27 ธ.ค. 2021 เวลา 02:09 • ปรัชญา
ปังแน่นอน!!! รวม 9 เทคนิคช่วยในการตัดสินใจ ที่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์แล้วว่ายอดเยี่ยม
ปังแน่นอน!!!
ว่ากันว่าโดยเฉลี่ยแล้วคนเรานั้นตัดสินใจอย่างมีสติประมาณ 35,000 ครั้งต่อวัน กล่าวคือการใช้ชีวิตในแต่ละวันนั้นเต็มไปด้วยเรื่องที่ต้องตัดสินใจ
สำหรับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็คงจะไม่เป็นไร แต่เมื่อต้องเจอกับการตัดสินใจในเรื่องที่ยากหรือสำคัญนั้น เชื่อว่าหลายคนคงเต็มไปด้วยความลังเล ความกังวลใจเพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน
แต่อย่ากลัวไป วันนี้ผมมีเทคนิคดี ๆ ในการแฮ็กกระบวนการตัดสินใจ มาฝากกันครับ ซึ่งขอบอกเลยว่าเทคนิคเหล่านี้ไม่ธรรมดาเลยนะ เพราะได้รับการวิจัยมาแล้วว่า สามารถช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีเพิ่มมากขึ้นจริง ๆ ถ้าพร้อมแล้ว เรา ไปดูกันได้เลยครับ
1. อย่าคิดตอนท้องว่าง
นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Sahlgrenska Academy แห่งมหาวิทยาลัย Gothenburg พบว่า ghrelin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาเมื่อคุณหิว ทำให้คุณหุนหันพลันแล่นมากขึ้น ยิ่งระดับเกรลินของคุณสูงมากขึ้นเท่าไร คุณก็ยิ่งมีเหตุผลน้อยลงมากเท่านั้น
ดังนั้นจงเติมพลังให้เพียงพอ ยังไงเสียกองทัพก็ต้องเดินด้วยท้อง จากนั้นค่อยตัดสินใจก็ได้ครับ
1
2. ไปที่ไหนสักแห่งที่มืด
การตัดสินใจที่ดีนั้นเกิดขึ้นได้ยากมากเมื่อคุณมีอารมณ์
อารมณ์นั้นกระทบการตัดสินใจของคนเราได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ในแง่บวกหรือแง่ลบ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต สการ์โบโรห์ พบว่าเมื่ออยู่ในห้องมืด อารมณ์ต่าง ๆ จะมีความรุนแรงน้อยกว่าตอนคุณอยู่ในที่สว่าง ๆ การตัดสินใจต่าง ๆ จะดีขึ้น และความเป็นเหตุเป็นผลก็จะมากขึ้นตามมา
ดังนั้นถ้าต้องตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ปิดไฟในห้องสักครู่แล้วใช้ความคิด ก็ดีไม่น้อยครับผม
3. แกล้งทำเป็นว่าคุณเป็นคนนอก
ความจริงคือการให้คำแนะนำนั้นง่ายกว่าการรับไว้เสมอ เมื่อคุณเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหา การตัดสินย่อมจะถูกลดทอนประสิทธิภาพลงไปโดยปริยาย
แต่มันก็มีวิธีแก้ไขอคติในเรื่องนี้อยู่นะ ลองแสร้งทำเป็นว่า ไอ้เรื่องซีเรียสที่ต้องตัดสินใจอยู่นี้มันเกิดขึ้นกับคนอื่นดูครับ เพราะจากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Psychological Science การดูสถานการณ์จากมุมมองของบุคคลที่สามนั้น ช่วยให้คุณคิดอย่างเป็นกลางมากกว่าการตกอยู่ในสถานการณ์เสียเอง
ข้อนี้อาจต้องใช้จินตนาการช่วยมากหน่อย แต่ผมเชื่อเหลือเกินว่าคุณนั้นทำได้ ดังนั้นสู้ ๆ ครับผม
4. หายใจเข้าลึก ๆ
เมื่อต้องตัดสินใจ ลองใช้เวลา 15 นาทีจดจ่ออยู่กับการหายใจของคุณดู โดยกระบวนการฝึกสมาธิแบบนี้ จะเน้นที่สมองของคุณให้จดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ลองดูครับ
5. สร้างสามตัวเลือก
คิดว่าคุณควรพิจารณาแนวทางปฏิบัติกี่แนวทางในการตัดสินใจในแต่ละครั้ง Dr. Therese Houston ผู้เขียนหนังสือ Teaching What You Don't Know และผู้เชี่ยวชาญด้านการตัดสินใจกล่าวเอาไว้ว่า เลขมหัศจรรย์นั้นคือสาม
เมื่อคุณเริ่มสร้างทางเลือกมากขึ้น คุณภาพของการตัดสินใจก็จะเพิ่มมากขึ้นตามมา น่าสนใจนะครับ
6. มองนาฬิกา
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Wuerzburg และ Max Planck Institute for Human Cognitive and Brain Sciences เพิ่งค้นพบวิธีแก้ปัญหาที่แปลกประหลาด นั่นก็คือ ‘Watch the clock’
ที่ระบุว่าการมองตามการเคลื่อนไหวของเข็มนาฬิกานั้นจะทำให้คุณนึกถึงอนาคตได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งนั่นจะทำให้คุณเปิดรับการเปลี่ยนแปลง และแนวคิดใหม่ ๆ ก็จะหลั่งไหลเข้ามา
7. ควบรวมข้อเท็จจริง เข้ากับสัญชาตญาณ
บางคนใช้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ บางคนทำตามสัญชาตญาณ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสไตล์ของแต่ละคน
จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าคุณจะรวมคำตอบเชิงวิเคราะห์ และเชิงสัญชาตญาณเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ก็เพื่อสามารเข้าใกล้ตัวเลือกที่ถูกต้องมากที่สุดในการตัดสินใจครับผม
8. ให้เทคโนโลยีช่วย
การเต้นของหัวใจของคุณอาจเป็นความลับในการตัดสินใจ
Julia Mossbridge นักประสาทวิทยาด้านการรับรู้ CEO และผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Mossbridge Institute, LLC กล่าวว่า "สรีรวิทยา ซึ่งรวมถึงจังหวะการเต้นของหัวใจ นั้นเชื่อมโยงกับกระบวนการที่หมดสติ และมีสติสัมปชัญญะ"
ด้วยเหตุนี้ Mossbridge จึงได้สร้าง Choice Compass ขึ้นมา ซึ่งใช้กล้องของสมาร์ทโฟนเพื่อวิเคราะห์ชีพจรของคุณในขณะที่ไตร่ตรองระหว่างตัวเลือกต่าง ๆ หลังจากผ่านไปหนึ่งนาที มันจะบอกคุณว่ารูปแบบใดที่สร้างรูปแบบการเต้นของหัวใจเป็นจังหวะมากกว่า ซึ่งมักจะบ่งบอกถึงทางเลือกที่คุณจะมีความสุขมากขึ้นนั่นเอง
9. ไม่ไหวก็ไปนอน
จำไว้ว่าอย่าได้ตัดสินใจครั้งสำคัญเมื่อคุณเหนื่อย เพราะการพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้คุณมองโลกในแง่ดีมากจนเกินไป ทำให้การรับรู้ความเสี่ยงของคุณนั้นผิดเพี้ยน ทั้งนี้การอดนอนยังทำให้คุณรับ และประมวลผลข้อมูลใหม่ได้ยากมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นหากคุณรู้สึกเหนื่อยล้า และการตัดสินใจในครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนอะไร ให้รอจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นเพื่อตัดสินใจ แต่ถ้าคุณไม่สามารถชะลอการตัดสินใจได้นานขนาดนั้น ให้งีบสักหน่อย เพราะจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการหลับตา แม้เพียงเล็กน้อยนั้นก็ช่วยลดแรงกระตุ้น และปรับปรุงการโฟกัสในการตัดสินใจของคุณได้
สุดท้ายหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกท่านไม่มากก็น้อย
ทั้งนี้ยืนยันว่าบทความของผมไม่ใช่คำตอบ หรือบทสรุปที่ดีที่สุด ทุกท่านควรใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการรับข้อมูลด้วยนะครับ
ขอบคุณทุกการตอบรับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตาม ไลค์ คอมเมนท์ หรือว่าแชร์ ทุกกำลังใจสำคัญสำหรับผมเสมอ
ติดตามอ่านบทความได้ที่
ขอบคุณทุกคนครับ
แล้วพบกันใหม่ในโพสต์หน้า
สวัสดีครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก 4 MIN READ @Aja Frost และขอบคุณรูปภาพจากเพจ Kaimuk - nilawan iamchuasawad (ไข่มุก - นิลาวัลย์) มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา