24 ธ.ค. 2021 เวลา 03:15 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รีวิว ETF ตอนที่ 4 IXJ | by หนีดอย
💰 ETF แบบ Passive ที่ลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น บริษัทยา และผู้ผลิตเครื่องมือการแพทย์ ผ่านกองทุน iShares Global Healthcare ETF
3
💰 หลังจากรีวิวที่แล้ว เราได้พูดถึง ETF กันไปแล้วว่าคืออะไร มีจุดเด่นจุดด้อยที่ต่างจากหุ้นหรือกองทุนอย่างไร ในบทความนี้ ผมจะนำ ETF ที่ลงทุนในกลุ่มสุขภาพที่นับเป็นปัจจัย 4 ของคนเรามารีวิวให้อ่านกันต่อครับ
ที่มา novelinvestor.com/asset-class-returns/
🚩 หากพิจารณาผลตอบแทนในอดีตในกลุ่ม S&P500 Healthcare index แล้วนั้น จากรูปข้างบนที่อยู่ในแถบสีม่วงจะพบว่า มีทั้งอยู่ในอันดับ 1 และบางปีก็อยู่อันดับสุดท้ายครับ แต่ผลตอบแทนเฉลี่ยโดยภาพรวมตั้งแต่ 2007-2021 (30 มิถุนายน 2021) นั้น จะพบว่าผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี ไม่ธรรมดาครับ อยู่ที่ 11% เป็นรอง S&P 500 Consumer Discretionary index ที่ 13.05% และ S&P 500 Information Technology Index ที่ 15.21%
🚩โดยจะเห็นว่าในช่วงที่ผลตอบแทนแย่สุดๆนั้น กลุ่มสุขภาพก็ติดลบไม่หนักเท่า 2 กลุ่มแรกที่ติดลบกัน 33.5% และ 43.1% ตามลำดับ โดยกลุ่มสุขภาพมีการติดลบอยู่ที่ 22.8% ซึ่งเป็นรองแค่ Consumer Staples index ที่ติดลบ 15.4% ผมจึงสรุปได้ว่า การลงทุนในสุขภาพมีความผันผวนค่อนข้างน้อยเทียบกับกลุ่มอื่นๆ แต่ให้ผลตอบแทนที่ดีได้เป็นลำดับต้นๆครับ
🚩 ผมนำเอาข้อมูลจาก Fidelity เพื่อมาแบ่งผลตอบแทนย้อนหลังโดยจำแนกเป็น sector ต่างๆ ตามรูป ก็ยังพบว่าใน 10 ปี Healthcare สามารถเอาชนะผลตอบแทน S&P500 index ได้อยู่ราวๆ 25% ครับ https://eresearch.fidelity.com/eresearch/markets_sectors/sectors/si_performance.jhtml?tab=siperformance
💰 การแบ่งประเภทของ Healthcare อาจแบ่งได้ 6 อย่างหลักๆ ได้แก่
1. Pharmaceuticals : ยาต่างๆ ในรูปแบบ ยากิน ยาฉีด หรือ ยาทา
2. Biotechnology : คือเทคโนโลยี ที่นำเอาความรู้ในด้านต่างๆทางวิทยาศาสตร์มาใช้กับสิ่งมีชีวิตเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์
3. Health care equipment & supplies : เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์
4. Health care providers & services : ผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพ เช่น โรงพบาบาล บ้านพักผู้สูงอายุ
5. Life sciences tools & services : เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตและการบริการที่เกี่ยวข้อง
6. Health care technology : เทคโนโลยีทางด้านสุขภาพ
2
🚩ทีนี้เรานำเอาประเภทของกลุ่ม Healthcare มาแบ่งแยกย่อยออกไป เพื่อดูว่าผลตอบแทนระยะยาวๆ กลุ่มไหนคือผู้ชนะ ในกรณีนี้ถ้าเป็น 5 ปี จะพบว่า
Life sciences tools & services > Health care equipment & supplies > Health care providers & services > Pharmaceuticals > Health care technology > Biotechnology
หมายเหตุ : ตัวเลขที่เห็นเป็นตัวเลขในอดีต ไม่การันตีผลงานในอนาคต
🚩Megatrend ในอนาคตทางด้านสุขภาพ ที่จะกลายเป็น Aging society หรือสังคมผู้สูงอายุ โดยสรุปเป็นหัวข้อได้ดังนี้
1. ประชากรผู้สูงอายุจะมีจำนวนมากขึ้น ตามมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บที่มากขึ้น และค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพที่สูงขึ้น
2. ประชากรจะมีอายุขัยยืนยาวมากขึ้น
3. การพัฒนาของเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ทำให้ผลิตยาได้เร็วกว่าเดิม มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ตรวจพบเจอโรคได้เร็วกว่าเดิม
จากข้อมูลของทางศูนย์วิจัยกสิกร ในปี 2021 คาดการณ์ว่าในปี 2030 หรืออีก 9 ปีข้างหน้า ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ และทราบหรือไม่ว่าเมื่อผู้สูงอายุมีอายุเกิน 65 ปี ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการรักษาพยาบาล จะเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงอายุก่อนหน้า เฉลี่ยถึง 3 เท่า (อ้างอิงข้อมูลจากรายงานของ Janus Henderson knowledge share 2020)
ถ้าการลงทุนเป็นการมองหาสิ่งที่จะเติบโตต่อไปได้ดีในอนาคต การลงทุนในด้านสุขภาพ ก็น่าตรงกับเงื่อนไขที่ว่าได้
💰 แล้วถ้าอยากลงทุนในภาพรวมของ Healthcare ทั้งหมดมี ETF อะไรบ้าง ผมนำตัวอย่าง ETF แบบ Broad Healthcare จะมีดังนี้
IXJ : Invesco S&P 500® Equal Weight Health Care ETF ***
XLV : Health Care Select Sector SPDR Fund
VHT : Vanguard Health Care ETF
IYH : iShares U.S. Healthcare ETF
FHLC : Fidelity MSCI Health Care Index ETF
FXH : First Trust Health Care AlphaDEX Fund
RYH : Invesco S&P 500® Equal Weight Health Care ETF
1
💰 มาดูข้อมูล ETF : IXJ แบบเจาะลึกกันครับ จากเวปไซต์ทางการ (https://www.ishares.com/us/products/239744/ishares-global-healthcare-etf )
Update : 9 Dec 2021
💰 กองทุนจะโฟกัสกับหุ้นทั่วโลกที่เกี่ยวกับสุขภาพในภาพรวม ครอบคลุม Pharmaceutical, Biotechnology และ Medical device
Update : 9 Dec 2021
💰 กองทุนนี้มี AUM ราวๆ 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ , จัดตั้งปี 2001
Benchmark Index : S&P Global 1200 healthcare sector index
Update : 9 Dec 2021
💰 ETF นี้ถือหุ้นอยู่ราวๆ 117 บริษัท ซึ่งถือว่าเยอะมาก แต่ก็ทำให้ผันผวนน้อยกว่า ETF ที่ถือหุ้นน้อยตัว โดย P/E ratio เฉลี่ยอยู่ที่ 29.41 ไม่ถือว่าน้อย แต่ก็ไม่ถือว่าสูงจนน่ากลัว ที่น่าสนใจคือค่า Beta 3 ปี ที่อยู่ระดับ 0.66 ตัวเลขนี้ยิ่งมากกว่า 1 จะยิ่งผันผวนกว่าดัชนีตลาดครับ และค่า SD อยู่ที่ 14.67% ซึ่งถือว่าไม่สูงเลย เทียบกับหุ้นเติบโต
Update : 9 Dec 2021
💰 Management Fee อยู่ที่ 0.43% ต่อปี
💰 ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี จะอยู่ระดับ 2 digit (11.62-18.05% ต่อปี) ล้อไปกับ Benchmark และหากเทียบตั้งแต่เปิดกองมา ก็อยู่ในระดับ 8% ต่อปี
💰 หากลงทุนระยะยิ่งยาวนาน ผลตอบแทนก็ยิ่งสูงขึ้นตามเมื่อเวลาผ่านไป เช่น กรณี 10 ปี ที่ 283.37% และ ตั้งแต่เปิด ETF มา คือ 361.68% ซึ่งหากเทียบกับการฝากเงินกินดอกเบี้ยที่ธนาคารแล้ว ยังไม่พบว่ามีผลตอบแทนที่สูงเช่นนี้เลยในการฝากเงิน
💰 แต่ทั้งนี้ผลตอบแทนก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นบวกได้ทุกๆปี อย่างปี 2016 ผลตอบแทน ETF ก็ออกมาติดลบได้เช่นกัน และผลตอบแทนปี 2018 ก็น้อยมากๆ เมื่อเทียบกับปี 2017, 2019 และ 2020 ที่ทำผลงานได้แบบเลข 2 digit
💰 หากดูหุ้นรายตัวที่อยู่ใน ETF นี้ ในลำดับต้นๆ จะพบว่า 10 อันดับแรก มีสัดส่วนอยู่ราวๆ เกือบ 40% ซึ่งเป็นบริษัทที่หลายๆคนน่าจะคุ้นหูกัน เช่น Johnson & Johnson, Pfizer เป็นต้น
💰 เอาหุ้นลำดับรองๆลงไปมาไล่เรียงให้ดูกันว่า ETF นี้มีหุ้นอะไรอีกบ้าง ที่คุ้นหูแน่ๆ คือ Merck&Co, Astrazeneca, Moderna ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนายาและวัคซีนในการป้องกันและรักษาโควิด 19
💰 ไล่ลำดับถัดๆไป จะเห็นว่า สัดส่วนเริ่มน้อยกว่า 1% แล้วในแต่ละหุ้น
จะเห็นว่าสัดส่วนทาง Pharma, Biotech,  Life sciences มีมากถึงราวๆ 2 ใน 3
หากจำแนกเป็นรายประเทศ ก็จะมีสหรัฐฯที่มีสัดส่วนสูงสุด โดยมีสวิตเซอร์แลนด์และญี่ปุ่นเป็นลำดับรองลงมา ที่เหลือจะเป็นยุโรป และ ออสเตรเลีย
💭Top 10 Holdings (Moat by Morningstar)
1. UNH : Narrow
บริษัทประกันภัยสุขภาพชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ที่เน้นการขายประกันสุขภาพให้กับคนอเมริกัน และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ ครองส่วนแบ่งอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกา
2. JNJ : Wide
บริษัทที่ให้บริการตั้งแต่ สินค้าเพื่อสุขภาพ ยา และเครื่องมือทางการแพทย์
โดยมีสินค้าเพื่อสุขภาพ และเป็น 1 ในบริษัทผู้วิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน Covid-19
3. PFE : Wide
บริษัทผู้ผลิตยาชั้นนำ อาทิเช่น Lipitor ที่เป็นยาลดคอเลสเตอรอลในเลือด, ยารักษาโรคย้อนสมรรถภาพทางเพศ อย่าง Viagra และยาบรรเทาปวด Celebrex และเป็น 1 ในบริษัทผู้วิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน Covid-19 และยาแพ็กซ์โลวิด(Paxlovid) เพื่อรักษาผู้ติดเชื้อโควิด
4. ROG : Wide
บริษัทยาและเวชภัณฑ์ชั้นนำจากสวิตเซอร์แลนด์ โดยมี 2 แผนกหลักๆคือแผนกเภสัชภัณฑ์และแผนกเคมีวินิจฉัยโรค อาทิเช่น ชุดตรวจโควิดแบบโฮมยูส
5. TMO : Wide
บริษัทรับจ้างวิจัยและผลิตยา (CDMO) รายใหญ่ โดยให้บริการเกี่ยวกับตัวยาสำคัญ การพัฒนายา การวิจัยทางคลินิก ผลิตภัณฑ์ยา รวมถึงการพัฒนาและผลิตไวรัสพาหะแก่บริษัททุกขนาด
6. ABT : Narrow
บริษัทชั้นนำในด้านการตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการณ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ โภชนาการ และยาสามัญ ในด้านโภชนาการมีผลิตภัณฑ์ชั้นนำอย่างเช่น Similac, PediaSure, Pedialyte, Ensure, Glucerna, EAS และ ZonePerfect เพื่อช่วยให้ได้รับสารอาหารที่ต้องการสำหรับการมีสุขภาพที่ดี
7. ABBV : Narrow
แยกตัวออกมาจาก Abbott Laboratories โดยมี Allergan บริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ซึ่งเป็นบริษัทลูก โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้อย่างแพร่หลายอาทิเช่น Botox หรือยากลุ่มอื่นๆที่ครอบคลุมโรคมะเร็ง โรคทางภูมิคุ้มกัน โรคทางตา โดยล่าสุด ได้ทำการคิดค้นยาหยอดตา ‘Pilocarpine’ ที่มีคุณสมบัติรักษาอาการสายตายาวตามอายุของคนตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยสามารถใช้ทดแทนการใช้แว่นสายตายาวได้ เพิ่งได้รับ FDA จากทางสหรัฐฯ
8. DHR : Narrow
บริษัทชั้นนำที่รับออกแบบ ผลิต และทำการตลาดผลิตภัณฑ์และบริการระดับมืออาชีพ ทางการแพทย์ อุตสาหกรรม และเชิงพาณิชย์ โดยมีแกนหลักอยู่ 3 แกน ได้แก่ " วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต " "การวินิจฉัย " และ "โซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมและประยุกต์"
9. NOVN : Wide
บริษัทยาชั้นนำของสวิตเซอร์แลนด์ ทำธุรกิจด้านการพัฒนา ผลิต และ ทำการตลาดยารักษาโรคมานานกว่า 250 ปี มุ่งเน้นพัฒนายาชนิดใหม่ๆ รวมถึงยาสามัญ และ ยาชีววัตถคล้ายคลึง มีผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ ยาแก้ท้องอืด, ยาสำหรับคลายกล้ามเนื้อ ไปจนถึงยาแก้ไอสำหรับเด็ก
10. LLY : Wide
บริษัทยาผู้ผลิตยาทางด้านจิตเวชรายใหญ่ที่สุด อาทิเช่น Prozac ( fluoxetine ), Dolophine ( methadone ), Cymbalta ( duloxetine ) และ Zyprexa ( olanzapine ) ผู้ผลิตยารักษาโรคเบาหวาน, มะเร็ง และอื่นๆ รวมไปถึงกำลังวิจัยพัฒนายาเพื่อการรักษาโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนี้ทางบริษัทยังมียาแอนติบอดีโควิด-19 ยาแบมลานิวิแมบ และยาเอเทซเซวิแมบ (Bamlanivimab and Etesevimab)ให้ใช้เป็นสูตรค็อกเทลสำหรับการรักษาโควิด-19
💭หมายเหตุ
Narrow : บริษัทที่มีความสามารถกันคู่แข่งเข้ามาในตลาดในเวลา 10 ปี
Wide : บริษัทที่มีความสามารถกันคู่แข่งเข้ามาในตลาดในเวลา > 10 ปี
โดย IXJ มีบริษัทที่ถูกจัดเป็น Wide moat = 6 บริษัท และ Narrow moat = 4 บริษัท
💭 ETF นี้เหมาะกับใคร
1. คนที่อยากลงทุนในกลุ่ม Sector ที่โตไปกับ Megatrend อนาคต และลงทุนในบริษัทยาที่มีความแข็งแกร่งทางธุรกิจด้านสุขภาพเพราะเป็นระดับชั้นนำของโลก
2. คนที่ไม่อยากให้พอร์ทการลงทุนผันผวนมากเกินไป แต่ต้องการผลตอบแทนที่ดีคุ้มความเสี่ยง
3. คนที่อยากได้หุ้นครอบคลุมบริษัททั่วโลก
4. คนที่ไม่ค่อยมีเวลาศึกษารายละเอียดเป็นหุ้นรายตัวมากนัก
💭 ความเสี่ยงในการลงทุน ETF นี้
1. Asset Class risk : เนื่องจากลงทุนในหุ้น จึงมีความผันผวนตามสินทรัพย์ระหว่างทางที่ถือครอง ทำให้สูญเสียเงินต้นได้
2. Concentration risk : ลงทุนในกลุ่ม Healthcare เท่านั้น ไม่ได้มีกลุ่มอื่นๆใน ETF นี้
3. Regulatory risk : หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐในประเทศต่างๆ ที่ลงทุนด้านสุขภาพ ก็ส่งผลให้เกิดผลกระทบใน ETF นี้ได้
4. Foreign exchange risk : เนื่องจากต้องโอนเงินไทยเพื่อแปลงเป็นเป็น US dollar ทำให้มีอัตราค่าเงินมาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการกำไรและขาดทุนค่าเงินได้
5. Covid-19 risk : เราได้เห็นความผันผวนในทุกๆสินทรัพย์ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของ Covid-19 ซึ่งเป็นความเสี่ยงใน ETF นี้เช่นกัน
💭 ช่องทางการลงทุน
1. เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศกับโบรกเกอร์ในไทย แบบนี้สามารถซื้อขายได้ทั้งหุ้นต่างประเทศ และ ETFs ต่างประเทศ
2. เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศกับโบรกเกอร์ในต่างประเทศ หลักการคล้ายๆโบรกเกอร์ของไทย แต่ค่าธรรมเนียมการซื้อขายจะถูกกว่า ผมมีเขียนบทความเรื่องนี้ไว้เฉพาะสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนหุ้นต่างประเทศว่ามีตัวเลือกโบรคเกอร์อย่างไร
2
3. เปิดบัญชีซื้อขายเฉพาะ ETFs กับ Jitta Wealth โดย Jitta Wealth ไม่ใช่โบรคเกอร์ แต่ Jitta Wealth จะเป็น กองทุนส่วนบุคคลที่ลงทุนในหุ้น บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ที่ได้รับอนุญาตบริหารจัดการกองทุนส่วนบุคคล จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไม่ได้ถูกจัดเป็นโบรกเกอร์ จึงไม่มีรายชื่ออยู่ในลิสต์บริษัทหลักทรัพย์ 

สามารถตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ที่ https://market.sec.or.th/public/idisc/th/companyprofile/Intermediaries/0000029621
2
💭หากใครสนใจลงทุนใน Jitta Wealth เพื่อรับโบนัสเครดิตค่าธรรมเนียม 100 บาท เพื่อนำมาเป็นส่วนลดค่าธรรมเนียม ไม่ว่าจะเป็น
1. ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการ 0.5% ต่อปี
2. ค่าธรรมเนียมตามผลกำไร 10% ของกำไร (เฉพาะโปรแกรม Jitta Ranking)
3. ค่าธรรมเนียมผู้รับฝากทรัพย์สิน 0.1% ต่อปี หรือ ขั้นต่ำ 80 บาทต่อเดือน
4. ไม่รวมค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ ค่าโอนเงินไปต่างประเทศ และ ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ถ้ามี
2
💭หมายเหตุ : เครดิตค่าธรรมเนียมสามารถใช้ได้จนครบมูลค่า ไม่มีวันหมดอายุ
คลิกได้เลยที่ Link : https://link.jittawealth.co/6votzlub7h
หรือคลิกที่รูปด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีลงทุน ก่อนวันที่ 25 ธ.ค. 2564
💭 บทความอื่นๆของหนีดอยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ : ETF : IDNA
ติดตามหนีดอยได้ที่
📌Telegram - t.me/needoy
📌Line (openchat) - https://bit.ly/lineneedoy
📌Spotify : spoti.fi/2NLRVBK
📌Apple Podcast : apple.co/3pC8Gwh
โฆษณา