4 เม.ย. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา
ฆรีเอติวิถี ตอน 2
เราอยู่ในโลกซ้ำซาก จำเจ เซม-เซม
1
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
1
ผมเป็นพวกคลั่งหนังจีนกำลังภายใน ดูทุกเรื่องที่เข้าฉายในเมืองไทย หนังเหล่านี้ใช้พล็อตซ้ำซาก บทเดิมๆ ฉากเดิมๆ ท่ากระโดดเดิมๆ แม้แต่นักแสดงยังเป็นชุดเดิม คนเขียนบทกับนักแสดงหนังจีนในสมัยสี่สิบปีก่อนมักทำงานในฐานะพนักงานบริษัทสร้างหนัง รับเงินเดือนไม่ใช่เปอร์เซ็นต์ จึงทำงานไปวันๆ ไม่ต้องคิดมาก เรื่องส่วนมากจึงเข้าข่ายคลิเช (cliche)
3
คลิเชคือความซ้ำซาก จำเจ เซม-เซม
2
เราพบคลิเชในหนังมากกว่าสื่ออื่นๆ น่าจะเพราะโลกเราสร้างหนังปีละนับไม่ถ้วน ย่อมมีโอกาสที่จะไอเดียซ้ำกัน ฉากซ้ำกัน
แทบเป็นภาคบังคับที่หนังจีนกำลังภายในต้องมีฉากหัวหน้าผู้ร้ายสู้กับพระเอก เป็นสูตรสำเร็จ แน่นอนผู้ร้ายต้องถูกพระเอกฆ่าตายในตอนจบ แต่วิธีเล่าเรื่องมักเป็นคลิเช
6
ฉากคลิเชหนึ่งก็คือผู้ร้ายกับพระเอกฟันดาบกันได้สองสามที ทั้งคู่ก็หยุดกึก ดาบทั้งสองคากันอยู่อย่างนั้น แล้วทั้งสองก็เริ่มคุยกัน
8
คนร้ายอาจพูดว่า "นี่เป็นท่าวิชานกกระเรียนกินงูนี่ เจ้าเป็นศิษย์ของหม่าเฉินฟูหรือ?"
4
พระเอกว่า "ใช่ ท่านหม่าเป็นอาจารย์ข้า"
1
"งั้นเจ้าก็ต้องตายอย่างอาจารย์เจ้า"
แล้วทั้งคู่ก็ถอนดาบที่คาไว้ ฟันกันต่ออีกสักนาทีหรือสองนาที แล้วก็หยุดอีก ดาบคากันและคุยกันต่อ
4
"ที่แท้เจ้ามาแก้แค้นให้อาจารย์"
"ใช่ ข้าฝึกวิชามาสิบสองปี"
"ยากที่เด็กวานซืนอย่างเจ้าจะชนะข้าฯได้"
1
พระเอกว่า "ข้าฯได้กินบัวหิมะพันปีบนยอดเขาเทียนซานเสริมพลังอีกห้าเท่า"
5
"ข้าฯพร้อมน้อมรับฝีมือเจ้า"
แล้วฟันต่อไปสิบที คุยกันอีกสิบประโยค แล้วฟันต่อ!
4
เรื่องก็ดำเนินไปอย่างนี้ ฟันแล้วหยุดคุย คุยแล้วฟันต่อ แรกๆ ที่ดูหนังแบบนี้ก็สนุกดี แต่เจอบ่อยๆ ก็ถอนใจ
5
คลิเชอีกอย่างหนึ่งในหนังจีนกำลังภายในคือ ตัวละครไม่ว่าจะไปไหนมาไหน ต้องกระโดดด้วยวิชาตัวเบาเสมอ ไม่ขึ้นยอดไม้ก็หลังคา ทั้งที่สามารถเดินออกไปได้ เวลาสองฝ่ายลากัน ต่างคนต่างต้องกระโดดขึ้นต้นไม้ ราวกับชาติก่อนเป็นนก
20
ครั้งที่ จอห์น วู สร้างหนังบู๊ตัวละครควงปืนสองกระบอก มันกลายเป็นฉากฮิตและเป็นลายเซ็นของหนัง จอห์น วู ฉากนี้ถูกลอกเลียน ปรากฏในหนังจำนวนมาก ผ่านไปไม่กี่ปี ดูหนังบู๊สิบเรื่อง เจอฉากควงปืนสองกระบอกสักเก้าเรื่อง
4
อีกฉากหนึ่งคือสองฝ่ายยิงปืนใส่กันจนถึงจังหวะหนึ่งก็ถลันเข้าประชิดกัน ต่างคนต่างจ่อปืนที่หัวอีกฝ่าย มองตากันปริบๆ แล้วหยุดแช่ภาพไว้อย่างนั้น นี่ก็เป็นภาพฮิตที่กลายเป็นคลิเช
1
บางเรื่องใช้ปืนจ่อกันสามหรือสี่คน บ่อยครั้งก็จ่อปืนคาไว้แล้วพูดกันเหมือนหนังจีนกำลังภายในเก่า
4
ในเชิงออกแบบท่าร่างต่อสู้ ทั้งการควงปืนคู่และจ่อปืนใส่กบาลเป็นการออกแบบท่าต่อสู้ที่ดี คนดูส่วนใหญ่ที่เห็นมันครั้งแรกในโลกภาพยนตร์ จะรู้สึกว่าน่าตื่นตาตื่นใจ เแต่เมื่อใช้บ่อยๆ จากความใหม่สดก็กลายเป็นความเฝือ และคลิเช
3
จอห์น วู ก็ชอบสร้างคลิเชในงานตัวเอง เราเรียกว่าลายเซ็น แต่เมื่อลายเซ็นปรากฏขึ้นโดยไม่มีความหมายหรือขับเคลื่อนเรื่อง มันก็กลายเป็นคลิเช เช่น ฉากนกพิราบบินสโลว์โมชั่น ไม่ว่าเป็นบู๊ หนังยิงกัน หรือใช้ดาบ ก็ต้องมีนกพิราบบิน แม้ในเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องมีฉากนกพิราบ ก็ต้องหาเรื่องใส่นกเข้าไปจนได้
4
ภาพยนตร์เป็นแหล่งใหญ่ที่สร้างคลิเช โดยเฉพาะอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวูดสร้างหนังปีละมากมาย จนกระทั่งบางทีก็หนีไม่พ้นกรอบของสูตรสำเร็จ เปิดเรื่องแบบนี้ เดินเรื่องแบบนั้น จบแบบโน้น ยกตัวอย่างเช่น พระเอกสู้กับคนร้ายโดยไม่มีใครมาช่วย หลังจากฆ่าคนร้ายตายไปหมดแล้วในตอนท้ายเรื่อง รถตำรวจจึงค่อยวิ่งโผล่เข้ามาเป็นพรวน
3
ในฉากวิ่งหนี ทุกครั้งที่พระเอกกับนางเอกวิ่งหนี ไม่ว่าจะหนีคนร้าย สัตว์ประหลาด หรือมนุษย์ต่างดาว ร้อยละร้อยต้องจูงมือกันวิ่ง ในความจริง การวิ่งแบบจูงมืออาจทำให้ช้าลง อาจหนีคนร้ายหรือสัตว์ประหลาดไม่ทัน
7
ในหนังประเภทต้องทำลายฉาก เช่น ระเบิดสถานีอวกาศ ระเบิดเรือดำน้ำ ฯลฯ ซึ่งมักเกิดขึ้นตอนท้ายเรื่อง เราจะต้องได้ยินเสียงประกาศผู้หญิงผ่านลำโพงของสถานที่นั้นทุกทีว่า "สถานที่แห่งนี้จะทำลายตัวเองในเวลา 60 วินาที 59... 58... 57..." แล้วพระเอกนางเอกก็ตาลีตาเหลือกวิ่งหนีไป (แน่นอน จูงมือกันวิ่ง!)
6
ในหนังตำรวจ พระเอกต้องไปบ้านภรรยาเก่า เพื่อรับลูกไปเที่ยวตามคิว และมักจะต้องเลื่อนนัด เพราะมีงานสำคัญเข้ามาพอดี
1
เหล่านี้คือคลิเชในหนังที่ผู้สร้างที่ขี้เกียจไม่เคยคิดจะเปลี่ยน
1
คลิเชมีอยู่มากมาย และคนทำงานสร้างสรรค์ก็หนีไม่ค่อยหลุดจากกรอบของมัน ราวกับว่าคลิเชนั้นฝังในจิตใต้สำนึกไปแล้ว
โชคดีที่โลกยังมีคนพยายามออกจากคลิเชหรือพัฒนามันต่อไป เช่น หนังเรื่อง Wanted พัฒนาการยิงปืนธรรมดาเป็นการยิงปืนวิถีโค้ง ก็แปลกออกไป แลเห็นความพยายามหลุดจากกรอบของคลิเช
1
คลิเชไม่ใช่งานเลวร้าย ตรงกันข้ามคลิเชบางอันเป็นงานสร้างสรรค์ชั้นดี แต่มันกลายเป็นความจำเจเพราะถูกใช้มากเกินไป กลายเป็นความน่าเบื่อ
2
มองแบบนี้คลิเชก็คือน้ำเน่านั่นเอง
1
น้ำเน่าก็ไม่ได้แปลว่าเลวร้าย มันแปลว่าซ้ำซากจำเจ เหมือนน้ำในบึงที่ไม่ขยับไหว นิ่งสนิทจนเน่า
4
หนังโฆษณาก็เต็มไปด้วยคลิเชเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นคอนเส็ปต์ 'before-after' หญิงสาวคนหนึ่งสีหน้าหงอยเหงา ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ โทนภาพมืดหม่นหรือเป็นสีซีเปีย แต่เมื่อเธอใช้สินค้า เช่น ยาสีฟัน ยาทารักแร้ ฯลฯ ก็มีหนุ่มๆ มาห้อมล้อม ภาพก็สดใสสว่างไสว
3
โฆษณาแชมพูก็เหมือนกัน ก่อนหน้าใช้สินค้า ผมแห้งเหมือนไม้กวาดอย่างไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนไม่ดูแลผมตัวเองได้ขนาดนี้ พอใช้แชมพูมหัศจรรย์แล้ว ผมก็สลวยพลิ้วไหวชนิดที่เราไม่เคยเห็นผมแบบนี้ที่ไหนในโลก (แน่นอนจบด้วยหนุ่มอีกร้อยคนแอบมอง)
7
หากถามนักการตลาดและคนทำโฆษณา มักจะได้ยินคำตอบว่าก็เพราะ "มันเวิร์กไง"
1
นี่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดหรือถูก แค่ชี้ว่าหากไม่ยอมออกจากกรอบเดิมบ้าง ก็ยากจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่ "มันเวิร์กไง" ได้เหมือนกัน
4
เรื่องสั้นและนวนิยายก็เช่นกัน ส่วนใหญ่หนีไม่พ้นกรอบคิดว่าเรื่องต้องจบแบบธรรมชนะอธรรม เพราะถือคติว่าเราควรเสนอคุณธรรมในงาน แต่ความจริงคือศิลปะไม่ใช่บทเรียนทางศีลธรรม art ก็คือ art มันไม่มีกฎว่าต้องโปรโมตศีลธรรมหรือคุณธรรม
5
นักเขียน ออสการ์ ไวลด์ จึงบอกว่า "มันไม่มีหนังสือมีศีลธรรมหรือไม่มีศีลธรรมหรอก หนังสือมีแต่เขียนดีกับเขียนแย่"
1
ราว 40-50 ปีมาแล้ว นวนิยายจีนกำลังภายในเรื่องหนึ่งโด่งดังมากในฮ่องกง นวนิยายเรื่องนั้นชื่อ กระบี่ล้างแค้น เรื่องนี้เขียนโดยอ้อเล้งเซ็ง และถูกนำมาแปลเป็นไทยโดยนักแปลที่ตอนนั้นไม่มีใครรู้จัก - ว. ณ เมืองลุง
2
กระบี่ล้างแค้น จบโดยพระเอกถูกคนร้ายฆ่าตาย ทำให้ผู้อ่านจำนวนมากรับไม่ได้ และด้วยกรอบคิดเดิมๆ ทำให้มีคนเขียนภาค 2 ออกมา โดยทำให้พระเอกฟื้นขึ้นมา (ก็กินยาพวกโสมหิมะพันปีอะไรพวกนั้น!) หลังจากนั้นพระเอกก็ตามฆ่าคนร้ายตายหมด
3
นี่เป็นตัวอย่างของการอยู่ในกรอบคิดประเภทธรรมต้องชนะอธรรมเสมอ ห้ามเปลี่ยน
2
บางเรื่องในต้นฉบับนางเอกมีสามีแล้ว แต่ในฉบับแปลไทย กลับเปลี่ยนให้นางเอกเป็นสาวบริสุทธิ์ เพราะนางเอกในสังคมไทยต้องสะอาดผุดผ่อง
1
คนทำงานศิลปะและงานสร้างสรรค์ต้องทำงานให้พ้นกรอบของคนอื่น และหลังจากนั้นก็ต้องก้าวให้พ้นกรอบใหม่ของตัวเอง เพราะอะไรก็ตามที่ใหม่ ผ่านไประยะหนึ่ง มันก็กลายเป็นกรอบเดิม และเป็นคลิเช
1
อะไรทำให้เกิดกรอบคิดและคลิเช?
คำตอบหนึ่งอาจจะเป็นความเคยชิน
ลองดูโจทย์ข้อนี้
กล่องไม้ใบหนึ่งภายในว่างเปล่า คุณต้องใส่อะไรบางอย่างเข้าไปในกล่อง โดยมีข้อแม้ว่าใส่แล้วต้องทำให้กล่องเบาลง ยิ่งใส่มากเท่าไร ก็ยิ่งเบาลงเท่านั้น ของที่ใส่คืออะไร?
3
คำตอบคือ รู
2
เรามีกรอบคิดเดิมว่า การใส่ 'อะไร' เข้าไป อะไรนั่นต้องเป็นวัตถุ หากมองพ้นกรอบคิดเดิม ก็อาจเห็นว่า 'อะไร' ก็อาจเป็นความว่างหรือความไม่มี
5
คนเราก็แปลก เมื่อให้ทางเลือกสองทาง ก็มักเลือกหนึ่งในนั้น ไม่คิดนอกกรอบว่าการไม่เลือกก็เป็นการเลือกชนิดหนึ่ง และไม่คิดว่าโลกอาจมีคำตอบที่ดีกว่าสองคำตอบนั้น มันอาจมีทางเลือกที่ 3, 4, 5 ฯลฯ
6
นี่เป็นข้อเสียของการสอบแบบปรนัย ไม่ต้องคิดก็เลือกคำตอบได้
3
มาดูตัวอย่างจริงบ้าง
ในวันที่ 23 มิถุนายน 2016 นักโทษหกคนในคุกเท็กซัส สหรัฐอเมริกา พังประตู พุ่งตรงไปที่ผู้คุม
หากเราเห็นภาพนี้ ก็ย่อมคิดว่านักโทษกำลังจะแหกคุก โดยหมายจะทำร้ายผู้คุม แต่ความจริงคือนักโทษแหกห้องขังไปช่วยชีวิตผู้คุมที่เกิดอาการหัวใจวายกะทันหัน และช่วยชีวิตผู้คุมไว้ได้
2
สมัยเป็นมนุษย์เงินเดือน ผมมักเริ่มทำงานเวลาเจ็ดโมงเช้า เนื่องจากมีนิสัยตื่นเช้า ไม่ชอบเสียเวลากับรถติด จึงเลือกไปทำงานแต่เช้า ข้อดีคือสมองสดชื่น ช่วงเช้าแบบนั้นมักเกิดงานดีๆ
1
วันหนึ่งเมื่อไปถึงที่ทำงานประมาณเจ็ดโมงครึ่ง มีคนมองหน้าแล้วถามว่า "ทำไมวันนี้มาสาย?"
2
นึกงงวูบ เพราะเจ็ดโมงครึ่งก็ยังมาก่อนพนักงานส่วนใหญ่ชั่วโมงกว่า!
5
คนเรามักตัดสินคนอื่นจากความเคยชินของตัวเอง เมื่อเห็นอะไรซ้ำๆ กันบ่อยๆ มักนึกว่ามันต้องเป็นอย่างนั้นตลอด
7
กรอบคิดบ่อยครั้งเกิดจากสิ่งที่เราเห็นซ้ำ เช่น เห็นแต่ข่าวนักการเมืองโกงกิน ก็จะสรุปว่ามันเป็นอย่างนั้นเสมอไป
สิ่งที่เห็นไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามนั้น
ชายกับหญิงอยู่ด้วยกันสองต่อสองไม่จำเป็นต้องมีเรื่องพิศวาสมาเกี่ยวข้องเสมอไป
4
เห็นชายกับหญิงคุยกัน แล้วผู้หญิงร้องไห้ ไม่ได้แปลว่าผู้ชายตัดรอนฝ่ายหญิงเสมอไป
คนจำนวนมากกินอาหารตามความเคยชิน กินก๋วยเตี๋ยวตักน้ำตาลสองช้อนพูน ดื่มกาแฟก็ใส่น้ำตาลสองสามซอง ทั้งหมดนี้เพราะความเคยชิน
1
ความเคยชินทำให้เราเดินชีวิตตามทางเดิม และในที่สุดก็อาจสร้างกรอบคิดขึ้นมาครอบตัวเอง และยึดมั่นว่าเป็นวิธีที่ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่นวงการหนังและละคร ความเคยชินทำให้ยึดมั่นของเดิม รสชาติเดิม พล็อตหนังละครเป็นการรีไซเคิลต่อกันหลายสิบปี เพราะ "มันเวิร์กไง"
6
ความเคยชินเป็นยาเบื่อของความคิดสร้างสรรค์
5
สมองมนุษย์เราก็เหมือนปาก บางทีก็ติดรสเดิม
1
ในการทำงานสร้างสรรค์จึงต้องเลี่ยงความเคยชิน มีสูตรสำเร็จเมื่อไร ความคิดสร้างสรรค์ก็หายไปหมด
1
นี่มิได้โน้มน้าวใจใครให้ต้องเสพของใหม่ตลอดเวลา แต่หมายความว่าเราควรจะวิเคราะห์ออกว่าอะไรเป็นของเก่า อะไรเป็นของใหม่ และบางครั้งเราก็ควรเปิดหูเปิดตาเปิดสมองรับของใหม่บ้าง เพื่อเพิ่มนิวรอนให้สมอง
6
เคยเจอคำถามทายอายุกัปตันไหม? คำถามมีอยู่ว่า "กัปตันคนหนึ่งมีแกะ 26 ตัว แพะ 10 ตัว กัปตันอายุเท่าไร?"
2
อืม! คำถามอะไรเนี่ย! ข้อมูลในคำถามไม่มีอะไรเกี่ยวกับคำถามเลย จะตอบได้อย่างไร
2
คำถามนี้กลายเป็นข่าวเมื่อหลายปีก่อน เพราะมันปรากฏเป็นข้อสอบของเด็กนักเรียนชั้น ป. 5 ในโรงเรียนแห่งหนึ่งที่เมืองหนานชง ประเทศจีน
และไม่แปลกที่คำตอบส่วนใหญ่คือ
1
"คำถามบ้าอะไรเนี่ย"
2
"คำถามโง่ๆ"
1
"ตอบไม่ได้ เพราะจำนวนแกะและแพะไม่เกี่ยวอะไรกับอายุกัปตัน"
2
"คำถามบ้า คนถามก็บ้า คนถามตอบได้รึเปล่าเนี่ย"
ความจริงนี่เป็นคำถามเก่าแก่ มันไม่ใช่คำถามเลขคณิตธรรมดา เพราะมันเข้าไปในพื้นที่ของปัญหาเชาวน์
3
คำถามนี้น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากจดหมายของนักเขียนชาวฝรั่งเศสชื่อ กูสตัฟ ฟลอแบร์ ซึ่งเขียนถึงน้องสาวแคโรไลน์ในปี 1841
1
ข้อความท่อนหนึ่งในจดหมายเขียนว่า
พี่จะตั้งคำถามหนึ่งข้อ เรือลำหนึ่งแล่นข้ามมหาสมุทร มันออกจากบอสตันบรรทุกขนแกะ หนัก 200 ตัน ปลายทางคือเมืองท่า Le Havre เสากระโดงเรือหัก เด็กเคบินอยู่บนดาดฟ้าเรือ มีผู้โดยสาร 12 คนบนเรือ กระแสลมพัดตะวันออก-ตะวันออกเฉียงเหนือ นาฬิกาบอกเวลาบ่าย 3 โมง 15 นาที มันเป็นเดือนพฤษภาคม กัปตันอายุเท่าไร?Ž
5
นี่เป็นคำถาม 'กวนตีน' ชัดๆ! เพราะข้อแม้ของคำถามกับคำถามดูเป็นคนละเรื่องกัน
1
คำถามนี้พัฒนาต่อมาเป็นหลายเวอร์ชั่น รวมทั้งเวอร์ชั่นจีน
1
หน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องในจีนออกมาชี้แจงว่า "ผลการสำรวจพบว่า เด็กชั้นประถมส่วนใหญ่ขาดทักษะในการวิเคราะห์ คำถามนี้จึงออกแบบมาให้เด็กคิดนอกกรอบ และรู้จักวิเคราะห์"
2
และ "ระบบการศึกษาไม่ใช่การผลิตชิ้นส่วนให้สังคม"
1
คำถามที่ตั้งให้เด็กจึงควรออกแบบให้คิดด้วย และก้าวพ้นโจทย์ที่มีคำตอบเดียว
2
อย่างไรก็ตาม ก็มีคนพยายามตอบคำถามนี้อย่างจริงจัง เช่น
"กัปตันต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 เพราะในวงการเดินเรือต้องการคนที่บรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น"
1
"น้ำหนักของแกะ 26 ตัว แพะ 10 ตัวคือ 7,700 กก. ในเมืองจีน กัปตันที่ได้รับอนุญาตให้คุมเรือบรรทุกน้ำหนักสินค้าเกิน 5,000 กก. ต้องมีใบอนุญาตเดินเรือห้าปี อายุต่ำสุดของผู้สมัครของใบอนุญาตคือ 23 ปี ดังนั้นกัปตันน่าจะมีอายุประมาณ 28 ปี"
10
การตอบคำถามแบบนี้อาจไม่มีคำตอบที่ถูกต้องคำตอบเดียว แต่มันช่วยทำให้เราใช้สมองมากขึ้น เราต้องบีบเค้นสมองให้ทำงานหนักกว่าเดิม บังคับให้สมองเข้าสู่พื้นที่ของความคิดสร้างสรรค์
1
ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เกิดกับคนที่มีไอคิวระดับไอน์สไตน์ มันมักมาจากวิธีมองต่างมุม แม้แต่ไอน์สไตน์เองก็คิดค้นทฤษฎีใหม่ๆ ได้จากการมองนอกกรอบ
4
เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน กล่าวว่า "ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสลายกฎกติกาที่มีอยู่แล้วเพื่อที่เราจะได้มองสิ่งต่างๆ ในมุมมองใหม่"
7
นักเขียน Derek Landy เขียนในเรื่อง Skulduggery Pleasant ว่า "Doors are for people with no imagination." (ประตูมีไว้สำหรับคนที่ไม่มีจินตนาการ) ตรงกับเรื่องนี้ เพราะการแก้ปัญหา จะมองหาแต่ประตูไม่ได้ บางครั้งเราต้องหาช่องทางอื่น
7
ตรงนี้เองที่ lateral thinking มีประโยชน์
1
อะไรคือ lateral thinking?
4

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา