28 ก.ค. 2021 เวลา 10:29 • ธุรกิจ
ธุรกิจมีกี่ประเภท? อะไรบ้าง?
หลายท่านที่อยากจะเริ่มต้นธุรกิจเป็นของตนเอง แต่อาจจะยังแยกประเภทธุรกิจไม่ออก ว่ามีกี่ประเภทกันแน่ และต่างกันยังไงบ้าง วันนี้ก็เลยชวนมาเรียนรู้กันค่ะ
การแบ่งประเภทธุรกิจของกิจการช่วยให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ และปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง และยังเป็นการรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่กิจการแต่ละประเภทควรจะได้รับอีกด้วย
1
โดยทั่วไปแล้วประเภทของธุรกิจ จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ธุรกิจซื้อมาขายไป
ธุรกิจแบบซื้อมาขายไป หรือธุรกิจพาณิชยกรรม คือ ประเภทธุรกิจ ที่เราเห็นกันทั่ว ๆ ไป เป็นลักษณะที่กิจการซื้อสินค้าสำเร็จรูปมาแล้วขายสินค้าออกไปสู่ผู้บริโภค
1
ธุรกิจประเภทนี้ ต้นทุนเกือบทั้งหมดเกิดจากต้นทุนในการซื้อสินค้า ทำให้การจัดการรายจ่ายและต้นทุนค่อนข้างง่าย ไม่ซับซ้อน เพราะไม่มีต้นทุนทางการผลิต รายได้ธุรกิจส่วนใหญ่มาจากรายได้จากการขาย
1
และในสายธุรกิจนี้ ยังสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภท คือ
- ธุรกิจค้าส่ง คือ การขายสินค้าให้กับกิจการค้าปลีก หรือกิจการค้าส่งด้วยกัน
1
- ธุรกิจค้าปลีก คือ ธุรกิจที่ขายสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง
1
2. ธุรกิจผลิต
เป็นธุรกิจอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจการหลักเกี่ยวกับการผลิต มีการซื้อวัตถุดิบ เพื่อนำเข้ากระบวนการผลิต ใช้แรงงานและค่าใช้จ่ายในการผลิต เพื่อผ่านกระบวนการออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป
1
รายได้ของธุรกิจมาจากการขายสินค้าที่ผลิต การคำนวณต้นทุนการผลิตค่อนข้างซับซ้อน แตกต่างกันไปตามลักษณะของสินค้าของธุรกิจนั้น
1
3. ธุรกิจบริการ
เป็นประเภทของธุรกิจที่ดำเนินกิจการแลกเปลี่ยนสินค้าที่ไม่เป็นตัวตน หรือที่เรียกว่า บริการ มักอยู่ในรูปแบบของแรงงานที่ต้องใช้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านความพึงพอใจและความคาดหวัง
1
รายได้มาจากค่าบริการ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าบริการ และค่าเช่า และต้นทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของแรงงาน
1
เกณฑ์การแบ่งขนาดของธุรกิจ
สามารถแบ่งขนาดธุรกิจออกโดยใช้ปัจจัยต่อไปนี้
– แยกประเภทธุรกิจตามขนาดเงินลงทุน
– แยกประเภทธุรกิจตามจำนวนการจ้างงาน
– แยกประเภทธุรกิจตามยอดขาย
– แยกประเภทธุรกิจตามมูลค่าทรัพย์สินถาวร
1
ซึ่งในประเทศไทย ได้มีการแบ่งประเภทตามขนาดธุรกิจด้วยหลักเกณฑ์ดังภาพต่อไปนี้
โดยมูลค่าสินทรัพย์ถาวร : พิจารณาจาก
ก. มูลค่าสินทรัพย์ถาวรสุทธิไม่รวมที่ดิน ตามที่ปรากฏในงบการเงินล่าสุดของกิจการที่ได้จัดทำขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
ข. มูลค่าสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดิน ตามที่ได้รับการประเมินจากสถาบันการเงินหรือบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินที่น่าเชื่อถือ
ในกรณีที่มูลค่าสินทรัพย์ถาวรสุทธิตาม ก. และ ข. ต่างกัน ให้ถือจำนวนที่น้อยกว่าเป็นมูลค่าสินทรัพย์ถาวร
💦.....ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนทำธุรกิจประเภทใด สิ่งที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึง คือ ขีดความสามารถของตนเอง ข้อจำกัดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนแรงงาน และเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ และก่อนการลงทุนควรศึกษาทำความเข้าใจในธุรกิจเป็นอย่างดีก่อนตัดสินใจลงทุนใดๆ เสมอทุกครั้งนะคะ
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
สามารถเยี่ยมชมเราผ่านช่องทางอื่นตามลิ้งข้างล่างนี้ค่ะ :
ขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มีให้กันเสมอค่ะ
🌷🌷❤❤🙏🙏🙏🙏❤❤🌷🌷

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา