครับ >> https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/4439290816104438
ใครที่กำลังจะไปฉีดวัคซีน ควรอ่านคำแนะนำการฉีดวัคซีน ตามนี้ครับ
ดาวน์โหลด >> http://ssss.network/2uq08
2
ขอบคุณที่แวะมาครับ
20.05.2021
ที่มา :
2. ฉีดวัคซีนโควิด ผู้หญิงอาจเลี่ยงช่วงมีประจำเดือน ก่อน-หลัง 7 วัน https://www.thairath.co.th/news/local/2077728

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา