24 ม.ค. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา
บทความ Blockdit ตอน
โลกไร้สาระ และชีวิตมนุษย์ก็ไร้สาระ
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
คนเราเกิดมาทำไม? ชีวิตเรามีความหมายหรือไม่? เรามีเจตจำนงอิสระจริงๆ ไหม? มีอำนาจบางอย่างกำหนดแผนทางเดินทั้งชีวิตของเราหรือไม่? เราเลือกทางเดินของเราเองได้จริงหรือ? หรือว่าความหมายและสาระนี้เป็นสิ่งที่เราหลอกตัวเอง ชีวิตปราศจากความหมายใดๆ โดยสิ้นเชิง?
10
นี่เป็นคำถามโบราณ เก่าแก่เท่าอารยธรรมของมนุษย์ แต่ไม่มีใครตอบได้
5
กระนั้นก็มีคนพยายามตอบเสมอมา หนึ่งในนั้นก็คือ อัลแบร์ กามูส์ (Albert Camus 1913 1960) เป็นนักคิด นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส และเป็นนักเขียนรางวัลโนเบลวรรณกรรมปี 1957 เขามีมุมมองและโลกทัศน์ที่แปลกจากที่เราคุ้นเคย วิธีคิดของเขาอาจสวนทางหรือเข้ากันได้กับแนวทางพุทธ ขึ้นอยู่ว่าเราจะมองลึกแค่ไหน
4
เขามองว่าโลกไร้สาระ (absurd) และชีวิตมนุษย์นั้นไร้สาระ
4
นี่ก็คือแนวคิดของปรัชญาไร้สาระ (Absurdism)
2
เขาเห็นว่าเราได้รับการกรอกหูมาแต่เกิดว่า ชีวิตต้องมีสาระ มีความหมาย
3
อัลแบร์ กามูส์ ภาพโดย Henri Cartier-Bresson
ตลอดอารยธรรมของมนุษยชาติ มีความคิดสองอย่าง หนึ่งคือมนุษย์มีความหมาย ต้องแสวงหาความหมาย สาระ หรือคุณค่านั้น มันทำให้ชีวิตมีความหมาย มีเหตุผลของการดำรงอยู่
5
แต่ 'สาระ' อาจเป็นภาพลวงตาที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเอง เช่นเดียวกับความยุติธรรม และอีกหลายๆ นามธรรมที่นำหน้าด้วย 'ความ'
6
เราเกิดมา เรียนหนังสือ ทำงาน ทรมานกับรถติด แต่งงาน ทำงาน ทรมานกับรถติด มีลูก ทำงาน ทรมานกับรถติด แก่ตัว เกษียณ แล้วตาย
16
เราเดินชีวิตไปตามครรลองที่สังคมตั้งให้เราเดิน ทำตามกติกาค่านิยมที่สังคมบอกให้เราทำ
4
เราต้องการความหมายของชีวิต อาจเพื่อปลอบใจให้เราอยากอยู่ต่อไป
5
แต่ในมุมของกามูส์ การหาความหมายไม่ได้ช่วยอะไร เพราะมันเป็นการตั้งคำถามผิดแต่แรก
4
ใครๆ ก็อยากรู้ความหมายของชีวิตและเหตุผลที่มนุษย์ควรมีชีวิตอยู่ แต่เราจะหามันพบได้อย่างไรในเมื่อ - ในมุมของกามูส์ - จักรวาลไร้จุดประสงค์ ไร้ความหมาย และไร้เหตุผล
2
คนส่วนมากจึงไปหามันจากศาสนา ลัทธิ ความเชื่อต่างๆ
1
แต่กามูส์บอกว่า จักรวาลไม่เคยส่งเสียงบอกเราว่ามันมีความหมาย เราไม่มีหลักฐานใดๆ ที่บอกว่า เรามาอยู่ในโลกนี้ด้วยเหตุผลหรือความหมายอะไร หรือถ้ามี เราก็ไม่รู้ เพราะเกินสติปัญญาของเรา ความหมายทั้งหมดที่เราบอกกันมาจากการคิดขึ้นมาเอง
6
มันไม่มีคุณค่าสากล ไม่มีแผนของพระเจ้า ทุกอย่างเกิดขึ้นเช่นนั้นเอง และ random (ส่งเดช)
4
กามูส์เห็นว่าโดยตัวโลกเองไม่ได้มีสาระหรือไร้สาระ ที่ไร้สาระคือความสัมพันธ์กับจักรวาลซึ่งไร้เหตุผล
1
ชีวิตไร้สาระ ไร้ความหมาย
และเนื่องจากมันไร้ความหมาย คนจึงพยายามสร้างความหมาย ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่อง 'absurd'
2
แปลว่าอะไร? นี่แปลว่าชีวิตเราไร้สาระ หรือโลกรอบตัวเราไร้สาระงั้นหรือ?
4
หามิได้ ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง
มันเพียงบอกว่าไม่มีความหมายอะไร มนุษย์ไปตั้งกรอบขึ้นมาเอง
13
มันไร้สาระก็เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างความเชื่อว่าชีวิตมีความหมายกับชีวิตไม่มีความหมาย และความพยายามที่จะหาความหมายให้ทุกอย่าง
7
กามูส์เห็นว่ามนุษย์เป็นสัตว์โลกที่ชอบจัดระเบียบ ต้องการมองเห็นทุกอย่างชัดๆ จึงให้ความหมายของชีวิต เราพยายามเหลือเกินที่จะเข้าใจทุกอย่างในจักรวาล
2
ย่อมมีคนถาม ถ้าโลกไร้สาระ ไม่มีความหมายอะไร ไม่มีโลกหน้า เราก็สามารถฆ่าใครก็ได้เช่นนั้นหรือ? นี่คือการคิดแบบสำเร็จรูป หามิได้ เป็นคนละประเด็นกัน การที่โลกและจักรวาลไร้ความหมายหรือไม่มีโลกหน้า ทุกการกระทำก็ยังมีผลที่ตามมา (consequence) ของมัน ที่ทางพุทธเรียกว่าอิทัปปัจจยตา 'เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี'
7
แล้วทำอย่างไรในสภาวะแบบนี้ - ถ้า Absurdism เป็นความจริง?
4
กามูส์เห็นว่าเรามีแค่สามทางเลือกเท่านั้นคือ 1 หนีจากมัน 2 หลบซ่อนใต้ความเชื่อ และ 3 อยู่กับมัน
3
'หนีจากมัน' คือฆ่าตัวตาย
2
'หลบซ่อนใต้ความเชื่อ' คือซ่อนตัวใต้ร่มศาสนาหรือลัทธิความเชื่อ นี่ก็อาจเป็นเหตุผลที่โลกเรามีลัทธิต่างๆ มากมาย สร้างชุดความเชื่อบางอย่างให้เราเกาะยึดเหมือนเกาะขอนไม้กลางทะเล เรารู้สึกสบายใจขึ้น และไม่ต้องคิดมาก
8
ส่วน 'อยู่กับมัน' คือยอมรับมัน
8
ในทางเลือกที่หนึ่ง กามูส์เห็นว่าการฆ่าตัวตายเป็นการกระทำที่ยุติการดำรงอยู่ของคนคนนั้น (one's existence) แต่จะทวีความไร้สาระมากขึ้น
2
การฆ่าตัวตายคือ 'การสารภาพ' ว่าชีวิตไม่คุ้มที่จะดำเนินต่อไป มันเป็นการเลือกอย่างหนึ่งที่จะออกไปพ้นจากวิถีไร้สาระ แต่กามูส์ไม่เห็นด้วยกับการฆ่าตัวตาย เขาเห็นว่าควรใช้ชีวิตให้ถึงที่สุดอย่างเต็มที่
5
ในทางเลือกที่สอง กามูส์เห็นว่าศรัทธาที่โอบอุ้มความหมายของชีวิตเป็นเพียงความเชื่อที่ไม่มีข้อพิสูจน์อะไรเลย ดังนั้นศรัทธาแบบนี้ก็คือการฆ่าตัวตายเช่นกัน ที่เขาเรียกว่า 'การฆ่าตัวตายเชิงปรัชญา' (philosophical suicide) เพราะมันเป็นการแทนที่ความไม่แน่นอนของการดำรงอยู่ (existence) ด้วยชุดความเชื่อที่คนอื่นตั้งไว้ หรือชุดความเชื่อที่เป็นคำตอบสำเร็จรูป
10
ทางที่ดีที่สุดของกามูส์คือ ยอมรับความไร้สาระนั้น
7
การยอมรับความไร้สาระไม่ได้หมายถึงการยอมรับยถากรรม ตรงกันข้าม การที่เรายอมรับว่าโลกไร้ความหมายหรือเป็นโลกไร้สาระ มันจะนำไปสู่อิสรภาพ ทำให้เราเป็นอิสระ ปลดปล่อยตัวเองจากภาพลวงตาของความหมายต่างๆ ที่โลกสร้างขึ้น ทำให้เข้าใจวิธีทำงานของโลกและชีวิต
14
ยอมรับว่าชีวิตไม่มีสาระความหมายและจักรวาลนั้นไร้คุณค่าสูงสุดได้เร็วเท่าไร ก็พบอิสรภาพเร็วเท่านั้น
7
หลังจากนั้นก็สร้างความหมายของเราเอง
5
ด้วยวิธีคิดแบบนี้ เราจะสามารถใช้ชีวิตได้เต็มที่มากขึ้น หรือเต็มศักยภาพ และน่าจะมีความสุขขึ้น
1
จักรวาลเกิดมาอย่างนั้นเองหรือว่ามันมีจุดหมาย? เราคงตอบไม่ได้ หรือยังไม่ถึงเวลาตอบ ยังไม่ถึงจุดที่เรามีความรู้ความสามารถและข้อมูลมากพอที่จะตอบ แต่ ณ ขณะนี้ เราอาจบอกได้เพียงว่า 'มันเป็นเช่นนั้นเอง'
3
เราต้องถามตัวเองว่า มันเลวร้ายนักหรือที่จะดำรงอยู่ในจักรวาลหรือโลกที่ไม่มีความหมายอะไร? เพราะการที่รู้ว่าโลกไม่มีสาระอะไรไม่ได้ทำให้เรามีความสุขลดลง แค่รู้ข้อแม้ของโลก จะได้ไม่บ่นเวลาเกิดสิ่งที่ไม่พึงใจ ที่สำคัญคือมันทำให้เราอยู่กับปัจจุบัน มองโลกที่หมุนผ่านไปอย่างรู้ตัวและรู้ทัน
7
นี่ก็คล้ายแนวคิดพุทธ
3
ถ้าชีวิตจะมีความหมายก็อยู่ที่การกระทำในขณะจิตนี้
3
เราจะใช้ชีวิตในโลกนี้ได้เต็มที่สมบูรณ์ขึ้น ปราศจากความกลัวมากอย่างที่เป็น
5
กินไอติม ดูหนัง ฟังเพลงได้สบายใจขึ้น
4
ชีวิตสั้น ทำไมต้องทำให้มันทรมานด้วย?
7
ปรัชญาไร้สาระ (Absurdism) ไม่ใช่แนวคิดใหม่ มีคนพูดถึงแนวคิดแบบนี้มาก่อนแล้ว นักปรัชญาเดนนิชในศตวรรษที่ 19 ซอเรน เคียร์เคอการ์ด (Soren Kierkegaard) ก็เขียนเรื่องปรัชญาไร้สาระมาก่อนกามูส์ราวหนึ่งศตวรรษ
1
ปรัชญาไร้สาระมีรากและมีบางองค์ประกอบที่คล้ายกับปรัชญา Existentialism และ Nihilism (สุญนิยม) ทั้งสามปรัชญานี้มาจากประสบการณ์ของมนุษย์ พยายามเข้าใจการทำงานของมัน
1
Existentialism เป็นปรัชญาที่สำรวจและตั้งคำถามเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ในโลกและจักรวาล การคิด ความรู้สึก ความหมาย จุดหมายของคุณค่าของการดำรงอยู่ของมนุษย์
1
ถ้ามองด้วยมาตรนี้ ซอเรน เคียร์เคอการ์ด ก็น่าจะเป็น existentialist คนแรกๆ
ปรัชญา Existentialism แพร่ออกนอกพื้นที่ของปรัชญา เข้าไปในงานศิลปะ วรรณกรรม
Existentialism สอนให้สร้างความหมายของการดำรงอยู่ของเราขึ้นมาเอง ส่วนสุญนิยมเห็นตรงข้าม มันบอกว่าไม่มีประโยชน์ที่จะค้นหาความหมาย ในเมื่อมันไม่มี หรือไม่มีทางพบ มันไม่มีความหมายอะไร
1
แต่ Absurdism มองว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่มีความหมายบ้างบางอย่างในชีวิต
2
Existentialism เชื่อในเรื่องอิสรภาพของมนุษย์ ทางเลือก และความรับผิดชอบ มนุษย์ไม่ได้ถูกกำหนดบทบาทมาก่อน ทุกคนมีสิทธิ์เลือกและต้องเลือก แต่ปัญหาคือคนส่วนใหญ่ไม่เลือก จึงไม่สามารถรับรู้ถึงอิสรภาพ ซ่อนตัวเองจากอิสรภาพด้วยการหลอกตัวเอง ยอมรับระเบียบกฎเกณฑ์ที่สังคมตีกรอบไว้
8
ไม่มีใครเลือกเกิดได้ แต่ในการใช้ชีวิตมนุษย์ต้องตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลที่ตามมา อิสรภาพที่จะไม่เลือกเป็นอิสระไม่ใช่อิสรภาพ
8
แต่ Existentialism ไม่ใช่ Nihilism
2
Nihilism มาจากภาษาละติน แปลว่าไม่มีอะไร nothingness มองว่าไม่มีอะไรมีอยู่จริง ไม่มีอะไรมีความหมายอะไร ชีวิตไม่มีความหมายอะไร สรรพสิ่งไม่มีความหมายใดๆ มาก่อน ไม่มีโชคชะตา ระบบศีลธรรม ความจริง คุณค่า ศีลธรรมเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมา ชีวิตไม่มีความหมายอะไร
2
คำว่า nothingness ในที่นี้ฟังดูคล้ายความว่างในทางพุทธ แต่ไม่เหมือนกัน ความว่างในทางพุทธผูกกับคำว่าปรุงแต่ง แต่ความไม่มีอะไรของ Nihilism คือความเข้าใจว่าโลกไม่มีอะไร จนเมื่อเราไปสร้างกฎ-กรอบขึ้นมาเอง
3
กามูส์ไม่เชื่อเรื่อง Nihilism และปฏิเสธ Existentialism แม้คนจำนวนมากเชื่อว่าเขาก็คือ existentialist แต่เขาบอกว่าไม่ใช่ เขาว่า Absurdism แตกต่างจาก Existentialism
2
อย่างไรก็ตามกามูส์เห็นว่า แม้ว่าโลกไร้สาระ ก็ไม่ได้หมายความเราไม่สามารถเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น
1
ไร้สาระไม่ใช่ยถากรรม แค่ไร้สาระ
2
ขณะที่เคียร์เคอการ์ดคิดว่าชีวิตไม่มีความหมาย และเราทำอะไรไม่ได้ แต่กามูส์ว่าเราทำได้ เราสร้างความหมายเองได้ และเราเปลี่ยนความหมายนั้นเมื่อไรก็ได้
5
เพราะชีวิตไม่ใช่ใบสั่งจ่ายยา
14
กามูส์มักพูดถึงตำนานกรีกเรื่องซิซีฟัส (Sisyphus) ซิซีฟัสเป็นกษัตริย์แห่งเอพไฟรา กระทำผิดเรื่องโกงความตายสองครั้ง จึงต้องคำสาปลงโทษให้เข็นก้อนหินใหญ่ขึ้นเขา เมื่อใกล้ถึงยอด หินจะร่วงลงมาทุกครั้ง แล้วต้องเข็นขึ้นไปใหม่ ต้องทำอย่างนี้นิรันดร์
3
การแบกหินขึ้นเขาลงเขาซ้ำๆ กันย่อมเป็นเรื่อง 'ไร้สาระ'
1
กามูส์เห็นว่า อิสรภาพสูงสุดต้องสมดุลกับความยุติธรรมสูงสุด อิสรภาพมากเกินไปนำไปสู่การที่คนเข้มแข็งกดขี่คนอ่อนแอ
แต่ความยุติธรรมที่มากเกินไปฆ่าอิสรภาพ
9
เขาว่าเนื่องจากชีวิตไม่มีความหมาย เราจึงสามารถหาความหมายให้มันด้วยตัวเราเองได้
4
ภาพวาด Sisyphus โดย Titian
กามูส์บอกว่า 'คุณจะไม่ได้ใช้ชีวิตหรอก หากมัวแต่ค้นหาความหมายของชีวิต'
17
เขาเห็นในอีกมุมหนึ่งว่า ขณะที่ใครๆ ก็คิดว่าซิซีฟัสโชคร้ายเหลือเกิน ต้องทำงานเข็นหินขึ้นเขา และจะล้มเหลวเสมอ แต่ใครบอกว่าเขาต้องทุกข์ล่ะ? หากซิซีฟัสยอมรับว่าทั้งหมดนี้ไร้สาระ เขาก็อาจแบกหินไปอย่างมีความสุขได้ เพราะความสุขเกิดจาก 'ปัจจุบันขณะ' ของการเข็นหิน
4
ก็คือ 'enjoy the process'
5
เอนจอยการแบกหินระหว่างทาง ไม่ใช่นึกถึงแต่ภาพที่หินที่จะกลิ้งตกลงมาในอนาคต
4
นี่ก็คือมุมมองแบบพุทธ
การเดินทางสำคัญกว่าจุดหมาย!
10
อาจเป็นที่มาของคำกล่าวของเขา 'In the depth of winter, I finally learned that within me, there lay an invincible summer' (ในห้วงลึกของฤดูหนาว ข้าฯค้นพบในที่สุดว่า ภายในตัวข้าฯ มีฤดูร้อนที่มิอาจแตกหัก)
13
ในมุมของวิวัฒนาการ เราจะเห็นว่าชีวิตดำเนินไปตามยถากรรม สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวได้ดีกว่าก็อยู่ได้นานกว่า ชีวิตเป็นการไหลของกระแสธารที่ไหลไปเรื่อยๆ เมื่อพบภูผาขวางทาง กระแสน้ำแห่งชีวิตนั้นก็ไหลอ้อมไป เป็นธรรมชาติ ไม่มีการวางแผน เราเห็นได้จากซากฟอสซิลและโครงสร้างชีวิต ธรรมชาติก็คือยถากรรมในตัวมันเอง
6
จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อมนุษย์ฉลาดพอจนตั้งคำถามถึงความหมายและสาระของชีวิต
3
ถ้ามองอย่างนี้ เราอาจเห็นความไร้สาระอยู่ในทุกหนทุกแห่ง
นี่คือโลกของเรา เราไม่รู้ว่าจักรวาลมาอย่างไร มันถูกสร้างมาหรือเปล่า หรือว่ามันเกิดขึ้นมาเอง เป็นวิวัฒนาการของจักวาล ดังนั้นในมุมวิทยาศาสตร์ เราจึงไม่อาจฟันธงว่าจักรวาลมีความหมายหรือสาระหรือไม่ สมมุติว่าจักรวาลเกิดขึ้นมาด้วยฝีมือของสิ่งทรงภูมิปัญญาสายพันธุ์หนึ่ง (หรือพระเจ้าผู้สร้าง) บางทีมันอาจมีความหมายหรือสาระ แต่ในมุมของเรา การใช้ชีวิตอยู่บนโลกช่วงสั้นๆ แค่ 70-80 ปี อาจพบว่าชีวิตก็เป็นอย่างนี้แหละ
9
เราจึงควรหยุดคิดว่า ชีวิตเราต้องเป็นอย่างนี้อย่างนั้น ต้องมีความหมายอย่างนี้อย่างนั้น
4
และเริ่มใช้ชีวิตจริงๆ
9

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา