27 ก.ค. 2021 เวลา 02:54 • สุขภาพ
โรคไม่พูดบางสถานการณ์ (Selective Mutism) คือ
การที่ไม่ยอมพูดในสถานการณ์บางอย่าง ทั้งๆที่สามารถพูดได้ปกติในสถานการณ์อื่น แต่ถึงแม้ว่าจะไม่พูด ก็มักจะมีการสื่อสารโดยวิธีอื่น เช่น ภาษาท่าทาง วาดรูป พยักหน้า ส่ายหัว เป็นต้น
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่เด็กกลุ่มนี้ไม่พูดเพราะโกรธที่ถูกตำหนิหรือถูกลงโทษ เมื่อบังคับให้พูด ก็ดูเหมือนเด็กยิ่งไม่ให้ความร่วมมือ ทั้งๆที่การไม่พูด ก็เป็นเพียงแค่วิธีหนึ่งที่เด็กใช้เพื่อลดความเขินอายและความวิตกกังวลในการเข้าสังคม
พบค่อนข้างน้อย (น้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้มารับบริการคลินิกสุขภาพจิต) พบในเพศหญิง มากกว่าเพศชาย และพบว่าส่วนใหญ่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยหรือสูงกว่า มักเริ่มมีอาการในช่วงที่เข้าโรงเรียน พบบ่อยช่วงอายุ 3-8 ปี และถ้าอายุ 12 ปีขึ้นไป แล้วยังมีอาการอยู่เหมือนเดิม มักมีการพยากรณ์โรคไม่ค่อยดีนัก
สาเหตุ โรคไม่พูดบางสถานการณ์
มีความเชื่อใน 2 แนวทาง คือ มองว่าเป็นปัญหาความล่าช้าของพัฒนาการ หรือเป็นปัญหาด้านจิตใจ ในเรื่องของความวิตกกังวล ซึ่งมีลักษณะคล้ายอาการกลัวกิจกรรมทางสังคม (Social Phobia) ในผู้ใหญ่
ปัจจัยทางด้านร่างกาย และระบบประสาท จากผลการศึกษาพบว่า มีปัญหาพัฒนาการร่วมด้วย และตรวจพบมีคลื่นไฟฟ้าสมองแบบที่ยังไม่พัฒนาตามวัย (Electroencephalogram Immaturity)
อาการ โรคไม่พูดบางสถานการณ์
อาการที่พบส่วนใหญ่คือ ไม่ยอมพูดเลยที่โรงเรียน (โรคกลัวโรงเรียน) หรือไม่ยอมพูดเมื่ออยู่นอกบ้าน โดยเฉพาะกับผู้ใหญ่ คนที่ไม่คุ้นเคย แต่พออยู่ที่บ้านสามารถพูดกับพี่น้อง และพ่อแม่ได้ปกติ พบว่าเด็กมักมีลักษณะขี้อาย กลัวทำเรื่องน่าอายต่อหน้าคนอื่น มีพฤติกรรมเก็บกด (Behavioral Inhibition) อาจมีความบกพร่องในการสื่อสารอื่นๆร่วมด้วย เช่น พูดติดอ่าง พูดไม่ชัด ปัญหาการเข้าใจภาษา
การรักษา โรคไม่พูดบางสถานการณ์
แนะนำให้เด็กมารับการประเมิน
เลือกงานให้เหมาะสมกับเด็ก
หลีกเลี่ยงการให้รางวัล/การลงโทษ
พาเด็กออกจากจุดสนใจของผู้คน
ใช้การสนทนาทางอ้อม
อนุญาตให้เด็กรักษาภาษาท้องถิ่นของตัวเองได้
ให้เด็กลองคิดวิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
การให้คำปรึกษา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา