6 ก.พ. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“ลี กวน ยู” บิดาแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ Blockdit Originals by Bnomics
2
“ลี กวน ยู” บิดาแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์
ถ้าเราจะกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของประเทศสิงคโปร์ มันคงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะไม่เล่าถึงบิดาและนายกรัฐมนตรีคนแรกของเกาะเล็กๆ ที่มีนามว่า “สิงคโปร์” แต่หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า สิงคโปร์เพิ่งได้รับการก่อตั้ง หรือ ถูกยัดเยียดความเป็นชาติ รัฐอิสระ เมื่อในปี 1965 นั้นเอง
ยังไม่ถึง 60 ปีดีนัก และการที่เกาะเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติกลายมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งร่ำรวยมาก ได้อย่างไรภายในระยะเวลาชั่วคนเดียว ถ้าถามชาวสิงคโปร์ เชื่อว่าทุกคนต้องตอบว่าเป็นเพราะบุรุษที่ชื่อว่า “ลี กวน ยู” ในบทความนี้ผมจะมาขอเล่าประวัติความเป็นมาในช่วงแรกของท่าน
2
📌 กำเนิด “ลี กวน ยู”
ลีกวนยู เกิดในปี 1923 ในครอบครัวคหบดีชาวจีน นับเป็นรุ่นที่ 3 ในเกาะสิงคโปร์ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ซึ่งหมายความว่า ลีกวนยู เกิดมาเป็นประชากรของจักรวรรดิอังกฤษ และเติบโตมาโดยการใช้ภาษาแรก คือ อังกฤษ ในตอนที่ท่านเกิดมา ปู่ของลีกวนยู ตั้งชื่อว่า Harry Lee Kuan Yew หรือ เรียกสั้นสั้น ว่า แฮรี่ ลี ในภายหลังท่านเลิกใช้คำว่า Harry จึงเหลือแต่ชื่อว่า Lee Kuan Yew หรือ LKY เท่านั้น
1
📌 ลีกวนยู ไม่ได้เริ่มพูดภาษาจีนจนกระทั่งท่านอายุ 30 กว่าแล้ว
1
ในตอนเด็กนั้น ลีกวนยู เป็นเด็กที่มีความสามารถด้านการเรียนมาก คุณครูสมัยเด็กชมว่า ท่านเป็นคนฉลาด เป็นคนหัวไว และได้ทุนไปเรียนที่ Raffles College โรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากในเกาะสิงคโปร์ และได้คะแนนสูงสุด ในปีนั้นทั้งในสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่แล้ว การศึกษาของลีกวนยู ต้องหยุดชะงัก เพราะผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยโรงเรียนของท่านได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นสถานพยาบาลในปี 1941 และหลังจากนั้นไม่นานในปี 1942 กองทัพอังกฤษได้พ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่น หลังจากนั้นสิงคโปร์ก็ได้ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น
3
📌 สงครามโลกครั้งที่สอง
1
ลีกวนยูเกือบไม่รอดจากการสังหารหมู่โดยกองทัพญี่ปุ่น แต่โชคดีที่ลีกวนยู ยังมีไหวพริบและหลบออกมาจากหอพักนักศึกษาได้ หลังจากนั้น ลีกวนยูก็ได้ทราบในภายหลังว่าทุกคนที่อยู่ในหอพักนั้นโดนสังหารหมดทุกคน
3
ต่อมาในปี 1943 ลีกวนยูได้ทำงานให้กับทางญี่ปุ่นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ และได้ทำการค้าของเถื่อนจนกระทั่งสงครามได้สิ้นสุดลงในปี 1945
2
แต่ประสบการณ์จากสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ทำให้ออร่าของความยิ่งใหญ่และอิทธิพลของจักรวรรดิอังกฤษได้สลายไปอย่างรวดเร็ว และนอกจากนั้น ท่านได้พบว่า ทางญี่ปุ่นยิ่งโหดเหี้ยม ไร้เมตตา ไร้ความยุติธรรมมากกว่าชาวอังกฤษอีก หลังจากที่ลีกวนยู ได้โดนบังคับให้คุกเข่าต่อหน้าทหารญี่ปุ่น ทำให้ในปี 1961 ลีกวนยูได้ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากนั้น ท่านตั้งปณิธานว่า จะไม่ยอมให้ใครหน้าไหน ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่นหรืออังกฤษ มากดขี่ข่มเหงพวกเราชาวสิงคโปร์ได้อีกและเราต้องปกครองตนเองในที่สุด!
7
📌 ชีวิตช่วงการเรียนที่มหาวิทยาลัย
1
ลีกวนยูได้รับทุนการศึกษาไปเรียนต่อที่สหราชอาณาจักรในปี 1946 ได้ไปศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ลีกวนยู ได้เรียนรู้ถึงระบบรัฐสวัสดิการที่รัฐบาลอังกฤษของ Atlee สัญญาว่าจะดูแลประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย หรือ ตั้งแต่เปลถึงหลุมศพ
2
และประสบการณ์อีกอย่างที่ทำให้ลีกวนยู ประทับใจกับประเทศอังกฤษในสมัยนั้นคือ การที่แผงขายหนังสือพิมพ์ไม่ต้องมีคนขาย มีการตั้งเงินทอนเอาไว้ให้คนซื้อวางเงินและหยิบหนังสือพิมพ์ไปเอง ทำให้ลีกวนยูถึงกับกล่าวว่า นี่คือความประพฤติของคนในสังคมของประเทศที่เจริญแล้ว ประเทศโลกที่หนึ่งอย่างแท้จริง และต่อมาจะเป็นหนึ่งในรากฐานของการปฎิรูปประชากรชาวสิงคโปร์ และอังกฤษในปัจจุบันก็ไม่สามารถกลับไปเป็นแบบนั้นได้อีก
6
ทางด้านการศึกษานั้น ลีกวนยูเรียนเก่งมากจนได้ที่หนึ่งของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และจบการศึกษาในปี 1949 และได้รับรางวัลของมหาวิทยาลัยอีกด้วย และได้เป็นทนายความที่อังกฤษในปี 1950
3
แต่ถึงแม้ว่าลีกวนยูจะชื่นชมชาวอังกฤษอย่างมาก แต่ท่านเองก็ได้รู้สึกถึงการแบ่งชั้นและอคติของชาวอังกฤษต่อชาติอื่น ท่านเคยได้พูดว่า พวกชาวอังกฤษมีความภูมิใจ แต่ท่านเองก็ภูมิใจในตัวเองเช่นกัน แต่อย่ามายุ่งกัน ทำให้ในที่สุดความรู้สึกต่อต้านการปกครองสิงคโปร์ของอังกฤษของลีกวนยูเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเชื่อมั่นว่ารัฐบาลอังกฤษครองสิงคโปร์เพื่อประโยชน์ของตัวเอง
9
โดยตอนที่อยู่อังกฤษ นั้นลีกวนยู สนับสนุนพรรคแรงงาน เพราะพรรคแรงงานนั้นอยากจะลดจำนวนอาณานิคมของอังกฤษลง ทำให้ลีกวนยูเริ่มได้สัมผัสกับรสชาติของวิถีชีวิตการเมือง โดยได้ช่วยเพื่อนของท่าน David Widdicombe หาเสียง ได้ช่วยกล่าวปาฐกาถาแทนในหลายโอกาส และได้ขับรถบรรทุกให้กับ David Widdicombe อีกด้วย
4
แต่ก่อนที่จะกลับสิงคโปร์ ลีกวนยูเลิกใช้ชื่อ Harry ตลอดชีวิต คงไว้แต่ Lee Kuan Yew
1
📌 ชีวิตการเมืองที่สิงคโปร์
ในช่วงปี 1952 ลีกวนยู ได้ว่าความฝั่งสหภาพแรงงานในหลายโอกาส โดยได้เป็นตัวแทนสหภาพกว่า 50 แห่ง โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทำให้ท่านได้ชื่อว่าเป็นฝ่ายสนับสนุนแรงงานต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมต่างๆ ทำให้ท่านเป็นที่รู้จักมากขึ้น และในที่สุดท่านก็ตัดสินใจกระโดดเข้ามาเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวโดยการจัดตั้งพรรค People’s Action Party (PAP) ในปี 1954 โดยคณะผู้นำพรรคคือกลุ่มเพื่อนๆของลีกวนยูที่ได้ไปศึกษาพร้อมกันที่ประเทศอังกฤษ
2
ในปาฐกาถาแรกนั้น ลีกวนยูได้ตำหนิรัฐบาลอังกฤษที่ถ่วงเวลาไม่ยอมให้สิงคโปร์ปกครองตัวเองและเรียกร้องให้อังกฤษถอนกำลังออกไปและได้ประกาศว่าถ้าได้อิสรภาพแล้ว จะนำสิงคโปร์ไปร่วมกับมาลายา จัดตั้งสัมพันธรัฐในที่สุด ในการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 1955 พรรค PAP ชนะ 3 ที่นั่งจากการลงสมัคร 4 ที่นั่ง
3
ในช่วงปี 1955 -1958 ลีกวนยูได้เดินไปเจรจากับรัฐบาลอังกฤษเพื่อให้สิงคโปร์ได้ปกครองตัวเองหลายครั้ง จนในที่สุดสิงคโปร์ได้รับสิทธิในการปกครองตนเองในปี 1958 และในปี 1959 ลีกวนยูได้มารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากที่ได้พรรค PAP ได้รับชัยชนะแบบ landslide ได้ที่นั่งถึง 43 ที่จากทั้งหมด 51 ที่นั่ง
5
📌 ช่วงแรกของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
1
ในช่วงแรกของการเข้ารับตำแหน่งนั้น ลีกวนยูได้เริ่มกวาดล้างอาชญากรรมและอบายมุขต่างๆ ในเกาะสิงคโปร์ อาทิเช่น การพนันและโสเภณี ทำให้นิตยสาร Time ถึงกับตีพิมพ์ว่า นี่เป็นครั้งแรกบนเกาะสิงคโปร์ที่ ผ่านไปหนึ่งอาทิตย์เต็มๆ ที่ไม่การลักพาตัว การรีดไถ และการยกพวกตีกัน
6
ในบทความต่อไป ผมจะมาเล่าถึงรายละเอียดของนโยบายเศรษฐกิจ ที่ลีกวนยูใช้ในการทำให้ประเทศสิงคโปร์อยู่รอดมาได้ สืบเนื่องจากในปี 1963 นั้น สิงคโปร์ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาเลเซีย แต่อีกสองปีต่อมาเท่านั้นในปี 1965 หายนะก็ได้มาเยือนสิงคโปร์ หลังจากที่สิงคโปร์ถูกขับออกจากสหพันธรัฐมาเลเซีย อันนี้เป็นเหตุการณ์ที่เป็นวิกฤตที่ใหญ่ที่สุดของลีกวนยู
1
สิงคโปร์เป็นเกาะเล็กๆ ที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ แม้แต่น้ำจืดยังต้องพึ่งพาการนำเข้ามาจากมาเลเซีย ทำให้ ลีกวนยูถึงกับต้องหลั่งน้ำตาเมื่อได้รับข่าวว่าสิงคโปร์ต้องอยู่รอดด้วยตัวเอง จนในวันที่ประกาศสาธารณรัฐสิงคโปร์
1
“ Singapore will survive” สิงคโปร์จะต้องรอด
ลี กวน ยู
5
ในตอนต่อไปผมจะมาเล่าว่าลีกวนยูทำอย่างไรสิงคโปร์ไม่เพียงแต่รอดมาได้ แต่กลับกลายมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้อย่างปัจจุบัน
4
ผู้เขียน : บุรินทร์ อดุลวัฒนะ Chief Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website : www.bnomics.co
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
1
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
เครดิตภาพ : SIngapore National Archive และ Soon Tan Ah/Associated Press via The New York Times
โฆษณา