27 มี.ค. 2022 เวลา 00:19 • สุขภาพ
Placebo "ยาหลอก"
ยาไม่จริงที่เป็นยาจริง ๆ
1
อะไรนะ🤨
อะไรคือยาไม่จริงที่เป็นยาจริง ๆ
1
ผมคิดว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำบอกเล่าที่ว่า คนไข้บางคนติดหมอ
คำว่าติดหมอหมายความว่า คนไข้มีความเชื่อมั่นในตัวของหมอคนใดคนหนึ่ง จนไม่ยอมไปรักษากับหมอคนอื่น ซึ่งอาการแบบบนี้จะเป็นกันมากในหมู่คนไข้สูงอายุ
หลายครั้งที่คนไข้รู้สึกไม่สบายตัว แต่จริง ๆ ไม่ได้เป็นอะไรเลย แต่ด้วยความที่ติดหมอ คนไข้เลยอยากได้ยาหรือให้หมอรักษาอะไรก็ได้เพื่อความสบายใจ
ซึ่งบางครั้งเพื่อความสบายใจของคนไข้ หมอก็จะรักษาจริง(แบบหลอก ๆ)ด้วยการฉีดยาบำรุงหรือน้ำเกลือให้บ้าง หรือไม่บางครั้งก็ให้กินยาแบบที่เรียกว่ายาแป้งหรือยาหลอก
พอคนไข้ได้รับการรักษาจากหมอคนโปรดไป อาการป่วยไข้ที่ไม่ได้เป็นจริง ๆ ก็จะมลายหายสิ้นในทันที
1
ยาแป้งหรือยาหลอก ที่กล่าวมา
จริง ๆ แล้ว มันไม่ใช่ยาที่มีตัวยาจริง ๆ แต่มันคือแป้งผสมน้ำตาลนิดหน่อยเท่านั้นเอง..😬
1
ยาแป้งหรือยาหลอกแบบนี้ ถูกเรียกว่า Placebo และยาแป้งพวกนี้ได้ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 โน่นเลย
ในระหว่างสงครามครั้งนั้น เกิดการขาดแคลนยามอร์ฟีนแก้ปวดอย่างมาก จนแพทย์ผู้รักษาอย่าง Dr.Beecher ไม่รู้ว่าจะช่วยทหารที่เจ็บปวดจากบาดแผลอย่างไรดี
ด้วยความสงสารทหาร พยาบาลนางหนึ่งจึงตัดสินใจบอกทหารว่า เธอจะฉีดยาแก้ปวดชนิดแรงให้กับทุกคน
หลังจากที่ทหารได้รับการฉีดยาไปแล้ว พวกเขาต่างรู้สึกว่าอาการปวดลดลงมาก ทั้ง ๆ ที่แท้จริงแล้วสิ่งที่พยาบาลฉีดให้กับทหารที่บาดเจ็บก็คือน้ำเกลือธรรมดา ๆ เท่านั้นเอง
1
หลังจบสงคราม Dr.Beecher สนใจวิธีการใช้ยาหลอกแบบนี้มาก จึงได้ทำการศึกษาทดลองเพิ่มเติมจนทราบว่าการให้ยาหลอกกับคนไข้ มีผลทำให้ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่มารับการรักษามีอาการดีขึ้น
จากการค้นพบครั้งนี้ทำให้ สมมติฐานในการศึกษาวิจัยและคิดค้นยาชนิดใหม่ ๆ ต้องเปลี่ยนไป
แนวทางการทดสอบผลของยาชนิดใหม่ ๆ จากที่เคยทดสอบกับผู้ป่วยแล้วดูผลอย่างเดียว ต้องปรับเป็นแบ่งผู้ป่วยออกเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มแรกทดสอบกับยาจริงชนิดใหม่ กับอีกกลุ่มหนึ่งทดสอบกับยาหลอก
หากผลการทดสอบของคนไข้กลุ่มที่ใช้ยาจริง ได้ผลไม่ดีกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาหลอก จะถือว่ายานี้ยังใช้ไม่ได้ผล
ปัจจุบันยาหลอกถูกใช้งานอยู่ 2 ลักษณะ..
1).ใช้ในการศึกษาวิจัยตามที่กล่าวมาข้างต้น
2).ใช้ในการรักษาจริง ๆ ในคนไข้ที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าการให้ยาหลอกสามารถให้ผลในการรักษาที่ดี
แม้ว่าจะยังมีข้อถกเถียงกันในเรื่องจรรยาบรรณทางการแพทย์กับการใช้ยาหลอก ว่าเป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่?
แต่มีข้อมูลระบุว่าแพทย์ในสหรัฐกว่า 60% ยอมรับว่าเคยใช้ยาหลอกในการรักษาคนไข้ด้วยเจตนาบริสุทธิ์
โดยที่แพทย์เหล่านั้นต่างไม่ได้รู้สึกว่าการใช้ยาหลอกนั้นเป็นเรื่องเสียหายแต่อย่างใด
ในเมืองไทยเอง อาจจะไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องนี้ แต่ก็เชื่อว่ามีการใช้ยาแป้งหรือยาหลอกในการรักษาอยู่บ้าง เพียงแต่ไม่ได้รับการเปิดเผยเท่านั้นเอง
ติดตามอ่านบทความได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา