15 ธ.ค. 2021 เวลา 06:34 • การเมือง
ความเอนเอียงของการหาคำตอบ confirmation bias ในทางความเชื่อ และการเมือง
Bias คือ อคติที่เป็นพื้นฐานทางความคิดที่ทำให้เกิการตีความจากปัจจัยต่างๆ ในทางจิตวิทยาอาชญากรรม มี Cognitive Bias 4 ประเภท คือ Stereotypes, Schemas, Halo effect และ Confirmation ซึ่งแต่ละ Bias จะได้อธิบายในโอกาสต่อไป
confirmation bias เป็นอคติที่ผู้เขียนสนใจที่จะนำมาอธิบายเหตุผลที่ทำให้คนสามารถเชื่อหรือเชื่อมโยง ความคิดเชิงทัศนคติรวมเข้ากับความเชื่อ ศาสนา หรือการเมือง โดยพื้นฐานขอคนเรามีความคิดริเริ่มเป็นคนของตัวเองโดยปราศจากปัจจัยที่จะมากระทบให้เกิดความเชื่อใหม่
เราจะเชื่อในสิ่งที่ได้รับการปลูกฝังเอาไว้ตั้งแต่เด็ก จนเมื่อวันหนึ่งมีปัจจัยบางอย่างมากระทบให้ความเชื่อนั้นแตกสลายลง ความเชื่อใหม่ที่ถูกแทนที่ความเชื่อเดิม เช่น คนที่นับถือศาสนาพุทธ ที่ศรัทธาถูกทำลายลงจากนักบวชที่มีพฤติกรรมแตกต่างจากที่เขารับรู้, ผู้คนสมัยก่อนที่มีความเชื่อว่าโลกแบน จนกระทั่งถูกทำลายความเชื่อนั้นลงด้วยการเดินทางรอบโลก หรือ คนในสังคมที่ได้ตื่นจากการบริหารงานที่ล้มเหลวโดยรัฐ
แต่จะมีคนที่ใช้ Confirmatiom Biasในการหาคำตอบให้กับความเชื่อ ศาสนา และการเมืองในแบบที่ตนชื่นชอบแม้ว่าจะมีปัจจัยมากระทบต่อสิ่งเหล่านั้นก็ตาม กล่าวคือ
(1)ความเชื่อ เป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ให้ผู้คนทำในสิ่งที่มหัศจรรย์ แต่ความเชื่อที่เราได้เชื่ออยู่นั้นสามารถหาเหตุผลใดมารองรับมันหรือไม่ หากความเชื่อปราศจากเหตุผลก็จะถูกตีตราว่าเป็นความงมงายทันที ความเชื่อที่ประกอบไปด้วยปัญญาการหาเหตุผลมารองรับถึงจะถูกเรียกว่าศรัทธา
ขออ้างถึงกาลามสูตร ในพุทธศาสนาที่กล่าวถึงสิ่งไม่ควรเชื่อ 10 ประการ คือ
1. มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟัง ๆ ตามกันมาหรือเพียงใครพูดให้ฟัง
2. มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมาอย่างยาวนาน
3. มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือหรือคนส่วนใหญ่เชื่อกัน
4. มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือมีในคัมภีร์
5. มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
6. มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน (คาดคะเน) และการเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาปะติดปะต่อกัน
7. มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อเพราะการเห็นด้วยตา หรือตามลักษณะอาการที่แสดงออกมาน่าจะเป็นไปได้
8. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีหรือทิฏฐิของตนหรือตามอคติในใจ
9. มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อเพราะผู้พูดน่าเชื่อถือ หรือเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือเพราะเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง
10. มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะเคารพนับถือว่าคนพูดเป็นสมณะผู้นำทางจิตวิญญาณของเรา เป็นครูของเรา เป็นศาสดาของเรา
เมื่อใดก็ตามที่มีเหตุผลซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกเข้ามาเปลี่ยนแปลงความเชื่อของเรานั้น เรารับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร คนบางกลุ่มเลือกที่จะใช้ confirmation bias ในการปิดกั้นปัจจัยเหตุผลใหม่ แต่รับรู้ความเชื่อเดิม โดยหาข้ออ้างหรือเหตุผลอื่นเพื่อมาอธิบายความเชื่อของตนอย่างไม่สนโลกที่เคลื่อนไป หรืออีกนัยหนึ่งคนเหล่านั้นอาจไม่หาเหตุผลเพื่อหักล้างหรือสนับสนุนความเชื่อของตนเลยด้วยซ้ำ แต่เลือกที่จะปลงใจเชื่ออย่างนั้น เพราะไม่เห็นว่าตนจะเสียผลประโยชน์หรือจะได้ประโยชน์อะไรจากการเปลี่ยนแปลง
(2) การเมือง เป็นเรื่องที่พูดได้ไม่ถนัดปากในสังคมไทยปัจจุบันนี้ เพราะความแตกแยกทางความคิดที่ชัดเจนขึ้นของฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา โดยไม่สนใจความสมานฉันท์ คือ ถ้าฝั่งหนึ่งถูกอีกฝั่งหนึ่งถือว่าผิด ต่างฝ่ายต่างมีธงในใจ และสร้างBiasขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่รับข้อมูลอื่นนอกจากข้อมูลที่เข้าข้างฝั่งของตน confirmation bias จึงถูกนำมาใช้ในทันที กล่าวคือ คนที่มีวามเชื่อแบบขวาจัดก็จะรับฟังข้อมูลข่าวสารเพียงแต่ที่ให้ความรู้สึกด้านบวกต่อฝั่งของตน แม้ฝั่งซ้ายจะเสนอข้อมูลใดๆที่หักล้างข้อมูลฝั่งขวาได้ ก็ไม่เป็นผลที่จะทำให้ฝั่งขวาเปลี่ยนใจ เพราะการใช่ความลำเอียงในอคติส่วนตัวของแต่ละฝั่ง ถ้ามองเผินๆปัญหาเรื่องการสร้าง confirmation bias นั้นส่งผลกระทบต่อการเปิดใจในการสมานฉันท์ของทั้งสองฝ่าย ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างมากในการอยู่ร่วมกันในสังคม
เราสามารถเรียนรู้ตัวตนของเราให้เปิดรับทุกครั้งเมื่อมีเหตุผลที่มากพอจะรองรับหรือเปลี่ยนแปลงอคติภายในตัวเราเอง การตั้งคำถามสมมุติฐานแล้วหาเหตุผลเพื่อรองรับนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำมากกว่าการเชื่อและปิดกั้นการรับฟังจากภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง"ความเอนเอียงของการหาคำตอบ confirmation bias"
โฆษณา