12 มี.ค. 2022 เวลา 11:18
ปฏิจจสมุปบาท (อนุโลม)
สืบเนื่องจากเมื่อวานนี้อาตมาได้นำเอาวิภังคสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงจำแนกบทธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท ให้กับบรรดาพระภิกษุสงฆ์ของพระองค์ท่านได้รับฟัง มาแสดงให้กับพวกเราได้รับฟัง
เนื่อจากว่าญาติโยมได้ปรารภเหตุกับอาตมาว่า ตนเองนั้นได้ฟังธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้หลายต่อหลายครั้ง แต่ตนเองยังไม่สามารถทำความรู้จริง ไม่สามารถแทงตลอดในธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ได้ และแม้ได้ฟังธรรมที่เป็นบทธรรมย่อ คือขันธ์5แล้ว ก็ยังไม่สามารถรู้จริง ไม่สามารถแทงตลอดในธรรมนี้ได้
ดังนั้นเพื่อให้ความอนุเคราะห์โดยความอนุโมทนาอย่างยิ่งกับโยมจึงได้นำเอาวิภังคสูตรนี้มาแสดงให้กับโยมและหวังว่าปวงญาติหลายๆคนจะได้รู้ธรรมนี้ไปตามลำดับ ส่วนจะรู้ตามธรรมได้อย่างรู้จริงอย่างแทงตลอดได้หรือไม่นั้นแล้วแต่เหตุปัจจัยของใคร
เมื่อวานนี้อาตมาได้แสดงตามธรรมของพระศาสดาในวิภังสูตรนี้ไปตามลำดับแล้ว
โดยไล่ข้อที่5 ก็ตั้งแต่
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะโสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
เป็นไปตามลำดับแล้ว
และเมื่อวานนี้ก็ได้แสดงธรรมโดยการจำแนกปฏิจจสมุปบาทนี้โดยเป็นปฏิโลมย้อนลงมาตั้งแต่ชรามรณะ ย้อนลงมากลับจนถึงอวิชชา ตามธรรมของพระศาสดา วันนี้อาตมาจะแสดงในส่วนย้อนกลับขึ้นมาจากอวิชชานี่แหละคือเป็นอนุโลม ย้อนจากธรรมของพระศาสดาแต่จะแสดงเป็นอนุโลมให้พวกเราได้เห็นว่าอวิชชายังไงจึงเป็นสังขารไปตามลำดับ
แต่เพื่อให้พวกเราได้เห็นความสำคัญของคำที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ สำคัญอย่างไรพระศาสดาจึงตรัสรู้ สำคัญอย่างไรพระศาสดาจึงนำมาประกาศ ให้หมู่มวลมนุษยชาติหรือพวกเรานี้ได้รู้ตามเพื่อปฏิบัติตามเพื่อความสิ้นทุกข์โดยถ้วนรอบ สำคัญเพียงใดอย่างใด
เพราะความสำคัญนั้นเมื่อความทุกข์เกิดขึ้นเพราะปฏิจจสมุปบาทหรือความทุกข์เกิดขึ้นเพราะจิต เพราะมโน เพราะวิญญาณของเรา เราจะเห็นจิต เห็นมโน เห็นวิญญาณของเราได้เพราะธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ ได้แสดงอาการ ลิงคะ นิมิต อุเทส ของจิต ของมโน ของวิญญาณเราอยู่ ต้นเหตุของความทุกข์นิคือจิต คือมโน คือวิญญาณของเรา
ต้นเหตุของความทุกข์ ถ้าไม่มีจิต ไม่มีมโน ไม่มีวิญญาณ คือดับจิต ดับมโน ดับวิญญาณของเราได้แล้ว เราก็ไม่ต้องไปในนรก ในเดรัจฉาน ในเปรต ในมนุษย์ ในเทวดา ที่เป็นทุกข์นี้เลย หยุดที่ตรงนี้
เพราะฉะนั้นเพื่อให้เห็นความสำคัญของปฏิจจสมุปบาทนี้ว่าทุกข์เกิดขึ้นเพราะปฏิจจสมุปบาทนี้ และพอดับ ดับทุกข์ จะต้องดับด้วยการกระทำฌาน การกระทำฌานอันมีองค์ประกอบทั้งหมดทั้งมวลที่เป็นอย่างถ้วยรอบหนะ 8 ฌาน ต้องทำที่ปฏิจจสมุปบทนี้เท่านั้นเช่นกัน ทำที่อื่นไม่ได้เลย ทำด้วยปฏิจจมุปบาทนี้เท่านั้น
เพื่อให้เห้นตรงนี้เดี๋ยวอาตมาจะนำเอาพระสูตรที่ชื่อว่าอนุปทสูตร จากพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่14 มาแสดงให้กับพวกเราได้รับฟังกันหรือได้เห็นไปพร้อมๆกัน ดังต่อไปนี้
นี่คือพระสูตรที่ชื่อว่าอนุปทสูตรพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่14 องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้แสดงธรรมนี้ให้กับบรรดาพระภิกษุสาวกของพระองค์ท่าน เรามาดูเราจะเห็นความสำคัญของปฏิจจสมุปบาทนะ เราดูที่ตรงนี้
ข้อ154 พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาว่องไว มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาทำลายกิเลส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทของสารีบุตรนั้น เป็นดังต่อไปนี้
เมื่อชมท่านพระสารีบุตรว่าเป็นผู้มีปัญญาต่างๆแล้ว ก็บอกว่าทท่านพระสารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน มาถือบวชอยู่เพียงกึ่งเดือน ท่านก็บรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์ โดยตามลำดับของท่านพระสารีบุตรที่บรรลุธรรม คือดังนี้
ดูนะ ข้อ155 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ สารีบุตรสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่ ก็ธรรมในปฐมฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ จบที่ตรงนี้ องค์ฌานจบที่ตรงนี้ จบที่ มนสิการ
เราดูองค์ฌานจริงๆก่อน ปฐมญาณ องค์ฌานจริงๆหนะมีวิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา
ถ้าเราจะเห็นอยู่โดยทั่วไป ที่ไม่มีรายละเอียดเช่นนี้ ก็จะเห็นอยู่ วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเกหัคคตาเท่านี้
แต่รายละเอียดที่เป็นที่สุดอยู่ที่ตรงนี้ เพราะจะตามมาด้วย ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ เราเห็นคำนี้มั้ย เราเห้นช่วงที่2ที่อาตมาขีดเส้นไว้นี้มั้ย ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ละม้ายคล้ายอะไร ไม่ใช่ละม้ายนะ นี่คือบทธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท ที่ถูกย่อลงเป็นขันธ์5แล้ว ตอนนี้อยู่ในฐานะของผู้รู้
ผัสสคือรูป เวทนาคือเวทนา สัญญาคือสัญญา เจตนาคือสังขาร วิญญาณคือวิญญาณ
เห็นมั้ยนี่คือธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท เมื่อเกิดทุกข์ด้วยปฏิจจสมุปบาท เวลาดับทุกข์กระทำฌานก็ต้องดับที่ปฏิจจมุปาทนี้
ดับยังไง ดับด้วยความ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ ซึ่งรายละเอียดของการดับนั้นอาตมาจะแสดงให้ฟังไปตามลำดับในภายหลัง นี้ให้เราเห็นว่าปฏิจจสมุปบาทอยู่ในองค์ฌานนะ นี่ฌานที่1
ฌานที่2 ดูฌานที่2 พอฌานที่ 2 ทติยฌานคือ ไล่องค์ธรรมมาตามลำดับ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฌานที่2ก็จะมีปฏิจจสมุปบาทอยู่
ฌานที่3 ตติยฌาน องค์ฌานมาตามลำดับก็จะปรากฏ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ อยู่ที่นี้เหมือนกันองค์ฌานที่3
องค์ฌานที่4 จตุถฌาน ก็จะปรากฏปฏิจจสมุปบาทอยู่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ เหมือนกัน
องค์ฌานที่5 อากาสานัญจายตนะ เราก็จะเห็น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ อยู่ในองค์ฌานที่5
องค์ฌานที่6 ก็จะอยู่ในวิญญาณัญจายตนะ ก็จะปรากฏ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณเหมือนกัน
องค์ฌานหรือองค์ญาณที่7 ก็จะปรากฏนี่อากิญจัญญายตญาณ ก็จะปรากฏ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ อยู่เช่นกัน
ยกเว้นองค์ฌานที่8 เนวสัญญานาสัญญายตนะฌานหรือญาณ เพราะขั้นตอนที่8นี้เป็นการกระทำความดับทุกข์จนสิ้นหมดแล้ว ไม่มีสิ่งใดไม่รู้ไม่มีสิ่งใดเห็น ได้รู้ได้เห็นหมดว่ามันหมดไปแล้ว มีก็มีแล้ว หมดก็หมดแล้วทั้งหมดทั้งมวลจบที่ฌานที่8นี้ ไม่มีขั้นตอนของการปฏิบัติ
จึงเข้าไปอยู่ในสัญญาเวทยิตนิโรธคือขั้นที่9 ได้ เราจะเห็นความสำคัญของปฏิจจสมุปบาท เมื่อเป็นต้นเหตุความเกิดขึ้นของกองทุกข์เวลาดับทุกข์ก็ต้องดับที่ปฏิจจสมุปบาทนี้ ดังนั้นเพื่อให้พวกเราได้เห็นความสำคัญดังนี้อาตมาจึงนำเอาธรรมที่ชื่อว่าวิภังคสูตรนี้ มาแสดงให้กับพวกเราได้เห็นถึงอาการของจิต ของมโน ของวิญญาณ ของเราไปตามลำดับ
โดยคำว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นอาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของจิต ของมโน ของวิญญาณของเรา ที่เกิดอยู่ตลอดเวลา ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน ทั้งกลางคืน ทั้งกลางวันตลอดเวลา ไม่มีหยุดนิ่งเลย ไม่มีเลย ขณะที่ตื่นขึ้นมานั่นหละ พอตื่นขึ้นมารู้ว่าตนเองต้องดำรงค์ชีวิตอยู่ อยู่อย่างเป็นสุข อาการของจิต ของมโน ของวิญญาณ จะต้องเกิดขึ้นทันที
แต่การเกิดนั้นเกิดเพราะความที่เบื้องต้นของคำของปฏิจจสมุปบาทนี้จะขึ้นตนที่อวิชชา เราต้องมาดูตรงนี้เลยว่า คำว่าอวิชชานี้ จะมีความที่มีสถานะต่างกันอยู่ เราจะเห็นคำว่าอวิชชา และจะปรากฏคำว่าวิชชา อยู่ด้วย เป็น 2 ฝ่าย อวิชชานี้ฝ่ายของความเกิดทกข์ เรามาดูตรงนี้ก่อน
อวิชชา หมายถึง ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในข้อปฏิบัติหรือปฏิปทาเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ อย่างนี้เรียกว่าอวิชชา สรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่รู้ว่าตนเองอยู่ในกองทุกข์ ไม่รู้ว่าตนเองอยู่ในทุกข์ ทุกข์ที่ต้องไปในนรก ในเดรัจฉาน ในเปรต ในมนุษย์ ในเทวดา นี่คือทุกข์ของสรรพสัตว์
อวิชชา เกิดที่ตา เกิดที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ เกิดทุกที่ เกิดทุกระยะ เกิดทุกเวลา เกิดเพราะความไม่รู้ เรามาดูก่อน เมื่่ออวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ลำดับต่อไปเพราะไม่รู้ในทุกข์นี่แหละ
ทำให้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารมีอยู่ 3 สังขารคือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นี้เรียกว่าสังขาร คือในตัวของคนเราหรือสรรพสัตว์ อาการที่ปรากฏที่เป็นหลักรวม คือกาย วาจาหรือวจี แล้วก็จิต จิตสังขาร จะปรากฏอยู่ 3 ส่วนนี้ ถ้าหลักๆก็คือ ถ้ากายกับวาจาก็คือเป็นส่วนหนึ่ง แล้วก็ใจเป็นส่วนหนึ่ง สองส่วนเป็นควบรวมกันอยู่ ก็คือมีร่างกายกับมีวิญญาณหรือมีจิตนั่นเอง
เมื่อมีอวิชชาลำดับต่อไปก็ทำให้ กาย วาจา ใจ นี่พร้อม พร้อมที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยความที่ตนเองไม่รู้ในทุกข์ จะกระทำที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ เมื่อเราเริ่มต้นที่อวิชชา กายสังขารก็พร้อมที่จะกระทำแล้วทีนี้ เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกายสังขาร
เมื่อ กาย วาจา ใจ พร้อม วิญญาณ วิญญาณซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่อง ในชีวิตของสรรพสัตว์ ซึ่งมีอยู่ 6 หมวดคือที่ จักขุวิญญาร โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้ก็พร้อม พร้อมที่จะทำงาน มีความพร้อมอยู่ในตัวที่จะทำงาน วิญญาณก็พร้อม แต่วิญญาณเราจะเห็นได้ที่ ตาหู สมูก ลิ้น กาย ใจ ใน 6 ช่องทางนี้
เมื่อวิญญาณพร้อม นามรูป ก็เกิดขึ้น ถ้าวิญญาณไม่เกิดนามรูปจะไม่เกิด พอนามรูปเกิด เรามาดูนามก่อน นามมี เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อยู่ในชีวิตเรา
คือเป็นผู้ที่มีความรู้สึก มีผู้ที่มีสัญญา มีผู้ที่มีเจตมา มีผู้ที่มีผัสสะ มีผู้ที่มีมนสิการ นี่นามของเราก็พร้อม เรียกว่านาม
มหาภูตรูป 4 คือรูปทีนี้ ส่วนที่เป็นรูป หรือรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 เกิด
มหาภูตรูป 4 นี้คือดิน น้ำ ไฟ ลม ที่มีรางกายเรา มีเลือดเนื้อเชื้อไขของเรานิมี
ส่วนที่อาศัยมหาภูตรูป 4 คือ ความสวย ความไม่สวย ความไพเราะความไม่ไพเราะ ความหอมความไม่หอม ความอร่อย ความไม่อร่อย ความแข็ง ความนุ่มนวล ความดี ความไม่ดี นั่นเป็นรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 นามรูปก็พร้อมอยู่ในตัวเรา
เมื่อนามรูปพร้อม ลำดับต่อไป สฬายตนะ ก็พร้อม สฬายตนะก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็พร้อมที่จะทำงานเพื่อที่จะเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นี่ขั้นตอนของการเกิด
เมื่อตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พร้อม ก็เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการผัสสะ การผัสสะ ผัสสะ 6 ที่คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส การผัสสะนั้นมีองค์ประชุม 3 จักขุสัมผัสก็คือมี ตา มีรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง มีจักษุวิญญาณก็คือวิญญาณที่เกิดตั้งแต่เบื้องต้นนั่นและตามขึ้นมาฮ้อมล้อม ไม่ใช่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดแล้วมันหยุด ไม่ใช่ ความอวิชชาก็ยังตามมา ความสังขารก็ยังตามมา วิญญาณก็ยังตามมา นามรูปก็ยังตามมา สฬายตนะก็ตามก็ทำงาน จึงเกิดองค์ประชุมแห่งการผัสสะขึ้น
ตาเห็นรูป จักษุวิญญาณรับรู้เกิดการผัสสะ
หูได้ยินเสียง โสตวิญญาณรับรู้เกิดการผัสสะ
จมูกดมกลิ่น ฆานวิญญาณรับรู้เกิดการผัสสะ
ลิ้นรับรส ชิวหาวิญญาณรับรู้เกิดการผัสสะ
กายสัมผัสโผฏฐัพพะใดๆ กายวิญญาณรับรู้เกิดการผัสสะ
มโนหรือใจจิตเกิดสัมผัสธรรมารมณ์ใดๆ มโนวิญญาณรับรู้เกิดการผัสสะ
นี่เกิดการผัสสะเพราะองค์ประชุมต่างๆ ตามขึ้นมาแต่เหตุปัจจัยพอมาถึงตรงนี้ก็ตามมา
พอผัสสะลำดับต่อไปก็จะเกิดเวทนา เวทนามี 6 หมวดคือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา
คำว่าสัมผัสสชาเวทนานี้ เวทนาที่เกิดจากตาสัมผัส เวทนาที่เกิดจากหูสัมผัส เวทนาที่เกิดจากจมูกสัมผัส เวทนาที่เกิดจากลิ้นสัมผัส เวทนาที่เกิดจากกายสัมผัส เวทนาที่เกิดจากใจสัมผัส มีสุข มีทุกข์ มีไม่ทุกข์ไม่สุข ในทุกกรณีที่เกิดขึ้น ต้องมี 3 กรณีนี้ ถ้าชอบใจก็สุข ถ้าไม่ชอบใจก็เป็นทุกข์ ถ้าเฉยๆก็เฉยๆ จะเกิดขึ้นเมื่อสัมผัสแล้ว แต่เมื่อสัมผัสสแล้วโดยธรรมชาติของสรรพสัตว์ ที่ต้องการที่จะดำรงชีวิตอยู่ เมื่อเกิดเวทนาแล้วมันจึงยั้งไม่อยู่
อาตมาเคยยกให้ดูว่า ผู้ชายคนหนึ่งเห็นผู้หญิงคนหนึ่งสวยถูกใจ แต่ตอนนี้เขายังไม่ได้นะ เขาเพียงแต่มีความรู้สึกว่าสวยถูกใจเขา ถ้าได้ผู้หญิงคนนี้มาเขาจะเป็นสุขที่สุด
เสียงผู้หญิงคนนี้ก็ไพเราะที่สุดเมื่อสวยถูกใจแล้ว คือเสียงผู้หญิงคนนี้ไพเราะที่สุด
กลิ่นของผู้หญิงคนนี้ก็หอมที่สุด
รสชาติของผู้หญิงคนนี้ก็ดีที่สุด
สัมผัสนุ่มนวลที่สุด
เรื่องราวของผ้หญิงคนนี้ดีที่สุด
เข้าเป็นสุขที่จะมีผู้หญิงคนนี้มีเคียง แต่ตอนนี้เขายังไม่ได้ พอเกิดเวทนาแล้วมันยั้งไม่อยู่ สรรพสัตว์ที่มาในทุกข์ในอวิชชา
ก็จะเกิดตัณหา ตัณหานี้มีตัณหาในรูป รูปที่ตาเห็น
ตัณหาในเสียง เสียงที่หูได้ยิน
ตัณหาในกลิ่น กลิ่นที่จมูกได้กลิ่น
ตัณหาในรส รสที่ลิ้นได้รส
ตัณหาในสัมผัสภายนอกที่กายสัมผัส สัมผัสในธรรมมารมณ์หรือเรื่องราวใดๆ ที่จิตเป็นตัวรับรู้ เกิดตัณหาในสิ่งนี้
เมื่อเกิดตัณหาในผู้หญิงคนนี้ ผู้ชายคนนี้เกิดในผู้หญิงคนนี้ เพราะรูปเธอสวย เพราะเสียงเธอไพเราะ เพราะกลิ่นเธอหอม เพราะรสชาติเธอดี เพราะสัมผัสแล้วนุ่มนวล เพราะเรื่องราวของเธอดี เขาย่อมแสวงหา ตัณหาหนิ เกิดการแสวงหากระทำการใดๆเพื่อให้ได้ผู้หญิงคนนี้มา เมื่อกระทำการจนเป็นที่สุดว่าเขาดีที่สุดในโลกจนผู้หญิงคนนี้ปลงใจแล้ว ผู้หญิงคนนี้ยอมมาเป็นของเขา เขาก็ได้ผู้หญิงคนนี้มาด้วยลาโภ
เมื่อได้มาแล้วลาโภเขาก็วินิจฉัยโย ตรวจสอบดูว่าเป็นผู้หญิงที่เราชอบมั้ย
ใช่ถูกต้อง วินิจฉัยโยว่าถูกต้อง
เขาก็ย่อมฉันทราโค พอใจรักใคร่ในสิ่งนี้
เมื่อรักใคร่แล้วก็อัตโชสาณังพะวักพะวงห่วงใยใส่ใจ เอาใจใส่ในผู้หญิงคนนี้ที่สุด
พะวักพะวงห่วงใยใส่ใจอย่างนี้ก็ยึดว่าเป็นของตน ปริคคโห
เมื่อยึดว่าเป็นของตนก็ตระหนี่ถี่เหนียว มัจฉริยัง ไม่ย่อมให้แก่ ให่ง่อม ให้สูญ ให้หายหละทีนี้
ป้อวกันสุดขีดอันไหนจะแก่ อันไหนจะง่อม อันไหนจะเหี่ยวจะย่นรักษาสุดขีด หรือแม้แต่ใครจะมาแย่งก็ป้องกันสุดขีด มีด พร้า เหล็กหลา กู มึง เอง ข้า ฆ่าแกงตีรันฟันแทงกันก็เกิดขึ้น
อกุศลมูลก็เกิดขึ้นเพราะตัณหานี้ มันจะเกิดขึ้น เอาเป็นว่าเรามีตัณหาในสิ่งนี้ยึดก่อน ยึดว่าเป็นของตนแน้นเหนียวแล้ว
ยึดไม่พอยังมายึดที่ เมื่อตัณหาเสร็จก็อุปาทาน เมื่อได้มาเป็นของตนทั้งหมดทั้งมวลแล้วก็อุปาทาน ยึดเอาไว้ ยึดใน กามุปาทาน ผู้หญิงคนนี้ละเป็นกาม ผุ้หญิงที่เขาได้หนี่หละเป็นกาม เป็นกามุปาทาน สิ่งที่มาด้วยตา ด้วยหู ด้วยจมูก ด้วยลิ้น ด้วยกาย ด้วยใจนี้หละเป็นกามุปาทาน
เขาย่อมีทิฏฐิต่อผู้หญิงคนนี้ต่อกามนี้ว่าเป็นของเขา เขายึดว่ากามนี้เป็นของเขา เขาก็ยึดด้วยทิฏฐิว่า ผู้หญิงคนนี้กามนี้เป็นของเขา เป็นมิฏฐุปาทาน
เขาย่อมสีลพัตตุปาทาน เขาย่อมปฏิบัติต่อกามุปาทานนี้ ตามความเห็นของทิฏฐุปาทานนี้ ปฏิบัติสีลพัตตุปาทานอย่างว่ายึดทำแบบนี้กับผู้หญิงคนนี้ กับสิ่งที่เขาเป็นกามถ้าพูดรวบๆ
จนกล้าประกาศอัตตวาทุปาทานว่าสิ่งนี้เป็นของเขา
อุปาทาน 4 เป็นดังนี้ ยึดในกาม ยึดด้วยความเห็นของตนเอง ปฏิบัติต่อสิ่งที่เป็นกามนี้ ยึดว่ากล้าประกาศก้องสิ่งนี้เป็นของตนเองนี้เป็น อุปาทาน 4
เมื่ออุปาทานดังนี้เน่นหนักเข้าไปจากตัณหามาอุปาทานดังนี้แล้วก็เกิดภพสิ ภพมีอยู่ 3 ภพ
คือ ภพของกาม กามภพก็คือสิ่งที่ น่าปรารถนา น่าใตร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ชวนให้กำหนัด ทั้งหมดทั้งมวลนั่นคือกาม ในที่นี้อาตมายกแล้วก็คือผู้หญิงคนนี้ ถ้าผู้หญิงเกี่ยวข้องกับผู้ชายก็ผู้ชายคนนี้ เมื่อกามภพเกิดขึ้นพร้อมเกิดขึ้นพร้อมเขายึดแล้วเป็นเกิดภพ ในผู้หญิงคนนี้ๆๆหรือผู้ชายคนๆๆ
รูปภพ รูปที่เกิดขึ้นมี ดิน น้ำ ไฟ ลม หรือความ ความสวย ความไม่สวย ความไพเราะความไม่ไพเราะ ความหอมความไม่หอม ความอร่อย ความไม่อร่อย ความแข็งกระด้าง ความนุ่มนวล ความดี ความไม่ดี รูปภพก็เกิดขึ้น
เมื่อรูปภพเกิดขึ้นแน่นหนัก อรูปภพ คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ความรู้สึกต่อผู้หญิงคนนี้ก็ที่สุดสิ อรูปภพก็เกิดขึ้น ดีที่สุดแล้ว อรูปภพ
เวทนา สัญญา ความรับรู้ในผู้หญิงคนนี้ สัญญารู้ว่าผุ้หญิงคนนี้ดีที่สุด
เวทนา สัญญา เจตนา ความตั้งใจต่อผุ้หญิงคนนี้ก็ที่สุด
ผัสสะการกระทบสัมผัส ต่อผู้หยิงคนนี้ก็เป็นที่สุด
มนสิการ การทำใจในใจต่อผู้หญิงคนนี้ก็เป็นที่สุด
กามภพ รูปภพ อรูปภพ หนักแน่นเกิดขึ้นอย่างพร้อมมูล
เมื่อเกิดขึ้นอย่างพร้อมมูลตามลำดับมาตั้งแต่ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ พร้อม
ชาติ ก็บังเกิดชึ้น ชาติเกิดขึ้น ชาตินิคือ ชาติ(ชา ติ) สัญชาติ(สัน ชา ติ) โอกกันติ นิพพัตติ อภินิพพัตติ ขันธานัง ปาตุภาโว อายตนานะ ปฏิลาภายะ ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ
สิ่งใดเกิดขึ้นในจิต ในมโน ในวิญญาณของเรา เกิดขึ้นแล้ว รวมทั้งการเกิดของชีวิตเราด้วย เกิดเพราะปฏิจจสมุปบาทนี่แหละ เกิดมาตาม กัมมัสสะโกมหิ กัมมะทายาโท กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระโณ ที่เขากระทำทั้งนั้น ในขั้นตอนนี่เราก็กำลังทำกรรมอยู่ ในขั้นตอนนี่เรากำลังทำกรรมอยู่ เป็นคำกลางๆ
เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ลัพภา ยันตัง ชาตัง ภูตัง สังขตัง ปโลกธัมมัง ตัง วต มา ปลุชชีติ เนตัง ฐานัง วิชชติ ดูกรอานนท์ สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นมีความทำลายเป็นธรรมดา
การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นจงอย่าทำลายไปเลยดังนี้ มิใช่ฐานะจะมีได้
เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เมื่อการเกิดขึ้นแล้ว มันย่อมชราและมรณะตามมา
ย่อมชราและมรณะตามมา เมื่อชราและมรณะตามมา ดังที่อธิบายให้ฟังแล้วเมื่อวานนี้
ชราก็คือ ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา
มรณะ ก็คือ ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ก็เกิดขึ้น
เมื่อเกิดขึ้นแล้วเราปรารถนาที่จะให้สิ่งนี้อยู่ แต่สิ่งนี้ไม่อยู่เราจึงเกิด
โสก ปริ เทว ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น มีได้ด้วยประการฉะนี้
นี่คืออาการของจิต ของมโน ของวิญญาณของเราที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท
เกิดที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ
เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เห็นวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราชอบ มันจะต้องประกอบไปด้วย เห็นด้วยตา ฟังด้วยหู ดมด้วยจมูก ลิ้มด้วยลิ้น สัมผัสด้วยกาย รับรู้ด้วยใจ ทั้งสิ้นทั้ง 6 ช่องทาง อากหารของปฏิจจสมุปบาทต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วนมากก็จะเกิดใน 6 ช่องทางนี้เป็นปฏิจจสมุปบาทั้งสิ้น
ดังนั้นความเกิดขึ้นของกองทุกข์เกิดด้วยปฏิจจสมุปบาท ความเป็นไปของสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ต้องไปในนรก ในเดรัจฉาน ในเปรต ในมนุษย์ ในเทวดา ที่ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจมุปบาทนี้คือ อาการ ลิงคะ นิมิต อุเทส ของจิต ของมโน ของวิญญาณของเรา เราจะต้องเห็น จะต้องให้ความสำคัญ
ไม่อยากฟังก็ต้องฟัง ไม่อยากรู้ก็ต้องรู้ รู้แล้วยังจำไม่ได้ก็ต้องใส่ใจจำ
เราต้องรู้ในพยัญชนะและรู้ในความหมายคืออรรถของคำเหล่านี้
ตามที่พระศาสดาประกาศเอาไว้
อาตมาได้ชี้แล้วว่าในโลกนี้ มีคนที่รู้ว่าพระศาสดาตรัสรู้อยู่และปกาศธรรมอยู่มากมาย แต่คนในชาวพุทธของพวกเราบางส่วนไม่รู้ว่ามีปฏิจจสมุปบาทด้วยซ้ำ หรือแม้ผู้รู้ว่ามีปฏิจจสมุปบาทอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะเอาอรรถหรือรู้ความหมายของปฏิจจสมุปบาทนี้ได้จนเป็นที่ถ้วนรอบ เพราะเรื่องนี้ไม่ง่ายสำหรับใครเลย ยิ่งไม่ง่าย เรายิ่งต้องใส่ใจ
ปวงญาติของอาตมาถ้าสงสัย จงอย่าเก็บความสงสัยเอาไว้ ถ้าเข้าใจแล้วก็บอกว่าเข้าใจ แล้วถามความเข้าใจนั้นย้ำ อาตมาจะทำหน้าที่ของอาตมาเต็มที่เต็มกำลัง ในวันนี้ให้ฟังเท่านี้ก่อน ถ้าใครยังเกิดความไม่เข้าใจ ยังสงสัยอยู่ ให้ซักถามเพิ่มๆขึ้น ให้มากๆขึ้น ให้ยิ่งๆขึ้น
หลวงพ่อ พุทธปัญโญ
อนุโมทนากับทุกคนเอาไว้เท่านี้
แสดงธรรมโดย หลวงพ่อ พุทธปัญโญ
วันพุทธที่3 เดือนกุมภาพันธ์ 2564

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา